การสร้างข้อสอบตามแนวการวัด ในโครงการวิจัยนานาชาติ PISA

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
Advertisements

โดย พัชรี ยันตรีสิงห์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป.นครปฐม เขต 2
: วัตถุประสงค์การวิจัย : การนิยามศัพท์
วิชาหัวข้อเรื่องที่ทันสมัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 6 มกราคม 2555
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
ER 2104 หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3(3-0)
กับการสร้างหน่วยการเรียนรู้
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
การวิเคราะห์ข้อสอบ อาจารย์ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ สะท้อนธรรมชาติวิทยาศาสตร์
การทดลองและการเขียนรายงานผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์
เอกสารเคมี Chemistry Literature
Thesis รุ่น 1.
งานนำเสนอแฟ้มสะสมผลงาน
งานนำเสนอแฟ้มสะสมผลงาน Chalermsri Piapan
หลักการพัฒนา หลักสูตร
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
การวางแผนและการดำเนินงาน
แนะนำวิทยากร.
: หัวข้อและความสำคัญของปัญหา
: หัวข้อและประเด็นปัญหา
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
การเสริมประสิทธิภาพการวัด และประเมินผลในชั้นเรียน
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
บทที่ 7 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและ การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเขียนรายงานการวิจัย
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน
1 การอ่านตำรา การอ่านตำรา.
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
การอ่านตามแนว PISA โดย วิไลวรรณ ชูรัตน์.
การพัฒนาระบบการเรียนการสอน
การวัดผล (Measurement)
ทบทวนทฤษฎีหลักสูตร ดร.อมรา เขียวรักษา.
การสร้างข้อสอบ ตามแนวการวัดใน PISA
ไม่ใช่ผู้ร้ายอย่างที่คิด ฝ่ายโภชนาการ รพ.ภูมิพลฯ
การปลูกพืชผักสวนครัว
เทคนิคการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
หน่วยที่ 1 ความหมายและความสำคัญของเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอัตนัยตามแนวทางการทดสอบระดับนานาชาติ (PISA)
การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
หลักสูตรพัฒนาความสามารถในการสร้างเครื่องมือ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
การยกระดับคุณภาพ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
หน่วยที่ 3 การวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
กลวิธีการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาสอบไม่ผ่านเกณฑ์คะแนน 60% ในรายวิชาหลักการตลาด โดยใช้วิธีการสอน ( เพื่อนช่วยเพื่อน) ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1/3.
ลักษณะข้อสอบการอ่าน PISA 2009.
การพัฒนากระบวนการอ่านในรายวิชาภาษาไทย ของนักศึกษาสาขา ช่างยนต์
การประเมินนวัตกรรม Dr.Kulthida Nugultham.
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต
การประเมินตามสภาพจริง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี กระโหมวงศ์
การนำเสนอและการประเมินผลโครงงาน
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
ศึกษาการสอนแบบการฟังและพูดของครูกับนักศึกษา
การเขียนรายงานผลการวิจัย
ชื่อผู้วิจัย จิติวัฒน์ สืบเสนาะ วิทยาลัยเทคโนโลยีระยองบริหารธุรกิจ
การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกการอ่านของนักเรียนระดับ ปวช
วิธีสอนแบบอุปนัย.
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model
ตัวอย่าง การเขียนโครงการ
เทคนิควิธีในการจัดการเรียนการสอน
ผู้วิจัย อาจารย์สมเกียรติ ขำสำราญ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การสร้างข้อสอบตามแนวการวัด ในโครงการวิจัยนานาชาติ PISA 30 กรกฎาคม 2544

การวัดและประเมินผลการเรียน เป้าหมายของการวัดผล 1. เพื่อประเมินความก้าวหน้าและพัฒนาการของ การเรียนการสอน (Formative Assessment) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอน (Summative Assessment) เพื่อประเมินการจบการศึกษา (Exit Examination)

วิธีการวัดผลการเรียนการสอน 1. การทดสอบด้วยข้อสอบ 2. การประเมินผลจากการปฏิบัติงานและผลงานของผู้เรียน 3. การประเมินจากบริบทอื่น

องค์ประกอบสำคัญของข้อสอบมี 2 ส่วน ดังนี้ การทดสอบด้วยข้อสอบ องค์ประกอบสำคัญของข้อสอบมี 2 ส่วน ดังนี้ 1. สถานการณ์หรือข้อสนเทศ 2. คำถามหรือปัญหา

สถานการณ์หรือข้อสนเทศ เป็นส่วนของข้อมูลเพื่อใช้ในการตอบคำถาม โดยนำเสนอ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ หรือการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระของบทเรียน ตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกับความเป็นจริงของชีวิต และสังคม

สถานการณ์หรือข้อสนเทศ สถานการณ์หรือข้อสนเทศควรมีลักษณะ ดังนี้ เหตุการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองที่ใกล้เคียงความจริง ความรู้ต่างๆ ที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้แล้ว ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือประเด็นที่สังคม ให้ความสนใจ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน สาระการเรียนรู้ ในหลักสูตร เรื่องสมมติที่สามารถนำมาวิเคราะห์ แก้ปัญหา ให้ความคิดเห็น หรือแสดงความรู้สึก

คำถามหรือปัญหา เป็นส่วนของคำสั่งที่ระบุให้ทราบว่าต้องการให้ทำอะไร โดยทั่วไปต้องการให้ตอบสนองโดยการคิดในเชิงวิทยาศาสตร์และ นำความรู้ ทักษะต่างๆ ไปเพื่อใช้แก้ปัญหา คำถามส่วนใหญ่มีลักษณะปลายเปิดที่ให้ผู้เรียนมีอิสระทางความคิด และถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบของการเขียนตอบได้

คำถามหรือปัญหา ควรมีลักษณะ ดังนี้ สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และสถานการณ์ ที่กำหนด สื่อสารได้ชัดเจนและใช้ภาษาที่เหมาะสมกับระดับของ ผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ อภิปราย แก้ปัญหา ตัดสินใจ ประเมินค่า และสร้างคำตอบได้อย่างสมเหตุผล เนื้อหาของคำถามมีความยุติธรรมสำหรับผู้เรียนทุกคน

ลักษณะข้อสอบ เลือกตอบ เลือกตอบแบบเชิงซ้อน เขียนตอบแบบสั้น/ปิด 1 เลือกตอบ 2 เลือกตอบแบบเชิงซ้อน 3 เขียนตอบแบบสั้น/ปิด 4 เขียนตอบแบบอิสระ

- แนวการตอบ เป็นหลักการหรือแนวคิดที่เป็นไปได้ในการตอบคำถาม ข้อสอบแบบเขียนตอบ การเตรียมข้อสอบแบบเขียนตอบควรมีแนวการตอบและเกณฑ์การให้คะแนนด้วย เพื่อให้ผู้ตรวจคำตอบสามารถตรวจได้สะดวกและให้คะแนนได้ตรงกัน - แนวการตอบ เป็นหลักการหรือแนวคิดที่เป็นไปได้ในการตอบคำถาม - เกณฑ์การให้คะแนน เป็นเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นสำหรับการให้คะแนนคำตอบโดยพิจารณาความถูกต้อง ครบถ้วนและความสมบูรณ์ของคำตอบเป็นสำคัญ

เกณฑ์การให้คะแนนข้อสอบแบบเขียนตอบ ลักษณะของเกณฑ์การให้คะแนนแบบเขียนตอบมี 2 รูปแบบ 1. เกณฑ์ให้คะแนนแบบภาพรวม (Holistic Scoring Guideline ) เป็นการให้คะแนน โดยดูภาพรวมที่แสดงถึงความเข้าใจ การเกิดแนวคิดหลัก กระบวนการที่ใช้ และการสื่อความหมาย และแบ่งระดับคุณภาพของงานโดยเขียนอธิบายพฤติกรรมการแสดงออกในแต่ละระดับอย่างชัดเจน

เกณฑ์การให้คะแนนข้อสอบแบบเขียนตอบ 2. เกณฑ์ให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ ( Analytic Scoring Guideline ) เป็นการให้คะแนนผลงานโดยแยกองค์ประกอบของผลงาน ออกเป็นด้านต่างๆ และอธิบายพฤติกรรมการแสดงออกในแต่ละ องค์ประกอบเป็นระดับ ข้อดีของการให้คะแนนแบบนี้ คือ มีความเป็นปรนัยในการ ให้คะแนนมากขึ้นและสามารถกำหนดสัดส่วนของคะแนนตาม ความสำคัญได้

ตัวอย่างข้อสอบเขียนตอบ: การดูดกลืนแสงของวัตถุ ช่วงชั้นที่ 3 สาระที่ 5 ทดลองและอธิบายการดูดกลืนแสง และการคายความร้อนของวัตถุต่างๆ สืบค้นข้อมูล รวมทั้งการนำความรู้ไปใช้ออกแบบเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ สถานการณ์ นักเรียนกลุ่มหนึ่งทำการทดลองนำถังโลหะ 2 ใบขนาดเท่ากัน ใบที่ 1 ทาสีดำและใบที่ 2 ทาสีขาว ใส่น้ำปริมาณที่เท่ากัน ตากแดดในวันที่อากาศร้อนจัด และสังเกตอุณหภูมิของน้ำในตอนเริ่มต้น เวลา 8.00 น. และหลังจากตากแดดที่ร้อนจัดถึงเวลา 12.00 น. ได้ผลดังภาพ เวลา 8.00 นาฬิกา 25 O C 38 O C 33 O C เวลา 12.00 นาฬิกา

ตัวอย่างข้อสอบเขียนตอบ: การดูดกลืนแสงของวัตถุ คำถาม ผลของการทดลองนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แนวคำตอบ ผู้ตอบมีความเข้าใจการดูดกลืนและการคายพลังงานความร้อนของวัตถุสีเข้มและ สีอ่อนได้ โดยมีแนวการตอบดังนี้ “อุณหภูมิของน้ำในถังทั้งสองสูงขึ้น อุณหภูมิของน้ำในถังสีดำสูงขึ้นมากกว่าน้ำในถังสีขาว เนื่องจากวัตถุสีดำดูดกลืนแสงและคายความร้อนได้ดีกว่าวัตถุสีขาว จึงทำให้น้ำในถังสีดำมีอุณหภูมิสูงขึ้นมากกว่า”

ตัวอย่างข้อสอบเขียนตอบ: การดูดกลืนแสงของวัตถุ เกณฑ์การประเมินแบบภาพรวม รายการประเมิน ระดับคุณภาพ ต้องปรับปรุง อธิบายการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ แต่ไม่สามารถอธิบายเหตุผลได้ อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้โดยเปรียบเทียบอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างถังทั้งสอง และ อธิบายเหตุผลที่อุณหภูมิของถังทั้งสองเพิ่มขึ้นได้บางส่วน พอใช้ อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ โดยเปรียบเทียบอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างถังทั้งสอง และ อธิบายเหตุผลที่อุณหภูมิของถังทั้งสองเพิ่มขึ้นโดยเปรียบเทียบสมบัติการดูดกลืนแสงและคายความร้อนของวัตถุสีขาวและสีดำ ดี

รวม 4 คะแนน ตัวอย่างข้อสอบเขียนตอบ: การดูดกลืนแสงของวัตถุ เกณฑ์การประเมินแบบแยกองค์ประกอบ รายการประเมิน คะแนน อุณหภูมิของน้ำในถังทั้งสองเพิ่มขึ้น 1 อุณหภูมิของน้ำในถังสีดำเพิ่มขึ้นมากกว่าถังสีขาว 1 อธิบายว่าวัตถุสีดำสามารถดูดกลืนแสงได้ดีกว่าวัตถุสีขาว 1 อธิบายว่าวัตถุสีดำสามารถคายพลังงานความร้อน ได้ดีกว่าวัตถุสีขาว 1 รวม 4 คะแนน

ตัวอย่างข้อสอบ: การจมหรือลอย พิจารณารูปต่อไปนี้ วัตถุ x น้ำ

ตัวอย่างข้อสอบ: การจมหรือลอย ถ้าตัดวัตถุ x ซึ่งมีเนื้อสม่ำเสมอออกเป็น 2 ส่วน และนำไปลอยในน้ำ จะได้ผลดังรูปใด 1. ก. ก. ก. ข. ข. ข. ค. ค. ง.

ตัวอย่างข้อสอบ: การจมหรือลอย ถ้าตัดวัตถุ x ออกเป็น 2 ส่วน และนำไปลอยน้ำจะได้ผลดังรูปใด 2. ก. ข. ค. ง. จงอธิบาย?

ตัวอย่างข้อสอบ: การจมหรือลอย ถ้าตัดวัตถุ x ออกเป็น 2 ส่วน และนำไปลอยสารละลายชนิดอื่น จะได้ผลดังรูปใด 3. ก. ข. ค. ง. จงอธิบาย?

ตัวอย่างข้อสอบ: การจมหรือลอย ถ้าตัดวัตถุ x ออกเป็น 2 ส่วน และนำไป ลอยในของเหลว y จะได้ผลเป็นอย่างไร 4. จงอธิบาย

มีวิธีการทดสอบได้อย่างไร? ตัวอย่างข้อสอบ: การจมหรือลอย ถ้าต้องการทดสอบว่าวัตถุ x มีเนื้อเดียวกัน ตลอดทั้งก้อนหรือไม่ 5. มีวิธีการทดสอบได้อย่างไร?

อัตราส่วนของปริมาตรส่วนที่จมต่อ ปริมาตรรวมของวัตถุ x เป็นอย่างไร 6. ตัวอย่างข้อสอบ: การจมหรือลอย อัตราส่วนของปริมาตรส่วนที่จมต่อ ปริมาตรรวมของวัตถุ x เป็นอย่างไร 6. ก. ค. ง. ข.

ตัวอย่างคำถามวัดเนื้อหาและสมรรถนะหลายกลุ่ม นักวิจัยต้องการสร้างทุ่นทรงกระบอกจากแผ่นโลหะผสมแล้วนำไปลอยในทะเล เพื่อวัดความหนาแน่นของน้ำทะเลบริเวณนั้นได้ค่าระหว่าง 1020 kg/m3 ถึง 1029 kg/m3 นักวิจัยรู้ว่าแผ่นโลหะที่ซื้อมาหนัก M กิโลกรัม และเศษโลหะที่เหลือจากการสร้างทุ่น หนักน้อยมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักของทุ่น เพื่อให้ทุ่นลอยในทะเลได้ จะต้องสร้างทุ่นให้มีปริมาตรมากหรือน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับน้ำหนักของแผ่นโลหะ จงอธิบายคำตอบ ……………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………………………….

ทุ่นทรงกระบอก แนวคำตอบ Vทรงกระบอก > M ÷1029 พร้อมแสดงที่มาของอสมการ เช่น

ทุ่นทรงกระบอก สาระ/มาตรฐาน/ตัวชี้วัด ตามหลักสูตร 51 : สาระที่ 2 การวัด / มาตรฐาน ค 2.1, ค 2.2 ตัวชี้วัด - ใช้ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตรแก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ - คาดคะเนเวลา ระยะทาง พื้นที่ ปริมาตร และน้ำหนัก ได้อย่างใกล้เคียง และอธิบายวิธีการที่ใช้ในการคาดคะเน สาระที่ 4 พีชคณิต / มาตรฐาน ค 4.2 - ใช้ความรู้เกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในการแก้ปัญหา พร้อมทั้งตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ตัวอย่างสถานการณ์ 1 น้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหารโดยทั่วไป จะมีทั้งกรดไขมันอิ่มตัว และไม่อิ่มตัวรวมอยู่ด้วยกัน แต่จะมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน บางชนิดมีกรดไขมัน อิ่มตัวเป็นองค์ประกอบมาก เช่น น้ำมันหรือไขมันที่ได้จากสัตว์ทุกชนิด น้ำมัน มะพร้าว เป็นต้น สำหรับกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งพบมากในน้ำมันถั่ว เหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น ไขมันแต่ละชนิดจะมีผลต่อร่างกายต่างกันโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง ของระดับคอเลสเตอรอลในเลือด การกินกรดไขมันอิ่มตัวมากจะทำให้ คอเลสเตอรอลที่ดี (HDL) และไม่ดี (LDL) สูงขึ้น ขณะที่กรดไขมันไม่อิ่มตัวจะ ทำให้ทั้งคอเลสเตอรอลที่ดีและไม่ดีกับร่างกายลดลง ที่มา : หมอชาวบ้าน ปีที่ 33 ฉบับที่ 387

ตัวอย่างสถานการณ์ 1

ตัวอย่างสถานการณ์ 1

คำถาม 1.1 นักวิชาการคนหนึ่งกล่าวว่า “การโฆษณาของน้ำมันพืชที่ไม่มีคอเลสเตอรอล อาจทำให้เข้าใจผิดว่าสามารถกินน้ำมันพืชเท่าไรก็ได้” คำกล่าวของนักวิชาการเป็นจริงหรือไม่ พร้อมอธิบายเหตุผลของนักเรียน ........................................................................................................................................

เกณฑ์การให้คะแนน คำถาม 1.1 จุดประสงค์ของคำถาม เพื่ออธิบายผลจากการได้รับไขมันในปริมาณที่มากเกินไป เกณฑ์การให้คะแนน เป็นจริง โดยให้เหตุผลถึงผลเสียหรืออันตรายของการบริโภคไขมันในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น เช่น ทำให้ไขมันส่วนเกินสะสมเป็นโรคอ้วน ปริมาณไขมันในเส้นเลือดสูงขึ้น ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ไขมันส่วนเกินอาจถูกเปลี่ยนเป็นคลอเรสเตอรอล สาระมาตรฐาน/ตัวชี้วัดตามหลักสูตร 2551 สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิต / มาตรฐาน ว1.1 ตัวชี้วัด ทดลอง วิเคราะห์ และอธิบายสารอาหารในอาหารมีปริมาณพลังงานและสัดส่วนที่เหมาะสม กับเพศและวัย

คำถาม 1.2 องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) แนะนำว่า “การกินไขมันเพื่อสุขภาพที่ดีควรได้พลังงานจากไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด โดยได้กรดไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ 10 ในคนปกติ ส่วนที่เหลือเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว” ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี สมชายต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี เพื่อสุขภาพที่ดี ควรรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวมากที่สุดวันละกี่กรัม ........................................................................................................................................

เกณฑ์การให้คะแนน คำถาม 1.2 จุดประสงค์ของคำถาม เพื่อคำนวณร้อยละของพลังงาน และแปลงพลังงานให้เป็นกรัม เกณฑ์การให้คะแนน 60 กรัม สาระมาตรฐาน/ตัวชี้วัดตามหลักสูตร 2551 สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ / มาตรฐาน ค1.2 ตัวชี้วัด วิเคราะห์และแสดงวิธีหาคำตอบของโจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคนของจำนวนนับ เศษส่วน จำนวนคละ ทศนิยม และร้อยละ พร้อมทั้งตระหนักถึง ความสมเหตุสมผลของคำตอบ และสร้างโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนนับได้

คำถาม 1.3 นักเรียนคนหนึ่งอ่านข้อมูลในตารางแล้วสรุปว่า “น้ำมันพืชเหมาะกับการบริโภคมากกว่าน้ำมันหมู” นักเรียนเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้หรือไม่ จงใช้ข้อมูลในตารางสนับสนุนเหตุผลของนักเรียน ........................................................................................................................................

เกณฑ์การให้คะแนน คำถาม 1.3 จุดประสงค์ของคำถาม ตีความข้อมูลปริมาณไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวในตาราง เกณฑ์การให้คะแนน เห็นด้วย เพราะน้ำมันพืชส่วนใหญ่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำกว่าน้ำมันหมู ไม่เห็นด้วย เพราะน้ำมันหมูมีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว สาระมาตรฐาน/ตัวชี้วัดตามหลักสูตร 2551 สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิต / มาตรฐาน ว1.1 ตัวชี้วัด ทดลอง วิเคราะห์ และอธิบายสารอาหารในอาหารมีปริมาณพลังงานและสัดส่วนที่เหมาะสม กับเพศและวัย

ใบงานที่ 1 สำหรับวันที่ 30 กรกฎาคม 2554

ใบงานที่ 1 - ออกข้อสอบตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ให้แต่ละกลุ่ม ออกข้อสอบตามสถานการณ์ที่ให้ เป็นข้อสอบวัด (1)วิทยาศาสตร์ (2)คณิตศาสตร์ และ(3)การอ่าน หรือแบบบูรณาการ พร้อมแนวคำตอบ และเกณฑ์การให้คะแนน ในแต่ละวิชาออกข้อสอบจำนวน 3 ข้อ โดยให้มี รูปแบบข้อสอบดังนี้ - แบบเลือกตอบ 1 ข้อ - แบบเขียนตอบสั้น 1 ข้อ - แบบเขียนตอบให้เหตุผล 1 ข้อ

ใบงานที่ 1 - ออกข้อสอบตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ แต่ละคำถามให้เชื่อมโยงกับจุดประสงค์การเรียนรู้ เกณฑ์การให้คะแนนให้มีทั้งแบบ Analytic และ Holistic ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอเมื่อเสร็จแล้ว

ใบงานที่ 2 สำหรับวันที่ 31 กรกฎาคม 2554

ใบงานที่ 2 - ออกข้อสอบตามสถานการณ์ที่เลือก ให้อาจารย์แต่ละท่าน ออกข้อสอบตามสถานการณ์ ที่ท่านเลือก เป็นข้อสอบในวิชาที่สอน/ถนัด (วิทยาศาสตร์/ คณิตศาสตร์/การอ่าน หรือบูรณา การ) พร้อมแนวคำตอบ และเกณฑ์การให้คะแนน ในแต่ละวิชาออกข้อสอบจำนวน 3 ข้อ โดยให้มีรูปแบบข้อสอบดังนี้ - แบบเลือกตอบ 1 ข้อ - แบบเขียนตอบสั้น 1 ข้อ - แบบเขียนตอบให้เหตุผล 1 ข้อ

ใบงานที่ 2 - ออกข้อสอบตามสถานการณ์ที่เลือก แต่ละคำถามให้เชื่อมโยงกับจุดประสงค์การเรียนรู้ เกณฑ์การให้คะแนนให้มีทั้งแบบ Analytic และ Holistic