งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.)
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลัง STATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง ข้อมูลทั่วไป บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) สังกัด : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ประธานกรรมการ : นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล กรรมการผู้แทน กค. : นางพรรณขนิตตา บุญครอง Website :www. Thailandpost.co.th โทร ประเด็นทางกฎหมายที่สำคัญ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดได้รับการแปลงสภาพตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553 อนุมัติให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดตั้งบริษัทลูกในการดำเนินการธนาคารไปรษณีย์ (Post bank) ขึ้นมาเพื่อปล่อยสินเชื่อระดับ micro finance โดยจัดตั้งเป็นธนาคารเฉพาะกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท สำหรับการปล่อยกู้จะเน้นให้ประชาชนรายย่อยเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ธนาคารไปรษณีย์จะเปิดหาผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ร่วมทุน เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน เพื่อเป็นแหล่งเงินทุน ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทบทวนร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการไปรษณีย์ พ.ศ ซึ่งแต่งตั้งขึ้นโดยปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) :นางสาวอานุสรา จิตต์มิตรภาพ สัญญาจ้างลงวันที่ : 14 มกราคม 54 ระยะเวลาจ้าง : 14 ม.ค. 54 – 29 ส.ค. 57  วาระที่ 1  วาระที่ 2 ที่มาของ CEO :  Board  รอง CEO  บุคคลภายนอก ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO รองกรรมการผู้จัดการสายงานการตลาดและพัฒนาธุรกิจ รอง CEO  พนักงาน  สัญญาจ้าง CFO  พนักงาน  สัญญาจ้าง วัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ประกอบกิจการไปรษณีย์ รวมทั้งธุรกิจและกิจการที่ต่อเนื่องหรือใกล้เคียงกัน หรือที่เกี่ยวเงิน หรือซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการไปรษณีย์ ทั้งในประเทศ ระหว่างประเทศและนอกประเทศ นอกจากนี้ยังมีขอบวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการของ ปณท.อีกจำนวน 36 ข้อ เงินเดือนพนักงาน จำนวนและองค์ประกอบของคณะกรรมการ (ข้อ 14 ) คณะกรรมการของบริษัทให้ประกอบจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 11 คน และให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน และเลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นรองประธานกรรมการก็ได้กับให้เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปัจจุบันมีกรรมการจำนวน 11 คน วาระการดำรงตำแหน่ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่งตามวาระจำนวนหนึ่งในสามในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด ให้คณะกรรมการเลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ข้อ 14) กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน บอร์ดกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง  ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 113,520 อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ ขั้นที่ 5,820 ปริญญาตรีแรกบรรจุทั่วไป 10,810 บาท วิศวกร 11,430 บาท จำนวนพนักงาน 21,280 คน (31 พ.ค. 54) อำนาจพิเศษ มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ ตามกฎหมาย: พระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด พ.ศ. 2546 มาตรา 4 ในการดำเนินกิจการไปรษณีย์ และธุรกิจอันเกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์รวมทั้งธุรกิจอื่นที่ต่อเนื่องกัน ใกล้เคียงกัน หรือซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการไปรษณีย์ ให้บริษัทมีอำนาจได้รับยกเว้นมีสิทธิพิเศษ หรือได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายว่าด้วยไปรษณีย์ กฎหมายว่าด้วยการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือกฎหมายอื่นได้บัญญัติไว้ให้แก่ กสท. เว้นแต่กรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 มาตรา 12 และมาตรา 13 มาตรา 5 กำหนดให้มีคณะกรรมการกิจการไปรษณีย์ และมาตรา 6 ให้คณะกรรมการกิจการไปรษณีย์มีอำนาจในการอนุญาต การวินิจฉัย การออกข้อบังคับต่างๆของคณะกรรมการ กสท. อำนาจในการจัดทำไปรษณีย์นิเทศ การทำความตกลงกับต่างประเทศในกิจการไปรษณีย์ และการออกคำสั่งใดๆของผู้ว่าการ กสท. ที่มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง ซึ่งอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ เป็นอำนาจของคณะกรรมการกิจการไปรษณีย์ ตามกฎหมาย : พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 5 รัฐบาลทรงไว้ซึ่งอำนาจสิทธิ์ขาดที่จะจัดการไปรษณีย์ และตั้งที่ทำการไปรษณีย์ภายในราชอาณาจักร วรรคสอง อำนาจนี้มอบหมายให้ไว้แก่กรมซึ่งมีสทธิและหน้าที่จัดการไปรษณีย์ และตั้งที่ทำการไปรษณีย์ขึ้นตามที่รัฐมนตรีเห็นสมควร และมีหน้าที่ทำกิจการต่างๆอันเกี่ยวแก่การรับรวบรวม ส่ง จ่าย และส่งมอบไปรษณีย์ภัณฑ์ตามกฎ ข้อบังคับ และคำสั่งที่ตั้งขึ้น มาตรา 6 ห้ามมิให้บุคคลซึ่งไม่ได้รับอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น ส่ง จัดให้ส่ง ฝาก ส่งมอบให้แก่ผู้อื่นเพื่อให้ไปส่ง นำส่ง หรือกระทำการอื่นเกี่ยวกับการนำส่งจดหมาย หรือไปรษณีย์บัตรโดยทางอื่นนอกจากทางไปรษณีย์ เว้นแต่...  ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป  ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชน เข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่ปรากฏโครงการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล  สัญญาจ้างผู้บริหาร   มติคณะรัฐมนตรี  ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 3 ผู้อำนวยการส่วน : นายณัฐวุฒ ไพศาลวัฒนา ผู้จัดทำ : นางสาวสุจริยา จิรธรรม โทร ต่อ 6719 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ปัจจุบันไม่ปรากฏว่า ปณท.ได้รับสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องาเ เรื่องเสร็จที่ 459/2547 เรื่อง การให้ส่วนลดค่าบริการไปรษณีย์ในประเทศ ( การให้ส่วนลดค่าบริการไปรษณีย์ในประเทศแก่ลูกค้ารายใหญ่ที่มีการเตรียมการล่วงหน้าก่อนการฝากส่งแล้ว ไม่ปรากฏว่า มีบทบัญญัติในกฎหมายเกี่ยวกับการไปรษณีย์ให้อำนาจในเรื่องการให้ส่วนลดค่าบริการไปรษณีย์ไว้ มีเพียงแต่มาตรา 10 แห่งพรบ.ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 ที่บัญญัติให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น ในการส่งไปรษณียภัณฑ์ทางไปรษณีย์ภายในราชอาณาจักร ดังนั้น ปณท. จึงไม่อาจเรียกเก็บค่าบริการไปรษณีย์ในประเทศแตกต่างไปจากอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง การให้ส่วนลดค่าบริการไปรษณีย์ในประเทศจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิมเติมพรบ.ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 ให้อำนาจให้ส่วนลดอัตราค่าธรรมเนียมได้


ดาวน์โหลด ppt บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google