中国太极拳 การรำไทเก๊กของจีน ชื่อโครงงาน: 中国太极拳 การรำไทเก๊กของจีน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ทำไมต้องทำ: เนื่องจากในสังคมปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ในสังคมขาด ความเห็นใจซึ่งกันและกัน คนในสังคมมีความเห็นแก่ตัวมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงก่อให้เกิด อาชญากรรม การทำร้ายร่างกายมากยิ่งขึ้น การที่เราสามารถเรียนรู้และสามารถรู้จัก วิชาการป้องกันตัวเองอย่างง่าย ก็สามารถทำให้เราปลอดภัยในชีวิตได้และยังทำให้เรา มีสุขภาพที่ดีด้วย สำหรับโครงงานชิ้นนี้ ข้าพเจ้าได้ศึกษาความแตกต่างระหว่างมวยไทยกับการรำไทเก๊ก ของจีน
ข้อมูล การรำไทเก๊ก 太极拳 วิชามวยไทเก๊กเป็นศิลปยุทธ์ที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน เชื่อกันว่าปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กคือนักพรตชื่อ จางซานฟง ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษ ที่ 12-14 แต่วิชานี้มามีชื่อเสียงเอา ในสมัยราชวงศ์ชิง โดยท่านหยางลู่ฉานซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดมวยไทเก๊กตระกูลหยาง และภายหลังได้แพร่ขยายขจรขจายไปทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยอาจารย์ต่งอิงเจี๋ย (ตั่งเองเกี๊ยก) นำมวยไท่เก๊กมาเผยแพร่ในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2498 ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 อาจารย์ต่งส่งบุตรชายของท่านคืออาจารย์ต่งหูหลิ่ง (ตั่งโหวเนี่ย) มาเป็นครูมวยไท่เก๊กคนแรกในประเทศไทย จึงกล่าวได้ว่ามวยไท่เก๊กในไทยนั้น สืบสายมาจากมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง ในปัจจุบัน มวยไท่เก๊กที่แพร่หลายกันอยู่ทั่วไปมีอยู่มากมายหลายสาย หลายตระกูล ซึ่งสายมวยอันเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันมีอยู่ 5 สายหลักคือ ไท่เก๊กตระกูลเฉิน, ตระกูลหยาง, ตระกูลอู่, ตระกูลอู๋ และตระกูลซุน
泰拳 มวยไทย มวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทย เป็นมรดกทาง วัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านาน ในสมัยโบราณ ประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน หลายประเทศ จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอๆ ดังนั้น ชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทยควบคู่กับการฝึกอาวุธ ต่อมาได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น มีลีลาการเคลื่อนไหวที่ สวยงามแฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งดุดัน สามารถฝึก เพื่อป้องกันตนเอง เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย และเพื่อเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ความแตกต่างระหว่างไทเก๊กกับมวยไทย การรำไทเก๊ก ใช้กำลังแขนโดยส่วนใหญ่ ใช้พละกำลัง ใช้ทุกส่วนของร่างกาย ท่วงท่า ลีลา มีการประยุกต์ศาสตร์ต่างๆเข้ามาใช้ มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว รุนแรง มีการเคลื่อนไหวช้า พลิ้วไหว ส่วนมากจะได้รับความนิยมจากเด็กวัยรุ่น ส่วนมากเป็นไปเพื่อการออกกำลังกาย ส่วนมากจะได้รับความนิยมจากผู้สูงอายุ
แหล่งอ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki http://student.nu.ac.th/muaythaiboran