การค้ามนุษย์
การค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์ หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัย หรือการรับไว้ซึ่งบุคคลด้วยวิธีการขู่เข็ญ หรือด้วยการใช้กำลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบอื่นใด ด้วยการลักพาตัว ด้วยการฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวง ด้วยการใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์โดยมิชอบ หรือมีการให้ หรือรับเงินหรือผลประโยชน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจควบคุมบุคคลอื่น...
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2548 เห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการด้านการค้ามนุษย์ 3 ระดับ คือ ระดับชาติ ระดับจังหวัด และต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดกลไกประสานงานกลางด้านการค้ามนุษย์ บูรณาการข้อมูล บริการและความช่วยเหลือจากส่วนราชการทุกกระทรวง รวมทั้งเกิดระบบสนับสนุนข้อมูล เพื่อการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารในระดับนโยบายในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ตามโครงสร้างดังนี้ ระดับชาติ กำหนดให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานกลางประสานการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดับจังหวัด กำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นเลขานุการ รวมทั้งสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ต่างประเทศ กำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมการประจำประเทศต่างๆ โดยมีเอกอัครราชทูต/กงสุลใหญ่เป็นประธาน และมีผู้แทนประกอบด้วย กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ ทูตแรงงาน ผู้แทนด้านความมั่นคง ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชน และชุมชนไทย ทำหน้าที่ประสานการให้ข้อมูลและความช่วยเหลือเหยื่อการค้ามนุษย์
สภาพปัญหาการค้ามนุษย์ สภาพปัญหาการล่อลวงและลักพาตัวแรงงานในธุรกิจแรงงานทาสบนเรือประมงนั้น มีหลายหน่วยงานที่ควรมีบทบาทและหน้าที่โดยตรงในการร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการหยิบยกเป็นประเด็นทางสังคมในวงกว้าง ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดความเข้าใจในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและไม่สามารถเข้าถึงการแก้ไขปัญหาในระดับนโยบายได้
ผลกระทบจากการค้ามนุษย์ ที่มากไปกว่านั้นการค้ามนุษย์คืออาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อ คุณค่า และ ศักดิ์ศรี แห่งความเป็นมนุษย์ที่ถูกกระทำเสมือนเป็นเพียง สินค้า ที่มีมูลค่าสำหรับซื้อขายและทำรายได้ให้กับเจ้าของเท่านั้น แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถานะพิเศษในเรื่องการค้ามนุษย์ เพราะเราไม่เพียงแต่จะอยู่ในสถานะของประเทศ ต้นทาง แต่เรายังเป็นประเทศ ทางผ่าน และเป็น ปลายทาง ของการค้ามนุษย์ไปพร้อมๆ กัน ปัญหาการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นในไทยเกิดขึ้นกับทั้งบุคคลที่มีสัญชาติไทย และบุคคลที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ในพื้นที่ภาคเหนือของไทยเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการค้ามนุษย์มากที่สุดพื้นที่หนึ่งในประเทศ อาจเพราะมีปัจจัยหลายอย่างเอื้อต่ออาชญากรรมดังกล่าว ทั้งหญิงสาวหน้าตาสะสวยที่ตกเป็นเหยื่อในการถูกล่อลวงไปค้าประเวณี รวมถึงพื้นที่ซึ่งมีชายแดนติดกับเพื่อนบ้านหลายประเทศ
แนวทางการแก้ไข ขณะที่แนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาควรมุ่งเน้นไปที่การป้องกันปัญหาที่เชื่อมโยงกับหลายด้าน อาทิ การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว,สร้างระบบแนวทางการทำงานป้องกันและปราบปรามแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของจังหวัด โดยการประเมินสถานการณ์ปัญหา กำหนดกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบการค้ามนุษย์ ระดับความรุนแรง และพื้นที่เกิดปัญหา จัดลำดับความสำคัญ ประเมินทรัพยากร กลไกที่มีอยู่ และการกำหนดแผนงาน,สร้างมาตรการความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายของจังหวัด และ MOU ว่าด้วยความร่วมมือระดับพหุพาคี และระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนมาตรการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย
จัดทำโดย นายอนุพงษ์ ขุนทอง รหัส 50111417 หมู่เรียน คพ.50.ค5.1