โครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (PISA 2012)
PISA คืออะไร 1. PISA เป็นชื่อย่อของโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ 2. จุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลแก่รัฐบาลว่าระบบการศึกษาของชาติสามารถ เตรียมเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่มีศักยภาพสำหรับการแข่งขันในอนาคตหรือไม่ 3. PISA ทำการศึกษาสำรวจจากนักเรียนอายุ 15 ปี ซึ่งสากลถือว่าเป็นผู้จบ การศึกษาภาคบังคับ 4. PISA 2012 เน้นการประเมินคณิตศาสตร์เป็นวิชาหลัก มีการอ่านและ วิทยาศาสตร์เป็นวิชารอง
ประเทศในโครงการ PISA 2012 มีทั้งหมด 65 ประเทศ - ประเทศสมาชิก OECD จำนวน 34 ประเทศ (เอเชีย ได้แก่ เกาหลี ญี่ปุ่น) - ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ร่วมโครงการ Non OECD จำนวน 31 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ (เอเชีย ได้แก่ เซี่ยงไฮ้-จีน ฮ่องกง-จีน มาเก๊า-จีน จีนไทเป สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย)
ผลการประเมิน ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ ในเอเชียที่มีผลการประเมินกลุ่มสูงสุด ได้แก่ เซี่ยงไฮ้-จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง-จีน จีนไทเป เกาหลี ญี่ปุ่น กลุ่มต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ได้แก่ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่วนเวียดนามวิทยาศาสตร์อยู่ในกลุ่มสูงสุด
PISA กับประเทศไทย 1. ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่ครั้งแรก คือ PISA 2000 , PISA 2003 , PISA 2006 , PISA 2009 และรอบนี้เป็น PISA 2012 2. ใน PISA 2012 ประเทศไทย อยู่ในกลุ่มที่มีผลการประเมินเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD 3. ข้อมูลชี้ว่าหลัง PISA 2000 ประเทศไทยมีผลการประเมินที่ต่ำลงอย่างต่อเนื่องใน PISA 2003 และ PISA 2006 แต่ความตกต่ำได้หยุดลงใน PISA 2009 และประเทศไทย ได้เห็นแนวโน้มผลการประเมินที่สูงขึ้นอย่างชัดเจนใน PISA 2012 4. ผลการประเมินแสดงถึงแนวโน้มทางบวกของไทย
PISA กับประเทศไทย (ต่อ) 5. แม้ในภาพรวมยังมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย แต่ไทยก็มีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ ที่สามารถให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่เยาวชนไม่แพ้ชาติใดรวมอยู่ด้วย 6. ข้อมูลจากการศึกษานานาชาติอื่น ๆ ชี้ว่าระบบการศึกษาไทยใน กทม. มีคุณภาพ ใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา เพียงแต่ยังจำกัดอยู่เฉพาะใน กทม.เท่านั้น 7. กลุ่มโรงเรียนอื่น ๆ ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพป. สพม.) การศึกษาเอกชน (สช.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) การศึกษาท้องถิ่น (กศท.) อาชีวศึกษาเอกชน และของรัฐบาล (อศ.1 และ อศ.2) อยู่ในกลุ่มต่ำกว่าค่าเฉลี่ย OECD ทั้งสิ้น 8. ใน PISA 2012 นักเรียนไทยที่มีผลการประเมินสูงขึ้นอย่างมาก เป็นกลุ่มนักเรียน จากโรงเรียนขยายโอกาส
PISA กับประเทศไทย (ต่อ) 9. เมื่อดูตามท้องที่ภาคภูมิศาสตร์ นักเรียนจากพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างเคยเป็นกลุ่มต่ำสุด แต่คราวนี้เป็นนักเรียนจากภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล) ที่มีคะแนน ลดลงจนเป็นกลุ่มต่ำสุดแทนที่ภาคอีสานตอนล่าง 10. โดยภาพรวมนักเรียนไทยมีจุดอ่อนอยู่ที่การอ่าน ทั้งนักเรียนกลุ่มสูง 11. นักเรียนกลุ่มต่ำมีคะแนนการอ่านต่ำกว่าวิชาอื่น รองลงมา คือ คณิตศาสตร์ 12. นักเรียนที่มีผลการประเมินไม่ถึงมาตรฐาน ยังมีจำนวนมากถึงหนึ่งในสาม ในด้านภาษา และวิทยาศาสตร์ ส่วนด้านคณิตศาสตร์นักเรียนถึงครึ่งหนึ่งที่ยังไม่ถึงมาตรฐาน 13. นักเรียนที่ไม่ถึงมาตรฐานยังต่ำกว่าเพื่อนบ้านบางประเทศ
สรุป 1. ผลการประเมินชี้ว่า แม้ผลการประเมินยังห่างไกลจากระดับความเป็นเลิศ แต่ก็มีแนวโน้มที่ดี มีผลการประเมินที่สูงขึ้นมาก ไม่ว่าจะดูจาก PISA 2009 หรือดูจากการประเมินครั้งแรกใน PISA 2000 2. ผลการประเมินยังชี้นัยว่า ประเทศไทยมีระบบการศึกษาที่ดีเป็นของไทยอยู่แล้ว ในบริบทไทยเองเป็นบางส่วน ซึ่งสามารถทำให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ แต่เหล่านั้นกระจุกตัวอยู่เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะพื้นที่เท่านั้น มีบางประเด็นที่ยังเป็น จุดอ่อนสมควรต้องปรับปรุง ถ้าสามารถปรับปรุงและขยายระบบดังกล่าวไปสู่โรงเรียน ทั่วประเทศ โรงเรียนในชนบทไปสู่นักเรียนและโรงเรียนที่มีสถานะเศรษฐกิจสังคมและ วัฒนธรรมต่ำ เมื่อนั้นประเทศไทยจะมีผลการประเมินเทียมบ่าเทียมไหล่กับนานาชาติ
สรุปและนัยทางการศึกษา ในระดับนานาชาติ 1. โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ข้อมูลแก่รัฐบาล เพื่อใช้พิจารณาประกอบการจัดการศึกษา ผลการศึกษาของ PISA จะบอกให้ทราบว่า ระบบการศึกษาได้เตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่จะดำเนินชีวิตและมีส่วนสร้างสรรค์ สังคมมากน้อยเพียงใด และ PISA ยังให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับ คุณภาพการศึกษาอีกด้วย 2. ผลการประเมิน PISA 2012 แสดงให้เห็นว่า คุณภาพการศึกษาไทยแม้จะยังห่างไกลจาก ความเป็นเลิศเมื่อเทียบกับประเทศเอเชียตะวันออก แต่ก็มีประจักษ์พยานวา ความตกต่ำได้ หยุดลงและการยกระดับได้เริ่มปรากฏใน PISA 2009 และยืนยันอีกใน PISA 2012
สรุปและนัยทางการศึกษา (ต่อ) ในระดับนานาชาติ 3. ระยะเวลาสามปีหลังจากการปฏิรูปการศึกษาเมื่อ พ.ศ.2542 การประเมินใน PISA 2003 ผลการประเมินของนักเรียนไทยลดต่ำลงอย่างมาก และลดลงต่อเนื่อง (การอ่านและวิทยาศาสตร์) หรือคงที่อยู่ในระดับต่ำ (คณิตศาสตร์) และเป็นเช่นนี้ กับทุกวิชา และเป็นกับนักเรียนทุกกลุ่มไม่เว้นแม้แต่กลุ่มโรงเรียนสาธิตซึ่งมี คะแนนสูง และทุกวิชาเริ่มหยุดลดต่ำใน PISA 2009 และสูงขึ้นชัดเจนใน PISA 2012
สรุปและนัยทางการศึกษา (ต่อ) ในระดับนานาชาติ 4. สิ่งที่เรียนรู้จากข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า เมื่อระบบการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ย่อมทำให้เกิดความปั่นป่วนทั้งระบบ และต้องใช้เวลานานกว่าจะปรับตัวได้ และข้อมูลชี้ว่า การศึกษาไทยกำลังเดินไปในทิศทางบวก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ จึงควรพิจารณาทบทวนถึงผลกระทบที่จะทำให้เกิดความตกต่ำดังเช่นในรอบที่ผ่านมาอีกครั้ง อนึ่งการดเปลี่ยนแปลงใด ๆ ควรอยู่บนฐานของข้อมูล ไม่ใช่จากความคิดเห็น เพราะมิฉะนั้น จะไม่อาจสร้างความไว้วางใจต่อสาธารณะและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
สรุปและนัยทางการศึกษา (ต่อ) ในระดับนานาชาติ 5. แม้ว่าระบบการศึกษาโดยทั่วไปจะมีเป้าหมายในการสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ซึ่งไม่ใช่เพียงโอกาสในการเข้าโรงเรียน แต่หมายถึงความเท่าเทียมกันในคุณภาพการเรียนรู้ด้วย ผลการประเมินชี้ว่า นักเรียนไทยกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำเคยมีความแตกต่างในช่องว่างที่กว้างมาก และมีนัยทางบวกเมื่อพบว่า ช่องว่างของความแตกต่างเริ่มแคบลงเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไป ซึ่งเป็นทิศทางที่ระบบฯต้องการ แต่ในความเป็นจริงช่องว่างที่แคบลงไม่เพียงแต่กลุ่มต่ำ มีคะแนนสูงขึ้น แต่พบว่า นักเรียนกลุ่มสูงมีคะแนนลดต่ำลงด้วยซึ่งเป็นทิศทางที่ไม่พึงปรารถนา
สรุปและนัยทางการศึกษา (ต่อ) ในระดับนานาชาติ 6. นักเรียนทั้งกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำมีจุดอ่อนที่การอ่านทั้งสองกลุ่ม และที่สำคัญ การอ่านมีค่าสหสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์สูงมาก และค่าสหสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ วิทยาศาสตร์ เมื่อคุณภาพการอ่านต่ำ จึงทำให้วิชาอื่น ๆ มีคะแนนต่ำไปด้วย ระบบการศึกษาจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงยกระดับคุณภาพการอ่านของนักเรียน 7. ข้อมูลชี้จุดแข็งและจุดอ่อนที่ช่วยให้ระดับนโยบายใช้เป็นข้อมูลในการจัดการศึกษา จุดแข็ง ที่พบ เป็นต้นว่า ระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนกลุ่มคะแนนสูงน่าจะเป็นตัวแบบ (Model) ของการเรียนการสอนของโรงเรียนทั่วไป จุดแข็งอีกจุดหนึ่ง คือ การที่นักเรียนโรงเรียน ขยายโอกาส มีคะแนนสูงขึ้นมาก แสดงว่า ระบบฯทำงานได้ดีในชนบทในระยะหลัง จึงน่าจะได้มีการศึกษาในรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้น เพื่อว่าจะสามารถใช้เป็นตัวแบบ ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา
สรุปและนัยทางการศึกษา (ต่อ) ในระดับนานาชาติ 8. ข้อมูลชี้จุดอ่อนอีกหลายจุดที่ระบบสามารถจัดการกับตัวแปรนั้น ๆ ได้ตรงเป้าหมาย อย่างไรก็ตามข้อมูลไม่ได้ชี้ว่า หลักสูตรเฉพาะวิชาเป็นเป้าหมายที่ต้องเปลี่ยนแปลง ยกเว้นทักษะการใช้ภาษาที่ผลการประเมินชี้ว่า เป็นจุดอ่อน และเนื่องจากทักษะทางภาษา มีค่าสหสัมพันธ์สูงมากกับด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ดังนั้น จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะต้องยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนด้านภาษา โดยไม่ต้องเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ ทั้งระบบ เพราะอย่างน้อยที่สุดโรงเรียนกลุ่ม สพป. กำลังก้าวหน้าไปถูกทิศ หากมีการ เปลี่ยนแปลงใหญ่อีกอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าจะเดินถูกทาง
สรุปและนัยทางการศึกษา (ต่อ) ในระดับนานาชาติ 9. ผลการประเมินชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีระบบการศึกษาที่ดีอยู่แล้วในบริบทไทยเอง ซึ่งสามารถทำให้นักเรียนมีผลการประเมินสูง ซึ่งประเทศไทยทำได้เองโดยไม่ต้องใช้มือ ต่างชาติ เพียงแต่ระบบเหล่านั้นถูกกระจุกตัวอยู่เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะพื้นที่เท่านั้น ถ้าระดับนโยบายสามารถขยายระบบดังกล่าวไปสู่โรงเรียนทั่วประเทศ โรงเรียนในชนบท ไปสู่นักเรียนและโรงเรียนที่มีสถานะเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมต่ำ เมื่อนั้นประเทศไทย จะมีผลการประเมินเทียมบ่าเทียมไหล่กับนานาชาติ 10. ข้อมูลที่รายงานมาทั้งใน PISA ครั้งนี้และครั้งก่อนชี้จุดที่รัฐสามารถจัดการเพื่อการยกระดับ คุณภาพการศึกษาได้ตรงจุด หรือเฉพาะจุด โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ เพราะ ประเทศชาติเคยได้ประสบการณ์เช่นนั้นมาแล้ว และคงไม่ต้องการให้เหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำอีก
นโยบายการขับเคลื่อนระบบการวัด และประเมินคุณภาพผู้เรียน
เจตนารมณ์ในการขับเคลื่อน “ต้องการให้เป็นการวัดและประเมินผลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง”
เป้าหมายในการขับเคลื่อน ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ทุกสังกัด) ได้รับการทดสอบวัดและ ประเมินผลด้วยข้อสอบกลางที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียน เป็นรายบุคคล รวมทั้งสามารถเปรียบเทียบคุณภาพของผู้เรียนแต่ละคนได้
กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการ นักเรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจำแนกตามการทดสอบ ดังนี้ 1. การทดสอบในชั้นประโยค 2. การทดสอบในชั้นอื่น ๆ
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อน 1. พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลในระดับสถานศึกษาโดยมีข้อสอบกลางร่วม เป็นส่วนหนึ่ง 2. พัฒนาคลังข้อสอบที่สามารถประเมินผู้เรียนได้รอบด้านที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน 3. พัฒนาความรู้ความสามารถของครูผู้สอนเกี่ยวกับการวัดและประเมินคุณภาพ ผู้เรียน
แผนการดำเนินงาน กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลในระดับสถานศึกษา โดยมีข้อสอบกลางร่วมเป็นส่วนหนึ่ง กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคลังข้อสอบที่สามารถประเมินผู้เรียนได้รอบด้าน ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาความรู้ความสามารถของครูผู้สอนเกี่ยวกับการวัด และประเมินคุณภาพผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลในระดับสถานศึกษา กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลในระดับสถานศึกษา โดยมีข้อสอบกลางร่วมเป็นส่วนหนึ่ง 1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทบทวนและปรับปรุงมาตรฐานเพื่อการ ประกันคุณภาพการศึกษาในส่วนของคุณภาพผู้เรียนให้ครอบคลุมความรู้หรือทักษะ ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดแนวทางการวัดและประเมินผล ปลายภาคเรียนหรือปลายปีการศึกษาของสถานศึกษาโดยมีข้อสอบกลางร่วมเป็นส่วนหนึ่ง 3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปรับแก้ระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผล ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สอดรับกับการนำข้อสอบกลางไปใช้ในการวัด และประเมินผลปลายปีของสถานศึกษา โดยมีการกำหนดมาตรการหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ นักเรียนที่สอบตก 4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชี้แจงหรือประชาสัมพันธ์ให้สถานศึกษาต่าง ๆ รับทราบ แนวทางการข้อสอบกลางไปใช้ในการวัดและประเมินผลปลายปีของสถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคลังข้อสอบที่สามารถประเมินผู้เรียนได้รอบด้าน กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาคลังข้อสอบที่สามารถประเมินผู้เรียนได้รอบด้าน ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน 1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กำหนดแผนผังในการจัดทำข้อสอบ (Test Blueprint) ที่ใช้ในการสอบปลายปีของสถานศึกษา ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในทุกระดับชั้น เพื่อใช้ในการทดสอบประจำปีของทุกสถานศึกษา 2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยชุมนุมนักวัดผลการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย ทำการออกหรือคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพตามมาตรฐานเพื่อใช้ในการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียน ในทุกปลายภาคเรียนหรือปลายปีการศึกษา 3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาคลังข้อสอบ ที่มีคุณภาพ สามารถวัดคุณภาพผู้เรียนได้รอบด้าน เพื่อใช้ในการทดสอบปลายภาคเรียนหรือปลายปีของสถานศึกษา 4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาพัฒนาคลังข้อสอบที่มีคุณภาพ เพื่อใช้ในการทดสอบปลาย ภาคเรียนหรือปลายปีของสถานศึกษา ร่วมกับข้อสอบจากส่วนกลาง
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาความรู้ความสามารถของครูผู้สอนเกี่ยวกับการวัด กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาความรู้ความสามารถของครูผู้สอนเกี่ยวกับการวัด และประเมินคุณภาพผู้เรียน 1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดตั้งชุมนุมนักวัดผลการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนานักวัดผลให้เป็นนักพัฒนาข้อสอบและเครื่องมือประเมินคุณภาพมืออาชีพ สามารถพัฒนาข้อสอบ และเครื่องมือวัดต่าง ๆ ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน 2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การ มหาชน) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดทำหลักสูตรการพัฒนา ครูผู้สอนในการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนที่สอดคล้องกับการทดสอบในระดับชาติ (O-NET และ NT) และระดับนานาชาติ (PISA และ TIMSS) 3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การ มหาชน) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พัฒนาครูผู้สอนให้สามารถสร้างเครื่องมือวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนที่สอดคล้องกับการทดสอบใน ระดับชาติ (O-NET และ NT) และระดับนานาชาติ (PISA และ TIMSS) 4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการวัดและประเมินผล ทางการศึกษาให้แก่ครูผู้สอน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง