การเรียนรู้สู่ราชาศัพท์ ฉันทนา สุวรรณสุข
วัตถุประสงค์ เพื่อรู้จักกับคำราชาศัพท์ ใช้คำราชาศัพท์ได้ถูกต้องเหมาะสม ประโยชน์ของการเรียนรู้คำราชาศัพท์
ราชาศัพท์ มารู้จักความหมายกันเถอะ คำราชาศัพท์ ตามธรรมเนียมและวัฒนธรรมไทยนั้น จะต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่ฐานะของบุคคล ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ผู้ใช้ภาษาจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับบุคคลทั้ง 5 ประเภท คือ 1. พระมหากษัตริย์ 2. พระราชวงศ์ชั้นสูง 3. พระภิกษุ 4. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 5. สุภาพชนทั่วไป จึงสรุปได้ว่า คำราชาศัพท์ หมายถึง ศัพท์หรือถ้อยคำที่บุคคลทั่วไปใช้กับบุคคลที่ควรเคารพ คือ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ชั้นสูง พระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ และสุภาพชนทั่วไป
มารู้จักราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์กันดีกว่า กางเกง = พระสนับเพลา จดหมาย = พระราชหัตถเลขา โทรเลข = พระราชโทรเลข ประตู = พระทวาร เปล = พระอู่ ผ้าเช็ดหน้า = ซับพระพักตร์ ม่าน = พระวิสูตร ยา = พระโอสถ ร่ม = พระกลด หมวก = พระธำมรงค์ หมอน = พระเขนย หวี = พระสาง หน้าต่าง = พระแกล เสื้อ = ฉลองพระองค์
มารู้จักกับคำราชาศัพท์สำหรับพระสงฆ์บ้าง สรงน้ำ = อาบน้ำ ฉัน = กิน ปลงผม = โกนผม จำวัด = นอน ทำวัตร = สวดมนต์ มรณภาพ = ตาย อาพาธ = ป่วย นิมนต์ = เชิญ
มารู้จักกับคำศัพท์สำหรับสุภาพชนอีกนิดค่ะ ปลาใบไม้ = ปลาสลิด ปลายาว = ปลาไหล ผักสามหาว = ผักตบชวา ฟักเหลือง = ฟักทอง ผลอุลิด = แตงโม รากดิน = ไส้เดือน ถั่วเพาะ = ถั่วงอก ผักทอดยอด = ผักบุ้ง ผักรู้นอน = ผักกระเฉด ปลามัจฉะ = ปลาร้า ชัลลุกะ = ปลิง ปลาหาง = ปลาช่อน ขนมทราย = ขนมขี้หนู กล้วยเปลือกบาง = กล้วยไข่
ประโยชน์ที่ได้รับ ๑. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ๑. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ๒. ได้รู้คำศัพท์ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์มากขึ้น ๓. นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
อ้างอิงเจ้าค่ะ - หนังสือเสริมทักษะภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ - หนังสือเสริมทักษะภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ - www. Sci. riubon.ac.th - ใบความรู้