ความหมาย และวิวัฒนาการ ของ ระบบปฏิบัติก าร
ความเป็นมาการใช้งานคอมพิวเตอร์ ผู้ประดิษฐ์เครื่องจะเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงาน ทุกขั้นตอน คำสั่งเป็นภาษาเครื่อง (Machine language) ชุดคำสั่งภาษาแอสเซมบลี้ (Assembly language) และมีตัวแปล คำสั่งเรียกว่า แอสเซมเบลอ (Assembler) ภาษาระดับสูง (High level language) เช่น ภาษาเบสิก (BASIC) โคบอล (COBOL) มีตัวแปลคำสั่งเรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) คำสั่งที่ถูกแปลงมาคือ Code
ความหมายของ System Software เป็นโปรแกรมทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการทำงานของระบบอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ทำงานได้หลายประเภท เช่น ควบคุมการทำงานของเครื่อง และอุปกรณ์ I/O เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น ระบบหลายภารกิจ หรือ ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming)
ความหมายของระบบปฏิบัติการ Operating System : OS เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป จัดสรรทรัพยากรในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการแก่ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ โปรแกรมที่ช่วยจัดการให้การรันโปรแกรมเสร็จสิ้นสมบูรณ์ และควบคุมการทำงานของเครื่อง
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ หลอดสุญญากาศ ยังไม่มีระบบปฏิบัติการ ยุคที่ 1 ช่วงปี ค.ศ.1945 - ค.ศ.1955 ผลิตเครื่องจักรในการคำนวณโดยใช้หลอดสุญญากาศ (Vacumm Tube) เครื่องมีขนาดใหญ่มาก หลอดสุญญากาศประมาณ 10,000 หลอด ใช้ฮาร์ดแวร์ในการสั่งงาน หรือเรียกว่า ปลั๊กบอร์ด
หลอดสุญญากาศ ยังไม่มีระบบปฏิบัติการ ภาพตัวอย่าง หลอดสุญญากาศ ยังไม่มีระบบปฏิบัติการ ยุคที่ 1
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ทรานซิสเตอร์กับการประมวลผลแบบแบทช์ ยุคที่ 2 ช่วงปี ค.ศ.1955 - ค.ศ.1965 ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ได้สำเร็จ และนำมาเป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างคอมพิวเตอร์ ใช้มากในวงการธุรกิจ มีการแบ่งกลุ่มหรือจัดสรรบุคลากรที่ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ เช่น ผู้ออกแบบระบบ นักเขียนโปรแกรม ฯลฯ พัฒนาภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) ถือว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงภาษาแรก โดยใช้บัตรเจาะรูในการบันทึกข้อมูล
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ทรานซิสเตอร์กับการประมวลผลแบบแบทช์ (ต่อ) ยุคที่ 2 ต่อมาพัฒนาเป็นระบบการประมวลผลแบบแบทช์ (Batch Processing System) รวบรวมงานไว้ในเทปแม่เหล็ก ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าบัตรเจาะรู งานส่วนใหญ่ที่นำมาใช้เป็นงานเกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์ และการคำนวณทางวิศวกรรม การแก้สมการทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ใช้ระบบปฏิบัติการเอฟเอ็มเอส (FMS : Fortran Moniter System)
ทรานซิสเตอร์กับการประมวลผลแบบแบทซ์ ภาพตัวอย่าง ทรานซิสเตอร์กับการประมวลผลแบบแบทซ์ ยุคที่ 2
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (Multiprogramming) ยุคที่ 3 ช่วงปี ค.ศ.1965 - ค.ศ.1980 แบ่งกลุ่มงานเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ งานด้านธุรกิจ และงานด้านวิทยาศาสตร์ บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้พัฒนา ไอบีเอ็ม 360 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่นำเอาเทคโนโลยีไอซีมาใช้ มีแนวคิดทำงานแบบหลายโปรแกรม โดยการแบ่งส่วนของหน่วยความจำเป็นส่วน ๆ เพื่อเก็บงานที่มีในระบบไว้
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (ต่อ) ยุคที่ 3 หากงานมีขนาดใหญ่ งานอื่น ๆ จะไม่ได้รับการประมวลผลจนกว่างานจะประมวลผลเสร็จสิ้นก่อน ทำให้งานอื่นต้องคอย ปัญหาการคอยนาน จึงเกิดแนวคิดและออกแบบระบบการทำงานแบบจัดสรรเวลา (Time Sharing)
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ ไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (ต่อ) ยุคที่ 3 ระบบปฏิบัติการแรกที่ใช้ คือ ระบบปฏิบัติการมัลติก (MULTIC : Multiplexed Information and Computing Service) พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งรัฐแมสชาชูเซต (MIT : Massachusetts Instute of Technology) เคน ทอมสัน (Ken Tompson) พัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX Operating System) นิยมใช้ในปัจจุบันโดยเฉพาะสถาบันการศึกษา
ไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (Multiprogramming) ภาพตัวอย่าง ไอซีและระบบมัลติโปรแกรม (Multiprogramming) ยุคที่ 3
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและระบบปฏิบัติการเครือข่าย ยุคที่ 4 ช่วงปี ค.ศ.1980 - ค.ศ.1990 ประดิษฐ์วีแอลเอสไอ (VLSI : Very Large Scale Integrate Circuit) นำมาใช้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ใช้งานเฉพาะตัวหรือเชื่อมต่อหลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกัน ใช้ทรัพยากรร่วมกันเรียกว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและระบบปฏิบัติการเครือข่าย (ต่อ) ยุคที่ 4 ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคือ MS-DOS และ PC-DOS ระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายใช้เรียกว่า ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS : Network Operating System)
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและระบบปฏิบัติการเครือข่าย ภาพตัวอย่าง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและระบบปฏิบัติการเครือข่าย ยุคที่ 4
จบบทที่ 1 ค่ะ