ผงชูรสแท้หรือปลอม
ผงชูรส เป็นชื่อกลางที่ใช้เรียก โมโนโซเดียมกลูตาเมต (Monosodium Glutamate) วัตถุเจือปนอาหารประเภท วัตถุปรุงแต่งรสอาหารที่มีการใช้ในอาหารกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ผงชูรสมีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาวไม่มีกลิ่น มีประโยชน์ในการเป็นสารเพิ่มรสชาติอาหาร (Flavor Enhancer) ทำให้อาหารมีรสชาติโดยรวมดีขึ้น
ผงชูรส มีการขายในเชิงพานิชย์ครั้งแรกในปี ค. ศ. 1909 (พ. ศ ผงชูรส มีการขายในเชิงพานิชย์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1909 (พ.ศ. 2452) ภายใต้ชื่อการค้าเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า อายิโนะโมะโต๊ะ (Ajinomoto หมายถึง แก่นแท้ของรสชาติ)
ผงชูรสแท้ ผงชูรสแท้ผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง หรือจากกากน้ำตาล ลักษณะของผงชูรสจะเป็นเกล็ดหรือผลึกสีขาวขุ่นรูปร่างเหมือนกระดูกไม่มีความวาวแบบสะท้อนแสง มีรสชาติคล้ายเนื้อต้ม
ผงชูรสปลอม ส่วนผงชูรสที่ใช้วัตถุอื่นปลอมปนนั้น วัตถุบางชนิดไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเช่น ใช้เกลือ น้ำตาล แป้ง ชึ่งมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กเป็นเม็ด หรือเป็นผงปลอมปนเข้าไป แต่วัตถุบางชนิดก็เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เช่น ใช้บอแรกซ์ หรือที่เรียกว่า น้ำประสานทอง โดยปรกติแล้วสารตัวนี้ใช้ในการเชื่อมทอง มีลักษณะเป็นผลึก เม็ดกลมเล็ก ๆ สีขาว ทึบแสง ลักษณะใกล้เคียงกับผงชูรส จึงมักนิยมนำมาปลอมปน
บอแรกช์เป็นสารห้ามใช้ในอาหารหากร่างกายได้รับในปริมาณสูงอาจทำให้เสียชีวิตได้ ได้รับในปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง จนเกิดการสะสมในร่างกายจะเกิดอาการเป็นพิษแบบเรื้อรังทำให้เบื่ออาหาร อ่อนแอ สับสน ระบบย่อยอาหารถูกรบกวน ผิวหนังอักเสบ
วัตถุอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลอมปนในผงชูรส คือ โซเดียมเมตาฟอสเฟต สารตัวนี้มีลักษณะเป็นผลึกขาวใส วาววับหัวท้ายมน ปกติใช้เป็นน้ำยาล้างหม้อน้ำรถยนต์ เมื่อรับประทานเข้าไปจะออกฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง ชึ่งอันตรายมาก
วิธีการตรวจสอบว่ามีวัตถุอื่นปลอมปนหรือไม่ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ดังนี้ นำผงชูรสประมาณเท่าเม็ดถั่วเขียว ละลายน้ำสะอาด ๑ ช้อนชา จนหมด นำกระดาษขมิ้นจุ่มลงไป ถ้ากระดาษขมิ้นเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดงหรือสีแดงเข้ม แสดงว่ามีน้ำประสานทองปนอยู่ ๒. ใส่ผงชูรส ๑ ช้อนชา ในช้อนโลหะเผาจนใหม้ถ้าเป็นผงชูรสแท้จะไหม้ไฟเป็นถ่านสีดำที่ช้อน แต่ถ้ามีสารอื่นปลอมปน สารที่ปนอยู่นั้นจะหลอมตัวเป็นสารสีขาว
การสังเกตผงชูรสด้วยตาเปล่า มีหลักสังเกตดังนี้ ภาชนะที่บรรจุต้องอยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่ฉีกขาด ไม่เลอะเลือน ฉลากชัดเจน โดยที่ฉลากจะต้องมีข้อความระบุดังนี้ - ชื่ออาหารแสดงคำว่า “ผงชูรส” - เลขทะเบียนตำรับอาหาร - ชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตอย่างชัดเจน - เดือน ปี ที่ผลิต
http://www.mindcyber.com/content/data/5/0054-1.html