การป้องกันควบคุมอหิวาตกโรค ระดับจังหวัด ของ แนวทางการสนับสนุน การป้องกันควบคุมอหิวาตกโรค ระดับจังหวัด ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12
บทบาท สคร.ที่ 1-12 ติดตามสถานการณ์อหิวาตกโรค อย่างสม่ำเสมอ รายงานผู้บริหาร และศูนย์วิชาการเขต รับทราบ จัดให้มีทีม SRRT ที่เตรียมพร้อมตลอดเวลา เพื่อร่วมออกสอบสวนควบคุมโรคในพื้นที่ทันทีเมื่อสถานการณ์ไม่น่าไว้วางใจ (ตามเกณฑ์ที่จะกล่าวต่อไป) ให้ข้อเสนอแนะในการควบคุมป้องกันโรค ที่เหมาะสมตามสถานการณ์ที่พบจากการสอบสวนโรค ประสานและแจ้งศูนย์วิชาการเขตที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบ และร่วมดำเนินการสนับสนุนตามภารหน้าที่ของแต่ละศูนย์ฯ ให้การสนับสนุนด้านวิชาการ และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเฝ้าระวังสอบสวน ป้องกันควบคุมอหิวาตกโรคในคน ผู้อำนวยการ สคร. เป็นผู้แทนของกรมในการเข้าร่วมประชุมศูนย์ประสานงานฯระดับจังหวัด
สถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ เกณฑ์การพิจารณา สถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ ของอหิวาตกโรค
มีผู้ป่วยอหิวาตกโรคเกิดขึ้นแบบ Sporadic case ต่อเนื่อง ไปเกินกว่า 10 วัน
มีผู้ป่วยอหิวาตกโรค เกิดขึ้นหลายอำเภอในช่วงสัปดาห์เดียวกัน
3. พบผู้ป่วยอหิวาตกโรคเป็นกลุ่มก้อน (cluster) และอาจเกิดจากแหล่งโรคร่วม (common source)
มีรายงานผู้ป่วยอหิวาตกโรค เกิดขึ้นหลายจังหวัด และผลการสอบสวนโรค ระบุว่าอาจมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันในเรื่องของแหล่งโรคเช่น รถเร่ แหล่งอาหารร่วมกัน
จำนวนผู้ป่วยอหิวาตกโรคจากเชื้อ V. cholerae O1 El Tor Ogawa, 2007 ขอนแก่น, อุดรธานี, เลย, กทม หอยแครง นครสวรรค์ หัวหมู ระนองเริ่มจาก แรงงานประมงต่างด้าว 2nd - 3rd กทม. Shrimp 1st สมุทรสาคร 4th สมุทรสาคร ตาก Mar Apr May Jun Jul Aug Sep week
กรณีการระบาดที่มีความสลับซับซ้อน เช่นการระบาดที่เกิดขึ้นกับผู้อพยพ ในศูนย์พักพิงชั่วคราวตามชายแดนไทย แล้วแพร่ระบาดไปสู่หมู่บ้าน หรือกรณีเกิดการระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน แล้วติดต่อเข้าสู่พื้นที่ชายแดนประเทศไทย เป็นต้น
Epidemic curve จำนวนผู้ป่วยอหิวาต์ จ.ตาก ตั้งแต่ 3 พ.ค.-27 ก.ค.50 รายแรก อ.พบพระ รายแรก ศูนย์แม่หละ รายแรก อ.แม่ระมาด รายแรก อ.แม่สอด รายแรก ศูนย์นุโพ/อุ้มเปี้ยม