ประโยคความซ้อน หรือ สังกรประโยค คือประโยคใหญ่ที่มีประโยคเล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปรวมกัน
โดยมีประโยคหัวหน้าหรือประโยคหลักที่มีใจความสำคัญเพียงประโยคเดียว นอกจากนั้นเป็นเพียงประโยคเล็กที่ทำหน้าที่ประกอบประโยคหัวหน้าหรือประโยคหลักให้ชัดเจนขึ้น
ประโยคเล็กที่นำมารวมกันเป็นสังกรประโยคนั้น ใช้ประพันธสรรพนาม (ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน) ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทเป็นบทเชื่อม ตัวอย่างเช่น ฉันเห็นสุนัข ที่ คาบเนื้อ (ประพันธสรรพนามเป็นบทเชื่อม) เขามาที่นี่ เพื่อ เขาจะได้พบฉัน (บุพบทเป็นบทเชื่อม)
สังกรประโยคประกอบด้วยประโยคเล็ก ๒ ชนิด คือ สังกรประโยคประกอบด้วยประโยคเล็ก ๒ ชนิด คือ สังกรประโยค (ประโยคความซ้อน) ๑. มุขยประโยค ๒. อนุประโยค
๑. มุขยประโยค คือประโยคหัวหน้าหรือประโยคหลัก นับเป็นประโยคสำคัญซึ่งจะขาดไม่ได้ และมีเพียง ประโยคเดียวเท่านั้น เช่น ประโยคความซ้อน(สังกรประโยค) ประโยคหัวหน้า(มุขยประโยค) ประโยคเล็ก (อนุประโยค) คำเชื่อม คน ที่ปรารถนาความสุข จะต้องมีหลักธรรมในใจ คนจะต้องมีหลักธรรมในใจ คนปรารถนาความสุข ที่
เขามีหนังสือ ซึ่งฉันไม่มี เขามีหนังสือ ฉันไม่มี ซึ่ง ประโยค ความซ้อน (สังกรประโยค) ประโยคหัวหน้า(มุขยประโยค) ประโยคเล็ก (อนุประโยค) คำเชื่อม เขามีหนังสือ ซึ่งฉันไม่มี เขามีหนังสือ ฉันไม่มี ซึ่ง แม่นอนเมื่อลูกหลับ แม่นอน ลูกหลับ เมื่อ
๒. อนุประโยค คือ ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ ๒.๑ นามานุประโยค คืออนุประโยคคล้ายกับนาม อาจเป็นบทประทาน บทกรรม หรือบทขยายก็ได้ เช่น
หน้าที่ของประโยคย่อย ตัวอย่าง ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประทาน บทกรรม หรือบทขยาย ประโยค ความซ้อน (สังกรประโยค) ประโยคหัวหน้า (มุขยประโยค) อนุประโยค (นามานุประโยค) คำเชื่อม หน้าที่ของประโยคย่อย คนทำดีย่อมได้รับผลดี คน ... ย่อมได้รับผลดี คนทำดี - ประธาน ครูดุนักเรียน ไม่ทำการบ้าน ครูดุนักเรียน นักเรียนไม่ทำการบ้าน กรรม เขาพูดให้ฉันเสียใจ เขาพูด ฉันเสียใจ ให้ อาหารสำหรับนักเรียนเล่นละครมีอยู่ในห้อง อาหารมีอยู่ ในห้อง นักเรียนเล่นละคร สำหรับ ขยาย
แมวที่จับจิ้งจกมีนัยน์ตาสีน้ำเงิน ๒.๒. คุณานุประโยค คือ อนุประโยคที่ทำหน้าที่ขยายนามหรือสรรพนาม เช่นเดียวกับคำวิเศษณ์ และใช้ประพันธสรรพนามเป็นบทเชื่อม ตัวอย่าง แมวที่จับจิ้งจกมีนัยน์ตาสีน้ำเงิน ฉันรักคนไทยที่รักชาติไทย ท่านที่ร้องเพลงโปรดรับรางวัล
ข้อสังเกต อนุประโยคที่พิมพ์ตัวสีแดงนั้น ทำหน้าที่ขยายนามและสรรพนาม เช่นเดียวกับคำวิเศษณ์ แต่เพราะเหตุที่เป็นประโยคจึงชื่อว่า คุณานุประโยค
๒.๓ วิเศษณานุประโยค คืออนุประโยคซึ่งทำหน้าที่ขยายคำกริยาหรือ คำวิเศษณ์และใช้ ประพันธวิเศษณ์ หรือบุพบทซึ่งทำหน้าที่อย่าง ประพันธวิเศษณ์ เป็นบทเชื่อม เช่นคำ ที่ ซึ่ง อัน เมื่อ จน ตาม เพราะ เป็นต้น
หน้าที่ของประโยคย่อย ตัวอย่าง ประโยค ความซ้อน (สังกรประโยค) ประโยคหัวหน้า (มุขยประโยค) อนุประโยค (วิเศษณานุประโยค) คำเชื่อม หน้าที่ของประโยคย่อย คนอ้วนที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ มีปากกา สองด้าม คนอ้วนมีปากกา สองด้าม ที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ ที่ ขยาย คำวิเศษณ์ เขาพูดตามฉันบอก เขาพูด ตามฉันบอก ตาม ขยายคำกริยา เขาอ่อนเพลียจนเขาต้องพักผ่อน เขาอ่อนเพลีย จนเขาต้องพักผ่อน จน ขยาย คำวิเศษณ์
สวัสดีค่ะ