องค์ความรู้น้ำส้มควันไม้ สายด่วนข้อมูลปฏิรูปที่ดิน น้ำส้มควันไม้ (Wood vinegar) เป็นของเหลวซึ่งได้จากกระบวนการสลายตัวของไม้ด้วยความร้อนอย่างเดียว หรือการเผาไหม้ไม้ฟืนในสภาพอับอากาศ หรือ การไพโรไลซิส (Wood pyrolysis) ของเหลวดังกล่าวจะใสสีเหลืองปนน้ำตาล ซึ่งเกิดจากการดักเก็บควันที่ถูกควบแน่นเป็นหยดน้ำ ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้ : 1. ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน - ความเข้มข้น 100 % ใช้รักษาแผลสด แผลน้ำร้อนลวก ไฟลวก เชื้อราผิวหนัง และน้ำกัดเท้า - ผสมน้ำ 20 เท่า ราดทำลายปลวก มด - ผสมน้ำ 100 เท่า ราดโคนต้นไม้รักษา โรคจากเชื้อรา ป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ - ผสมน้ำ 200 เท่า ฉีดพ่นใบไม้เพื่อขับไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา รดโคนต้นไม้เพื่อเร่งการเจริญเติบโต 2. ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร - ใช้ผสมน้ำ 20 เท่า พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดิน เช่น โรคเน่าและแบคทีเรีย โรคโคนเน่าจากเชื้อรา ไส้เดือนฝอย - ใช้ผสมน้ำ 50 เท่า พ่นลงดินเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช แต่การใช้ความเข้มข้นระดับสูงอาจทำให้พืชมีอาการใบไหม้หรือตายได้ ควรระมัดระวัง - ใช้ผสมน้ำ 200 เท่า ความเข้มข้นระดับนี้ใช้ฉีดพ่นที่ใบรวมทั้งพื้นดินรอบต้นทุกๆ 7-15 วัน เพื่อขับไล่แมลงป้องกันและกำจัดเชื้อราและทำให้พืชมีความเจริญเติบโตเร็ว - ใช้ผสมน้ำ 500 เท่า ฉีดพ่นผลอ่อนของพืช เพื่อช่วยขยายให้ผลโตขึ้นหลังจากติดผลแล้ว 15 วัน และฉีดพ่นอีกครั้งก่อนการเก็บเกี่ยว 20 วัน 3. ใช้ประโยชน์ในปศุสัตว์ - ใช้ลดกลิ่นและแมลงในฟาร์มปศุสัตว์ โดยใช้ครั้งแรกควรผสมน้ำ 100 เท่าหลังจากนั้นเพิ่มเป็น 200 เท่า จะกำจัดกลิ่นและลดจำนวนแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครปฐม 1764 สายด่วนข้อมูลปฏิรูปที่ดิน www.alro.go.th
วิธีการผลิตน้ำส้มควันไม้ การสร้างเตาเผา 200 ลิตรแบบนอน 1.นำตัวเตา( ถัง 200 ลิตร ) ที่เจาะทั้งด้านหน้า และด้านท้ายของเตาเสร็จมาวาง ไว้ตรงกลาง ระหว่างเสาค้ำยัน โดยให้รูกลมที่เจาะขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว อยู่ด้านล่าง ใช้อิฐแดงรองถังที่ด้านหน้า ใช้กระเบื้องทำเป็น รั้วกันดินฉนวน โดย มีระยะห่างผนัง 80 ซม 2. นำท่องอใยหินประกอบกับตัวถังที่ ช่องด้านท้าย ต่อข้องอด้วยท่อใยหินตรง ปักเสาเพื่อประคองเสา และใช้ดินโคลน ยารอยต่อระหว่างถังกับข้องอ และข้อ งอกับท่อตรง 3. ใช้เศษกระเบื้องปิดด้านหัวและท้ายถัง ให้มีลักษณะเป็นกล่องและบรรจุดิน เพื่อเป็น ฉนวนให้เต็ม ว่างไม้หมอนขวางเพื่อให้เกิด ช่องอากาศด้านล่าง จัดเรียง ไม้ที่ต้องการเผาเข้าเตา โดยให้ไม้ท่อนใหญ่อยู่ด้านบน ไม้เล็กอยู่ด้านล่าง 4. ใช้ฝาถังที่ตัดเป็นช่องแล้ว ปิดเตาโดยให้ช่องอากาศอยู่ด้านล้างใช้อิฐบล็อกก่อ เป็นช่องอากาศเข้า ยาแนวส่วนต่อทั้งหมด (รวมทั้งฝาถัง) ด้วยดินเหนียว โดยให้ อากาศสามารถเข้าได้เฉพาะด้านหน้า และออกได้เฉพาะปล่อง ห้ามมีรอยรั่ว หมายเหตุ วัสดุดังกล่าวอาจนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวัสดุท้องถิ่น วิธีการเผา 1. เริ่มทำการจุดไฟเตา บริเวณหน้าเตาที่ห้องเผาไหม้ ค่อยๆ ใส่เชื้อเพลิง ความร้อนจะกระจายเข้าไปสู่ในตัวเตา เพื่อไล่อากาศ เย็นและความชื้นที่อยู่เตา และเนื้อไม้ ช่วงนี้ควันที่ออกมาตรงปล่องควันจะเป็นควันสีขาว(ไอน้ำ) 2. เผาไปอีกระยะหนึ่งควันสีขาว จะเริ่มบางลงและเปลี่ยนเป็นสีเทา หยุดให้เชื้อเพลิง และควบคุมอากาศโดยการหรี่ช่องหน้าเตา 3. หลังจากหยุดป้อนเชื้อเพลิงหน้าเตา ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง จะสังเกตสีของควันที่ปากปล่องเป็นสีขาวออกเหลืองและมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้หรี่ไฟหน้าเตาลงช่วงนี้ให้เริ่มเก็บ 4. เมื่อควันกลายเป็นสีฟ้า ให้เปิดหน้าเตา เพื่อให้อากาศร้อนเข้าไปไล่สารตกค้างในเตา โดยเปิดหน้าเตาครึ่งหนึ่ง เมื่อสีของควันมีสีฟ้าใสๆ สารตกค้างเหลือน้อย ให้ปิดหน้าเตา และปล่องให้สนิทด้วยดินเหนียว ทิ้งให้เย็น ประมาณ8 ชม. จึงเปิดเอาถ่าน ข้อมูล จากสมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม ( www.ata.ro.th) สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดนครปฐม 1764 สายด่วนข้อมูลปฏิรูปที่ดิน www.alro.go.th