การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมาย ของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล ขอสวัสดีท่านผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และก็สวัสดีพี่ๆ น้องๆ กรมอนามัยทุกท่านนะคะ สำหรับวันนี้ก็รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญให้มาบรรยายในหัวข้อ “การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล” ซึ่งทราบมาว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่อยู่ในคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมอนามัยในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ปีนี้ ก่อนอื่นจะขอเรียนให้ทราบว่าเนื้อหาที่จะพูดในวันนี้มีอะไรบ้าง โดย...นางกุลนันท์ เสนคำ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กองแผนงาน กรมอนามัย
กรอบการนำเสนอ 1. ความสำคัญและที่มา พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 PMQA หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ คำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัด กรมอนามัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 2. แนวคิดและทฤษฎี กรอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ Strategy Map (แผนที่ยุทธศาสตร์) การถ่ายทอดตัวชี้วัดสู่ระดับสำนัก/กองและระดับบุคคล วิธีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ลำดับแรกคือความสำคัญและที่มาว่าทำไมต้องมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ต่อมาคือแนวคิดและทฤษฎี ว่าเกี่ยวข้องอะไรกับแผนยุทธศาสตร์ แล้วก็ยังมีเรื่องของแผนที่ยุทธศาสตร์อีกด้วย รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายทอดตัวชี้วัดสู่ระดับสำนัก/กองและระดับบุคคล ตลอดจนวิธีการถ่ายทอดว่ามีกี่วิธีอะไรบ้าง
กรอบการนำเสนอ (ต่อ) 3. ตัวชี้วัดที่ 7 ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมาย (Cascading) สู่ระดับบุคคล วัตถุประสงค์ ขอบเขต เกณฑ์การให้คะแนน หลักฐานอ้างอิง 4. ตัวอย่างการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายกองแผนงาน กรอบการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของกองแผนงาน ตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ กรมอนามัย แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง 5. Q&A สำหรับส่วนที่ 3 นะคะ จากแนวคิดและทฤษฎี แล้วในส่วนของกรมอนามัยที่กำหนดเป็นตัวชี้วัดคำรับรองฯ นั้น มีขอบเขตแค่ไหน มีเกณฑ์การให้คะแนนอย่างไร ซึ่งก็จะมีตัวอย่างการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของกองแผนงานมาให้เรียนรู้ร่วมกันนะคะ และถ้าพอมีเวลาเหลือก็จะเปิดโอกาสให้ได้ซักถามด้วยค่ะ
พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 1. ความสำคัญและที่มา พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (มาตรา 6) หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุข (มาตรา 7-มาตรา 8) ของประชาชน หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (มาตรา 9-มาตรา 19) ต่อภารกิจของรัฐ หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ (มาตรา 20-มาตรา 26) และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน (มาตรา 27-มาตรา 32) หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ (มาตรา 33-มาตรา 36) หมวด 7 การอำนวยความสะดวกและการตอบสนอง (มาตรา 37-มาตรา 44) ความต้องการของประชาชน หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ (มาตรา 45-มาตรา 49) หมวด 9 บทเบ็ดเตล็ด (มาตรา 50-มาตรา 53) สำหรับความสำคัญและที่มานะคะ ตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ซึ่งแบ่งเป็น 9 หมวด ตามเจตนารมย์ที่ต้องการให้ส่วนราชการต้องปฏิบัติงานโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ ซึ่งในหมวด 3 นั้น มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่สอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกับภารกิจและวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น และสามารถกำหนดตัวชี้วัดผลการทำงานได้อย่างชัดเจน ซึ่งต่อมาสำนักงาน ก.พ.ร. ก็ได้กำหนดให้มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายจากระดับกรมสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคลไว้ใน PMQA หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งทราบว่าเมื่อวานได้มีการบรรยายเรื่อง PMQA หมวดต่างๆ ในภาพรวมแล้ว
PMQA หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ จะเห็นได้ว่าหมวด 2 จะมีแนวทางการดำเนินการ 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวางแผนยุทธศาสตร์ ครอบคลุม SP1 ถึง SP 3 และส่วนที่สองคือสไลด์ในหน้าถัดไปจะเป็นการสื่อสารและถ่ายทอดยุทธศาสตร์เพื่อนำไปปฏิบัติ ครอบคลุม SP4 ถึง SP7 ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ในที่นี้หมายถึง แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยเริ่มจากส่วนราชการต้องมีการกำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมที่ชัดเจนในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ มีการนำปัจจัยทั้งภายในและภายนอกมาประกอบการวิเคราะห์ และเมื่อได้แผนปฏิบัติราชการแล้ว ก็ต้องจัดทำแผนคนหรือแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ
PMQA หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ SP5 การนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติก็จะต้องมีการสื่อสารและสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง SP5 ที่จะพูดถึงในวันนี้คือต้องมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในแต่ละระดับ ส่วน SP6 และ SP7 จะเป็นการเขียนโครงการรองรับแผนปฏิบัติราชการซึ่งจะต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนและมีการบริหารความเสี่ยงของโครงการสำคัญด้วย
SP5 - มีการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) ระดับองค์การ ซึ่งแสดงความเชื่อมโยง สอดคล้องของวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ขององค์การในด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน - มีกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการครบทุกระดับ ดังต่อไปนี้ 1. ระดับหน่วยงาน (ทุกสำนัก/กอง ทั้งสำนัก/กองที่มีโครงสร้างรองรับตามกฎหมาย และสำนัก/กองที่จัดตั้ง เพื่อรองรับการบริหารจัดการภายในส่วนราชการเอง) 2. ระดับบุคคล (อย่างน้อย 1 หน่วยงาน) - มีแผนปฏิบัติการประจำปี หรือปฏิทินกิจกรรม (Gantt Chart) ในการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงกระบวนการ/ขั้นตอนในการดำเนินการตามระบบการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายจากระดับองค์การสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล - มีแนวทางการประเมินผลสำเร็จตามตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ชัดเจน - มีแนวทาง/วิธีการติดตาม และ รายงานผลการดำเนินงานที่มีความถี่เหมาะสม - มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี หรือ ปฏิทินกิจกรรม (Gantt Chart) ในการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมาย - มีการสื่อสารให้บุคลากรในส่วนราชการรับทราบถึงกรอบการประเมินผล และแผนปฏิบัติการประจำปีหรือปฏิทินกิจกรรม(Gantt Chart) ในการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายอย่างทั่วถึง - มีข้อตกลงฯ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร และสามารถใช้ประเมินผลได้อย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระดับหน่วยงานและในระดับบุคคล - มีการติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติราชการและมีการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและเป้าหมายในแต่ละระดับที่มีความถี่เหมาะสมและกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในการดำเนินการเหมาะสม - มีการสรุปประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปี (ผลคะแนน) ครบทุกระดับ - มีสรุปบทเรียนจากการติดตามความก้าวหน้าและการรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี - มีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติงานในอนาคต - มีการเชื่อมโยงระหว่างผลการประเมินการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการปฏิบัติงานกับระบบแรงจูงใจ A D L I ส่วนนี้จะเป็นรายละเอียดของ SP5 ว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่จะต้องดำเนินการ ตั้งแต่ A คือ Approached คือจะต้องจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปนะคะ และมีกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการทั้งระดับหน่วยงานและระดับบุคคล D คือ Deployed จะต้องมีการทำปฏิทินกิจกรรมในการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมาย มีการสื่อสาร มีข้อตกลง มีการติดตามความก้าวหน้าและสรุปประเมินผลการปฏิบัติราชการ ส่วน L หรือ Learning ก็คือการสรุปบทเรียนและจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงาน และ I คือ Integrated ซึ่งจะเชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานกับแรงจูงใจต่างๆ ถ้าน้องๆ ที่เพิ่งจะบรรจุและต้องการศึกษารายละเอียด ก็สามารถดาวน์โหลดคู่มือได้จากเวปไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร. ค่ะ
ตัวชี้วัดที่ 7 ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัด คำรับรองการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัดกรมอนามัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ตัวชี้วัดที่ 7 ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัด และเป้าหมาย (Cascading) สู่ระดับบุคคล จาก PMQA หมวด 2 ในประเด็น SP5 เพื่อให้การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายจากระดับกรมสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล เป็นไปตามแนวทางที่กำหนด ซึ่งผลการดำเนินงานจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในสังกัดของกรมอนามัย จึงได้กำหนดให้เป็นคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ ในปีงบประมาณนี้ คือตัวชี้วัดที่ 7 ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมาย (Cascading) สู่ระดับบุคคล ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้นจะได้มีการพูดคุยกันต่อไปค่ะ
2. แนวคิดและทฤษฎี วิสัยทัศน์และพันธกิจ ค่าเป้าหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ กรอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์และพันธกิจ ค่าเป้าหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เป้าประสงค์ โครงการ ทีนี้เรามาเข้าสู่แนวคิดและทฤษฎีกันเลยนะคะ อย่างที่เรียนให้ทราบแล้วว่าก่อนที่จะมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ต้องเริ่มจากการมีแผนยุทธศาสตร์ก่อน อยู่ๆ จะนึกขึ้นมาลอยๆ ก็ไม่รู้ว่าจะไปวัดอะไร (บางคนก็บอกวัดอะไรก็ได้ที่ใกล้บ้าน ไม่ใช่แล้ว คนละเรื่องกันนะคะ) งั้นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า “การวางแผนยุทธศาสตร์” กันดีกว่าว่าคืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง การวางแผนยุทธศาสตร์ ก็คือการวิเคราะห์และกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้สภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ที่ต้องการ โดยจะต้องศึกษาข้อมูล สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอย่างรอบด้านมาประกอบการพิจารณา โดยเริ่มต้นวางแผนจากการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจก่อน วิสัยทัศน์ ก็คือจินตนาการเกี่ยวกับอนาคตขององค์กร เป็นการบ่งชี้ถึงทิศทางที่ต้องการที่จะมุ่งไป โดยอธิบายถึงความปรารถนาหรือความทะเยอทะยานสำหรับอนาคตขององค์กร เช่น เป็นองค์กรที่ได้มาตรฐานสากลในการพัฒนาข้าราชการมืออาชีพ เป็นต้น เมื่อเรากำหนดอนาคตแล้ว เราควรจะมีบทบาทหน้าที่หรือพันธกิจอะไรรองรับ พันธกิจ ก็คือ ขอบเขตภารกิจ บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานทั้งที่เป็นไปตามกฎหมายและที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ หลังจากที่เรากำหนดวิสัยทัศน์และบทบาทของตัวเองแล้ว เราจะพัฒนาอะไรเพื่อให้ไปถึงสิ่งที่เราฝัน ก็มากำหนดเป็น ประเด็นยุทธศาสตร์ ซึ่งก็คือ ประเด็นหลักในการพัฒนา หรือประเด็นหลักที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ แล้วกำหนด เป้าประสงค์ หรือเป้าหมายต่างๆ ที่ต้องการบรรลุในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป้าประสงค์นั้นสำเร็จหรือไม่ ก็ต้องมี ตัวชี้วัด ซึ่งเป็นเครื่องมือหรือดัชนีที่ใช้ในการวัดความก้าวหน้าของการบรรลุแต่ละเป้าประสงค์ ซึ่งจะต้องสามารถวัดผลและกำหนดเป้าหมายของความสำเร็จได้ จากนั้นก็กำหนดกลยุทธ์ โครงการ และ งบประมาณรองรับในที่สุด ตัวชี้วัด งบประมาณ
STRATEGY MAP (แผนที่ยุทธศาสตร์) หมายถึง แผนภาพแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์ในแต่ละมิติที่มีความเชื่อมโยงกันในลักษณะของเหตุและผล ความสำคัญและประโยชน์ อธิบายแผนยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนขึ้น สามารถวัดและประเมินว่าองค์กรได้มีการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์หรือไม่ เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจร่วมกันในแผนยุทธศาสตร์ เพื่อทำให้ทั่วทั้งองค์กรมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดแผนปฏิบัติการและงบประมาณ เมื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์เสร็จแล้ว ก็จะมีเครื่องมือหนึ่งที่อธิบายแผนยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนขึ้น ก็คือแผนที่ยุทธศาสตร์หรือ Strategy Map เป็นแผนภาพที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์ในแต่ละมิติที่มีความเชื่อมโยงกันในลักษณะของเหตุและผล โดยความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่ยุทธศาสตร์ก็คือ อธิบายแผนยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนขึ้น สามารถวัดและประเมินว่าองค์กรได้มีการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์หรือไม่ เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจร่วมกันในแผนยุทธศาสตร์ เพื่อทำให้ทั่วทั้งองค์กรมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดแผนปฏิบัติการและงบประมาณ เดี๋ยวเราไปดูหน้าตาของแผนที่ยุทธศาสตร์กันเลยค่ะ
ตัวอย่าง : แผนที่ยุทธศาสตร์ของธุรกิจร้านขายกาแฟ แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) เป็นเครื่องมือทางการบริหารอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ตามแนวคิดของ Balanced Scorecard ซึ่ง Professor Robert Kaplan อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Harvard และ Dr. David Norton ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ ได้นำเสนอแนวความคิดในเรื่องการประเมินผลขององค์กร ว่าแทนที่จะประเมินโดยมุ่งเน้นเฉพาะตัวชี้วัดทางด้านการเงินเพียงอย่างเดียว ควรเปลี่ยนมาประเมินและพิจารณาในมิติอื่นๆ ด้วย ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้นำเสนอแนวทางการประเมินองค์กรใน 4 มิติคือ คือ 1. มิติด้านการเงิน 2. มิติด้านลูกค้า 3. มิติด้านกระบวนการภายใน 4. มิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนา โดยในแต่ละมิติจะต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์องค์กรเพราะจะทำให้ทราบว่าสิ่งที่องค์กรจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนความสำเร็จขององค์กรนั้นมีเรื่องอะไรบ้าง และในขณะเดียวกันในแต่ละมิติยังต้องมีความสัมพันธ์ต่อกันในเชิงเหตุและผลอีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น สมมุติว่าท่านเปิดร้านขายกาแฟขึ้นมาสักร้านหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าการทำธุรกิจก็ต้องมุ่งหวังผลกำไร นั่นก็คือ มิติด้านการเงิน โดยมีตัวชี้วัดคือ ผลกำไร ซึ่งวัดจากยอดขาย และต้นทุน ดังนั้นการที่จะทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้นก็ต้องพิจารณาถึงยอดขาย และต้นทุนด้วย ทีนี้ถ้าเราจะเพิ่มยอดขาย สิ่งที่เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญคือการเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากขึ้น ถ้าหากเป็นลูกค้ารายเดิมเราก็ต้องสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ารายเดิมกลับมาซื้อสินค้าจากเราอีก แต่หากเป็นลูกค้ารายใหม่เราก็ต้องนำเสนอสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นมิติด้านลูกค้า และนอกจากนี้ในเรื่องของการลดต้นทุน ก็จะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของผลกำไร ดังนั้น การควบคุมกระบวนการผลิตสินค้าให้มีของเสียน้อยที่สุด การบริหารด้านวัตถุดิบ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดต้นทุนผลิต ซึ่งก็เป็นมิติทางด้านกระบวนการภายใน แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากสภาพในปัจจุบันคงเป็นไปไม่ได้เลยที่ท่านจะเปิดร้านขายกาแฟโดยไม่มีคู่แข่งขัน ดังนั้น หากเราสามารถสร้างความแตกต่างของสินค้าให้เหนือกว่าคู่แข่งก็จะส่งผลต่อการเพิ่มลูกค้าอันจะนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในที่สุด ลองดูคิดซิคะว่าถ้าท่านต้องการจะไปซื้อกาแฟ โดยมีร้านให้เลือกอยู่ 2 แห่ง ร้านแรกมีกาแฟหลากหลายชนิด มีอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายไว้คอยให้บริการ ในขณะที่อีกร้านมีกาแฟไม่กี่ชนิด แต่มีราคาที่ใกล้เคียงกันท่านจะเลือกเข้าร้านไหน ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพของสินค้า การพัฒนาทักษะความสามารถของพนักงานให้มีความหลากหลาย การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินงาน ก็จะเป็นกระบวนการในการสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นมิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนานั่นเอง
แผนที่ยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2553-2556 กรมอนามัย ทีนี้เรามาดูในส่วนของกรมอนามัย เรามีแผนที่ยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2553-2556 ซึ่งเกิดจากการระดมสรรพกำลังของบุคลากรกรมอนามัยร่วมกันจัดทำขึ้น โดยมีท่านนายแพทย์อมร นนทสุต อดีตอธิบดีกรมอนามัยและอดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ผลักดันและขับเคลื่อน จะเห็นได้ว่าเป็นการนำแนวคิดของ BSC มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของงานด้านสาธารณสุข โดยแบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่ ประชาชน ภาคีเครือข่าย กระบวนการ และพื้นฐานองค์กร
การถ่ายทอดตัวชี้วัดสู่ระดับสำนัก/กองและระดับบุคคล วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) ตัวชี้วัด กลยุทธ์/แผนงานโครงการ ค่า เป้าหมาย กลยุทธ์/ โครงการ ประชาชน เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด งบประมาณ ภาคีเครือข่าย ภาพนี้แสดงให้เห็นภาพรวมของการถ่ายทอดตัวชี้วัดสู่ระดับสำนัก/กองและระดับบุคคล โดยเริ่มจากวิสัยทัศน์ นำมากำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์หลักของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ แล้วจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ โดยแต่ละกล่องคือเป้าประสงค์ในแต่ละมิติที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จและสะท้อนเป้าประสงค์หลัก จากนั้นก็กำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายขององค์กรถ่ายทอดลงมาถึงระดับหน่วยงานและระดับบุคคล ก่อนที่จะจัดทำโครงการและงบประมาณต่อไป กระบวนการ พื้นฐานองค์กร ตัวชี้วัดระดับสำนัก/กอง ตัวชี้วัดระดับบุคคล
แนวทางในการแปลงระบบ ประเมินผลลงสู่ระดับบุคคล กระบวนการในการแปลง ระบบการประเมินผลลงสู่ระดับบุคคล เป้าประสงค์และตัวชี้วัดในระดับองค์กร ขั้นตอนที่ 1: การยืนยันระบบประเมินผลขององค์กร ระดับองค์กร บทบาท หน้าที่และภารกิจ ของหน่วยงานที่สนับสนุน ต่อเป้าประสงค์และตัวชี้วัด ในระดับองค์กร เป้าประสงค์ในระดับสำนัก/กอง ตัวชี้วัดในระดับสำนัก/กอง บทบาท หน้าที่และ ความรับผิดชอบ ในงานประจำของหน่วยงาน ขั้นตอนที่ 2 : การแปลงระบบประเมินผล จากระดับองค์การลงสู่ระดับสำนัก/กอง 2.1 การทบทวน บทบาทหน้าที่ ของสำนัก/กอง 2.2 กำหนด เป้าประสงค์ ระดับหน่วยงาน 2.3 การจัดทำ แผนที่ยุทธศาสตร์ 2.4 การกำหนด ตัวชี้วัดระดับ หน่วยงาน ระดับ หน่วยงาน ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายขององค์กรถ่ายทอดลงมาถึงระดับหน่วยงานและระดับบุคคล ก็จะมีแนวทางในการประเมินผลดังภาพ โดยช่องซ้ายมือจะเป็นแนวทาง ส่วนขวามือจะเป็นขั้นตอนว่าจะต้องทำอย่างไร ในระดับองค์กร จะต้องกำหนดเป้าประสงค์และตัวชี้วัดขององค์กร ตรงนี้ก็ได้มาจากแผนที่ยุทธศาสตร์ขององค์กร ที่แต่ละกล่องก็คือเป้าประสงค์ขององค์กร แล้วกำหนดตัวชี้วัดรองรับ ซึ่งกระบวนการก็คือการยืนยันให้เกิดความชัดเจนว่าเป้าประสงค์กับตัวชี้วัดที่กำหนดมันใช่รึเปล่า ซึ่งอาจจะเป็นนโยบายของผู้บริหารหรือจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง พอลงมาถึงระดับหน่วยงาน หน่วยงาน (ผอ.) ก็ต้องมาทบทวนบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่สนับสนุนเป้าประสงค์ขององค์กร รวมถึงบทบาทหน้าที่ในงานประจำของหน่วยงานด้วย แล้วกำหนดเป้าประสงค์ของหน่วยงาน เพื่อจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ของหน่วยงานและกำหนดตัวชี้วัด จากหน่วยงานก็มาถึงระดับบุคคล ขั้นตอนก็จะคล้ายๆ กัน คือแต่ละคนต้องทบทวนบทบาทหน้าที่ของตัวเองที่สนับสนุนเป้าประสงค์ของหน่วยงาน (ผอ.) รวมถึงหน้าที่ตามงานประจำและงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ เพื่อกำหนดเป้าประสงค์ของบุคคล แต่ในระดับบุคคลนี้ไม่ต้องจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ กำหนดเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับบุคคลได้เลย ขั้นตอนที่ 3 : การแปลงระบบประเมินผล จากระดับสำนัก/กองลงสู่ระดับบุคคล 3.1 การทบทวน บทบาทหน้าที่/ ความรับผิดชอบ ของบุคคล 3.5 การกำหนด ตัวชี้วัด ระดับบุคคล 3.2 การกำหนด เป้าประสงค์ บทบาท หน้าที่ของ บุคคล ที่สนับสนุนต่อ เป้าประสงค์และตัวชี้วัด ของผู้บังคับบัญชา งานที่ได้รับ มอบหมาย เป็นพิเศษ เป้าประสงค์ในระดับบุคคล ตัวชี้วัดในระดับบุคคล บทบาท หน้าที่งาน ของบุคคล ระดับบุคคล
ขั้นตอนการพัฒนาระบบประเมินผลระดับหน่วยงาน ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนบทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบ ของหน่วยงาน ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดเป้าประสงค์ระดับหน่วยงาน ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ระดับหน่วยงาน ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดตัวชี้วัดระดับหน่วยงาน ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดค่าน้ำหนักของตัวชี้วัด ขั้นตอนที่ 6 การกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด และความหมายของตัวชี้วัด ส่วนนี้ก็จะเป็นขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้วของระดับหน่วยงาน ซึ่งจะมีการจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ และเพิ่มขั้นตอนของการกำหนดค่าน้ำหนักของตัวชี้วัดและเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัดด้วย
ขั้นตอนการพัฒนาระบบประเมินผลระดับบุคคล ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนบทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบ ของบุคคล ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดเป้าประสงค์ระดับบุคคล ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดค่าน้ำหนักของตัวชี้วัด ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด และความหมายของตัวชี้วัด ส่วนนี้ก็จะเป็นขั้นตอนระดับบุคคล ไม่ต้องทำแผนที่ยุทธศาสตร์ และมีขั้นตอนของการกำหนดค่าน้ำหนักของตัวชี้วัดและเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัดด้วยเช่นกัน
- ตัวชี้วัดหน่วยงาน = ตัวชี้วัดของผู้บริหารหน่วยงาน (ผอ.) ข้อควรคำนึง : ตัวชี้วัดในระดับต่างๆ คือ ตัวชี้วัดระดับบุคคลที่เป็นผู้บังคับบัญชาระดับนั้นด้วย - ตัวชี้วัดหน่วยงาน = ตัวชี้วัดของผู้บริหารหน่วยงาน (ผอ.) - ตัวชี้วัดของกลุ่มงาน = ตัวชี้วัดของหัวหน้ากลุ่มงาน - ตัวชี้วัดของบุคคล = ตัวชี้วัดของบุคลากรในกลุ่มงาน ข้อควรคำนึงในการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ก็คือ ตัวชี้วัดในระดับต่างๆ คือ ตัวชี้วัดระดับบุคคลที่เป็นผู้บังคับบัญชาระดับนั้นด้วย โดยตัวชี้วัดหน่วยงาน ก็คือ ตัวชี้วัดของผู้บริหารหน่วยงาน (ผอ.) ตัวชี้วัดของกลุ่มงาน คือ ตัวชี้วัดของหัวหน้ากลุ่มงาน และตัวชี้วัดของบุคคล คือ ตัวชี้วัดของบุคลากรในกลุ่มงานนั้น
ตัวอย่างการถ่ายทอดเป้าประสงค์และตัวชี้วัด สู่ระดับหน่วยงาน
กรมบัญชีกลาง วิสัยทัศน์ “การกำกับดูแลและบริหารการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 กำกับดูแลทางด้านการเงินภาครัฐ ในลักษณะเชิงรุก ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพการให้บริการทางด้านการเงินภาครัฐ ตามยุทธศาสตร์ ประสิทธิผล การใช้จ่ายเงินภาครัฐมีความโปร่งใส ถูกต้อง คุ้มค่า และสามารถตรวจสอบได้ 2. การใช้จ่ายเงินภาครัฐมีประสิทธิภาพ สามารถผลักดันให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 3. ผู้รับบริการ มีความพึงพอใจ การให้บริการ คุณภาพ เป็นตัวอย่างแผนที่ยุทธศาสตร์ของกรมบัญชีกลาง ซึ่งนำ BSC มาประยุกต์ใช้ตามกรอบการประเมินผลที่ ก.พ.ร. กำหนด ประกอบด้วย 4 มิติคือ พัฒนาองค์กร ประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ คุณภาพการให้บริการ และประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์ โดยมี 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ และมีเป้าประสงค์ในแต่ละมิติที่สอดคล้องเป็นเหตุเป็นผลกัน 4. การพัฒนาระบบ ระเบียบ หลักเกณฑ์ มาตรฐาน ให้ทันสมัยและเป็นสากล 5. การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจ ในกฎระเบียบแก่หน่วยงานภายนอก 6. การพัฒนาคุณภาพ การให้บริการ ให้สะดวกและรวดเร็ว 7. การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางสารสนเทศการเงินการคลัง ที่ทันสมัยและถูกต้อง การปฏิบัติราชการ ประสิทธิภาพ 8. การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร 9. การสร้างขวัญและกำลังใจ ของบุคลากร 10. การพัฒนาระบบบริหารจัดการ ภายในองค์กร 11. การพัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ และฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการภายในองค์กร 12. การเสริมสร้างธรรมาภิบาล ขององค์กร ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาองค์กรให้เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ การพัฒนาองค์กร
ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนบทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบของหน่วยงาน สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ (หน่วยงานในสังกัดกรมบัญชีกลาง) ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย มาตรฐานและระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในภาครัฐ รวมทั้งกำกับดูแลและการพัฒนาเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในภาครัฐ กำกับดูแลและบริหารจัดการด้านการตรวจสอบภายในภาครัฐ พัฒนาระบบการตรวจสอบภายในภาครัฐ เพื่อให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการคลังภาครัฐ ในส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรม ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐ เกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายใน และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย ส่วนนี้ก็จะเริ่มกระบวนการถ่ายทอดลงมาสู่หน่วยงานคือสำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ ขั้นตอนแรกก็ต้องทบทวนบทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบของหน่วยงานก่อน โดยเอาบทบาทหน้าที่ทั้งหมดมากาง แล้วพิจารณาว่าสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของกรมบัญชีกลางหรือเปล่า
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดเป้าประสงค์ระดับหน่วยงาน วิสัยทัศน์ “การกำกับดูแลและบริหารการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามยุทธศาสตร์ ประสิทธิผล การใช้จ่ายเงินภาครัฐมีความโปร่งใส ถูกต้อง คุ้มค่า และสามารถตรวจสอบได้ 3. ผู้รับบริการ มีความพึงพอใจ การให้บริการ คุณภาพ 4. การพัฒนาระบบ ระเบียบ หลักเกณฑ์ มาตรฐาน ให้ทันสมัยและเป็นสากล การปฏิบัติราชการ ประสิทธิภาพ หลังจากนั้นก็มากำหนดเป้าประสงค์ของหน่วยงาน โดยพิจารณาเป้าประสงค์แต่ละกล่องในแผนที่ยุทธศาสตร์ของกรมว่ามีเป้าประสงค์ใดบ้างที่หน่วยงานเข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ดึงมา แล้วพิจารณาบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานด้วยว่าเป้าประสงค์เหล่านี้ครอบคลุมบทบาทหน้าที่ทั้งหมดแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ครอบคลุมก็สามารถกำหนดเป้าประสงค์ของหน่วยงานเพิ่มเติมได้ 8. การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร 11. การพัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ และฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการภายในองค์กร การพัฒนาองค์กร
ขั้นตอนที่ 3 การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ระดับหน่วยงาน ตามยุทธศาสตร์ ประสิทธิผล การตรวจสอบภายในภาครัฐเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมบัญชีกลางกำหนด 2. ผู้รับบริการ มีความพึงพอใจ การให้บริการ คุณภาพ แล้วจัดทำเป็นแผนที่ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน โดยปรับเป้าประสงค์ให้สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน เช่น กล่องที่ 1 ของกรมคือการใช้จ่ายเงินของภาครัฐให้มีความโปร่งใส พอมาถึงระดับหน่วยงานก็จะเป็น การตรวจสอบภาครัฐเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมบัญชีกลางกำหนด 3. การเสริมสร้างคุณภาพ และพัฒนาการตรวจสอบภายใน 4. การสร้างเครือข่าย ด้านการตรวจสอบและประเมินผล 5. การพัฒนาระบบประเมินผลการคลังด้านรายจ่ายภาคราชการ การปฏิบัติราชการ ประสิทธิภาพ 6. การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร 7. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านการตรวจสอบภายใน การพัฒนาองค์กร
ระดับกรมฯ สำนักกำกับและพัฒนาการตรวจสอบภาครัฐ การใช้จ่ายเงินภาครัฐมีความโปร่งใส ถูกต้อง คุ้มค่า และสามารถตรวจสอบได้ 2. การใช้จ่ายเงินภาคให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจรัฐมีประสิทธิภาพ สามารถผลักดัน การตรวจสอบภายในภาครัฐเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมบัญชีกลางกำหนด ตามยุทธศาสตร์ ประสิทธิผล 3. ผู้รับบริการ มีความพึงพอใจ การให้บริการ คุณภาพ 2. ผู้รับบริการ มีความพึงพอใจ 4. การพัฒนาระบบ ระเบียบ หลักเกณฑ์ มาตรฐาน ให้ทันสมัยและเป็นสากล 5. การประชาสัมพันธ์ และสร้างความรู้ความเข้าใจ ในกฎระเบียบแก่หน่วยงานภายนอก 6. การพัฒนาคุณภาพ การให้บริการ ให้สะดวกและรวดเร็ว 7. การพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางสารสนเทศการเงินการคลัง ที่ทันสมัยและถูกต้อง 3. การเสริมสร้างคุณภาพ และพัฒนาการตรวจสอบภายใน 4. การสร้างเครือข่าย ด้านการตรวจสอบและประเมินผล 5. การพัฒนาระบบประเมินผลการคลังด้านรายจ่ายภาคราชการ ภาพนี้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนที่ยุทธศาสตร์ของกรมกับของหน่วยงาน ส่วนที่ไม่มีเส้นโยงก็จะเป็นเป้าประสงค์ที่กำหนดเพิ่มเติมขึ้นมา การปฏิบัติราชการ ประสิทธิภาพ 6. การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร 11. การพัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ และฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการภายในองค์กร 8. การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร 9. การสร้างขวัญและกำลังใจ ของบุคลากร 10. การพัฒนาระบบบริหารจัดการ ภายในองค์กร 12. การเสริมสร้างธรรมาภิบาล ขององค์กร 7. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านการตรวจสอบภายใน การพัฒนาองค์กร
ตัวอย่างการถ่ายทอดเป้าประสงค์และตัวชี้วัด สู่ระดับบุคคล
ตัวอย่าง Owner OS Matrix Supporter เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด หน่วยงาน ก. หน่วยงาน ข. หน่วยงาน ค. หน่วยงาน ง. xxx O S การถ่ายทอดเป้าประสงค์และตัวชี้วัด เราจะมีเครื่องมือหนึ่งที่เรียกว่า OS Matrix เป็นตารางแสดงการแบ่งบทบาทหน้าที่ในแต่ละเป้าประสงค์ขององค์กรลงสู่หน่วยงานหรือจากหน่วยงานลงสู่ระดับบุคคล ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ช่วยทำให้เป้าประสงค์และตัวชี้วัดขององค์กรมีผู้รับผิดชอบหรือเจ้าภาพที่ชัดเจน และทำให้การถ่ายทอดลงสู่ระดับต่อๆ ไป สามารถสร้างเป้าประสงค์และตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับระดับองค์กรได้ โดย O เป็นผู้รับผิดชอบหลักหรือเป็นเจ้าของ และ S เป็นผู้สนับสนุน
สำนักงานคลังเขต ส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล ผอ.ส่วนตรวจสอบและติดตามฯ (คุณวาสนา) ข้าราชการส่วนตรวจสอบและติดตามฯ#1 คุณแจ่มศรี อันนี้เป็นตัวอย่างของอีกหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกรมบัญชีกลาง คือ สำนักงานคลังเขต ที่ต้องถ่ายทอดเป้าประสงค์และตัวชี้วัดลงมาถึงส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล โดยมีข้าราชการ 2 ท่านคือ คุณแจ่มศรี และคุณชำเรือง ข้าราชการส่วนตรวจสอบและติดตามฯ#2 คุณชำเรือง
ตาราง O/S สำนักงานคลังเขต ฝ่ายบริหารทั่วไป ส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล ส่วนวิชาการ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 1. การใช้จ่ายเงินของจังหวัดภายในเขตมีประสิทธิภาพ สามารถผลักดันให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 1.1 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายรวมของจังหวัดภายในเขต O 1.2 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของจังหวัดภายในเขต 2. ผู้รับบริการภายในและภายนอกมีความพึงพอใจ 2.1 ระดับความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้รับบริการภายนอก 2.2 ระดับความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้รับบริการภายใน 3. การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและให้บริการข้อมูลแก่สาธารณะ 3.1 ความสำเร็จในการดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงาน 3.2 ร้อยละเฉลี่ยผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรมเพิ่มขึ้นภายหลังการอบรม 4. การพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้สะดวก รวดเร็ว 4.1 ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการดำเนินการอนุมัติบำเหน็จบำนาญ 5. การดำเนินงานและบริหารแผนงานโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ 5.1 ความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 5.1.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามแผนฯ ของหน่วยงาน 5.1.2 จำนวนครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนแผนฯ ของหน่วยงาน ทีนี้เราจะมาใช้ตาราง OS กัน ภาพนี้ 2 ช่องซ้ายจะเป็นเป้าประสงค์และตัวชี้วัดของหน่วยงานคือสำนักงานคลังเขต ส่วน 3 ช่องขวาจะเป็นเป้าประสงค์และตัวชี้วัดของส่วน/ฝ่ายที่สอดคล้องกับหน่วยงาน เมื่อเรานำเป้าประสงค์ของหน่วยงานมาคลี่ทั้งหมด จะเห็นได้ว่ามีเป้าประสงค์ที่ 2 ที่ยังไม่มีผู้รับผิดชอบ ซึ่งผู้บริหารหน่วยงานก็ต้องพิจารณาต่อไปว่าจะมอบหมายให้ใคร
ส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล สำนักงานคลังเขต ฝ่ายบริหารทั่วไป ส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล ส่วนวิชาการ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 6.การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร 6.1 ร้อยละของจำนวนบุคลากรในหน่วยงานที่ผ่านการฝึกอบรม O 6.1.1 ข้าราชการ ไม่ต่ำกว่า 10 วัน/คน/ปี 6.1.2 ลูกจ้างประจำ ไม่ต่ำกว่า 3 วัน/คน/ปี 6.2 จำนวนครั้งการฝึกอบรมแบบ On the job training ให้กับบุคลากรของหน่วยงานต่อปี 7. การพัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กร 7.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน
ขั้นตอนที่ 1 ทบทวนบทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบของบุคคล (ผอ.) ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าประสงค์ระดับบุคคล ขั้นตอนที่ 3 กำหนดตัวชี้วัดระดับบุคคล ส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 1. การใช้จ่ายเงินของจังหวัดภายในเขตมีประสิทธิภาพ สามารถผลักดันให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 1.1 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายรวมของจังหวัดภายในเขต O 1.2 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของจังหวัดภายในเขต 3. การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและให้บริการข้อมูลแก่สาธารณะ 3.1 ความสำเร็จในการดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงาน 6.การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร 6.1 ร้อยละของจำนวนบุคลากรในหน่วยงานที่ผ่านการฝึกอบรม 6.1.1 ข้าราชการ ไม่ต่ำกว่า 10 วัน/คน/ปี 6.2 จำนวนครั้งการฝึกอบรมแบบ On the job training ให้กับบุคลากรของหน่วยงานต่อปี 7. การพัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กร 7.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน งานตรวจสอบกำกับดูแลงานของคลังจังหวัด ระยะเวลาเฉลี่ยในการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการปฏิบัติงานสำนักงานคลังจังหวัดภายในเขต การตรวจสอบและจัดทำรายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละของรายงานที่สามารถจัดทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ทีนี้พอลงมาถึงระดับส่วนตรวจสอบฯ ซึ่งก็คือ ผอ.ส่วนตรวจสอบฯ ขั้นตอนแรกก็ต้องทบทวนบทบาทหน้าที่ของส่วนตรวจสอบฯ ว่ามีอะไรบ้าง แล้วกำหนดเป้าประสงค์ของ ผอ.ที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของสำนักงานคลังเขต ถ้ายังไม่ครอบคลุมตามบทบาทหน้าที่ ก็กำหนดเป้าประสงค์และตัวชี้วัดเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามบทบาทหน้าที่
ส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล ตัวชี้วัด ผอ. ส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล คุณแจ่มศรี คุณชำเรือง เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 1. การใช้จ่ายเงินของจังหวัดภายในเขตมีประสิทธิภาพ สามารถผลักดันให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 1.1 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายรวมของจังหวัดภายในเขต O 1.2 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของจังหวัดภายในเขต 3. การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและให้บริการข้อมูลแก่สาธารณะ 3.1 ความสำเร็จในการดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงาน 6.การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร 6.1 ร้อยละของจำนวนบุคลากรในหน่วยงานที่ผ่านการฝึกอบรม S 6.1.1 ข้าราชการ ไม่ต่ำกว่า 10 วัน/คน/ปี 6.2 จำนวนครั้งการฝึกอบรมแบบ On the job training ให้กับบุคลากรของหน่วยงานต่อปี 7. การพัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กร 7.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน งานตรวจสอบกำกับดูแลงานของคลังจังหวัด ระยะเวลาเฉลี่ยในการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการปฏิบัติงานสำนักงานคลังจังหวัดภายในเขต การตรวจสอบและจัดทำรายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละของรายงานที่สามารถจัดทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อลงมาถึงผู้ใต้บังคับบัญชาคือคุณแจ่มศรี และคุณชำเรืองก็ทำเช่นเดียวกัน
คุณแจ่มศรี คุณชำเรือง ส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล คุณแจ่มศรี เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 6.การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร จำนวนวันที่ได้รับการอบรมต่อคนต่อปี S 7. การพัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กร 7.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน O งานตรวจสอบกำกับดูแลงานของคลังจังหวัด ระยะเวลาเฉลี่ยในการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการปฏิบัติงานสำนักงานคลังจังหวัดภายในเขต การตรวจสอบและจัดทำรายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละของรายงานที่สามารถจัดทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด 4.การพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้สะดวกรวดเร็ว 4.1 ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการดำเนินการอนุมัติบำเหน็จบำนาญ คุณชำเรือง ส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล คุณชำเรือง เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 1.การใช้จ่ายเงินของจังหวัดภายในเขตมีประสิทธิภาพ สามารถผลักดันให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 1.1 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายรวมของจังหวัดภายในเขต O 1.2 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของจังหวัดภายในเขต 6.การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร จำนวนวันที่ได้รับการอบรมต่อคนต่อปี S งานตรวจสอบกำกับดูแลงานของคลังจังหวัด ระยะเวลาเฉลี่ยในการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการปฏิบัติงานสำนักงานคลังจังหวัดภายในเขต การตรวจสอบและจัดทำรายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละของรายงานที่สามารถจัดทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด 4.การพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้สะดวกรวดเร็ว 4.1 ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการดำเนินการอนุมัติบำเหน็จบำนาญ ถ้ามียังไม่ครอบคลุมบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ก็กำหนดเป้าประสงค์และตัวชี้วัดเพิ่มเติม ซึ่งตัวชี้วัดเหล่านี้จะใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ โดยกำหนดไว้ในแบบมอบหมายงานของแต่ละบุคคล
คุณแจ่มศรี ส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล บทบาทหน้าที่ ที่สนับสนุนต่อผู้บังคับบัญชา บทบาทหน้าที่งานของบุคคล งานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 6.การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร จำนวนวันที่ได้รับการอบรมต่อคนต่อปี 7. การพัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กร 7.1 ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน งานตรวจสอบกำกับดูแลงานของคลังจังหวัด ระยะเวลาเฉลี่ยในการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการปฏิบัติงานสำนักงานคลังจังหวัดภายในเขต การตรวจสอบและจัดทำรายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละของรายงานที่สามารถจัดทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด 4.การพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้สะดวกรวดเร็ว 4.1 ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการดำเนินการอนุมัติบำเหน็จบำนาญ เมื่อได้เป้าประสงค์และตัวชี้วัดครบถ้วนแล้ว ตารางนี้จะแสดงให้เห็นว่าเป้าประสงค์และตัวชี้วัดใดสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ที่สนับสนุนต่อผู้บังคับบัญชา ตัวใดสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของบุคคล และตัวใดสอดคล้องกับงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ
คุณชำเรือง ตารางของคุณชำเรืองเช่นกันค่ะ ส่วนตรวจสอบและติดตามประเมินผล บทบาทหน้าที่ ที่สนับสนุนต่อผู้บังคับบัญชา บทบาทหน้าที่งานของบุคคล งานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด 1.การใช้จ่ายเงินของจังหวัดภายในเขตมีประสิทธิภาพ สามารถผลักดันให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ 1.1 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายรวมของจังหวัดภายในเขต 1.2 ร้อยละของอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนของจังหวัดภายในเขต 6.การพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร จำนวนวันที่ได้รับการอบรมต่อคนต่อปี งานตรวจสอบกำกับดูแลงานของคลังจังหวัด ระยะเวลาเฉลี่ยในการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบการปฏิบัติงานสำนักงานคลังจังหวัดภายในเขต การตรวจสอบและจัดทำรายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละของรายงานที่สามารถจัดทำได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด 4.การพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้สะดวกรวดเร็ว 4.1 ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการดำเนินการอนุมัติบำเหน็จบำนาญ ตารางของคุณชำเรืองเช่นกันค่ะ
วิธีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย 1. วิธีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากบนลงล่าง ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายเป็นตัวเดียวกันกับผู้บังคับบัญชา ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายแบ่งส่วนจากตัวชี้วัดและเป้าหมายของผู้บังคับบัญชา ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายเป็นคนละตัวกับผู้บังคับบัญชา 2. การสอบถามความคาดหวังของผู้รับบริการ 3. การไล่เรียงตามผังการเคลื่อนของงาน สำหรับวิธีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ก็มีหลายวิธีด้วยกันนะคะ วิธีแรก คือการถ่ายทอดจากบนลงล่าง มี 3 วิธีคือ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายเป็นตัวเดียวกันกับผู้บังคับบัญชา ก็คือผู้บังคับบัญชาการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายอย่างไร ลูกน้องก็กำหนดเหมือนกัน ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายแบ่งส่วนจากตัวชี้วัดและเป้าหมายของผู้บังคับบัญชา ค่าตัวเลขเป้าหมายของผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน ในระดับเดียวกันรวมแล้วเท่ากับหรือมากกว่า ค่าตัวเลขเป้าหมายของผู้บังคับบัญชา ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายเป็นคนละตัวกับผู้บังคับบัญชา เช่น ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีเป้าประสงค์คือระบบเครือข่ายสารสนเทศภายในมีความพร้อมใช้งาน จึงกำหนดตัวชี้วัดเป็น จำนวนครั้งที่ระบบเครือข่ายสารสนเทศไม่สามารถใช้งานได้ เกินกว่า 48 ชั่วโมง ในขณะที่ลูกน้องอาจจะกำหนดเป็นจำนวนครั้งที่ระบบเครือข่ายไม่สามารถใช้งานได้แล้วเจ้าหน้าที่ไม่สามารถแก้ไขให้ใช้งานได้ตามปกติภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานเพียงบางด้าน วิธีที่ 2 คือการสอบถามความคาดหวังของผู้รับบริการ วิธีการนี้เป็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้ให้บริการสะท้อนผ่านการรับรู้ของผู้ใช้บริการ วิธีที่ 3 คือการไล่เรียงตามผังการเคลื่อนของงาน ใช้ได้ดีกับงานที่ผลสัมฤทธิ์เกิดขึ้นจากการร่วมมือของกลุ่ม/บุคคลหลายฝ่าย เช่น การจัดเตรียมวาระการประชุม การจัดทำรายงาน และการจัดทำหนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบการก่อตั้งกระทรวง/กรม เป็นต้น วิธีที่ 4 คือการพิจารณาจากประเด็นที่ต้องปรับปรุง ว่าปัญหาของหน่วยงานคืออะไร จะต้องพัฒนาหรือปรับปรุงในเรื่องใด แล้วกำหนดเป็นตัวชี้วัดออกมา และวิธีอื่นๆ ที่เหมาะสม 4. การพิจารณาจากประเด็นที่ต้องปรับปรุง 5. วิธีอื่นๆ ที่เหมาะสม
3. ตัวชี้วัดที่ 7 ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมาย (Cascading) สู่ระดับบุคคล วัตถุประสงค์ เพื่อผลักดันให้เกิดความสำเร็จตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งในที่นี้หมายถึง แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2556-2559 กรมอนามัย โดยมีวิธีการในการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากระดับกรมสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล (เฉพาะข้าราชการ) มีการสื่อสารอย่างทั่วถึง มีการจัดทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร (ได้แก่ แบบมอบหมายงาน) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย รวมถึงเกณฑ์การประเมินความสำเร็จที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม มีการติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติราชการและรายงานผลสำเร็จของตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ถ่ายทอดลงไปในแต่ละระดับ ฟังแล้วปวดหัวมั๊ยคะ ทฤษฎีเยอะแยะไปหมด ก็ไม่ต้องตกใจนะคะ เรามาดูในส่วนของกรมอนามัยบ้างว่าต้องทำอย่างไรสำหรับตัวชี้วัดที่ 7 ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมาย (Cascading) สู่ระดับบุคคล วัตถุประสงค์ของตัวชี้วัดนี้ก็เพื่อผลักดันให้เกิดความสำเร็จตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งในที่นี้หมายถึง แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2556-2559 กรมอนามัย โดยมีวิธีการในการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากระดับกรมสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล (เฉพาะข้าราชการ) มีการสื่อสารอย่างทั่วถึง มีการจัดทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร (ได้แก่ แบบมอบหมายงาน) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย รวมถึงเกณฑ์การประเมินความสำเร็จที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม มีการติดตามความก้าวหน้าในการปฏิบัติราชการและรายงานผลสำเร็จของตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่ถ่ายทอดลงไปในแต่ละระดับ
ขอบเขต ตัวชี้วัดและเป้าหมาย ในที่นี้ หมายถึง ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2556-2559 กรมอนามัย เฉพาะตัวชี้วัดเชิงปริมาณในระดับเป้าหมายการให้บริการและผลผลิตของกรมอนามัย การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายสู่ระดับบุคคล หมายถึง การถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2556-2559 กรมอนามัย ไปสู่หน่วยงาน (ผู้อำนวยการ) กลุ่มงาน (หัวหน้ากลุ่มงาน) และข้าราชการในสังกัดหน่วยงานนั้น เฉพาะตัวชี้วัดเชิงปริมาณในระดับเป้าหมายการให้บริการและระดับผลผลิตของกรมอนามัย ระดับบุคคล หมายความเฉพาะบุคคลซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดกรมอนามัย หน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจเกี่ยวข้องต่อการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดดังกล่าว ต้องจัดทำคำรับรองฯตัวชี้วัดนี้ ได้แก่ ทุกหน่วยงานในสังกัดกรมอนามัย ขอบเขตของตัวชี้วัดและเป้าหมายในที่นี้ หมายถึง ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2556-2559 กรมอนามัย เฉพาะตัวชี้วัดเชิงปริมาณในระดับเป้าหมายการให้บริการและผลผลิตของกรมอนามัย ซึ่งเดี๋ยวเราจะมาดูกันว่าคืออะไร และการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายสู่ระดับบุคคล หมายถึง การถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2556-2559 กรมอนามัย ไปสู่หน่วยงาน (ผู้อำนวยการ) กลุ่มงาน (หัวหน้ากลุ่มงาน) และข้าราชการในสังกัดหน่วยงานนั้น เฉพาะตัวชี้วัดเชิงปริมาณในระดับเป้าหมายการให้บริการและระดับผลผลิตของกรมอนามัย ระดับบุคคล หมายความเฉพาะบุคคลซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดกรมอนามัยเท่านั้น และหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจเกี่ยวข้องต่อการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดดังกล่าว ต้องจัดทำคำรับรองฯตัวชี้วัดนี้ ได้แก่ ทุกหน่วยงานในสังกัดกรมอนามัย
โครงสร้างแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2556-2559 กรมอนามัย วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรหลักของประเทศในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี พันธกิจ ผลิต พัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรม เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมให้กับเครือข่าย รวมไปถึงการผลักดันและสนับสนุนให้เครือข่ายดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานและกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนได้รับการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีคุณภาพ พัฒนา ผลักดัน และสนับสนุนให้เกิดนโยบาย และกฎหมายที่จำเป็นในด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศ พัฒนาระบบการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็งรวมไปถึงระบบที่เกี่ยวข้อง โดยการกำกับ ติดตามและประเมินผล เพื่อนำมาสู่การพัฒนานโยบาย กฎหมาย และระบบอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ ทีนี้เรามาดูกันว่าแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ของกรมอนามัยมีรายละเอียดอะไรบ้าง ซึ่งแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีนี้จะต้องมีการทบทวนและจัดทำทุกๆ ปี โดยปัจจุบันคือปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ก็จะยึดตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2556-2559 กรมอนามัย ซึ่งประกอบด้วย วัฒนธรรมองค์กร HEALTH Health Model (เป็นต้นแบบสุขภาพ) ดูแลรักษาสุขภาพตนเองเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น Ethics (มีจริยธรรม) มีจรรยาบรรณ ซื่อสัตย์ โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่แสวงหาประโยชน์ในการปฏิบัติงาน Achievement (มุ่งผลสัมฤทธิ์) มุ่งมั่น รับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง Learning (เรียนรู้ร่วมกัน) มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนางานร่วมกัน Trust (เคารพและเชื่อมั่น) มีความเคารพในสิทธิ หน้าที่ของตนเองและผู้อื่น Harmony (เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) มุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมและยอมรับผลสำเร็จของทีมงานร่วมกัน
ประเด็นยุทธศาสตร์หลัก กลยุทธ์ พัฒนาความเข้มแข็งและสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย และสมรรถนะบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง พัฒนากระบวนการกำหนด/บริหารนโยบายสาธารณะ/กฎหมายด้านสุขภาพจากฐานความรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา/วิถีชีวิตคนไทย ลงทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบงานให้ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ สร้างความรู้รอบและรู้เท่าทัน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ประเด็นยุทธศาสตร์หลัก ลดปัจจัยเสี่ยง สร้างปัจจัยเอื้อด้านสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ประเด็นยุทธศาสตร์ย่อย 1. พัฒนาอนามัยแม่และเด็ก 2. พัฒนาสุขภาพวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์ 3. แก้ไขปัญหาโรคอ้วนและส่งเสริมโภชนาการคนไทย 4. พัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 5. พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม 6. พัฒนาความปลอดภัยด้านอาหารและน้ำ 7. พัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ
เป้าหมายการให้บริการกรมอนามัย ประชาชนมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเหมาะสมตามกลุ่มวัยและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ จำนวนภาคี เครือข่ายที่นำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมไปประยุกต์ใช้ (แห่ง) (ปี 56=1,030 แห่ง) ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ภาคีเครือข่ายและประชาชนพึงพอใจองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ) (ปี 56=ร้อยละ 80) ผลผลิตที่ 1 องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมได้รับการพัฒนาและถ่ายทอดแก่ประชาชนและภาคีเครือข่าย ผลผลิตที่ 2 การให้บริการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนในกลุ่มหรือพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. จำนวนโครงการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (โครงการ) (ปี 56=22 โครงการ) 2. จำนวนประชาชนและบุคลากรภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (ราย) (ปี 56=77,000 ราย) ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 3. โครงการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมได้มาตรฐานทางวิชาการระดับดีมาก (ร้อยละ ) (ปี 56=ร้อยละ 80) ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. จำนวนประชาชนในกลุ่มและพื้นที่เป้าหมายเฉพาะได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (ราย) (ปี 56=9,820 ราย) ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 2. ภาคีเครือข่ายและประชาชนในกลุ่มและพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ พึงพอใจการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ) (ปี 56=ร้อยละ 80) กิจกรรมที่ 1.1 พัฒนาองค์ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัด การพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (ด้าน) (ปี 56=3 ด้าน) กิจกรรมที่ 2.1 การจัดหาและจัดการนมผงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วี จากแม่สู่ลูก ตัวชี้วัด จำนวนแผนการจัดหาและจัดการนมผง (แผน) (ปี 56=1 แผน) เป้าหมายการให้บริการ คือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน แสดงถึงผลประโยชน์ที่มีต่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการหรือพื้นที่เป้าหมาย ผลผลิต คือ ผลของการดำเนินงานตามกิจกรรม เป็นสินค้าและบริการที่ได้จากการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1.2 พัฒนาคุณภาพระบบบริหารจัดการองค์กร ตัวชี้วัด จำนวนระบบบริหารจัดการองค์กรที่ได้รับการพัฒนา (ระบบ) (ปี 56=1 ระบบ) ตัวชี้วัด จำนวนโครงการที่ให้บริการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในกลุ่มและพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ (โครงการ) (ปี 56=5 โครงการ) กิจกรรมที่ 2.2 บริการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในกลุ่มและพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ กิจกรรมที่ 1.3 พัฒนาศูนย์เรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัด จำนวนศูนย์อนามัยที่ได้รับการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ (แห่ง) (ปี 56=2 แห่ง) กิจกรรมที่ 1.4 ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการส่งเสริม สุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมสู่ประชาชน และภาคีเครือข่าย ตัวชี้วัด จำนวนหน่วยงานที่มีโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมสู่ประชาชนและภาคี เครือข่าย (หน่วยงาน) (ปี 56=31 หน่วยงาน) กิจกรรมที่ 1.5 พัฒนาอาหารปลอดภัย ส่งเสริมครัวไทยสู่ครัวโลก ตัวชี้วัด จำนวนภาคีเครือข่ายที่ดำเนินการพัฒนาสถาน ประกอบการด้านอาหาร (แห่ง) (ปี 56=76 แห่ง)
เป้าหมายการให้บริการกรมอนามัย ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของกรมอนามัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ที่รองรับแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2556-2559 กรมอนามัย เป้าหมายการให้บริการกรมอนามัย ประชาชนมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเหมาะสมตามกลุ่มวัยและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ จำนวนภาคี เครือข่ายที่นำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมไปประยุกต์ใช้ (1,030 แห่ง) โดยตัวชี้วัดภาคีเครือข่าย ประกอบไปด้วย 1. รพ.สายใยรักแห่งครอบครัวผ่านเกณฑ์ระดับทอง 2. ตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว 3. โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 4. รพ.สังกัด สป.ผ่านเกณฑ์มาตรฐานบริการสุขภาพและ 5. ศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง อนามัยการเจริญพันธุ์ที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน 6. หน่วยบริการสาธารณสุขจัดบริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากผู้สูงอายุ 7. อปท. ที่มีระบบการจัดการสุขาภิบาลอาหารระดับพื้นฐาน 8. สถานบริการสาธารณสุขดำเนินกิจกรรม GREEN 9. อปท.ที่มีระบบการบริการน้ำบริโภคระดับพื้นฐาน 10.ระบบประปาที่ผ่านการรับรองมาตรฐานน้ำประปาดื่มได้ 11.องค์กรส่งเสริมเด็กไทยเติบโตเต็มศักยภาพ 12.อำเภอที่ผ่านองค์ประกอบการดำเนินงานอำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว ผลผลิตที่ 1 องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมได้รับการพัฒนาและถ่ายทอดแก่ประชาชนและภาคีเครือข่าย ผลผลิตที่ 2 การให้บริการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนในกลุ่มหรือพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ ดังที่อธิบายแล้วว่าตัวชี้วัดและเป้าหมายในที่นี้ หมายถึงเฉพาะตัวชี้วัดเชิงปริมาณในระดับเป้าหมายการให้บริการและผลผลิตของกรมอนามัย ซึ่งเป็นตัวชี้วัดในคำรับรองฯ ของกรมอนามัยด้วย ดังภาพนี้ จะเห็นได้ว่ามีเพียง 4 ตัวชี้วัดเท่านั้นคือ............... แต่ยังมีตัวชี้วัดย่อยๆ ที่สะท้อนความสำเร็จของตัวชี้วัดเหล่านี้ ซึ่งมีทั้งตัวที่อยู่ในคำรับรองฯ และตัวที่เกิดจากการที่กองแผนงานได้ขอให้สำนักและกองวิชาการทบทวนตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย เช่น ตัวชี้วัดของเป้าหมายการให้บริการตัวแรก...................................... ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1.จำนวนโครงการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (29 โครงการ) 2.จำนวนประชาชนและบุคลากรภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (77,000 ราย) ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ จำนวนประชาชนในกลุ่มและพื้นที่เป้าหมายเฉพาะได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (9,820 ราย) โดยตัวชี้วัดกลุ่มและพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ ประกอบด้วย 1. เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่แม่ติดเชื้อเอช ไอ วี ได้รับนมผงมาตรฐานกรมอนามัย 2. จำนวนบุคลากร ภาคี เครือข่ายและประชาชนได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ 3. จำนวนบุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านอนามัยแม่และเด็ก 4. จำนวนบุคลากรและประชาชนในพื้นที่เป้าหมายเฉพาะได้รับการพัฒนาด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 5. พัฒนาภาคีเครือข่ายเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
ตามขั้นตอนการดำเนินงาน เกณฑ์การให้คะแนน หน่วยงาน ข้อมูลปี 2555 เกณฑ์การให้คะแนนเทียบกับความสำเร็จ ตามขั้นตอนการดำเนินงาน 20 40 60 80 100 ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคทั้ง 31 หน่วยงาน - ขั้นตอนที่ 1 1-2 1-3 1-4 1-5
ประเด็นพิจารณาการให้คะแนน กำหนดเป็นระดับขั้นของความสำเร็จ (Milestone) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ ขั้นตอนที่ ประเด็นการประเมินผล คะแนน คำอธิบาย 1 มีกรอบแนวทางในการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากระดับกรมสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล 20 กรอบแนวทางฯ แสดงถึงวิธีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายฯ ที่หน่วยงานกำหนดขึ้น เช่น อาจจัดทำเป็นคู่มือหรือเอกสารอธิบายความเชื่อมโยงสอดคล้องได้อย่างชัดเจน ดังนี้ ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ของส่วนราชการ ประเด็นพิจารณาการให้คะแนน มีแผนผังหรือแผนภาพแสดงความเชื่อมโยงระหว่างตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายของหน่วยงานที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2556-2559 กรมอนามัย (ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรมองค์กร กลยุทธ์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าหมายการให้บริการ/เป้าประสงค์ของกรมอนามัย และผลผลิต) (10 คะแนน) มีการนำเสนอเอกสารกรอบแนวทางฯ ต่อผู้บริหารของหน่วยงาน (แสดงหนังสือราชการที่นำเสนอผู้บริหารของหน่วยงาน) (10 คะแนน) ตอนแรกจะมีเพียงตารางด้านบนที่อธิบายในคู่มือการจัดทำคำรับรองฯ ซึ่งก็มีคำถามมามากมายจากหน่วยงานต่างๆ ตอนที่จะรายงานผลรอบ 6 เดือน ก็เลยได้หารือกับท่าน ผอ.กองแผนงานว่าควรจะทำอย่างไรดี สุดท้ายก็ได้จัดทำคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้การประเมินผลตัวชี้วัดนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยขั้นตอนที่ 1 .............................................
ประเด็นพิจารณาการให้คะแนน ขั้นตอนที่ ประเด็นการประเมินผล คะแนน คำอธิบาย 2 มีแผนภาพ (Flow Chart) แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากระดับกรมสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล 20 แสดงแผนภาพให้เห็นว่าตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของกรมอนามัยที่ถ่ายทอดจากกรมไปยังหน่วยงาน ได้มีการถ่ายทอดไปสู่ระดับบุคคลอย่างชัดเจน ประเด็นพิจารณาการให้คะแนน มีแผนภาพ อาจเป็น Flow Chart หรือ Mind Map แสดงให้เห็นว่าตัวชี้วัดของหน่วยงาน (ผู้อำนวยการ) ได้ถ่ายทอดไปยังกลุ่มงาน (หัวหน้ากลุ่ม) และข้าราชการ (ผู้ใต้บังคับบัญชาของ กลุ่มงาน) (10 คะแนน) มีการนำเสนอแผนภาพต่อผู้บริหารของหน่วยงาน (แสดงหนังสือราชการที่นำเสนอผู้บริหารของหน่วยงาน) (10 คะแนน)
ประเด็นพิจารณาการให้คะแนน ขั้นตอนที่ ประเด็นการประเมินผล คะแนน คำอธิบาย 3 มีการสื่อสารและสร้างความเข้าใจให้บุคลากรรับทราบถึงตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายและกรอบการประเมินผล 20 แสดงให้เห็นถึงวิธีการหรือช่องทางที่ใช้ในการสื่อสารตามแนวทางที่กำหนดจาก กรม --> หน่วยงาน --> กลุ่มงาน/บุคคล ระดับหน่วยงาน มีหลักฐาน เอกสาร แสดงช่องทางการสื่อสาร เช่น การประชุมของหน่วยงาน การสื่อสารผ่านเวปไซต์ หนังสือเวียน เป็นต้น ระดับบุคคล เช่น แผนปฏิบัติงานตามคำรับรอง การมอบหมายงานรายบุคคล เป็นต้น ประเด็นพิจารณาการให้คะแนน มีเอกสารที่ระบุวิธีการหรือช่องทาง พร้อมหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีการสื่อสารให้บุคลากรของหน่วยงานทราบในเรื่องต่อไปนี้ สื่อสารกรอบแนวทางในการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากระดับกรมสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล (10 คะแนน) สื่อสารแผนภาพแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากระดับกรมสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล (10 คะแนน)
ประเด็นพิจารณาการให้คะแนน ขั้นตอนที่ ประเด็นการประเมินผล คะแนน คำอธิบาย 4 มีการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานและมีการรายงานผลการดำเนินงานตามกรอบแนวทาง /แผนภาพที่กำหนด 20 แสดงเอกสาร หลักฐานที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าและรายงานผลการดำเนินงานทั้งระดับหน่วยงานและบุคคล เช่น สรุปการประชุมติดตามผลการดำเนินงาน เป็นต้น ประเด็นพิจารณาการให้คะแนน มีเอกสาร หลักฐานที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ รอบ 6 เดือน (5 คะแนน) มีการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ รอบ 6 เดือน ผ่านระบบ DOC (5 คะแนน) มีเอกสาร หลักฐานที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ รอบ 12 เดือน (5 คะแนน) มีการรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมายในแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ รอบ 12 เดือน ผ่านระบบ DOC (5 คะแนน)
ประเด็นพิจารณาการให้คะแนน ขั้นตอนที่ ประเด็นการประเมินผล คะแนน คำอธิบาย 5 มีการสรุปบทเรียนการดำเนินการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามกรอบแนวทางที่กำหนด 20 สรุปบทเรียนความสำเร็จ/ไม่สำเร็จ ปัญหา อุปสรรคของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามแนวทางที่กำหนดและการดำเนินการตามระบบติดตามและประเมินผล มีข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง ประเด็นพิจารณาการให้คะแนน มีเอกสารสรุปความสำเร็จ/ไม่สำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาเกี่ยวกับการดำเนินการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากระดับกรมสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล (10 คะแนน) มีการนำเสนอเอกสารสรุปฯ ต่อผู้บริหารหน่วยงาน (10 คะแนน)
หลักฐานอ้างอิง กรอบแนวทางฯ แสดงถึงวิธีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายฯ แผนภาพ (Flow Chart) ความเชื่อมโยงของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากระดับกรมสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล เอกสารที่ระบุช่องทางที่สื่อสารให้บุคลากรทราบถึงกรอบแนวทาง/แผนภาพที่กำหนด เอกสารที่ระบุว่ามีการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน เอกสารสรุปบทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายตามกรอบแนวทางที่กำหนด แหล่งข้อมูล จากทุกหน่วยงานในสังกัดกรมอนามัย กองแผนงาน เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บ ประมวล และวิเคราะห์ข้อมูล ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด : นายสืบพงษ์ ไชยพรรค โทรศัพท์ : 0 2590 4282 ผู้อำนวยการกองแผนงาน E-mail : suebpongse.c@anamai.mail.go.th ผู้จัดเก็บข้อมูล : 1.นางศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล โทรศัพท์ : 0 2590 4288 E-mail : sripunsakul@gmail.com, sriwipa.l@anamai.mail.go.th : 2.นางกุลนันท์ เสนคำ โทรศัพท์ : 0 2590 4300 : E-mail : kunlanant.s@anamai.mail.go.th หน่วยงาน : กองแผนงาน
4. ตัวอย่างการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายกองแผนงาน กรอบการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของกองแผนงาน ตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ กรมอนามัย กองแผนงานกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติ ราชการ 4 ปีฯ กรมอนามัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 สื่อสาร กองแผนงานกำหนดผู้รับผิดชอบและ แบ่งค่าเป้าหมายให้แต่ละกลุ่มงาน สื่อสาร กลุ่มงานกำหนดผู้รับผิดชอบและแบ่งค่าเป้าหมาย ให้บุคลากรในกลุ่มงาน (เฉพาะข้าราชการ) ขั้นตอนที่ 1 มีกรอบแนวทางในการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายจากระดับกรมสู่ระดับหน่วยงานและระดับบุคคล กองแผนงานก็ได้จัดทำเป็นเอกสาร กรอบการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของกองแผนงาน ตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ กรมอนามัย และเสนอท่าน ผอ. เรียบร้อยแล้ว (จะส่งให้ทาง กพร. เอาขึ้นเวปให้) โดยมีกรอบแนวทางเริ่มจาก................................. สื่อสาร ข้าราชการกองแผนงานจัดทำ แบบมอบหมายงาน ผู้บัญชาการแต่ละระดับประเมินผลการ ปฏิบัติราชการของข้าราชการกองแผนงาน
จำนวนประชาชนและบุคลากรภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (77,000 ราย) ระดับกรม (อธิบดี) จำนวนประชาชนและบุคลากรภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (700 ราย) ระดับกอง (ผอ.) หน.กลุ่มนโยบายและแผน 200 ราย หน.กลุ่มข้อมูลและประเมินผล 250 ราย หน.กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ 180 ราย หน.กลุ่มวิเทศสัมพันธ์ 70 ราย ระดับ กลุ่มงาน ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีที่กรมอนามัยรับผิดชอบมี 1 ตัวชี้วัดคือ...................................... ถนอมรัตน์ ศรีวิภา กุลนันท์ ศนินธร สิริรัตน์ นุชนารถ นุกูลกิจ วิมล ชัญญา ชุลีวรรณ ฉัตรชัย จารุมน ณุพิณ ระดับ บุคคล
กองแผนงาน กำหนดให้ข้าราชการที่รับผิดชอบตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายซึ่งถ่ายทอดมาจากระดับกรมและระดับหน่วยงาน ต้องกำหนดตัวชี้วัดรองรับตัวชี้วัดดังกล่าวไว้ในแบบมอบหมายงานของตนเองด้วย โดยให้น้ำหนักของตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ มากกว่าน้ำหนักตัวชี้วัดอื่น
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง แบบสรุปตัวชี้วัดของกองแผนงานและการแบ่งค่าเป้าหมายไปสู่ระดับกลุ่มงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556 ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมายของกองแผนงาน ตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมายของกลุ่มงาน และการแบ่งค่าเป้าหมาย กลุ่มนโยบายฯ กลุ่มเทคโนโลยีฯ กลุ่มข้อมูลฯ กลุ่มวิเทศสัมพันธ์ กลุ่มอำนวยการ 1. 2. 3. ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมายของกองแผนงาน ตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมายของกลุ่มงาน และการแบ่งค่าเป้าหมาย กลุ่มนโยบายฯ กลุ่มข้อมูลฯ กลุ่มเทคโนโลยีฯ กลุ่มวิเทศสัมพันธ์ กลุ่มอำนวยการ 1. จำนวนประชาชนและบุคลากรภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม (700 ราย) จำนวนประชาชนและบุคลากรภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนโยบายและแผน 200 ราย จำนวนประชาชนและบุคลากรภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการติดตามประเมินผล 250 ราย จำนวนประชาชนและบุคลากรภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 180 ราย จำนวนประชาชนและบุคลากรภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ 70 ราย -
แบบสรุปตัวชี้วัดของกลุ่มงานและการแบ่งค่าเป้าหมายไปสู่ระดับบุคคล กลุ่มงาน …………………………………………………………..……….. ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมายของกลุ่มงาน ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมายของบุคคลและการแบ่งค่าเป้าหมาย ชื่อ-สกุล......................... ชื่อ-สกุล.......................... ชื่อ-สกุล........................... 1. 2. 3. กลุ่มนโยบายและแผน ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมาย ของกองแผนงาน ตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมายของกลุ่มงาน ตัวชี้วัด-ค่าเป้าหมายของบุคคล และการแบ่งค่าเป้าหมาย กุลนันท์ เสนคำ สิริรัตน์ อยู่สิน 1. จำนวนประชาชนและบุคลากรภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 700 ราย จำนวนประชาชนและบุคลากรภาคีเครือข่ายได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนโยบายและแผน 200 ราย จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี กรมอนามัย 100 ราย จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมชี้แจงการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี กรมอนามัย
5. Q&A Q : หน่วยงานสามารถกำหนดกรอบการถ่ายทอดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย กรณีที่ เป็นงานประจำหรืองานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ นอกเหนือจากตัวชี้วัดตาม แผนปฏิบัติราชการ 4 ปีฯ ได้หรือไม่ A : สามารถทำได้ แต่ในปีงบประมาณ พ.ศ.2556 จะเน้นตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติ ราชการ 4 ปีฯ กรมอนามัย เป็นหลัก เนื่องจากเป็นปีเริ่มต้นที่กำหนดในตัวชี้วัด คำรับรองฯ Q : กรณีที่ตัวชี้วัดเดียวกันมีผู้ที่ร่วมดำเนินการหลายคนและไม่สามารถแบ่งค่า เป้าหมายได้ เช่น เป้าหมายของหน่วยงานคือ รพ.ส่งเสริมสุขภาพ 100 แห่ง แต่มีผู้ร่วมดำเนินการหลายคน A : กรณีดังกล่าว สามารถกำหนดตัวชี้วัดด้วยวิธีการไล่เรียงตามผังเคลื่อนของงาน หรือวิธีอื่นๆ ตามความเหมาะสม
ขอบคุณค่ะ kunlanant.s@anamai.mail.go.th 0-2590-4300, 0-2590-4302