ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การประกันภัยความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 โดย นายธีระศักดิ์ พงศ์พนาไกร
การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม มาตรา 20(1) แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 39 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประกันภัยความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตรายไว้ ดังนี้
การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) ข้อ 1. ในประกาศนี้ “การขนส่ง” หมายความว่า การขนส่งวัตถุอันตรายทางบกด้วยรถ หรือพาหนะอื่นใด แต่ไม่หมายรวมถึงการขนส่งวัตถุอันตรายทางรถไฟ ข้อ2. ผู้ขนส่งวัตถุอันตรายในแท็งก์ติดตรึงถาวรกับตัวรถ (Fixed Tanks) แท็งก์ติดตรึงไม่ถาวรกับตัวรถ (Demountable Tanks) แท็งก์คอนเทนเนอร์ (Tank-Containers) แท็งก์สับเปลี่ยนได้ซึ่งผนังโครงสร้างทำด้วยโลหะ (Tank Swap Bodies with Shells Made of Metallic Materials) รถติดภาชนะบรรจุก๊าซ เรียงกันเป็นตับ (Battery-Vehicles) แท็งก์พลาสติกเสริมไฟเบอร์ (Fiber- Reinforced Plastics Waste Tanks) ต้องมีการประกันภัยความเสียหายในการ ขนส่งวัตถุอันตรายนอกเหนือการทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง 3 ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) การประกันภัยตามวรรคแรกต้องเป็นการประกันภัยกับบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย การประกันภัยความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย ตามประกาศนี้ ให้คุ้มครองภัยอันเป็นผลมาจากการรั่วไหล การระเบิด หรือการติดไฟของวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งทุกกรณี และเป็นผลให้เกิด (1) ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้น เป็นผู้กระทำละเมิด
การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) (2) ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นเป็นผู้กระทำละเมิด (3) ค่าใช้จ่ายในการขจัด เคลื่อนย้าย บำบัด บรรเทาความเสียหาย รวมทั้งการฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม หรือสภาพใกล้เคียงกับสภาพเดิม ซึ่งรวมถึงความเสียหายแก่ สัตว์ พืช สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือทรัพย์ไม่มีเจ้าของ สำหรับขอบเขตการคุ้มครอง ให้เริ่มต้นตั้งแต่รถบรรทุกวัตถุอันตรายที่ทำการขนส่งวัตถุอันตราย เคลื่อนที่จนถึงที่หมาย
การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) ข้อ 3. จำนวนเงินคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยตามประกาศนี้ต้องไม่ น้อยกว่าดังต่อไปนี้ (1) จำนวนเงินเอาประกันภัยตามข้อ 2(1) ไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนบาทต่อ หนึ่งคน และไม่ต่ำกว่าสามสิบล้านบาทสำหรับเหตุการณ์แต่ละ ครั้ง (2) ความคุ้มครองตามข้อ 2 รวมกันแล้วต้องไม่ต่ำกว่าสามสิบล้าน บาทต่อการเกิดเหตุการณ์หนึ่งครั้ง
การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) ข้อ 4. ผู้ขนส่งวัตถุอันตรายต้องแสดงต้นฉบับของกรมธรรม์ประกันภัย สำหรับรถ หรือพาหนะที่ใช้ในการขนส่งแต่ละคัน พร้อมทั้งส่ง มอบสำเนากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานต่อกรม โรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ผู้ขนส่งวัตถุอันตรายต้องจัดให้มีการ ประกันภัยตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ ข้อ. 5. การชดให้ค่าเสียหายตามประกาศนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในอันที่ จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการ ละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) การประกันความเสียหายจากการขนส่งวัตถุอันตราย พ.ศ. 2549 (ต่อ) ประกาศ ณ วันที่ 26 มกราคม 2549 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2549 เป็นต้นไป