นักเรียนช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒ โครงสร้างพระไตรปิฏก/คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา สาระการเรียนรู้ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เสนอ อ.วรรณดี จิตต์จนะ จัดทำโดย ด.ช. กันต์ปภพ รักแก้ว เลขที่ 3 ด.ญ.นันทิชา ชีพเมืองแมน เลขที่ 24 ด.ช. สมศักดิ์ เจียมศรี เลขที่ 11 ด.ญ.วริศรา สมศรี เลขที่ 34 ด.ญ. อนิรุต มีณรงค์ เลขที่ 13 ด.ญ. ศุภรัตน์ ยะภักดี เลขที่ 35 ด.ญ. แสงนภา วงษ์ศรีดี เลขที่ 17 ด.ญ. อาภาวรรณ จันทาบ เลขที่ 40 ด.ญ. นลพรรณ พ่วงนาคพันธุ์ เลขที่ 23 ด.ญ. อารดา บุณเกียรติ เลขที่ 41 ด.ช.อุดมโชค กลิ่นระรวย เลขที่ 14 นักเรียนช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒
คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา อัตตา เป็นศัพท์ภาษาบาลี แปลว่า ตัวตน, ร่างกาย, รูปลักษณะ, ตัวเอง (ดูอัตภาพ) (ภาษาสันสกฤตใช้ อาตฺมัน) หมายถึงอาตมัน, วิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออัตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็กๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด แต่ทฤษฎีนี้พระพุทธศาสนาไม่ยอมรับทั้งหมด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์)
คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา อนัตตา หรือ อนัตตตา แปลว่า มิใช่อัตตา, มิใช่ตัวตน ไม่นิยมแปลว่า ไม่มีอัตตา หรือ ไม่มีตัวตน อนัตตา เป็นสามัญลักษณะ คือเกิดมีเสมอกันแก่สังขารทุกอย่าง อนัตตา ที่ได้ชื่อดังนี้เพราะมีลักษณะดังนี้ เป็นสภาพว่างเปล่า คือหาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ เพราะประกอบด้วยธาตุ ๔ เมื่อแยกธาตุออก สภาวะที่แท้จริงก็ไม่มี หาเจ้าของมิได้ คือไม่มีใครเป็นเจ้าของแท้จริง สงวนรักษามิให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจ คือไม่อยู่ในบัญชาของใคร ใครบังคับไม่ได้ เช่นบังคับมิให้แก่ไม่ได้ แย้งต่ออัตตา คือตรงข้ามกับอัตตา
ภาพประกอบการศึกษา