เครื่องมือคุณภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 1
PDCA - เป็นวงจรที่พัฒนาโดย W.Edwards Deming ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารคุณภาพ เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เกิด การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือการตั้งเป้าหมายในชีวิต
Plan (วางแผน) เริ่มจากกำหนดสิ่งที่ต้องการจะปรับปรุง เมื่อเลือกสิ่งที่จะปรับปรุงได้แล้ว ก็เริ่มวางแผน ขั้นตอนนี้ให้คิด 6 W 2 H ของสิ่งที่ต้องการจะปรับปรุง คือวัตถุประสงค์และเป้าหมายคืออะไร (what) ทำเพื่อใคร (whom) จะปรับปรุงที่ไหน(where) โดยใคร(who) เมื่อไร (when) ทำไมถึงต้องปรับปรุงสิ่งนี้ (why) เรามีวิธีในการปรับปรุงอย่างไร (how) จำนวนกลุ่มผู้รับผลประโยชน์หรืองบประมาณที่ใช้เท่าไร (how many)
Do (ปฏิบัติ) เป็นการทำความเข้าใจกับแผนที่วางไว้ และ ผู้รับผิดชอบลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
Check (การติดตามผล) เป็นการตรวจสอบผลของการปฏิบัติ นำผลมา เป็นการตรวจสอบผลของการปฏิบัติ นำผลมา เปรียบเทียบกับแผนที่ได้วางไว้
Action (ดำเนินการให้เหมาะสม) เป็นการนำผลการตรวจสอบมาพิจารณา ถ้าได้ผล ตามแผนที่วางไว้ ก็กำหนดขั้นตอนปฏิบัตินั้นเป็น มาตรฐานการปฏิบัติต่อไป แต่ถ้าไม่ได้ผลตามแผน มีปัญหาระหว่างปฏิบัติ ก็ต้องหาสาเหตุของปัญหานั้น และหาทางแก้ไขปรับปรุง เพื่อไม่ให้การปฏิบัติครั้ง ต่อไปเกิดปัญหานั้นอีก
ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ตัวอย่าง PDCA Sheet การนำวงจรคุณภาพ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
Plan เป้าหมาย เก็บเงินให้ได้ 60,000 บาท เป้าหมาย เก็บเงินให้ได้ 60,000 บาท Plan สิ่งที่ต้องทำ เก็บเงินให้ได้เดือนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี ขั้นตอนในการทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 1.คำนวณรายได้ (เงินเดือน 16,000 บาท) 2.ประมาณการค่าใช้จ่าย 3.(จ่ายประจำ-ค่าเช่าบ้าน 3,000บ.ค่ามือถือ 500บ.เงินเก็บ 5,000 บ. 4.คงเหลือ (16,000-(3,000+500+5,000)) = 7,500 บาท 5.ใช้เงิน 7,500 บาท ใน 30 วัน 6.เฉลี่ยวันละ 250 บาท
Do ใช้เงินแต่ละวันให้ไม่เกิน 250 บาท ใช้เงินแต่ละวันให้ไม่เกิน 250 บาท จดรายจ่ายใน Personal Improvement อย่าลืมจดปัญหาอุปสรรคประจำวันด้วย Do
Check แนวทางใหม่ ๆ ไอเดียปิ๊ง ๆ - เงินที่จะเก็บเป็นเงินออม ให้ฝากธนาคารที่ไม่มีATM - ตั้งคำถามกับตัวเองก่อนจ่าย 2-3 ครั้งว่า “จำเป็นมั้ย” - ศึกษาวิธีการลดรายจ่ายที่ช่วยให้เราทำได้ตามเป้าหมาย - เดือนที่ทำได้ตามเป้าหมายก็พยายามรักษามาตรฐานนี้ไว้ รายการ แผน ผล หมายเหตุ รายจ่ายในเดือนที่ 1 7,500 8,000 รายจ่ายในเดือนที่ 2 รายจ่ายในเดือนที่ 3 7,000 รายจ่ายในเดือนที่ 4 7,100
Action ปัญหาอุปสรรคที่พบ วิธีการในการแก้ไข - บางวันใช้เงินเกิน เงินที่ใช้เกินเนื่องจากนั่งแท็กซี่บ่อย เพราะตื่นสายกลัวไปไม่ทัน ต้องตื่นให้เช้าขึ้น - พอดีมีงานผ้าป่าจึงทำบุญไปด้วย อาจต้องประหยัด ค่าใช้จ่ายระหว่างวัน มากขึ้น นำผลที่ได้มากำหนดวิธีการใช้เงินให้ละเอียดขึ้น นำกลับไปวางแผนใหม่ (P) อีกครั้ง Action
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 21st Century Skills นักเรียนทุกคนต้องเรียนรู้เครื่องมือคุณภาพ PDCA ที่จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียน สามารถนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันได้ และกำหนดให้นักเรียนทุกห้องเรียนนำ PDCA ไปใช้ ในการทำโครงการ OCOP ด้วย ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 21st Century Skills