การก้าวสู่องค์กรแห่ง การเรียนรู้
* กระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมันรวดเร็วและรุนแรง ก็ด้วยปัจจัยที่ เกิดจากการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีสาร สนเทศ ส่งผลให้เวทีการ แข่งขันที่เคยจำกัดอยู่ในวงแคบ ๆ ขยายขอบ เขตออกไปครอบคลุมทั่ว โลก * ตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ปี ได้ กำหนดให้การบริหารงานภาครัฐเข้าสู่ * ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) อีกทั้งแนวคิดในการบริหาร จัดการสมัยใหม่ ทั้งการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) การจัดการคุณภาพ (Quality Management) การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) และ การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
* เป็นขั้นแรกของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสามารถ ในการจดจำ * ความรู้ เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการเรียนรู้ ประกอบไป ด้วยคำจำกัดความหรือความหมาย ข้อเท็จจริง ทฤษฎี กฎ โครงสร้าง วิธีการแก้ไขปัญหา และมาตรฐานเป็นต้น * ความรู้เป็นเรื่องของการจำอะไรได้ ระลึกได้ โดยไม่ จำเป็นต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนหรือใช้ความสามารถ ของสมองมากนัก * เป็นขั้นตอนที่นำไปสู่พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ การนำความรู้ไปใช้ในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การ ประเมินผล
1. ความรู้ที่ไม่ปรากฎชัดแจ้ง (Tacit Knowledge) เป็น ความรู้ที่ไม่สามารถเขียนหรืออธิบายได้ การถ่ายโอน ความรู้ประเภทนี้ทำได้ยาก จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ จากการกระทำ ฝึกฝน ( อยู่ในสมองคน เชื่อมโยงกับ ประสบการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม ไม่สามารถถ่ายทอด ออกมาได้ทั้งหมด ) 2. ความรู้ที่ปรากฎชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็น ความรู้ที่สามารถเขียนหรืออธิบายออกมาเป็นตัวอักษร ฟังก์ชั่นหรือสมการได้ ( อยู่ในตำรา เอกสาร วารสาร คู่มือ คำอธิบาย วีซีดี คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ฐานข้อมูล )
* ความรู้ที่เกิดขึ้นเกิดจากการพัฒนาการเรียนรู้ที่มีการแลกเปลี่ยนการ เรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงาน กระบวนการปรับเปลี่ยนและสร้าง ความรู้แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะดังนี้
1. Socialization เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่ 2. Externalization เป็นขั้นตอนที่สองในการสร้างและแบ่งปันความรู้จาก สิ่งที่มีอยู่และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการแปลงความรู้ จาก Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge
* 3. Combination เป็นขั้นตอนที่สามในการแปลงความรู้ขั้นต้น เพื่อการ สร้าง Explicit Knowledge จาก Explicit Knowledge ที่ได้เรียนรู้ เพื่อการ สร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit Knowledge ใหม่ ๆ * 4. Internalization เป็นขั้นตอนที่สี่และขั้นตอนสุดท้ายในการแปลง ความรู้จาก Explicit Knowledge กลับสู่ Tacit Knowledge ซึ่งจะนำ ความรู้ที่เรียนมาใช้ในการปฏิบัติงานหรือใช้ในชีวิตประจำวัน
* องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ สถานที่ซึ่งทุกคนสามารถขยายศักยภาพของ ตนเองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างผลงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เป็น ที่ซึ่งเกิดรูปแบบการคิดใหม่ ๆ หลากหลายมากมาย ที่ซึ่งแต่ละคนมี อิสระที่จะสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นที่ซึ่งทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการ เรียนรู้ร่วมกัน
* ด้วยวัฒนธรรมการทำงานขององค์การไม่เอื้อต่อการพัฒนาเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ บุคลากรส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะคนที่มีอายุเฉลี่ยค่อนข้างมากจะทำงานตามหน้าที่ ที่เคย ปฏิบัติ ทำให้ขาดความกระตือรือร้น และความมุ่งมั่นในการพัฒนา ตนเองอย่างจริงจัง องค์กรขาดความต่อเนื่อง ในการเชื่อมโยงความรู้ ระหว่างบุคลากรแต่ละรุ่น หรือกลุ่มวัยที่ต่างกัน