การบริหารงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปี 2554 ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
การบริหารงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคทั่วไป (ยกเว้นค่าบริการทันตกรรมส่งเสริมป้องกัน) งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในปีงบประมาณ 2554 ได้รับการจัดสรร ในอัตรา 242.92 บาทต่อประชากรสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 47.9966 ล้านคน ซึ่งต้องจัดบริการให้กับประชาชนคนไทยทุกคนทุกสิทธิ สำหรับ บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทั่วไป จึงเป็น 181.10 บาทต่อประชากร 64.38 ล้านคน ในปีงบประมาณ 2554
เพื่อให้ประชาชนไทยทุกคนทุกสิทธิในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึง บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึงและเท่า เทียมกัน - เป็นการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับ บุคคลและครอบครัว จัดสรรงบแก่หน่วยบริการ 181.10 บาท ต่อประชากรไทยทุกสิทธิ ซึ่ง สปสช.ได้มีการบริหารจัดการเป็น 3 ส่วน ตามกรอบบริหารงบ P&P ปี 2554
กรอบบริหารงบ P&P ปี 2554 (181.10บาท ต่อหัว ปชก. ทุกสิทธิ 64.38 ล้านคน) P&P Capitation (181.10บาท ต่อหัว ปชก. ทุกสิทธิ 64.38 ล้านคน) NPP&Central Procurement (14.52) P&P Expressed demand (108.17) P&P Area based(รวม PP Community) (58.41) บริหารแบบเขตบริการสุขภาพภายใต้ อปสข. Itemized 9 รายการ (28.69) Area problem (18.41+ส่วนที่เหลือจากกองทุน อปท.) Capitation (79.48) กองทุน อปท. (40.00) Diff by age group หักเงินเดือน หน่วยบริการ/สถานพยาบาล/หน่วยงานที่ให้บริการ CUP
งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการที่มี ความต้องการใช้บริการเด่นชัด (P&P Expressed demand services) - เพื่อการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลที่จัดโดย หน่วย บริการและสถานพยาบาลในอัตราเหมาจ่าย 108.17บาทต่อ ประชากรไทยทุกคน - ครอบคลุมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ประชาชนมารับ บริการที่หน่วยบริการและสถานพยาบาลหรือเป็นการจัดบริการเชิงรุกใน ชุมชนเพื่อให้เกิดการเพิ่มการเข้าถึงบริการ - ปี 2554 ได้ปรับเกณฑ์ทำการจัดสรรเป็น 2 แนวทาง
การจัดสรรลักษณะเหมาจ่ายรายหัว - ในอัตรา 79.48 บาทต่อประชากรทั้งประเทศ - จัดสรรแก่หน่วยบริการตามจำนวนสิทธิประกันสังคม,สิทธิประกัน สุขภาพถ้วนหน้าเพื่อเป็นการชดเชยค่าบริการ - หน่วยบริการทุกแห่งให้บริการตามชุดสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนที่ รับผิดชอบงานอย่างทั่วถึง และบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างเสริม สุขภาพและป้องกันโรค ดังนี้
- การฝากครรภ์ การตรวจหลังคลอด - การให้ภูมิคุ้มกันโรคในทุกช่วงอายุ การดูแลสุขภาพและพัฒนาการตามวัยเด็ก - บริการวางแผนครองครัว - บริการตรวจคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกกลุ่มวัย บริการให้สุขภาพ ความรู้ คำแนะนำ - บริการส่งเสริมศึกษาป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิต กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ บริการอนามัยในโรงเรียน เมื่อให้บริการแล้วบันทึกข้อมูลตามระบบการบันทึกข้อมูล การให้บริการสาธารณสุข ตามชุดมาตรฐาน 12 แฟ้ม 18 แฟ้ม
การจัดสรรตามผลการให้บริการ - จัดสรรในอัตรา 28.69 บาทต่อประชากรทั้งประเทศ - วัตถุประสงค์ของการจ่ายค่าชดเชยบริการตามผลงาน ดังนี้ 1. เพื่อให้เกิดการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันที่จำเป็นอย่างเท่าเทียม 2. เพื่อให้เกิดคุณภาพการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการดูแลอย่างต่อเนื่อง 3. เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกัน โรคเชิงรุกของหน่วยบริการปฐมภูมิ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายชดเชยค่าบริการผลงาน 1. ต้องการบันทึกข้อมูลการให้บริการรายบุคคลครบถ้วนตามที่กำหนด 2. ต้องมีระบบการกำกับติดตามประเมินผลรวมทั้งการตรวจสอบการให้บริการ (clinical & financial audit)
ในปีงบประมาณ 2554 ได้กำหนดรายการและอัตราค่าชดเชยบริการหรือการสนับสนุนเพิ่มเติม(on top) บางกิจกรรมของการบริการหลักในชุดสิทธิประโยชน์ที่จัดให้แต่ละกลุ่มประชากรเป้าหมาย จำนวน 9 รายการ ดังนี้ 1. การฝากครรภ์ (สำหรับการฝากครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ สัปดาห์และกลุ่มสิทธิประกันสังคมที่ส่งเงินสมทบยังไม่ครบ 7 เดือน) 2. การตรวจเยี่ยมหลังคลอด 3. บริการวางแผนครอบครัว(สำหรับสิทธิสวัสดิการข้าราชการและ ประกันสังคม) 4. บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน 5. การตรวจคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน(TSH) ในทารกแรกเกิด
6. การตรวจคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มโรคเมตาบอลิก (Metabolic diseases) 4 กลุ่ม คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง อ้วนลงพุง 7. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่มโรค ในข้อ 7 8. การตรวจมะเร็งปากมดลูก 9. การดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง 5 กลุ่มโรค คือ มะเร็ง เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือดสมอง ไตวายเรื้อรัง