สภาพท้องฟ้า หลักปฏิบัติในการตรวจอากาศ การตรวจในเวลากลางคืน ต้องรอให้สายตาปรับสภาพกับความมืดเสียก่อน การรายงานข่าวจากบุคคลภายนอก ซึ่งไม่ใช้ จนท.ข่าวอากาศ ที่เห็นว่ามีผลต่อการบิน เราต้องรายงานและกระจายข่าวนั้นด้วย
หลักการและแนวทางในการตรวจ สถานีตรวจอากาศ เป็นสถานที่ที่ใช้ตรวจประจำ - เคลื่อนที่ - ไม่เคลื่อนที่ จุดตรวจอากาศ ภายในรัศมี 2ไมล์ ( 3,200 เมตร )ของสถานี - สถานีตรวจอากาศทำการตรวจความกดอากาศ ทัศนวิสัย ลักษณะอากาศปัจจุบัน ปรากฏการณ์ปิดบัง จำนวนเมฆชนิดของเมฆ
หลักการและแนวทางในการตรวจ - จุดกึ่งกลางทางวิ่ง ตรวจค่าอุณหภูมิ อุณหภูมิจุดน้ำค้าง ความกดอากาศ ทิศทางความเร็วลม - ใกล้จุดปลายสุดทางวิ่ง ตรวจทัศนะวิสัยทางวิ่ง ความสูงของเมฆ - หอบังคับการบินตรวจค่าทัศนวิสัยจากหอ
สถานที่หรือสถานีตรวจอากาศ ต้องเป็นพื้นที่โล่งเพื่อในการตรวจอากาศด้วยสายตา สามารถมองเห็นทางวิ่ง ( RUNWAY ) ได้ตลอด มีความปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าหน้าที่
การประเมินค่าสภาพท้องฟ้า ให้ประเมินค่า ชนิด จำนวน ทิศทางการเคลื่อนตัว และความสูงของฐานปรากฏการณ์โดยแยกออกเป็น แต่ละระดับ รวมทั้งค่าทัศนวิสัยในทางตั้งของปรากฏการณ์ปิดบังด้วย
การหาจำนวนปกคลุมท้องฟ้า - ให้เจ้าหน้าที่ใช้ประสบการณ์ การกะประมาณจำนวนเมฆปกคลุมท้องฟ้าในแต่ละระดับ - การหาจำนวนปกคลุมท้องฟ้า ให้แบ่งท้องฟ้าออกเป็นครึ่งหนึ่ง หรือเป็นส่วนๆแล้วกะประมาณ - ช่วงเวลามืดถ้ามองเห็นแสงดาวได้เด่นชัด และตรวจไม่พบ เมฆหรือปรากฏการณ์ปิดบัง ให้พิจารณาว่าท้องฟ้าแจ่มใส
การหาความสูง - หาระยะสูงด้วยเลเซอร์ หรือเครื่องวัดฐานเมฆ - รายงานจากอากาศยาน - หาได้จากตารางความสูงของเมฆที่ก่อตัวในทางตั้ง - คำนวณเพดานเมฆจากอัตราการลอยตัวของบอลลูน - การปรากฏของขนาดและลักษณะสำคัญของเมฆ - เมื่อวิธีดังกล่าวข้าวต้นใช้ไม่ได้ ให้พิจารณา โดยใช้ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ตรวจอากาศ
การหาทิศทางการเคลื่อนตัวของเมฆ การรายงานการเคลื่อนตัวของเมฆ ใช้กับเมฆ TCU และ CB - โดยส่วนมาก การเคลื่อนตัวของเมฆสามารถกะประมาณได้ดีที่สุดโดยสังเกตการเคลื่อนผ่านวัตถุที่อยู่กับที่ - กรณีที่เมฆเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ทิศทางของเมฆจะหาด้วยความละเอียดด้วยการตรวจหลายๆครั้ง ครั้งละ 2-3 นาที ให้สังเกตกับการตรวจครั้งก่อน
การพิจารณาชนิดของเมฆ ให้ลำดับความสำคัญของเมฆที่ปรากฏ และรูปรหัสของเมฆ และแยกลักษณะของเมฆเข้ารหัสโดยแบ่งเป็น - เมฆชั้นต่ำ เมฆชั้นกลาง และ เมฆชั้นสูง
จำนวนเมฆ เมื่อตรวจพบเมฆโดยประเมินจำนวนปกคลุมเมฆ โดยแบ่งเป็น เมฆชั้นต่ำ เมฆชั้นกลาง และชั้นสูง ให้บันทึกและรายงานเป็นออกต้า