การอ่านและวิเคราะห์ SAR อ่านให้เห็นภาพรวม โดยตรวจสอบกับ common data set จับประเด็นในภาพรวม อาทิ เป้าประสงค์ แนวทางสู่เป้าประสงค์ ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ จุดแข็ง จุดอ่อน ระบบกลไกควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการดำเนินงาน ทำความเข้าใจการดำเนินงานรายตัวบ่งชี้ ตรวจสอบข้อมูลหลักฐานในแต่ละตัวบ่งชี้ว่าครบถ้วนที่จะยืนยันการดำเนินงานที่ระบุ
การเก็บและตรวจสอบข้อมูล แหล่งข้อมูล (ปริมาณและคุณภาพ) ขนาดและวิธีสุ่มตัวอย่างข้อมูล ข้อมูลตรงกับนิยามตัวบ่งชี้ (ความหมาย วิธีนับ ฯลฯ) ข้อมูลตรงกับช่วงเวลาประเมิน การประมวลผลข้อมูลได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์
การสัมภาษณ์และสังเกต ลักษณะและรูปแบบคำถาม: ปลายเปิด ปลายปิด ยืนยันเพื่อตอบตัวบ่งชี้ วิธีการถาม: เป็นทีม ถูกคน ถูกเวลา ถูกต้อง ภาษากายขณะสัมภาษณ์และสังเกต: ให้เกียรติ กระตือลือล้น จดบันทึก ตรงต่อเวลา: โดยเฉพาะเวลาเริ่มต้น การมีส่วนร่วมของทีมประเมิน: ฐานะประธาน ฐานะกรรมการ
การประเมิน ประเมินตามระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และกรอบเวลาที่กำหนด คณะกรรมการร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของผลการประเมินทุกตัวบ่งชี้ ตรวจสอบข้อมูลในกรณีผลประเมินน่าสงสัย หรือขัดแย้งกับสภาพที่น่าจะเป็น วิเคราะห์ว่าคุณภาพของหน่วยงานอยู่ระดับไหน ปัญหาหลักคืออะไร และต้องเร่งพัฒนาในประเด็นใด เพื่อให้สถาบันบรรลุเป้าประสงค์
การให้ข้อมูลป้อนกลับ สะท้อนสภาพจริงของหน่วยงาน ให้ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ ตรงกับปัญหาของหน่วยงาน ข้อเสนอแนะเป็นรูปธรรม และปฏิบัติได้ ข้อเสนอแนะสอดคล้องกับอัตลักษณ์ และเป้าประสงค์ของสถาบัน
การเขียนรายงาน เขียนสอดคล้องกับหลักฐานที่ปรากฏ เขียนให้กระชับ ภาษาเข้าใจง่าย และตรงตามแบบฟอร์มที่กำหนด มีเนื้อหาครบถ้วนทั้งผลการประเมิน จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะ วิธีปฏิบัติที่ดีหรือนวัตกรรม (ถ้ามี) ควรระบุเงื่อนไข ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานทั้งเชิงบวกและลบ มีภาคผนวกที่ระบุข้อมูลจำเป็น โดยเฉพาะบันทึกภาคสนาม รายงานผลการประเมิน เสร็จตามกำหนดเวลา