ภาษีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ Apirada Thadadech Ecommerce_tax.ppt
Contents ผลกระทบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อระบบภาษี เกณฑ์ปฏิบัติสากล เกณฑ์ปฏิบัติของไทย แนวทางการปรับระบบภาษี
ผลกระทบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อระบบภาษี พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทำให้เกิดผลกระทบที่สำคัญต่อระบบภาษี จากคุณลักษณะของการค้ารูปแบบใหม่ 3 ประการคือ ประการที่ 1 การค้าขายข้ามประเทศ ประการที่ 2 มูลค่าเพิ่มที่สร้างขึ้นจาการค้า ประการที่ 3 การระบุผู้ซื้อขายในธุรกรรมยากขึ้น ผลกระทบที่เกิดขึ้น รัฐบาลได้เสนอหลักการและเกณฑ์ปฎิบัติในการชำระภาษี
เกณฑ์ปฏิบัติสากล แนวทางระบบภาษี หลักการ 5 ข้อ คือ หลักการข้อที่ 1 – ความเป็นกลางทางภาษี (Neutrality) หลักการข้อที่ 2 – ประสิทธิภาพของการจัดเก็บ (Efficiency) หลักการข้อที่ 3 – ความแน่นอน (Certainty and Simplicity) หลักการข้อที่ 4 – ความยุติธรรม (Effectiveness and Fairness) หลักการข้อที่ 5 – ความยืดหยุ่น (Flexibility)
เกณฑ์ปฏิบัติสากล ภาษีทางตรง กลุ่มประเทศ OECD ได้วางแนวทางจัดเก็บภาษี (Model Tax Convention) ไว้โดยมีหลักการสำคัญให้พิจารณาแหล่งเงินได้เพื่อจัดเก็บภาษีทางตรงจากสถานประกอบการถาวร (Permanent Establishment) ซึ่งหากแปลเป็นไทยอาจได้ความหมายที่ไม่ตรงนัก เพราะความหมายของ Permanent Establishment มิได้รวมถึงสถานประกอบการที่สร้างด้วยอิฐเท่านั้น
ภาษีทางอ้อม เกณฑ์ปฏิบัติสากล คล้ายกับภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยในแง่ที่ว่าผู้ซื้อสินค้าหรือบริการเป็นผู้จ่ายภาษี แต่ความแตกต่างที่สำคัญคือไม่มีการขอคืนภาษีระหว่างทาง และผู้จัดเก็บภาษีการขายนี้คือรัฐบาลท้องถิ่น ทำให้ภาษีการขายในแต่ละรัฐนั้นมีอัตราไม่เท่ากัน
เกณฑ์ปฏิบัติของไทย หัวใจสำคัญในการพิจารณาเรื่องภาษีคือการพิจารณาว่าสินค้าที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นสินค้า หรือ บริการ เพราะกรมสรรพกรไทยมีระบบจัดเก็บภาษีแตกต่างกันตามคุณลักษณะนี้ สินค้าที่จัดว่าเป็นสินค้านั้นก็ได้แก่สิ่งของที่จับต้องได้ตามปกติ การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของสินค้าประเภทนี้จัดเป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทางอ้อม
เกณฑ์ปฏิบัติของไทย ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาที่เป็นคนไทยและนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยนั้น การค้าทางอินเทอร์เน็ตมิได้มีการให้สิทธิ์พิเศษประการใด จึงยังคงต้องเสียภาษีตามปกติ โดยยื่นแบบแสดงรายได้ ภงด. 90 และ ภงด. 50 ตามลำดับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในการขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้น หากเป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อที่อยู่ในประเทศ ผู้ขายสินค้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ตามปกติ แต่หากเป็นการส่งออกกรมสรรพกรสนับสนุนพ่อค้าไทยโดยให้เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราศูนย์ เพื่อให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
เกณฑ์ปฏิบัติของไทย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีศุลกากร การซื้อสินค้าดิจิตัลผ่านเวบไซต์และผู้ซื้อดาวน์โหลดสินค้าเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองนั้น เนื่องจากกรมสรรพากรไทยตีความให้สินค้าดิจิตอลเป็นบริการ ผู้ซื้อสินค้าในไทยจึงมีหน้าที่ในการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากการซื้อสินค้าเหล่านี้ด้วยตามตามมาตรา 70 ทวิ ภาษีศุลกากร ประเทศไทยสนับสนุนการส่งออก ดังนั้นไม่มีการเรียกเก็บภาษีศุลการกรขาออก ยกเว้นหนังดิบ แต่เมื่อสินค้าเข้าสู่ประเทศลูกค้าแล้ว ลูกค้าต่างประเทศจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาษีศุลกากรขาเข้าซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
แนวทางการปรับระบบภาษี แนวทางการปรับระบบภาษีของไทยให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีต้องใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี ตลอดจนการบริการผู้เสียภาษี ระบบจัดเก็บภาษีควรสามารถใช้เทคโนโลยี เพื่อตรวจสอบและติดตามธุรกรรมที่เกิดขึ้นได้ ต้องมีการประสานความร่วมมือในการจัดเก็บภาษีกับหน่วยงานต่างประเทศ ไทยยังควรยึดหลักการเก็บภาษีจากจุดบริโภค