มวนเพชรฆาต (Kissing bug, Assassin bug) ดร. อุรุญากร จันทร์แสง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กลุ่มงานกีฏวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
อุบัติการณ์การพบปัญหาเนื่องจากมวนเพชรฆาต - 21 ม.ค 2530 : พบในชุมชนคลองเตย สนง. กรุงเทพมหานคร - 08 มี.ค 2531 : พบในชุมชนคลองเตย สนง. กรุงเทพหมานคร - 25 พ.ค 2533 : พบที่ อ.ย่านตาขาว สำนักงานสาธารณสุขตรัง - 10 พ.ย 2538 : สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร - 19 ก.ค 2541 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 41 คลองเตย - 12 ก.ย 2546 : โรงพยาบาลตะกั่วป่า จ. พังงา ผู้ถูกกัดทั้งหมด จะเป็นตุ่ม มีอาการเจ็บปวด และมีไข้ ข้อมูลจากฝ่ายพิพิธภัณฑ์แมลงและอนุกรมวิธาน, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ข้อมูลทางอนุกรมวิธาน มวนเพชรฆาตจัดอยู่ใน Order Hemiptera , Family Reduviidae ลักษณะที่สำคัญของมวนชนิดนี้คือ มีศีรษะแคบยาวส่วนที่อยู่หลังตา คอดคล้ายคอ มีปากแบบเจาะดูด โค้งงอสอดอยู่ ใต้แผ่นแข็งของอกปล้องแรก ส่วนท้องตรงกลางกว้าง กว่าส่วนอื่น และปีกคลุมไม่หมด มวนชนิดนี้มีเกือบ 100 ชนิด เท่าที่ มีรายงานว่าพบในประเทศไทยคือชนิด Triatoma rubrofasciata
ชีววิทยา เป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete Metamorphosis ) 2 สัปดาห์ ชีพจักรรวม 210 วัน 8-10 วัน ตัวอ่อนลอกคราบ 5 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 120 วัน
นิเวศวิทยา มวนชนิดนี้มักจะพบได้ตามบ้านหรือสิ่งก่อสร้างสกปรก เช่น ตามใต้ถุนบ้านที่รกรุงรัง มีขยะและมีหยากไย่ หรือตามใต้ถุนที่ชื้นแฉะเนื่องจากตั้งอยู่ในที่ลุ่มจะเป็นที่อยู่ อาศัยของมวนพวกนี้เป็นอย่างดี
ตัวอ่อนมักจะซุกซ่อนอยู่ตามใต้เศษขยะที่รกรุงรัง ตามบ้านเรือน หรืออาศัยอยู่ตามรังนก รังหนูหรือสัตว์เลือดอุ่น โดยทั่วไปตัวมวนมักจะขึ้นมากัดคนตามร่องกระดาน เพื่อดูดกินเลือดคนเป็นอาหาร
ความร้ายแรงของมวนเพชรฆาต 1. การทำให้ผิวหนังอักเสบ (dermatitis) พบว่ามวนพวกนี้ดูดกินเลือดได้มาก ทำให้เกิดบาดแผลที่เจ็บปวด บวม หรือการซึมของเลือด ผู้ที่แพ้มากจะเกิดความเจ็บปวดรุนแรง เนื่องจากพิษในน้ำลาย อาจทำให้เกิดลมพิษทั่วร่างกาย จะกัดผิวหนังที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม 2. การนำโรค (disease transmission) ในลักษณะการเป็นพาหะ
Reduviidae ความแตกต่างของมวนเพชรฆาต Reduviidae และ มวน Pentatomid Pentatomidae