การดำเนินคดีสุราขาวปลอม ฝ่ายป้องกันและปราบปราม สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 3
ข้อหา มีแสตมป์ปลอมหรือแสตมป์ที่ใช้แล้วใช้อีก น้ำสุรา ข้อหา มีไว้ในครอบครองหรือมีไว้เพื่อขายสุราที่มิได้ปิดแสตมป์สุรา(ไม่ได้เสียภาษี) ฉลาก ข้อหา มีและใช้เครื่องหมายการค้าปลอม
แสตมป์ปลอม, ใช้แล้วใช้อีก พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 ม.44 -มีแสตมป์สุราซึ่งรู้ว่าเป็นแสตมป์ปลอมไว้ในครอบครอง -นำแสตมป์สุราที่ใช้แล้วมาใช้อีก โทษ ม.44 จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประมวลกฎหมายอาญา ม.257 ใช้แสตมป์รัฐบาลซึ่งใช้ในการจัดเก็บภาษีกรปลอม โทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ฉลากปลอม (เครื่องหมายการค้าปลอม) พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ม.110 - มีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม โทษ จำคุกไม่เกิน 4 ปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
น้ำสุราในขวด พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 -ม.33 ขายหรือมีไว้เพื่อขายสุราที่ต้องปิดแสตมป์สุราแต่มิได้ปิดแสตมป์สุรา โทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 4 เท่าของค่าภาษี แต่ไมน้อยกว่าลิตรละ 100 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ -ม.34 ซื้อหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่ต้องปิดแสตมป์สุราแต่มิได้ปิดแสตมป์สุรา โทษ ปรับไม่เกิน 2 เท่า ของค่าภาษี แต่ไม่น้อยกว่าลิตรละ 50 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การตั้งข้อกล่าวหา ม.34 มีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่ต้องปิดแสตมป์สุราแต่มิได้ปิดแสตมป์สุรา ม.33 มีไว้เพื่อขายสุราที่รู้ว่าต้องปิดแสตมป์สุราแต่มิได้ปิดแสตมป์สุรา ม.13 ขนสุราที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องออกจากโรงงานสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต
เทคนิคในการดำเนินคดี (ศิลป์การปราบปราม) เริ่มต้น การชี้แจงความผิดและข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องทุกข้อหา (ใช้หลักกฎหมาย) การพิจารณาบทลงโทษ เพื่อหายุติคดี (ใช้หลักกฎหมาย หลักบริหาร หลักรัฐศาสตร์ การเจรจาต่อรอง ซึ่งควรจบลงด้วย win- win) จบ การจัดทำหลักฐานในคดี (ใช้หลักกฎหมาย)