สรุปรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐชุดใหม่ ครั้งที่ 1/2555 ตามที่นายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมและนายไพโรจน์ งามจรัส นิติกรชำนาญการพิเศษ กองการเจ้าหน้าที่ ได้เข้าประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ครั้งที่ 1/2555 วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมตึกสันติไมตรี หลังใน ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่ประธานแทนนายกรัฐมนตรี นั้น สรุปสาระของการประชุมฯ ดังนี้ 1. เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1 มติ ครม. เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2555 เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐชุดใหม่ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธาน 1.2 โดยให้รับความเห็น ของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการด้วย ดังนี้ 1.2.1 ความเห็นของสำนักงบประมาณ งบประมาณที่ใช้จ่ายสนับสนุนการดำเนินการตามแผนมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐในงบประมาณ พ.ศ. 2555 เห็นสมควรให้ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐพิจารณาปรับแผนการดำเนินงานและแผนใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ของหน่วยงานมาดำเนินงาน โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้รายงานให้คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐชุดใหม่ ด้วย 1.2.2 ความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 1) ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ ควรเน้นส่งเสริมให้ภาคเอกชน ภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเป็นพลังร่วมในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ โดยเฉพาะการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่ได้ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศในการต่อต้านคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ รวมถึงการสร้างภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันระหว่างภาครัฐเอกชน และประชาสังคมต่างๆ เพื่อร่วมสร้างสรรค์ประเทศไทยให้พัฒนายั่งยืน 2) เร่งพัฒนาช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การปฏิบัติงานภาครัฐ การดำเนินโครงการขนาดใหญ่ การจัดสรรทรัพยากรและการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบค่าใช้จ่ายภาครัฐในทุกระดับ 3) ให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดใหม่ๆ ที่มีความสอดคล้องกับบริบทของสังคมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
2. ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน ยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นผลมาจากการศึกษารวบรวมแนวทางในการดำเนินการของต่างประเทศ ซึ่งเป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล(International Best Practices) ได้แก่ Organization for Economic Co-operation and Development (OECD),United Nations(UN) และ G20 Anti – Corruption Working Group และนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับมาตรการและการดำเนินการต่างๆของหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตลอดจนการดำเนินงานของภาคเอกชนและกลุ่มเครือข่าย ทั้งนี้ เพื่อบูรณาการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นการยกระดับให้สามารถเทียบเคียงมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลได้
3. รายงานสถานการณ์การทุจริตภาครัฐต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ 3.1 จากรายงานฯที่ประชุมมีประเด็นสถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่นภาครัฐ ซึ่งเป็นข้อมูลในเชิงสถิติ โดยพบว่า 3.1.1 เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกร้องเรียนว่า มีการกระทำการทุจริตในทุกจังหวัดของประเทศไทย โดยมี 5 จังหวัดที่ถูกร้องเรียนสูงสุดในรอบ 5 ปี คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ นครราชสีมา และปทุมธานี 3.1.2 เรื่องร้องเรียนที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกร้องเรียนมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1 เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ อันดับ 2 เจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตเงินงบประมาณโครงการต่างๆ อันดับ 4 เจ้าหน้าที่ของรัฐยักยอก/ฉ้อโกงทรัพย์ของทางราชการ อันดับ 5 เจ้าหน้าที่ของรัฐเรียกรับผลประโยชน์ 3.2 ข้อสังเกต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรัดเสริมสร้างจิตสำนึกค่านิยมที่สร้างสรรค์ กำหนดโครงสร้างและกระบวนการงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่ชัดเจนมีมาตรฐานพัฒนากลไกการตรวจสอบ ติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ สร้างเครื่องมือการวัดระดับองค์กรเพื่อความโปร่งใสมีมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมในทางบวกและป้องกันไม่ให้เกิดช่องโอกาสที่จะกระทำความผิดในหน่วยงานทุกภาคส่วน ควบคู่ไปกับการสอดส่องเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการทุจริตคอร์รัปชั่นจากทุกชุมชนเครือข่าย เพื่อร่วมกันบูรณาการประสานพลังในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 3. รายงานสถานการณ์การทุจริตภาครัฐต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ 3.1 จากรายงานฯที่ประชุมมีประเด็นสถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชั่นภาครัฐ ซึ่งเป็นข้อมูลในเชิงสถิติ โดยพบว่า 3.1.1 เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกร้องเรียนว่า มีการกระทำการทุจริตในทุกจังหวัดของประเทศไทย โดยมี 5 จังหวัดที่ถูกร้องเรียนสูงสุดในรอบ 5 ปี คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ นครราชสีมา และปทุมธานี 3.1.2 เรื่องร้องเรียนที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกร้องเรียนมากที่สุด 5 อันดับ อันดับ 1 เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ อันดับ 2 เจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง อันดับ 3 เจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตเงินงบประมาณโครงการต่างๆ อันดับ 4 เจ้าหน้าที่ของรัฐยักยอก/ฉ้อโกงทรัพย์ของทางราชการ อันดับ 5 เจ้าหน้าที่ของรัฐเรียกรับผลประโยชน์ 3.2 ข้อสังเกต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรัดเสริมสร้างจิตสำนึกค่านิยมที่สร้างสรรค์ กำหนดโครงสร้างและกระบวนการงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ที่ชัดเจนมีมาตรฐานพัฒนากลไกการตรวจสอบ ติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ สร้างเครื่องมือการวัดระดับองค์กรเพื่อความโปร่งใสมีมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมในทางบวกและป้องกันไม่ให้เกิดช่องโอกาสที่จะกระทำความผิดในหน่วยงานทุกภาคส่วน ควบคู่ไปกับการสอดส่องเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการทุจริตคอร์รัปชั่นจากทุกชุมชนเครือข่าย เพื่อร่วมกันบูรณาการประสานพลังในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
4. กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น” วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2555 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น” วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2555 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 2,3 และ 4 ชั้น 4 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยในการประชุมฯกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประชุมประมาณ 650 คน ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดกรุงเทพมหานคร รองปลัดกระทรวง หรือรองอธิบดี หรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเทียบเท่า ผู้ซึ่งทำหน้าที่บริหารการเปลี่ยนแปลง ผู้แทนภาคท้องถิ่น ผู้แทนภาคเอกชน ผู้แทนสื่อมวลชน คณะผู้แทนทางการทูต ในประเทศไทย 2) ประเด็นที่จะต้องเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องสำหรับการดำเนินการตามแผนงานเชิงรุกของรัฐบาล ในช่วงเดือน มิ.ย. 2555 คือ ส่วนราชการนำเสนอแนวคิด/ผลการวิเคราะห์ และแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในเบื้องต้น โดย ก.พ.ร. เป็นผู้รับผิดชอบ ตามปฏิทินการดำเนินการตามแผนงานเชิงรุกของรัฐบาล
5. ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบกำหนดให้มีแนวทางการดำเนินงาน เกี่ยวกับมาตรการเพื่อเอาชนะการทุจริตคอร์รัปชั่นตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ พ.ศ. 2552 – 2555 1. แต่งตั้งอนุกรรมการ จำนวน 7 คณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อน 7 มาตรการ คือ 2. มอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ท. ดำเนินการยกร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน 7 คณะ เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนทั้ง 7 มาตรการ คณะที่ 5 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมาตรการยกระดับมาตรฐานหน่วยงานเพื่อก้าวไปสู่องค์กรแห่งความโปร่งใส (ISO) คณะที่ 1 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมาตรการสร้างจิตสำนึกให้กับสังคมไทยและร่วมใจต้านภัยการทุจริต คณะที่ 7 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมาตรการบูรณาการป้องกันการทุจริต เงินงบประมาณในโครงการหน่วยงานภาครัฐ คณะที่ 6 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมาตรการสร้างกลไกคุ้มครองนักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติจากการทุจริตคอร์รัปชั่น คณะที่ 4 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมาตรการศึกษารูปแบบการกระทำผิดเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการของหน่วยงานภาครัฐ คณะที่ 3 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมาตรการสร้างกลไกรองรับเรื่องร้องเรียน และกำหนดมาตรการตรวจสอบ ติดตามการปฏิบัติต่อข้อร้องเรียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน คณะที่ 2 คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนมาตรการสร้างเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวังให้ครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชัน