เมนบอร์ด (mainboard)
Mainboard Mainboard หรือ mother board ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญไม่แพ้กับ CPU เพราะหน้าทีหลัก ๆ ของเมนบอร์ดก็คือเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่าง CPU และ อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น Ram ,VGA card ,soundcard ดังนั้นเมนบอร์ดที่ดีจึงควรมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลที่เร็ว ยิ่งเมนบอร์ดเร็วมากก็จะส่งผลให้การทำงานของคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นตามไปด้วย
ประเภทของเมนบอร์ด เมนบอร์ดจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ แบบ AT และ ATX มีข้อแตกต่างกันตรงที่เมนบอร์ดแบบ AT จะไม่มีพอร์ตต่าง ๆ ต้องต่อสายแพให้ระโยงรยางค์ส่งผลให้เวลาติดตั้งเมนบอร์ดแล้วทำให้การระบายอากาศใน Case ทำได้ไม่ดี เป็นเมนบอร์ดยุคกลางปัจจุบันนี้ไม่ใช้กันแล้ว ใช้กับ CPU ในรุ่น 80386-pentium classic )
เมนบอร์ด แบบ ATใช้กับ CPU รุ่นเก่า ๆ
เมนบอร์ดแบบ ATX เป็นเมนบอร์ดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เพราะได้รวมเอาพอร์ตต่าง ๆ ไว้ในตัวทำให้ในเครื่องไม่มีสายแพมากนักจึงทำให้การระบายอากาศของตัวคอมพิวเตอร์ดีกว่าบอร์ดแบบ AT บอร์ดแบบ ATX จะมีช่องเสียบกับ power supply แบบหัวเดียว 20เข็มทำให้เวลาติดตั้งไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบหัวไฟเลี้ยงผิดแบบเมนบอร์ดแบบ AT
เมนบอร์ดแบบ ATX ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
เมนบอร์ดจะมีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ดังนี้คือ. 1 เมนบอร์ดจะมีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ดังนี้คือ 1. Chip set chipset เปรียบเสมือนกับตัวช่วยลดภาระในการทำงานของ CPU เช่น ช่วยควบคุม อุปกรณ์ต่าง ๆ (harddisk ,floppydisk) ช่วยควบคุมการติดต่อระหว่าง AGP และ RAM ฯลฯ หากไม่มี chipset บนเมนบอร์ด CPU จะต้องทำงานทุกอย่างด้วยตัวเองส่งผลให้ CPU ทำงานช้ามากหรืออาจจะทำงานไม่ได้เลย 2. Slot ต่าง ๆ slot คือช่องที่ใช้เสียบอุปกรณ์ขยายเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับ computer เช่น AGP slot เอาไว้เสียบการ์ดแสดงผล หรือ PCI slot เอาไว้เสียบ การ์ดเสียง ,โมเด็ม เป็นต้นหากคอมพิวเตอร์ไม่มี slot ต่าง ๆ แล้วก็จะมีผลทำให้เราไม่สามารถ Upgrade คอมพิวเตอร์ได้ในอนาคต
3. port ต่าง ๆ port คือช่องสำหรับต่ออุปกรณ์ ภายนอก เช่น Key board ,mouse Printer port จะมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น Port สำหรับต่อกับ keyboard จะมี 2 แบบ คือ แบบ Din ใหม่ จะมี 5 ช่องเสียบใช้กับเมนบอร์ดแบบ AT และ port แบบ Din เล็ก หรือ PS/2 ที่ใช้กับ keyboard แบบ ATX พอร์ตต่าง ๆ ที่อยู่บนบอร์ดแบบ ATX
4. Slot สำหรับ RAM Slot หรือ ช่องเสียบของ ram นั้น จะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของ ram ที่ Mainboard นั้น ๆ รองรับ เช่น Slot แบบ SD-RAM ก็จะใส่ได้เฉพาะกับ Ram แบบ SD หรือ slot แบบ DDR1 ก็จะใส่ได้ แต่ RAM แบบ DDR1 เท่านั้น 5. BIOS (Basic Input/Output System) ไบออส คือ ชิพประเภท ROM (Read only memory) หรือ ชิพที่ใช้ในการอ่านข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว หน้าที่ของ BIOS คือ การเก็บค่ามาตรฐานต่าง ๆ ของ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น ๆ เช่น วัน,เดือน,ปี ขนาดของ ฮาร์ดดิสก์ที่ต่ออยู่ ไดร์ฟอ่านข้อมูลที่ต่ออยู่ ค่าของพอร์ตต่าง ๆ ในเครื่อง ฯลฯ
BIOS ส่วนประกอบสำคัญอีกชิ้นของคอมพิวเตอร์
6. Port IDE (Intigrate Drive Electronic) พอร์ต IDE เป็นพอร์ต มาตรฐานที่มากับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์แบบ Micro เกือบทุกรุ่น หน้าที่ของพอร์ต IDE คือใช้ต่อเชื่อมกับอุปกรณ์ อ่านเเขียน ข้องมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ , ซีดีรอม พอร์ต IDE จะถูกติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดด้วยกันทั้งหมด 2 ชุดด้วยกัน คือ IDE 1 และ IDE 2 แต่ละชุดจะสามารถต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัว ดังนั้นในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ จะสามารถต่ออุปกรณ์แบบ IDE ได้สูงสุดเพียง 4 ตัวเท่านั้น 7. FDC (Floppy Drive Controler) FDC คือตัวควบคุมที่ใช้ต่อกับ Floppy drive ในบอร์ดตัวหนึ่ง ๆ จะมี FDC เพียงช่องเดียว และสามารถต่อ Drive ได้ 2 ตัว
8. พอร์ต USB (Universal Serial Bus) พอร์ต UPS กล่าวคือคุณสามารถเสียบอุปกรณ์เข้าไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้อง Restart เครื่อง และยังสามารถต่ออุปกรณ์ USB ได้ถึง 127 ชิ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง สำหรับพอร์ต USB นั้นมีอยู่ด้วยกัน2 Version คือ 1.1 และ 2.0 แบบ 1.1 สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ประมาณ 2 MB ต่อวินาที และแบบ 2.0 สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ 20 MB ต่อวินาที
การเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด งานเป็นหลักโดยส่วนที่สำคัญมากในการ เลือก Mainboard (เมนบอร์ด) นั่นก็คือ ซีพียู ตัวอย่างถ้าคุณต้องการใช้งานซีพียูของทางค่าย AMD ไม่ว่าจะเป็น Athlon XPหรือ Duron ก็ตามคุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่รองรับการ ทำงานของซีพียูที่เป็นแบบ Socket A
หลังจากนั้นก็เป็นในส่วนของหน่วยความจำว่าจะเลือกใช้แบบไหน DDR-SDRAMหรือ SDRAM หรืออาจจะใช้ทั้ง DDR-SDRAM และ SDRAM ก็ได้คุณก็ต้องเลือกซื้อ Mainboard (เมนบอร์ด) ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความแบบดังกล่าว เป็นต้น ใน Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นจะนำระบบเสียงหรือระบบประมวลผลภาพ(VGA)ไว้ในตัว ดังนั้น คุณอาจไม่จำเป็นต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ทั้งสองประเภทนี้ ในขณะที่ Mainboard (เมนบอร์ด) บางรุ่นก็จะรวมเอา LAN (local area network) ไว้ในตัวด้วย ทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินซื้อการ์ดเน็ตเวิร์กสำหรับใช้ท่องโลกอินเทอร์เน็ต (เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีงบซื้อจำกัด) แต่ถ้าใน Mainboard (เมนบอร์ด) ที่คุณเลือกซื้อไม่มีอุปกรณ์ดังที่กล่าวในตัว คุณก็จำต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นทีหลัง
The end