การเฝ้าระวังกับนโยบายสังคม ศ.ดร.จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ
ความมุ่งหมายในการนำเสนอ เพื่ออธิบาย 1. การเฝ้าระวังทางสังคม มีความเกี่ยวพันกับนโยบายสังคมของประเทศอย่างไร 2. จะทำอย่างไรจึงจะนำผลของการเฝ้าระวังมาใช้ประโยชน์แก่สังคมได้มากที่สุด
นโยบายคือ คำมั่นสัญญาของฝ่ายการเมืองที่ให้แก่ประชาชน แนวการดำเนินงานที่ให้แก่ฝ่ายปฏิบัติการ การให้คุณค่าแก่การดำเนินงานในสังคมที่เลือกแล้วว่าเป็นสิ่งที่สังคมต้องการ
นโยบายสังคม มุ่งสร้างคนให้มีความสุข อยู่ดีกินดีในสังคมที่สร้างความพอใจให้ แก่สมาชิกทุกคน นโยบายสังคมด้านวัยรุ่น ก็เพื่อให้ประชากรของชาติเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีวิถีชีวิตที่ดี และสามารถบำเพ็ญประโยชน์ แก่สังคมได้มากที่สุด
ระดับกว้าง ครอบคลุมไว้ก่อน นโยบายแบ่งเป็น 2 ระดับ ระดับกว้าง ครอบคลุมไว้ก่อน ระดับเจาะจง เฉพาะเรื่อง เฉพาะกาล
นโยบายแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทตั้งรับ (Reactive Approach) ประเภทรุกไปข้างหน้า (Pro-active Approach)
กระบวนการกำหนดนโยบาย 1. การตั้งประเด็น (จากทฤษฏี ข้อความคิดเห็น ความรู้สึกและกรอบการวิเคราะห์) 2. การแสวงหาข้อมูล (ที่ตรงประเด็น เพียงพอ เชื่อถือได้ทันเวลา) 3. การวิเคราะห์ข้อมูล แยกแยะเรื่องข้อมูล เป็นประเภท ๆ 4. การกำหนดทางเลือก การพิจารณาทางเลือก และการนำเสนอวิธีแทรกแซง 5. การอนุมัติและการกำหนดเป็นนโยบาย
ความหมายและความสัมพันธ์ของคำศัพท์ที่สำคัญ คำว่านโยบาย แนวทาง มาตรการ กฎระเบียบ แผนงานโครงการ มีความเชื่อมโยงกัน ที่ลดหลั่นกันไปจากระดับความคิด (นามธรรม) สู่แนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน (รูปธรรม)
ผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย งานจัด ทำนโยบาย ผู้รับผิดชอบหลัก ผู้ช่วย -นโยบาย -แนวดำเนิน งานและมาตรการ -กฎระเบียบ -แผนงานโครงการ -ผู้บริหารงานระดับสูง -ฝ่ายการเมือง ผู้บริหารระดับรอง และผู้ช่วย “ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
ประเด็นสำคัญที่นักเฝ้าระวังเกี่ยวข้องกับกระบวนการนโยบายสังคมมากน้อยแค่ไหน ขอบเขตหน้าที่ของนักเฝ้าระวัง ต้องเก็บข้อมูล วิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลกี่ครั้งและต้องทำให้เสร็จเร็วมากน้อยแค่ไหน ข้อมูลจากแบบสอบถามที่เป็นเชิงปริมาณ เป็นแหล่งข้อมูลหลักหรือเพียงอย่างเดียวที่จะใช้ในการแจ้งเหตุใช่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ แหล่งข้อมูลอื่นมีอะไรอีก และนักเฝ้าระวังได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบแค่ไหน นักเฝ้าระวังจะต้องใช้สถิติในการแปรผลมากน้อยเพียงไร รูปแบบในการนำเสนอการแจ้งเหตุและรายงานควรเป็นอย่างไรและแค่ไหนเรียกว่าเป็นภัยอันตราย จะต้องแจ้งแก่ใคร และใครจะเป็นผู้เผยแพร่ นักเฝ้าระวังอาจได้รับมอบหมายให้ร่วมพิจารณามาตรการ นโยบาย ผู้ร่วมดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือผู้ร่วมประเมินสำเร็จตามนโยบายด้วย ผู้ใดจะเป็นผู้กำหนดค่ามาตรฐานในแต่ละประเด็นปัญหาให้ เมื่อไร และบ่อยครั้งเพียงใด