เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้า เชื่อมงานไฟฟ้าอย่างไรให้ได้งานที่แข็งแรง ผิวงานเชื่อมสวย ?
เทคนิคงานเชื่อมไฟฟ้าให้งานแข็งแรง สวยงาม อุปกรณ์งานเชื่อม มีคุณภาพ 1.เครื่องเชื่อมไฟฟ้า AC หรือ DC 2.หัวจับลวดเชื่อม 3.สายเชื่อมพร้อมหัวจับสายดิน 4. เครื่องมือทำความสะอาด - ค้อนเคาะสแลก และแปรงลวดทำความสะอาด - คีมจับงานร้อน 5. อุปกรณ์ป้องกันอันตราย - หน้ากากเชื่อมไฟฟ้า - ถุงมือหนัง - เสื้อหนัง - รองเท้าส่วนปลายหัวเป็นโลหะ
มีเทคนิคในการเชื่อมที่ถูกต้อง เพื่อให้รอยเชื่อมซึมลึก แข็งแรง รอยเชื่อมสวยไม่ต้องเจียระไนตกแต่ง ทำได้อย่างไร......ตามมา
การเชื่อมต่อชนท่าราบ นำไปใช้กับการสร้างงานใดได้บ้าง การเชื่อมท่าราบเป็นการเชื่อมที่สามารถควบคุมการเชื่อมได้ง่าย การเชื่อมท่า ราบนั้น ลวดเชื่อมทำมุมกับงาน (มุมเดิน) ประมาณ 67-75 องศา และทำ มุมกับชิ้นงานด้านข้าง (มุมงาน) 90 องศา ทำการเชื่อมทางซ้ายมือไปขวามือ
การเชื่อมต่อชนท่าขนานนอน นำไปใช้กับงานใด สำหรับผู้ฝึกเชื่อมใหม่ ๆ เนื่องจากน้ำ โลหะจะไหลย้อนลงมาอันเนื่องมาจากแรง ดึงดูดของโลก ทำให้แนวเชื่อมไม่แข็งแรง เท่าที่ควร แต่ก็สามารถเชื่อมได้ดี ถ้ามี การฝึกเชื่อมจนกระทั่งชำนาญ การ หลอมละลายลึกสามารถควบคุมได้ด้วย ระยะอาร์ก และมุมในการเชื่อม
การเชื่อมต่อชนท่าตั้ง ใช้กับงานใดได้บ้าง การเชื่อมต่อชนท่าตั้ง ใช้กับงานใดได้บ้าง เทคนิควิธีการที่จะทำให้น้ำโลหะไหลย้อยน้อยก็คือ เมื่อเคลื่อนที่ส่ายลวดเชื่อม ควรหยุดบริเวณขอบของรอยต่อชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แนวเชื่อมตรง กลางแข็งตัว และลดการย้อยของน้ำโลหะได้
การเชื่อมต่อชนท่าเหนือศีรษะ ใช้กับงานประเภทใดบ้าง การเชื่อมท่าเหนือศีรษะนี้ ผู้เชื่อมต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายเป็น อย่างดี มุมเดินและมุมงานของลวดเชื่อมที่กระทำกับงาน เหมือนกับ การเชื่อมท่าราบ แต่เพียงเชื่อมงานในลักษณะคว่ำลงเท่านั้น
สรุป เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้า สรุป เทคนิคการเชื่อมไฟฟ้า ประกอบไปด้วยลักษณะของท่าเชื่อมต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเป็นอย่าง มากเพราะสามารถทำให้เข้าใจหลักและวิธีการต่าง ๆ ที่จะนำไปปฏิบัติ ให้เป็นองค์ความรู้ที่เป็นจริง การสร้างชิ้นงานให้ได้ดีจะต้องมีทักษะการ เชื่อมดังที่ยกตัวอย่างมา งานที่ท่านปฏิบัติอยู่ ใช้เทคนิคการเชื่อมแบบใดบ้าง เพราะอะไรจึง เลือกใช้วิธีการนั้น