การจัดทำ BARCHART
การวางแผนงาน BARCHART เริ่มจาก พ.ศ. 2463 โดยวิศวกร HENRY GANTT จึงมีอีกชื่อเรียกว่า GANTT’s Chart - แสดงกิจกรรมโครงการในลักษณะของตารางเวลา เป็นแกนตั้งและแกนนอน มีกราฟแท่งและกราฟเส้น แสดงกิจกรรมและความก้าวหน้าของงาน - จัดทำง่าย อ่านทำความเข้าใจได้ง่าย และปรับแก้ไขได้ง่าย - สามารถเปรียบเทียบระหว่าง Planned และ Actual Progress
การวางแผนงาน BARCHART เริ่มจาก WBS จากตัวอย่างการทำไข่เจียว - ประมาณ ระยะเวลาแต่ละกิจกรรม 1. ตีไข่ 5 นาที 2. สับหมู 7 นาที 3. สับบด กระเทียมพริกไทย 2 นาที 4. ผสม ไข่ หมู กระเทียมพริกไทย 3 นาที 5. ทอด 4 นาที
นำกิจกรรมใส่ในตาราง BARCHART ที่ กิจกรรม เวลา (นาที) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 ตีไข่ สับหมู สับบดกระเทียมพริกไทย ผสม ไข่ หมู กระเทียมพริกไทย ทอด พ่อครัวคนเดียวใช้เวลา 21 นาที เพราะต้องทำทีละกิจกรรม
พิจารณาลำดับการทำงาน ที่ กิจกรรม เวลา (นาที) 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 ตีไข่ สับหมู สับบดกระเทียมพริกไทย ผสม ไข่ หมู กระเทียมพริกไทย ทอด พ่อครัวสองคนใช้เวลาเพียง 14 นาที เพราะสามารถทำงานสองอย่างพร้อมกันได้ คือ ตีไข่ สับหมู และคนตีไข่มาสับกระเทียมพริกไทยต่อได้
การคำนวณระยะเวลาของกิจกรรม พิจารณา ประเด็นดังนี้ 1. อัตราการทำงานของทรัพยากรที่เป็นหลัก (Driving Resource) ของกิจกรรมนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร หรือ แรงงาน เช่น ปั้นจั่น 1 ตัว ตอกเข็ม 26 เมตร ได้วันละ 4 ต้น ช่างอิฐ 1 คน ก่ออิฐได้วันละ 3 ตารางเมตร เป็นต้น 2. ประสบการณ์ที่ผ่านมาในงานที่คล้ายคลึงกัน 3. บางงานต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์เฉพาะ เช่น งานระบบ 4. เวลา เป็นอัตราส่วนกับทรัพยากรที่มี แต่ไม่ใช่การแปรผันตรงเสมอไป คนมากเกินไปประสิทธิภาพอาจลดลง
การคำนวณระยะเวลาของกิจกรรม พิจารณา ประเด็นดังนี้ 5. พิจารณาขีดความสามารถของแรงงานและเครื่องจักร 6. เพื่อร้อยละจาก สภาพแวดล้อมต่างๆ (อธิบายอย่างละเอียดในเรื่อง เครื่องจักรกลก่อสร้าง) 7. กิจกรรมส่วนใหญ่จะใช้ทรัพยากรหลายประเภทประกอบกัน ดังนั้นต้องพิจารณา Team Combination ให้เหมาะสม เช่น อาจจัดทีมก่ออิฐ โดยมี ช่างอิฐ 1 คน กรรมกร 1 คน ทำงานร่วมกัน เป็นต้น 8. อาจพิจารณาจากอัตราการทำงานมาตรฐานช่วยได้บ้าง
ลักษณะของ BARCHART BAR CHART ควรประกอบด้วย 1. ชื่อโครงการ สถานที่ก่อสร้าง 2. วันเริ่มงานและวันเสร็จงาน 3. ลำดับที่ รหัสงาน 4. กิจกรรมย่อย Activities หรือ Work Packages เรียงลำดับตามวันที่เริ่มงาน 5. ปริมาณงานหรือราคาของแต่ละกิจกรรม 7. ร้อยละของกิจกรรมย่อยต่อกิจกรรมทั้งโครงการ
PRACTICING แบบฝึกปฏิบัติ ให้นักศึกษาพิจาณาตัวอย่างของ BARCHART จริงจากหน่วยงานต่างๆ พิจารณารูปแบบที่แตกต่างกัน - อาจารย์ แสดงตัวอย่างการสร้าง BARCHART บนกระดานและ แสดงการสร้าง BARCHART Step by Step