แนวคิด หลักการ ของการประเมินเพื่อการพัฒนา

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
มุ่งพัฒนาสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา
Advertisements

“ศกร.กศน.ในต่างประเทศที่มีคุณภาพ ”
ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
หน้าที่ของผู้บริหาร.
Best Practice.
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
การทดลองและการเขียนรายงานผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์
Thesis รุ่น 1.
ภาพรวมแนวคิดของโครงงาน
ข้อบกพร่องที่พบในรายงาน โดย รศ.ดร.สุชาดา บวรกิติวงศ์
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544
หลักการพัฒนา หลักสูตร
กระทำหน้าที่ตามเป้าหมายขององค์กรอย่างสมบูรณ์
33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 5
Research & Development รศ.ดร.สุพักตร์ พิบูลย์ มสธ.
PDCA คืออะไร P D C A.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
การติดตามประเมินผล ความหมาย การวัดผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของพนักงานช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งโดยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ วัตถุประสงค์
การติดตาม และประเมินโครงการ.
หลักสูตรการจัดการทั่วไป
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
การประเมินผลการเรียน
การเสริมประสิทธิภาพการวัด และประเมินผลในชั้นเรียน
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
การเสนอกระบวนงานบริการเพื่อขอรับการประเมิน
แนวทางการดำเนินงานโครงการสำคัญ ปีงบประมาณพ.ศ.2554 กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
ความดีเด่นของสถานศึกษา
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การโดยสรุป 1 หน้า
หน่วย การเรียนรู้.
การประกันคุณภาพการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัย/คณะ
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน
การกำหนดเกณฑ์ ประเมินคุณภาพภายใน
สภาพผลการดำเนินงานองค์กร
การลดขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติราชการ และการพิจารณาให้รางวัลคุณภาพ
การตรวจรับรองเกณฑ์คุณภาพการบริหาร จัดการภาครัฐระดับพื้นฐาน (Certify FL) 1.
ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
2 มิถุนายน อ. ศมณพร สุทธิบาก ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพและบริหารความเสี่ยง คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ของการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรฐาน งานเทคนิคการแพทย์2551
โครงการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ (การส่งเสริมให้ส่วนราชการนำร่อง เข้าสู่การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ) เขียนรายงานหมวดที่ 7 : ผลลัพธ์การดำเนินการ.
การเพิ่มผลผลิต Productivity
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk)
การวัดผล (Measurement)
ทบทวนทฤษฎีหลักสูตร ดร.อมรา เขียวรักษา.
มาตรฐานการวัด การประเมินและ การประกันคุณภาพภายใน
แนวทางการพัฒนาคลินิก DPAC
การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
การเขียนแบบเสนอหัวข้อโครงงาน
กระบวนการวิจัย Process of Research
หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
การประเมินนวัตกรรม Dr.Kulthida Nugultham.
การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา
การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ใช้สำหรับการปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 เป็นต้นไป
ADDIE Model.
หลักการเขียนโครงการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
ให้โอกาสผู้เรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ สร้างความมีวินัย การตรงต่อเวลา
อบรมปฏิบัติการ จัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
3. หลักการวิจัย หลักการวิจัย : สำราญ สาราบรรณ์.
แนวทางพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย
โครงการจัดตั้ง กองแผนงาน
1. การวิจัยคืออะไร 2. การวิจัยแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ใบสำเนางานนำเสนอ:

แนวคิด หลักการ ของการประเมินเพื่อการพัฒนา ดร.บูรพาทิศ พลอยสุวรรณ์ การนำเสนอแนวคิด และหลักการของการประเมินเพื่อการพัฒนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรพัฒนาผู้ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ คือ เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนความความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินเพื่อการพัฒนา อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาผู้ประเมินและการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพต่อไป

แนวคิด หลักการ ของการประเมินเพื่อการพัฒนา การประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? องค์ประกอบของการประเมินเพื่อการพัฒนา มีอะไรบ้าง? ลักษณะสำคัญของการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? จุดเน้นของการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? ขั้นตอนและกระบวนการประเมินเพื่อการพัฒนา เป็นอย่างไร? วิธีการและเครื่องมีอในการประเมินเพื่อการพัฒนามีอะไรบ้าง? เงื่อนไขในการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? ขอบข่ายเนื้อหาในการนำเสนอแนวคิดและหลักการของการประเมินเพื่อการพัฒนาครั้งนี้จะกล่าวถึงสาระสำคัญเบื้องต้น 7 ประการ คือ 1. การประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? 2. องค์ประกอบของการประเมินเพื่อการพัฒนา มีอะไรบ้าง? 3. ลักษณะสำคัญของการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? 4. จุดเน้นของการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? 5. ขั้นตอนและกระบวนการประเมินเพื่อการพัฒนา เป็นอย่างไร? 6. วิธีการและเครื่องมีอในการประเมินเพื่อการพัฒนามีอะไรบ้าง? 7. เงื่อนไขในการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? โดยแต่ละส่วนจะเสนอแนวคิดและหลักการจากการประมวลความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการประเมินและเรียบเรียบนำเสนอให้เห็นจุดสำคัญๆ ที่ต้องการเน้นเพิ่มเติมจากหลักการประเมินโดยทั่วไปซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว 16/02/48

การประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? การตีค่า/ความหมายข้อมูล/ปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆ โดยเทียบข้อมูลที่วัดได้กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แล้วใช้ค่า/ความหมายนั้นเพื่อการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/แก้ไขให้ดีขึ้น ข้อมูล/ปรากฏการณ์ของสิ่งที่ต้องการประเมิน การวัด เกณฑ์ การตีค่า/ความหมาย การใช้ผลการประเมิน การประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? ความหมายของการประเมินเพื่อการพัฒนานั้นโดยพื้นฐานแล้วเหมือนกับการประเมินทั่วๆไป แต่มีจุดเน้นในลักษณะการขยายความให้เห็นจุดประสงค์ของการประเมินที่ชัดเจนเฉพาะเจาะจงมากขึ้น จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า การประเมินเพื่อการพัฒนา หมายถึง “การตีค่าหรือความหมายของข้อมูลหรือปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆ ที่ต้องการประเมิน โดยเทียบข้อมูลที่วัดได้กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แล้วใช้ค่าหรือความหมายนั้นไปเป็นจุดเน้นหรือแนวทางในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขให้ดีขึ้น” จากความหมายดังกล่าวจะเห็นว่า การประเมินเพื่อการพัฒนา จะเกี่ยวข้องกับ ข้อมูล/ปรากฏการณ์ของสิ่งที่ต้องการประเมิน การวัด เกณฑ์ การตีค่า/ความหมาย และการใช้ผลการประเมิน

หลักการพื้นฐานในการประเมินทั่วๆไป การประเมิน คู่กับ การวัด (ที่มา: สกศ.2545) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักการพื้นฐานในการประเมินทั่วๆไปนั้น จะต้องมีการวัดข้อมูลดำเนินการไปด้วยเสมอ การวัดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ได้ข้อมูลมาเพื่อการประเมิน

องค์ประกอบของการประเมินเพื่อการพัฒนา มีอะไรบ้าง? ปรัชญาและจุดประสงค์ของการประเมิน เกณฑ์/มาตรฐานการประเมิน วิธีการและขั้นตอนการวัดและการประเมิน ผู้ประเมินและเครื่องมือในการวัดและการประเมิน (ที่มา: สกศ.2545) องค์ประกอบสำคัญของการประเมินเพื่อการพัฒนา มีอะไรบ้าง องค์ประกอบสำคัญของการประเมินเพื่อการพัฒนานั้นไม่แตกต่างจากการประเมินทั่วไป แต่งจะมีจุดเน้นในเชิงคุณลักษณะที่มุ่งไปสู่จุดหมายของการประเมิน คือ การพัฒนา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญดังกล่าว ได้แก่ ปรัชญาและจุดประสงค์ของการประเมิน เน้นการประเมินจากสภาพจริงเพื่อทำให้ดีขึ้นหรือยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น เกณฑ์/มาตรฐานการประเมิน เน้นให้มีตัวชี้วัด เกณฑ์ และระดับการประเมินที่เป็นระดับคุณภาพที่นำไปสู่การยกระดับการพัฒนาชัดเจน วิธีการและขั้นตอนการวัดและการประเมิน เน้นการประเมินตามสภาพจริงโดยใช้ขั้นตอนและกระบวนการบริหารคุณภาพเป็นแนวทางการวัดและประเมิน ได้แก่ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปฏิบัติการแก้ไขและดำเนินการต่อไป ผู้ประเมินและเครื่องมือในการวัดและการประเมิน เน้นผู้ประเมินและเครื่องมือที่สามารถสร้างสรรค์และสนับสนุนการพัฒนา โดยได้รับการพัฒนาให้เข้าใจและใช้ประเมินได้ตามจุดประสงค์

ลักษณะสำคัญของการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? การใช้ผลการประเมินเป็นตัวชี้จุด/แนวทางยกระดับคุณภาพ/การปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/แก้ไขให้ดีขึ้น ตัวอย่างจุดหมายทางการบริหาร ประสิทธผล = บรรลุจุดประสงค์ ประสิทธิภาพ = บรรลุเป้าหมาย และประหยัด มาตรฐาน = เป็นไปตามข้อกำหนดกลาง คุณภาพ = เป็นไปตามข้อกำหนด และเป็นที่พึงพอใจ ความเป็นเลิศ = มีคุณภาพโดดเด่นเหนือกว่าสิ่งอื่น/ผู้อื่น ลักษณะสำคัญของการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? ลักษณะสำคัญของการประเมินเพื่อการพัฒนา ได้แก่ การใช้ผลการประเมินเป็นตัวชี้จุด/แนวทางยกระดับคุณภาพ/การปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/แก้ไขให้ดีขึ้น ตัวอย่างจุดหมายทางการบริหาร ที่จะเป็นแนวทางในการยกระดับการปฏิบัติงานหรือผลงานให้ดีขึ้น ได้แก่ ประสิทธผล หมายถึง การดำเนินงานที่บรรลุจุดประสงค์ ประสิทธิภาพ หมายถึง การดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมาย และใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด มาตรฐาน หมายถึง การดำเนินงานที่เป็นไปตามข้อตกลงหรือข้อกำหนดกลาง ที่คนหรือองค์กรในวงการนั้นกำหนดขึ้นร่วมกัน คุณภาพ หมายถึง การดำเนินงานที่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือตามมาตรฐาน และเป็นที่พึงพอใจหรือประทับใจของผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ความเป็นเลิศ หมายถึง การดำเนินงานที่มีคุณภาพโดดเด่นเหนือกว่าสิ่งอื่น/ผู้อื่น โดยการยอมรับของคนทั่วไป

จุดเน้นของการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? จุดประสงค์การประเมิน คือ การตีค่า/ความหมายเพื่อนำผลไปใช้แสดงจุด/แนวทางการปรับปรุงให้ดีขึ้น วิธีการประเมิน คือ การประเมินตามสภาพจริง การใช้ผลการประเมิน ในการพัฒนาคุณภาพ/ยกระดับคุณภาพ (ที่มา: สกศ.2545) จุดเน้นของการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? จุดเน้นของการประเมินเพื่อการพัฒนาพิจารณาได้จากจุดสำคัญๆ คือ จุดเน้นเกี่ยวกับจุดประสงค์การประเมิน คือ การตีค่า/ความหมายเพื่อนำผลไปใช้แสดงจุด/แนวทางการปรับปรุงให้ดีขึ้น จุดเน้นเกี่ยวกับวิธีการประเมิน คือ การประเมินตามสภาพจริง และสร้างบรรยากาศการพัฒนา จุดเน้นเกี่ยวกับการใช้ผลการประเมิน คือ การใช้ผลการประเมินในการพัฒนาคุณภาพ/ยกระดับคุณภาพ

ขั้นตอนกระบวนการประเมินเพื่อการพัฒนา เป็นอย่างไร? การกำหนดจุดเน้นให้ชัดเจน ทั้งจุดประสงค์ คนและวิธีการ เลือกวิธีการที่ดีที่สุดให้บรรลุ/เป็นไปตามจุดเน้น มอบหมาย ทำความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติ ตรวจสอบการปฏิบัติ ปรับแก้และดำเนินการต่อ ใช้ผลการประเมิน (ที่มา: สกศ.2545) ขั้นตอนและกระบวนการประเมินเพื่อการพัฒนา เป็นอย่างไร? ขั้นตอนและกระบวนการประเมินเพื่อการพัฒนามีลักษณะเช่นเดียวกับการบริหารคุณภาพ คือ ประกอบด้วยขั้นตอนและกิจกรรมหลักๆ ที่ดำเนินเป็นลำดับต่อเนื่องกัน ได้แก่ การกำหนดจุดเน้นให้ชัดเจน ทั้งจุดประสงค์ คนและวิธีการ เลือกวิธีการที่ดีที่สุดให้บรรลุ/เป็นไปตามจุดเน้น มอบหมาย ทำความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติ ตรวจสอบการปฏิบัติ ปรับแก้และดำเนินการต่อ ใช้ผลการประเมินเพื่อการพัฒนา

วิธีการและเครื่องมีอในการประเมินเพื่อการพัฒนามีอะไรบ้าง? การประเมินตามสภาพจริง สัมผัส/รับรู้ และวัด ข้อมูล/ปรากฏการณ์ ที่เป็นจริง ตรวจสอบ/แปลความสู่ข้อมูล/ปรากฏการณ์ ที่เป็นจริง สรุปผลตามเกณฑ์ เครื่องมือ คือ คน และสิ่งเชื่อมโยงคนกับปรากฏการณ์/ข้อมูล คน/ผู้ประเมิน ตัวชี้วัด/เกณฑ์มาตรฐาน เอกสารเพื่อการวัด วิธีการและเครื่องมือในการประเมินเพื่อการพัฒนามีอะไรบ้าง วิธีการที่สำคัญของการประเมินเพื่อการพัฒนา คือ การประเมินตามสภาพจริง ซึ่งหมายถึง การประเมินจากข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำการวัดเพื่อประเมิน และมีการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อยืนยันและมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องความความจริง โดยการประเมินตามสภาพจริงต้องอาศัยกระบวนการสำคัญคือ สัมผัส/รับรู้ และวัด ข้อมูล/ปรากฏการณ์ ที่เป็นจริง จากแหล่งข้อมูลและหลักฐานร่องรอยต่างๆ ตรวจสอบ/แปลความสู่ข้อมูล/ปรากฏการณ์ ที่เป็นจริง โดยปราศจากอคติ สรุปผลตามเกณฑ์ โดยไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัว เครื่องมือ คือ คน และสิ่งเชื่อมโยงคนกับปรากฏการณ์/ข้อมูล จุดเน้นสำคัญ คือ คน/ผู้ประเมิน ที่ต้องความความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และทักษะในการประเมินเพื่อการพัฒนา และการสนับสนุนสร้างสรรค์บรรยากาศการพัฒนา ตัวชี้วัด/เกณฑ์มาตรฐาน ต้องมีความชัดเจน สามารถวัดได้ เอกสารเพื่อการวัด ได้แก่แบบวัดต่างๆ ที่เป็นตัวสื่อข้อมูลตามตัวชี้วัดที่กำหนด ต้องครอบคลุม ไช้ง่าย ทำให้ได้ข้อมูลที่มีความหมาย และนำไปวิเคราะห์และแปลความได้

คุณลักษณะ/เงื่อนไขการวัดและประเมินทั่วๆไป ความถูกต้องแม่นยำ ความตรง ความสมบูรณ์/ครบถ้วน ความชัดเจน ความน่าเชื่อถือ ความคงเส้นคงวา ความเหมาะสม ใช้ประโยชน์ได้ คุณลักษณะและเงื่อนไขของการวัดและประเมินทั่วๆไป คุณลักษณะและเงื่อนไปสำคัญของการวัดและประเมินผลทั่วไปจำเป็นต้องมีในการประเมินเพื่อการพัฒนา ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยำ หมายถึง เป็นการวัดและประเมินที่มีสาระถูกต้องตามหลักวิชาหรือศาสตร์ในเรื่องนั้นๆ ความตรง หมายถึง เป็นการวัดและประเมินที่มีสาระตรงกับสิ่งที่ต้องการ เช่น วัดความสูง ว่าสูงเท่าไร ไม่ใช้ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสูงว่า คิดว่าสูงเท่าไร เป็นต้น ความสมบูรณ์/ครบถ้วน หมายถึง เป็นการวัดและประเมินที่มีสาระครบตามรายการที่กำหนดหรือต้องการ ความชัดเจน หมายถึง เป็นการวัดและประเมินที่เข้าใจได้ง่ายไม่ต้องแปล หรือถ้าต้องแปลก็สามารถแปลความได้ตรงกัน ความน่าเชื่อถือ หมายถึง เป็นการวัดและประเมินที่มีหลักฐานข้อมูลรองรับอ้างอิงได้ ความคงเส้นคงวา หมายถึง เป็นการวัดและประเมินที่ดำเนินการอย่างคงที่/เสมอต้นเสมอปลาย ความเหมาะสม หมายถึง เป็นการวัดและประเมินที่สอดคล้องกับสภาพปัจจัยและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ใช้ประโยชน์ได้ หมายถึง เป็นการวัดและประเมินที่มีสาระที่ใช้ประโยชน์ได้จริง

เงื่อนไขในการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? หลักเกณฑ์การประเมิน (ชัดเจน) ผู้ประเมิน (คุณลักษณะ และจรรยาบรรณ) วิธีการและเครื่องมือ (ตรง/ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน/สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ/คงเส้นคงวา เหมาะสม) เทคนิคการเก็บข้อมูลอย่างรวดเร็ว และการตรวจสอบข้อมูล ระยะเวลา (เหมาะสม/สอดคล้องกับสภาพ) การนำผลไปใช้ (ตรงตามปรัชญา/จุดประสงค์) เงื่อนไขในการประเมินเพื่อการพัฒนา คืออะไร? เงื่อนไขสำคัญของการประเมินเพื่อการพัฒนา พิจารณาตามองค์ประกอบของการประเมิน นั้นมีจุดเน้น คือ หลักเกณฑ์การประเมิน ต้องมีความชัดเจน ผู้ประเมิน ต้องมีคุณลักษณะด้านความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และทักษะ รวมทั้งจรรยาบรรณที่เหมาะสม และด้รับการยอมรับ วิธีการและเครื่องมือ ต้องมีคุณลักษณะ ตรง/ถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน/สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ/คงเส้นคงวา เหมาะสม เทคนิคการเก็บข้อมูลอย่างรวดเร็ว และมีการตรวจสอบข้อมูลรอบด้าน ระยะเวลา มีความเหมาะสม/สอดคล้องกับสภาพ การนำผลไปใช้ ตรงตามปรัชญา/จุดประสงค์

ความสำเร็จของการประเมินเพื่อการพัฒนา ธรรมชาติของการพัฒนา/การเปลี่ยนแปลง คือ การเกิดสภาพ การพัฒนา/เปลี่ยนแปลง นิ่งเฉย การต่อต้านการพัฒนา/การเปลี่ยนแปลง การปรับสภาพไปสู่การพัฒนา/การเปลี่ยนแปลงคือการยอมรับและปฏิบัติ โดย การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก การมีส่วนร่วมอย่างกัลยาณมิตร การได้รับประโยชน์ สุดท้ายนี้จะขอสรุปส่วนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการประเมินเพื่อการพัฒนาที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง คือ ธรรมชาติของการพัฒนา/การเปลี่ยนแปลง คือ มักจะเกิดสภาพสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การพัฒนา/เปลี่ยนแปลง การนิ่งเฉย และการต่อต้านการพัฒนา/การเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การปรับสภาพไปสู่การพัฒนา/การเปลี่ยนแปลงคือการยอมรับและปฏิบัติ โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมอย่างกัลยาณมิตร และการให้ผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากการประเมิน แนวคิดและหลักการของการประเมินเพื่อการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดนี้ เป็นเพียงจุดเน้นเชิงหลักการที่ควรศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรายละเอียดอันจะนำไปสู่การพัฒนาการประเมินที่จะนำไปสู่ประโยชน์ของการประเมินต่อไป