พัฒนาการการนำระบบสารสนเทศมาใช้ สำหรับงานทรัพยากรมนุษย์ เริ่มมีการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบุคลากรประมาณปี 1960 และได้พัฒนาให้เจริญก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำกับ ส่วนใหญ่นำมาใช้งานบริษัทที่เกี่ยวกับระบบเงินเดือน (Payroll System) จึงนับได้ว่าระบบเงินเดือนเป็นระบบแรกที่ใช้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ (Ceriello, 1991) ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานระบบอัตโนมัติที่มีแฟ้มการบรรจุข้อมูลจำนวนมาก เหมาะสมสำหรับงานทางด้านทรัพยากรมนุษย์ในการเก็บข้อมูลเบื้องต้น
ด้านระบบเงินเดือน เช่น ค่าจ้าง และรหัสหน่วยงานโดยมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์เรียกว่า COBOL (Common Business-Oriented Language) ต่อมาก็มีการสร้างโปรแกรมใหม่ๆ ทางด้านการเงินและบัญชีขึ้นมาใช้ นอกจากนี้ในระยะแรกมีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารบุคลากรเกี่ยวกับ การบันทึกทะเบียนประวัติพนักงานเนื่องจากเป็นงานประจำและต้องทำอย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจ้าง เลิกจ้าง และการติดตามผลงานของพนักงานแต่ละคน จึงมีการนำระบบสารสนเทศข้ามาประยุกต์ใช้งานดังกล่าว เพิ่มขึ้น
การใช้คอมพิวเตอร์ในระยะเริ่มแรก ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องอยู่ในห้องที่เย็นมาก เช่นเครื่อง Mainframes อุปสรรคที่สำคัญในการทำงานมากที่สุดคือ ขาดบุคลาการทางด้านโปรแกรม ดังนั้น ในระยะแรกจะมีเฉพาะในองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นทีมีความสามารถในการใช้เครื่องได้อย่างดี และสามารถซ่อมและบำรุงรักษาได้ แต่ความมั่นใจในระบบเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ยังไม่มีมากมีหลายบริษัทที่ยังคงใช้ควบคู่กันไปทั้ง 2 ระบบคือ ระบบอัตโนมัติจากคอมพิวเตอร์ และการใช้เครื่องมือเช่นเดิม (Automated and Manual)
ในช่วงปี 1960 องค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะใช้ระบบสารสนเทศ เป็นทรัยพากรในการบริหารจัดการคน เช่น บริษัท IBM บริษัท AT&T บริษัท GE บริษัท FORD ต่อมาได้มีการขยายการนำระบบสารสนเทศไปใช้ในธุรกิจอื่นๆ เช่น Manufacturers Handover Trust, Chemical Bank, Bank of America, Sears and Robuck, Montgomery Ward โดยองค์กรเหล่า นี้ได้มีการว่าจ้าง ผู้ขายระบบ (Vondor) มาช่วยในการพัฒนาซอร์ฟแวร์เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทน การจัดฝึกอบรม และการสรรหา เพื่อลด ขั้นตอนในการทำงาน ทำให้การทำงานลวดเร็ว และลดค่าใช้จ่าย
ในปี 1970 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยนำมาใช้ในด้านแรงงานสัมพันธ์ ด้านสุขภาพและความปลอดภัยในโรงงาน โดยในช่วงนี้จะมีการใช้สื่อสารโทรคมนาคม และการจัดการฐานข้อมูล และเริ่มใบ้บริการจากผู้ขาย (Vondor) เพิ่มขึ้นประมาณ 30–50 แห่งด้วยกัน (กรรชัย มาลัยวงศ์, 2537 )
ในปี 1980 จนถึงปัจจุบัน ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มีบทบาทมากขึ้นในทุกธุรกิจ ตั้งแต่ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ และนำมาใช้ในการบริหารการจัดการที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ระบบสามารถทำงานได้ตามต้องการ ลดขั้นตอนบางอย่างที่มีมากเกินไปให้เป็นงานเดียว ซึ่งผสมผสานกันอย่างสมบูรณ์ในระดับสูงขอระบบ โดยสามารถเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการวางแผนนโยบายและการตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ต่างๆ
ทำให้เกิดความจำเป็นต้องนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ และปัจจุบันได้นำแนวคิดการให้พนักงานสามารถทำรายการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของตนเอง ( Employee self Service ) รวมถึงแนวความคิดให้ผู้บริหารสามารถทำรายการต่างๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ ( Manager self Service)