คำแนะนำการจัดทำข้อเสนอโครงการ สุรศักด์ สงวนพงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Surasak.S@ku.ac.th
ข้อเสนอโครงการคืออะไร เอกสารระบุรายละเอียด จะทำอะไร ทำไมต้องทำ จะทำอย่างไร จะทำเมื่อไร เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติเห็นควรสนับสนุนหรืออนุมัติโครงการนั้น
โครงสร้างข้อเสนอโครงการ ในที่นี้จะใช้รูปแบบประเพณีนิยม (Convention Method) แจกแจงหัวข้อต่อเนื่องกัน อาจมีรูปแบบเฉพาะตามที่หน่วยงานกำหนด โดยทั่วไปประกอบด้วยโครงสร้างหลักดังนี้ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ จะทำอะไรและทำไมต้องทำ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อความ จะทำอย่างไรและทำเมื่อไร ส่วนที่ 3 ภาคผนวก (ถ้ามี)
องค์ประกอบในส่วนนำ ชื่อโครงการและผู้จัดทำ บทคัดย่อ (Abstract) สารบัญ
ส่วนนำ: ชื่อโครงการและผู้จัดทำ (1) ประเด็นสำคัญ สื่อเบื้องต้นว่าจะทำอะไร วิธีเขียน สั้น กระชับและสื่อความหมายชัดเจน ครอบคลุมประเด็นสิ่งที่เสนอทำ ดึงดูดใจ ใช้ภาษาถูกต้อง
ส่วนนำ: ชื่อโครงการและผู้จัดทำ (2) วิธีเขียนสำหรับข้อเสนอโครงงาน ชื่อโครงการตัวเข้มจัดตำแหน่งกลาง ชื่อหน่วยงานที่พิจารณาโครงการ/หัวข้องานที่ได้รับมอบหมาย (ในที่นี้คือภาควิชา) รายชื่อบุคคลหรือหน่วยงานผู้เสนอโครงการ วันที่เสนอโครงการ
ควรมีเพียงหนึ่งย่อหน้า ส่วนนำ: บทคัดย่อ ประเด็นสำคัญ: ส่วนย่อความของโครงการทั้งหมด บทคัดย่อไม่ใช่บทสรุป! วิธีเขียน ควรมีเพียงหนึ่งย่อหน้า มีความยาวพอประมาณ บางแห่งอาจกำหนดความยาวประมาณ 200-300 คำ แยกอยู่หน้าเฉพาะ ต่อจากชื่อโครงการ
ส่วนนำ: สารบัญ ประเด็นสำคัญ วิธีเขียน รายการหัวข้อเรื่องและหน้าที่ปรากฎ อาจมีสารบัญรูป และสารบัญตารางด้วย วิธีเขียน ระบุชื่อหัวข้อที่สอดคล้องกับหมายเลขหน้า
องค์ประกอบในส่วนเนื้อหา หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการ แผนงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ งบประมาณ ผู้เสนอโครงการ เอกสารอ้างอิง
ส่วนเนื้อหา: หลักการและเหตุผล (1) ประเด็นสำคัญ ส่วนที่บอกให้ผู้อ่านเชื่อว่าเรื่องนี้สมควรทำ เขียนในชื่ออื่นได้เช่น บทนำ คำนำ ความเป็นมา ความสำคัญและที่มาของโครงการ วิธีเขียน โครงการนี้คืออะไร อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ต้องทำ (motivation) ทำไมต้องทำ หากทำ จะได้ผลอะไร ใครได้ประโยชน์ หากไม่ทำ จะเกิดผลเสียอะไร ผลเสียต่อใคร
ส่วนเนื้อหา: หลักการและเหตุผล (2) ความจำเป็นของโครงการโดยสะท้อนจากที่มา มาจากปัญหาใด มาจากความจำเป็นใด มาจากนโยบายหรือแผนงานใด แสดงข้อมูล สถิติ ตัวเลข สนับสนุนที่มีน้ำหนักตามหลักเหตุผล สอดคล้อง ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติเห็นควรสนับสนุนหรืออนุมัติโครงการนั้น งานผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (ตรวจเอกสาร) งานทางวิชาการ หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (ต้องอ้างอิงเอกสาร) อะไรคืองานที่เป็น State of the art ข้อแนะนำอื่น ต้องสร้างและดึงดูดความสนใจได้ใน 4-5 ประโยคแรก ครอบคลุมภาพรวม
ส่วนเนื้อหา: วัตถุประสงค์ (1) ประเด็นสำคัญ เป็นคำมั่นสัญญา จุดใช้ประเมินผลของผู้อนุมัติโครงการ วิธีเขียน ต้องระบุผลงานที่เป็นจุดหมายปลายทาง ต้องระบุรายการสิ่งที่จะทำ ต้องระบุผลที่ได้รับจากสิ่งที่จะทำ เขียนให้กระชับ กระทัดรัด แยกเป็นข้อชัดเจน เนื้อหาต้องสอดคล้องกับชื่อโครงการและ หลักการและเหตุผล อาจทำในรูปตาราง วัตถุประสงค์/ผลที่ได้รับ
ส่วนเนื้อหา: เป้าหมาย ประเด็นสำคัญ วัตถุประสงค์เฉพาะ หรือขยายความวัตถุประสงค์ให้เห็นเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น วิธีเขียน สิ่งที่ต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์แต่ละข้อ ระบุตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์เฉพ่ะแต่ละข้อ ที่สามารถวัดได้ทั้งปริมาณ และคุณภาพ
ส่วนเนื้อหา: วิธีการ (1) ประเด็นสำคัญ อธิบายวิธีการที่จะทำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย สอดคล้องกับงบประมาณ วิธีเขียน ระบุรายละเอียดวิธีการ จุดเด่นของวิธีการ ชี้ถึงเหตุและผลที่สนับสนุนว่าวิธีการที่เสนอแก้ปัญหาได้ ลักษณะเด่นของชิ้นงาน ฟังก์ชัน และคุณสมบัติ ใช้แผนภาพ หรือแผนภูมิแสดงถึงองค์ประกอบแต่ละส่วนที่ออกแบบว่าทำงานร่วมกันอย่างไร อุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ ข้อมูลประกอบที่ต้องใช้ วิธีเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล (ถ้ามี)
ส่วนเนื้อหา: วิธีการ (2) วิธีเขียน (ต่อ) ระบุสมรรถนะ ประสิทธิภาพของงานที่สามารถวัดได้ทั้งปริมาณ และคุณภาพ อธิบายวิธีการทดสอบ จะวัดสมรรถนะ ประสิทธิภาพ หรือข้อกำหนดตามที่ระบุได้อย่างไร รูปแบบผลการทดสอบเป็นอย่างไร (ตาราง กราฟ ) วิเคราะห์ความคลาดเคลื่อน อธิบายถึงองค์ประกอบย่อยหรือพารามิเตอร์ที่อาจส่งผลกระทบต่อการความคลาดเคลื่อนของชิ้นงาน อภิปรายแนวทางตรวจสอบหรือวิเคราะห์ ว่าจะทดลองหรือจำลองแบบอย่างไรเพื่อตอบคำถามนี้ตอนเมื่อโครงงานเสร็จสิ้นในอนาคต
ส่วนเนื้อหา: แผนงาน ประเด็นสำคัญ วิธีเขียน ขั้นตอนปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย วิธีเขียน ลำดับกิจกรรมเป็นขั้นตอนที่ชัดเจนตั้งแต่ต้นจนจบโครงงาน ระบุระยะเวลาตลอดโครงงาน และระบุระยะเวลาของแต่ละกิจกรรม ใช้แผนภูมิแสดงปฏิทินกิจกรรม
ส่วนเนื้อหา: ผลที่คาดว่าจะได้รับ ประเด็นสำคัญ ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์เชิงรูปธรรมที่คาดว่าจะได้เมื่อโครงงานสำเร็จ วิธีเขียน : ระบุถึงผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ระบุถึงผลประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม ระบุถึงผลกระทบสืบเนื่อง ระบุถึงกลุ่มผู้ไช้ประโยชน์
ส่วนเนื้อหา: งบประมาณ (1) ประเด็นสำคัญ ประมาณการค่าใช้จ่ายยอดรวมทั้งโครงการ ชี้ให้เห็นว่าการลงทุน (ค่าใช้จ่าย : input) คุ้มค่ากับสิ่งที่จะได้ (ผลผลิต : output) หรือไม่ วิธีเขียน : แจงรายจ่ายออกเป็นหมวด แจงรายการย่อยแต่ละหมวด ค่าใช้จ่ายรวมแต่ละหมวด ค่าใช้จ่ายรวมทั้งโครงการ
ส่วนเนื้อหา: งบประมาณ (2) วิธีเขียน (สำหรับโครงงานวิศวกรรม): ยึดวิธีเขียนตามรูปแบบกำหนดในสไลด์ที่แล้ว แจงหมวดรายจ่ายที่ต้องใช้ในโครงงาน ค่าจ้างและค่าตอบแทน (ถ้ามี) ตัวอย่าง : ค่าตอบแทนหัวหน้าโครงงาน ค่าตอบแทนที่ปรึกษา ค่าจ้างพิมพ์งาน ค่าเดินทาง (ถ้ามี) ตัวอย่าง : ค่าพาหนะขนส่ง ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าใช้สอยและวัสดุ ตัวอย่าง : ค่าจัดทำเอกสาร/ค่าถ่ายเอกสาร ค่าจัดทำรายงาน ค่าโทรศัพท์/โทรสาร ค่าไปรษณีย์ ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ ค่าวัสดุสำนักงาน ค่าครุภัณฑ์ (ถ้ามี) ตัวอย่าง : ค่าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่าย ซอฟต์แวร์
องค์ประกอบในส่วนเนื้อหา: ผู้เสนอโครงงาน (1) ประเด็นสำคัญ ระบุตัวบุคคลเพื่อให้ตรวจสอบได้ว่าผู้เสนอโครงงานมีประสบการณ์ ความสามารถ และคุณสมบัติเหมาะสม วิธีเขียน ชื่อผู้เสนอโครงงานและสังกัด พร้อมวุฒิการศึกษา และตำแหน่งหน้าที่ หากเป็นคณะทำงานต้องระบุ ชื่อหัวหน้าโครงการและผู้ประสานงานโครงการ ชื่อที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาและสังกัด พร้อมวุฒิการศึกษา และตำแหน่งหน้าที่
องค์ประกอบในส่วนเนื้อหา: ผู้เสนอโครงงาน (2) วิธีเขียน (ในการทำข้อเสนอโครงงานวิศวกรรม) ผู้เสนอโครงงาน ชื่อ เลขประจำตัว สังกัด โทรศัพท์ อีเมล คณะทำงาน ชื่อผู้ทำงานร่วมภายนอก (ถ้ามี) ชื่อที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษา
ส่วนเนื้อหา: เอกสารอ้างอิง ประเด็นสำคัญ ระบุรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงในเนื้อความ ชี้ให้เห็นรากฐานของงานที่ทำ และเรื่องที่สัมพันธ์กับงาน วิธีเขียน ศึกษาข้อกำหนดของแต่ละแห่ง วิธีเขียน (ในการทำข้อเสนอโครงงานวิศวกรรม) ใช้รูปแบบการอ้างอิงสำหรับงานวิทยการคอมพิวเตอร์/วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีแหล่งอ้างอิงอย่างน้อย 2 กลุ่ม กลุ่มวารสารวิชาการ และเอกสารประกอบการประชุม (Journal & Conference Proceeding) โครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือวิทยานิพนธ์ รายการอ้างอิงอย่างน้อย 10 รายการ
ส่วนภาคผนวก ประเด็นสำคัญ วิธีเขียน ข้อมูลรายละเอียดซึ่งใช้อ้างอิงขณะอ่านเนื้องาน แต่สามารถแยกออกได้จากเนื้อความ (ตารางข้อมูลตัวเลข, โปรแกรม) วิธีเขียน พิจารณาจัดทำเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้อ้างอิงเท่านั้น (มีหรือไม่ก็ได้) แบ่งเป็นส่วนย่อยๆ หลายส่วนได้
ลักษณะข้อเสนอที่พึงประสงค์ ระบุสิ่งผลผลิตชัดเจนและเจาะจง (Specific) ผลผลิตสามารถวัดได้ (Measurable) ชี้ให้เห็นว่าสามารถบรรลุผลได้ (Achievable) ระบุผลลัพธ์ที่ชัดเจน (Result oriented) มีขอบเขตและขั้นตอนชัดเจน (Time bound) SMART
การประเมินข้อเสนอโครงงาน แบ่งการประเมินออกเป็น 3 ส่วน คือ การเขียน เนื้องาน รูปแบบ
การประเมินข้อเสนอโครงงาน : การเขียน จุดประเมิน เรียบเรียงและจัดลำดับเนื้อความได้ดีเพียงใด เขียนให้อ่านเข้าใจได้ดีเพียงใด มีการตรวจเอกสารและนำเสนอถูกหลักมากน้อยเพียงใด ใช้ภาษาถูกต้องเพียงใด
การประเมินข้อเสนอโครงงาน : เนื้องาน (1) จุดประเมิน : ทั่วไป แสดงเหตุผลชัดเจนและมีน้ำหนักเพียงใดทั้งในส่วนของหลักการและเหตุผล และวิธีการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจนเพียงใด ชี้ให้เห็นถึงผลผลิตหรือชิ้นงานชัดเจนเพียงใด
การประเมินข้อเสนอโครงงาน : เนื้องาน (2) จุดประเมิน : วิธีการและแผนงาน วิธีการมีทิศทางที่ชัดเจนหรือไม่เพียงใด วิธีการสอดคล้องกับหลักการและเหตุผลหรือไม่เพียงใด วิธีการครอบคลุมประเด็นปัญหาในหลักการและเหตุผลหรือไม่เพียงใด ชี้ให้เห็นถึงลักษณะเด่นของเนื้องานว่าต้องประยุกต์ใช้ความรู้การออกแบบเชิงวิศวกรรมและประสบการณ์มากน้อยเพียงใด ต้องไม่เป็นโครงงานที่สามารถลอกวิธีปฏิบัติทำหรือตามตำรา/หนังสือได้ตั้งแต่ต้นจนจบ! เสนอการวัดและประเมินผลครบถ้วนและเป็นไปได้ทางปฏิบัติเพียงใด แผนงานชี้รายละเอียดชัดเจนและเหมาะสมเพียงใด
การประเมินข้อเสนอโครงงาน : รูปแบบ จุดประเมิน รูปแบบข้อเสนอโครงการถูกต้องตามกำหนด การไม่คำนึงถึงรูปแบบที่กำหนด สื่อถึงความไม่รอบคอบ ไม่ปฏิบัติตามกติกา และสื่อไปถึงความไม่น่าเชื่อถือในตัวงาน ความครบถ้วนของหัวข้อโครงการ การเขียนเอกสารอ้างอิงถูกหลักการมากน้อยเพียงใด