แนวทางการบริหารงบประมาณสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับพื้นที่ นายแพทย์ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
การบริหารงบ P&P โดยมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบจัดซื้อส่วนกลาง งบ P&P เน้นชุมชน งบ P&P expressed demand งบ P&P Area-based งบสร้างสุขภาพจาก สสส. กองทุนตำบล งบสนับสนุนสุขภาพตำบล งบเขต 30% งบจังหวัด 70% งบสร้างสุขภาพจาก อปท.
กรอบแนวคิด ๑. ระดับหน่วยงานในส่วนกลาง : ปรับเปลี่ยนบทบาทของกระทรวง เขตตรวจราชการ สสจ. และหน่วยคู่สัญญาระดับอำเภอ ๒. ระดับเขต : เขตตรวจราชการ สธ. และ สปสช.เขตพื้นที่ จัดทำกรอบงานสร้างเสริมสุขภาพเขต เพื่อรองรับงบ PP Area-based ๓๐% ๓. ระดับจังหวัด : สสจ. เป็นแกนในการจัดทำกรอบแผนงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจังหวัด คู่ขนานกับเขตเพื่อรองรับ Area-based ๗0 %
แนวทางการบริหารงบประมาณ อาศัยหลักการบูรณาการ ๓ ประการ คือ ๑. การบูรณาการกรอบแนวทางแก้ไขปัญหา ๒. การบูรณาการการใช้ทรัพยากร ๓. การบูรณาการด้านการกำกับติดตามและประเมินผล
การบูรณาการกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ๑. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับประเทศ มี ๖ นโยบายเร่งด่วน ได้แก่ ๑.๑ โครงการหยุดยั้งวัณโรค ๑.๒ โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ๑.๓ โครงการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยในเครือข่ายบริการสุขภาพ ๑.๔ โครงการอาหารปลอดภัยเด็กไทยฉลาด ๑.๕ โครงการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (สุขภาพดีวิถีไทย) ๑.๖ โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการและการเตรียมพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
การบูรณาการกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ๒. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาคือ ๒.๑ กระบวนการจัดทำแผนบูรณาการแก้ปัญหาพื้นที่เชิงรุก ๒.๒ ดำเนินงานในลักษณะร่วมกันคิด ช่วยกันทำ ๒.๓ ให้มีความสอดคล้องกันทั้งยุทธศาสตร์ระดับประเทศ ระดับเขต และระดับจังหวัด
สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ๑. สถานการณ์และแนวโน้มของปัญหา ๒. ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา ๓. ความร่วมมือในการดำเนินการลักษณะ “ร่วมกันคิด ช่วยกันทำ” ๔. การบูรณาการกิจกรรมและทรัพยากรในการแก้ปัญหา ๕. ความสอดคล้องระหว่างยุทธศาสตร์
กรอบการบริหารแผนงาน งบประมาณ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมและป้องกันโรคระดับประเทศ ยุทธศาสตร์จังหวัด อปสข. คกก.PP เขต ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาสุขภาพ ส่วนกลาง เขต จังหวัด หน่วยงานอื่น ๆ สธ. สปสช. PPA (30%) คกก. PP จังหวัด พัฒนา* ศักยภาพ นวัตกรรม* นำร่อง อปท. สสส. องค์กรเอกชน Non UC (จังหวัด) PP National priority* (สธ.) PPA (70%)* PP Expressed* demand PP* Community PP National priority* (จังหวัด) บูรณาการแผนระดับจังหวัด * หมายเหตุ : แหล่งงบประมาณจาก สปสช. แผนจังหวัด แผนอำเภอ แผนตำบล
แนวทางบูรณาการด้านทรัพยากรและงบประมาณ แหล่งงบประมาณ ๑. งบประมาณ สธ. (งบ Non UC) ที่จัดสรรให้แต่ละจังหวัด ๒. งบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับบุคคลของ สปสช. ที่เหมาจ่ายรายหัว ๓. งบสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จาก สสส. ๔. งบจาก อปท. ๕. งบจากองค์กรต่างประเทศ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร (NGOs) ฯลฯ
แนวทางบูรณาการด้านทรัพยากรและงบประมาณ การจัดทำแผนบูรณาการของจังหวัด ๑. แผนงานสำหรับดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่ ๒. แผนพัฒนาศักยภาพของจังหวัดในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ตัวอย่างประเด็นพิจารณาการพัฒนาฯ ของจังหวัด ๑. การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานของจังหวัด เช่น การจัดทำแผน การนิเทศ กำกับ ติดตามการปฏิบัติ การวิเคราะห์และรายงานผลการปฏิบัติงาน ๒. การพัฒนาบุคลากร ๓. การศึกษาวิจัย และจัดการความรู้ ๔. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพของจังหวัด
ขอขอบคุณ