งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ทิศทางการจัดสรร งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2551

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ทิศทางการจัดสรร งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2551"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ทิศทางการจัดสรร งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2551
การประชุมหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ นพ.วิทยา ตันสุวรรณนนท์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สปสช.

2 แนวทางเบื้องต้น เน้นการกระจายงบกองทุนแก่ระบบบริการสุขภาพในพื้นที่ต่างๆ ให้สอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรงบกองทุนสำหรับการบริการ ที่มีค่าใช้จ่ายสูง และโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพื่อให้ประชาชนเข้าใช้บริการได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม สร้างเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดให้มีบริการสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาของชุมชน จัดสรรงบประมาณให้ถึงหน่วยบริการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรม

3 งบประมาณปี 2551 ในปี 2551 ขอตั้งงบประมาณ 2,139 บ/ปชก ได้รับ 2,100 บ/ปชก ผู้มีสิทธิ เป็นเงิน 97,600 ลบ. หักเงินเดือนภาครัฐ 25,400 ลบ. คงเหลืองบกองทุนที่ใช้จัดสรร 72,200 ลบ. งบรักษาโรคเอดส์ ได้รับเพิ่มเติม 4,400 ลบ. งบประมาณที่ได้รับยังไม่ครอบคลุมโรคเรื้อรังบางโรค เช่น การล้างไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง การปลูกถ่ายอวัยวะ

4 บริการผู้ป่วยนอก จัดสรรแบบเหมาจ่ายรายหัว (ปรับตามโครงสร้างอายุและจำนวนการใช้บริการ = 90:10) เสนอให้ใช้อัตราจัดสรรงบ OP ปี 51 เท่ากับอัตราปี (~ 645 บ/ปชก) จัดสรรเพิ่มเติมต่างหากสำหรับการบริการผู้ป่วยนอก ในรายการบางประเภทที่มีค่าใช้จ่ายสูง ได้แก่ ยารักษาโรคมะเร็ง อุปกรณ์ทางการแพทย์ การตรวจวินิจฉัย หัตถการพิเศษทางโรคหัวใจ

5 บริการผู้ป่วยใน จัดสรรแบบ global budget ในระดับกองทุนเขต
งบประมาณกองทุนเขตปรับตามโครงสร้างอายุและจำนวนการใช้บริการ (70:30) เสนอให้ใช้ DRG version 4 ในการจ่ายชดเชย เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่เหมาะสมยิ่งขึ้น คาดการณ์อัตราจ่าย ประมาณ 8,000 – 9,000 บ/RW ขึ้นกับกองทุนเขต จัดสรรเพิ่มเติมต่างหากสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์บางประเภทที่มีราคาสูง

6 การเปลี่ยนแปลงจากการใช้ DRG V4.0
RW ทั้งหมด (IP normal + AE + HC) เพิ่มขึ้น ~ 8% เมื่อเทียบกับ DRG version 3.0 ตัวอย่างการเปลี่ยน DRG ผู้ป่วยเด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อย RW 1.5 เป็น 7.6 ผู้ป่วยผ่าตัดเปิดสมองจากอุบัติเหตุ RW 5.2 เป็น 7.7 ผู้ป่วยผ่าตัดไขสันหลัง RW 6 เป็น 8.3

7 บริการค่าใช้จ่ายสูง เสนอให้ใช้ DRG version 4 ในการจ่ายชดเชย
ปรับรายการที่มีค่า RW > 6 ขึ้นไป จัดเป็นบริการค่าใช้จ่ายสูง ประกันอัตราการจ่ายชดเชย ประมาณ 9,000 บ./RW (ลดลงจากปี 50 เนื่องจากจำนวน RW/case เพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะกรณีโรคค่าใช้จ่ายสูง) เสนอให้รวมกองทุน IP-HC เข้ากับกองทุน IP normal ในระดับเขต เนื่องจากคาดการณ์ว่าอัตราจ่าย IP normal จะใกล้เคียงกับ IP-HC

8 งบประมาณสำหรับการบริหารจัดการโรคเฉพาะ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ผ่าตัดหัวใจ ต้อกระจก ปากแหว่งเพดานโหว่ ฮีโมฟีเลีย ผ่าตัดโรคลมชัก การรักษาเร่งด่วนในโรคหลอดเลือดสมองตีบ นำร่องโรคไตเรื้อรัง เบาหวาน (งบ PP)

9 บริการส่งเสริมป้องกัน
บริการสำหรับประชากรไทยทั้งหมด = ล้านคน คิดเป็น บาทต่อประชากรไทยทั้งประเทศ ปรับเปลี่ยนการส่งเสริมป้องกันแบบ vertical program ที่ดำเนินการในระดับกรม มามุ่งเน้นในระดับจังหวัด ปรับสัดส่วนงบประมาณให้มีการบริหารแบบบูรณาการเพิ่มขึ้น โดยเน้นการบริหารระดับจังหวัดเป็นหลัก เพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่นโดยเพิ่มพื้นที่ที่เข้าร่วมในกองทุนตำบล

10 (ร่าง) กรอบการบริหารงบ PP ปี 2551
คำนวณจาก บาทต่อปชก.สิทธิ UC ที่จำนวนปชก.UC ล้านคน PP capitation (186.27บาทต่อหัว) ล้านคน PP Vertical program (14.69) ระดับประเทศ PP Community (37.50) ระดับชุมชน PP Facility (5 กิจกรรมหลัก) (82.43) ระดับ CUP PP Area based (51.63) ระดับพื้นที่ กองทุนตำบล จังหวัดจัดสรรให้ Cup + PCU (เฉพาะ ปชก.พื้นที่ที่ไม่มีกองทุนตำบล) Provincial Regional กรม Cup จังหวัดจัดสรรให้ Cup 5 กิจกรรมหลัก ได้แก่ ANC, PNC, FP, EPI ทุกช่วงอายุ, อนามัยเด็กเล็ก

11 บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
มีการขยายระบบบริการครอบคลุมทุกจังหวัด โดยศักยภาพบริการเพิ่มมากขึ้น จากการพัฒนาระบบในระยะที่ผ่านมา เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดบริการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ การจัดงบแบ่งเป็นการจ่ายค่าบริการและพัฒนาระบบ ในปี 2551 เพิ่มงบประมาณเพื่อรองรับการใช้บริการที่เพิ่มจำนวนขึ้นมาก

12 บริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
การใช้งบประมาณ แบ่งเป็น 4 ด้าน ชดเชยค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยและบริการฟื้นฟู พัฒนาระบบบริการในหน่วยบริการ พัฒนาศักยภาพคนพิการและผู้เกี่ยวข้อง ตรวจประเมิน/จดทะเบียนคนพิการ เพิ่มบทบาทให้เขตในการสนับสนุนงบชดเชย กายอุปกรณ์

13 งบลงทุนเพื่อการทดแทน
งบลงทุนทั่วไป เสนอให้จัดสรรตามสัดส่วนของงบ OP-IP OP คิดตามจำนวนประชากร IP คิดตาม RW งบ Primary Care งบ Excellent center โรคหัวใจ โรคมะเร็ง อุบัติเหตุ

14 งบพื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่พิเศษ และ CF
จัดสรรเพิ่มเติมให้หน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ในด้าน ค่าตอบแทนและค่าดำเนินการในพื้นที่กันดาร ค่าดำเนินการสำหรับ CUP และ PCU ที่มีประชากรเบาบาง พื้นที่ชายแดนและเสี่ยงภัย CF

15 เงินช่วยเหลือเบื้องต้น ม.41 และผู้ให้บริการ
เงินช่วยเหลือเบื้องต้น ม.41 ใช้จากงบคงเหลือของปีก่อนๆ เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการ = 0.40 บ/ปชก = 18 ล้านบาท

16 งบสนับสนุนตามผลการประเมินด้านคุณภาพ
จัดสรรแบบบูรณาการ ตามผลการประเมินทั้งในด้านคุณภาพการรักษาพยาบาล การส่งเสริมป้องกันโรค การพัฒนาระบบข้อมูล

17 การหักเงินเดือนปี 2551

18 รูปแบบการหักเงินเดือนปี 2551
สำนักงบประมาณหักเงินเดือนหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. ในภาพรวมเท่ากับ 60% ของเงินเดือนบุคลากร เป็นเงิน 23,540 ลบ. (หักเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากปี 50 = 5.7%) ปัญหาในการกำหนดวิธีการหักเงินเดือน หน่วยบริการรัฐ สังกัด สป.สธ. หน่วยบริการรัฐ นอกสังกัด สป.สธ. (มหาวิทยาลัย กรมการแพทย์ เทศบาล)

19 ประเด็นอื่นๆ การจัดสรรสำหรับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. กำหนดให้หน่วยบริการได้รับงบกองทุนไม่น้อยกว่าปี 50 เสนอให้กันเงินในระดับจังหวัด โดยมีกรอบที่ชัดเจนขึ้น เช่น กำหนดว่าไม่เกินกี่ % ของงบที่จัดสรรให้กับหน่วยบริการ รพศ. บางแห่งไม่รับเป็นหน่วยบริการประจำ แต่ขอรับดูแลเฉพาะกรณี HC เนื่องจากเข้าใจผิดว่าไม่ต้องหักเงินเดือน สำหรับหน่วยบริการรัฐนอกสังกัด สป.สธ. เสนอให้หักเงินเดือนในอัตรา 25% ของรายได้ OP-IP-PP-HC

20 ขั้นตอนการพิจารณาเกณฑ์การบริหารกองทุน
คณะกรรมการบริหาร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คณะทำงานร่วม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุข (เฉพาะงบกองทุนในส่วนหน่วยบริการสังกัด สป.สธ.) คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

21 ขอขอบคุณ


ดาวน์โหลด ppt ทิศทางการจัดสรร งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี 2551

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google