การนำผลการทดลองสู่พื้นที่เกษตรกร
วิชา การนำผลการทดลองสู่องค์กรผู้ใช้น้ำและการจัดทำแปลงสาธิต ในพื้นที่เกษตรกรในการประชุมเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร การพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำ ชลประทาน วันที่ 25-26 พฤษภาคม 2553 ณ ห้องประชุมสำนักชลประทานที่ 13 อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี โดย นายพันธ์ชัย บุญเพ็ญ หัวหน้าสถานีทดลองการใช้น้ำ ชลประทานที่ 5 (แม่กลองใหญ่) จ.นครปฐม นายเดชา ประณีต หัวหน้าสถานีทดลองการใช้น้ำ ชลประทานที่ 3 (ห้วยบ้านยาง) จ.นครราชสีมา
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ท่านอ่านผลงานวิจัยได้สำหรับนำไปใช้กับเกษตรกร คำว่า “วิจัย” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2593 แปลว่า การสะสม รวบรวม ค้นหา การตรวจตรา ตรงกับคำว่า Research Re แปลว่า อีก Search แปลว่า ค้นหา คณะกรรมการบริหารสภาวิจัย จำกัดความของการวิจัยว่า คือ การศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ หรือทดสอบอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ความรู้มาเพิ่มเติมไปตั้งกฎ ทฤษฎี นำไปใช้ในการปฎิบัติงาน
ส่วน สุบรรณ์ พันธ์วิศวาส และชัยวัฒน์ ปัญจพงษ์ ได้กล่าวว่า ส่วน สุบรรณ์ พันธ์วิศวาส และชัยวัฒน์ ปัญจพงษ์ ได้กล่าวว่า การวิจัย หมายถึง กระบวนการค้นคว้าหาความจริงภายใต้ขอบเขต ที่กำหนดไว้อย่างมีระบบ ตามระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ ซึ่ง ดาร์ล เอฟ ชาเนสเลอร์ (Karl F. Schnessler) เห็นว่าการวิจัย คือ กระบวนการค้นหาความจริง (Reliable Know Ledge) เพื่อที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหา หรือตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับพจนานุกรมของ เวบเตอร์ (Webater’s 3rd New International Dictionary) ให้ความหมายของการวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ หรือทดลอง เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงและความรู้ใหม่ เพื่อไปตั้งกฎ ทฤษฎี หรือแนวทางในการปฎิบัติ
กระบวนการวิจัย ประกอบด้วยหลักสี่ประการ กระบวนการวิจัย ประกอบด้วยหลักสี่ประการ 1. ต้องมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง 2. ต้องมีการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง 3. การกำหนดวิธีที่จะทำการวิจัยตามระเบียบแบบแผน เชิงวิทยาศาสตร์ 4. การแปลงผลงานวิจัยเพื่อการนำไปใช้ให้ได้ผล (ที่มาวิธีการวิจัยทางส่งเสริมการเกษตร : 6)
แปลงสาธิต (Demonstration Plot) เป็นวิธีการหนึ่งของการส่งเสริมแบบกลุ่ม (group contact) ซึ่งมีอยู่ 4 วิธี 1. การสาธิต Demonstration 1.1 การสาธิตวิธี (Method Dem) 1.2 สาธิตผล (Result Dem)
2. การประชุม (Extension Meeting) 2.1 การบรรยาย (Lecture) 2.2 การออกอภิปรายกลุ่ม (group discussion) 2.3 การออกอภิปรายคณะ (Panel discussion) 3. การจัดทัศนศึกษา (The field Trip) 4. การฝึกอบรม (Training)
1. การสาธิตวิธี (Method Dem) เป็นวิธีการที่แสดงให้เห็นวิธีปฎิบัติแต่ละขั้นตอน ให้ผู้ชมได้เข้าใจและปฎิบัติตาม แบ่งออกเป็น 2 แบบย่อย 1.1 การสาธิตที่ใช้วิธีสั้น วิธีนี้ผู้สาธิตได้เตรียมผลงานสำเร็จในระยะเวลาสั้น แสดงเพียงครั้งเดียวไม่ต้องรอผลการกระทำนั้นๆ เช่น การตอนกิ่ง
1.2 การสาธิตวิธีที่ต้องใช้เวลานาน วิธีนี้ใช้เวลายาวนานจนกว่าจะครบขั้นตอน เพื่อให้บุคคลเป้าหมายได้เรียนรู้ ด้วยตัวเอง เห็นถึงผลที่เกิดขึ้นแต่ละขั้นตอน เช่น การสาธิตปลูกข้าวโดยใช้น้ำอย่างประหยัด
2. สาธิตผล (Result Dam) เป็นวิธีแสดงให้กลุ่มบุคคลเป้าหมาย ได้เห็นผลของการปฎิบัติตามเทคนิคใหม่ๆ และได้รับผลดีอยู่แล้ว ประสิทธิภาพจะด้อยกว่า การสาธิตวิธีนี้เพราะบุคคลเป้าหมายที่พาชม จะไม่เห็นวิธีทำ เห็นแต่ผลที่ออกมาเท่านั้น
2. แปลงสาธิตต้องให้บุคคลเป้าหมายเดินทางมาสะดวกที่สุด วิธีเลือกแปลงสาธิต 1. เลือกแปลงที่เจ้าของแปลงเอาใจใส่ดี มีความรู้เรื่องที่ปฎิบัตินั้นๆ เช่น สาธิตแปลงข้าวต้องปลูกข้าวเป็นและเคยทำ 2. แปลงสาธิตต้องให้บุคคลเป้าหมายเดินทางมาสะดวกที่สุด 3. ไม่อยู่ไกลหมู่บ้านจนเกินไป
4. อยู่ใกล้ถนน 5. มีแปลงปลูกพืชเหมือนกันอยู่ใกล้ๆ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น แปลงปลูกข้าว 6. แปลงสาธิตของกรมชลประทาน ควรเป็นแปลงที่มีขนาดกะทัดรัด ไม่ควรเกิน 1-2 ไร่ เพราะถ้าใหญ่กว่านี้จะ Control น้ำลำบาก (ในแปลงข้าว) ในแปลงพืชผักจะเสียค่าใช้จ่ายสูง เช่น แปลงน้ำหยดหรือหัวน้ำเหวี่ยง
ข้อควรปฎิบัติของแปลงสาธิตกรมชล 1. ควรปรับระดับพื้นที่ให้ดีตามที่ผู้ทำต้องการ เพราะทำเรื่องน้ำ จะทำยากกว่าวิธีขยายพันธุ์ข้าวฯ 2. ควรมีอาคารวัดน้ำ เช่น WSC flume Parshall flume หรือ cutthroat flume หรือ Scale วัดระดับน้ำ
3. ควรมีหลักวัดการเจริญเติบโต เพื่อ วัดความสูง ทรงพุ่ม วันออกดอกฯ เพื่อนำไปเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน เช่น ข้าวสุพรรณ1 สูง 115-120 ซม. เป็นต้น 4. ควรตรวจแปลงทุกอาทิตย์
5. การเก็บผลผลิตควรเก็บองค์ประกอบผลผลิตด้วย เช่น ข้าว (1) ความสูง ทรงพุ่ม (2) ความยาวรวง (ซม.) (3) จำนวนระแง้ / รวง (ระแง้)
(4) จำนวนเมล็ดดี-เสีย (เมล็ด) (5) น้ำหนักเมล็ดดี-เสีย (เมล็ด) (6) น้ำหนักเมล็ด 100 หรือ 1,000 เมล็ด (เมล็ด) (7) ผลผลิตในพื้นที่เก็บเกี่ยว 2x4 ม. หรือ 3x3 ม. เก็บผลผลิต 2 จุดต่อแปลง