น้องเลี้ยง : นายสุริโย ชูจันทร์ หน่วยงาน : สคร.ที่ 11 นครศรีธรรมราช ระบาดวิทยาและรูปแบบที่เหมาะสมในการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียในกลุ่มแรงงานต่างชาติภาคใต้ตอนบน น้องเลี้ยง : นายสุริโย ชูจันทร์ หน่วยงาน : สคร.ที่ 11 นครศรีธรรมราช
ความเป็นมา โรคมาลาเรียเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก ภูมิภาค ประเทศไทย และภาคใต้ตอนบน โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนไทย - พม่า ปี 2550 อัตราการการตรวจพบเชื้อ (SPR) ในแรงงานต่างด้าวสูงเป็น 3 เท่าของคนไทย ( 5.14 : 1.85 ) ปี 2552 อัตราป่วยต่อแสนประชากรในกลุ่มแรงงานต่างชาติ ใน จ.ระนอง สูงกว่าคนไทย (290.05 และ 244.62 ) แรงงานที่ซ่อนเร้นมีมากกว่าแรงงานขึ้นทะเบียน มีปัญหาการติดเชื้อสู่คนไทย ศตม. มีภารกิจหลักในการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรีย
คำถามการวิจัย ระบาดวิทยาในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ป่วยด้วยโรคมาลาเรียเป็นอย่างไร? รูปแบบการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร?
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาในกลุ่มแรงงานต่างชาติภาคใต้ตอนบน เพื่อศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการป้องกันควบคุมโรคในกลุ่มแรงงานต่างชาติภาคใต้ตอนบน
วิธีการศึกษา (1) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณทางด้านระบาดวิทยา เก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากรายงาน 506 และรายงานการสอบสวนและรักษาหายขาดผู้ป่วย ( รว.3) ในปี 2550 – 2552 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อหารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียที่เหมาะสม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรกลุ่มตัวอย่าง รวม 24 คน ได้แก่ - กลุ่มแรงงานต่างด้าว 8 คน - กลุ่มนายจ้างภาคเกษตรกรรม 4 คน - กลุ่มแกนนำชุมชน 2 คน - กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 6 คน - กลุ่มภาคเอกชน (NGO) 4 คน ( นคม. , ศตม. , สสจ.)
วิธีการศึกษา ( 2 ) พื้นที่ศึกษาหรือดำเนินโครงการ จังหวัดชายแดนติดกับพม่า ที่มีอัตราการตรวจพบเชื้อ (SPR) และอัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียในแรงงานต่างด้าวสูง ได้แก่ 1.ระนอง อัตราป่วยต่อแสนประชากร ปี 2550 – 2552 คิดเป็น 869.05 , 407.71 และ 290.05 ตามลำดับ โดยคัดเลือกพื้นที่ นคม.ที่ 11.5.3 กระบุรี 2.ชุมพร อัตราป่วยต่อแสนประชากร ปี 2550 – 2552 คิดเป็น 19.60 , 26.61 และ 34.45 ตามลำดับ และมีปัญหาการกลับมาระบาดของโรคในคนไทย โดยคัดเลือกพื้นที่ นคม.ที่ 11.4.2 ท่าแซะ
วิธีการศึกษา (3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - สคร.ที 11 นครศรีธรรมราช - ศตม.ที่ 11.4 ชุมพร และ ศตม.ที่ 11.5 ระนอง - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนองและชุมพร - ภาคเอกชน (NGO ) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยสรุปเชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การนำผลไปใช้ประโยชน์ - นำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียในกลุ่มแรงงานต่างชาติ - อาจเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำหนดรูปแบบการป้องกันควบคุมโรคและจัดระบบบริการสุขภาพที่เหมาะสม
ระยะเวลาที่ศึกษา เดือน ธ.ค.53 - ส.ค.54 ตามแผนงานดังนี้ ขออนุมัติด้านจริยธรรมการวิจัย เดือน ธ.ค.- ม.ค. เก็บรวบรวมข้อมูล เดือน มี.ค.- เม.ย. วิเคราะห์และแปลผลข้อมูล เดือน มี.ค. เขียนรายงานการวิจัย เดือนมิ.ย. - ก.ค. เผยแพร่ผลการวิจัย เดือน ส.ค.
งบประมาณและแหล่งทุน งบประมาณจากกองการเจ้าหน้าที่ เป็นเงิน 30,960 บาท งบประมาณจากกองการเจ้าหน้าที่ เป็นเงิน 30,960 บาท รายละเอียด ดังนี้ การประสานงานและการเก็บข้อมูล 14,640 บาท ค่าชดเชยอาสาสมัครแรงงานต่างด้าว 800 บาท ค่าจ้างเหมาบริการ(ถ่ายเอกสาร ทำเล่ม เผยแพร่ ) 3,020 บาท ค่าตอบแทนล่าม 2,000 บาท ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและคอมพิวเตอร์ 10,500 บาท
ทีมงาน น้องเลี้ยง พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา น้องเลี้ยง นายสุริโย ชูจันทร์ พี่เลี้ยง นายยุทธพงศ์ หมื่นราษฎร์ ที่ปรึกษา นายแพทย์สราวุธ สุวรรณทัพพะ