บทนำ วิชานาฏยหัตถกรรม Stage Crafts (อ.เมษา อุทัยรัตน์)
นิยาม วิชานาฏยหัตถกรรม คือ วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาออกแบบประดิษฐ์และสร้างสรรค์สื่อและอุปกรณ์ประกอบการแสดงด้านนาฏยศิลป์รวมทั้งศิลปะการแสดงแขนงต่างๆ เพื่อช่วยให้การแสดงมีความสวยงาม สมจริง ถ่ายทอดความหมายตามลักษณะบทละครและรูปแบบการแสดงแขนงนั้นๆ
บทบาทของผู้สร้างสรรค์ผลงานนาฏยหัตถกรรม 1 สื่อสารความหมายของการแสดงรูปแบบต่างๆ อาทิ การช่วยสื่อความหมายของบทละคร นำสารของผู้กำกับการแสดงไปสู่ผู้ชม โดยสะท้อนลักษณะบุคลิกตัวละคร เวลา สถานที่ บรรยากาศ สถานการณ์แวดล้อมที่ตัวละครกำลังเผชิญผ่านลงบน รูปแบบและลักษณะของผลงานนาฎยหัตถกรรม 2 ทำหน้าที่ผลิตผลงานที่เป็นองค์ประกอบเสริมการแสดงบนเวทีให้เกิดความน่าสนใจ เช่น การทำงานร่วมกับนักออกแบบเพื่อผลิตฉาก อุปกรณ์ประกอบฉากและเครื่องแต่งกายการแสดงที่มีความสวยงาม มีความหมายทางสัญลักษณ์ ดึงดูดให้ผู้ชมติดตามการแสดงอยู่ตลอดเวลา เสริมให้การแสดงนั้นๆมีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นที่จดจำ 3 ทำหน้าที่ผลิตอุปกรณ์ให้นักแสดงใช้ประโยชน์ในการแสดง เอื้อให้นักแสดงสามารถหาวิธีใช้อุปกรณ์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์การแสดงที่สามารถเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายและเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ฝ่ายนาฏหัตถกรรม 1 มีความรอบรู้และใฝ่รู้ในศาสตร์ศิลปะการแสดงและศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 2 มีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ 3 มีความประณีต ระเอียดรอบคอบในการผลิตและสร้างสรรค์ผลงาน 4 มีวินัยในการปฏิบัติงาน อดทนและรับผิดชอบหน้าที่ในการผลิตผลงานจนสำเร็จออกมาเป็นรูปธรรม 5 มีโลกทัศนคติในการทำงานเปิดกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงานฝ่ายต่างๆ
ประเด็นความรู้ที่เกี่ยวข้องในการศึกษานาฏหัตถกรรม ได้แก่ ความรู้ด้านลักษณะเวที, โรงละคร, ฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก, เสื้อผ้า, แสง, หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน