ที่มา http://www.doae.go.th ที่มา http://www.doae.go.th โครงงาน เห็ดนางฟ้า
น.ส.กรรณิการ์ ชินพลชาย ม.6/2 จัดทำโดย น.ส.กรรณิการ์ ชินพลชาย ม.6/2
ที่มาและความสำคัญ เห็ดเป็นอาหารประเภทผักที่คนนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารมาช้านานแล้ว มีรสชาติดี คุณค่าอาหารสูง นำมาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และยังมีคุณสมบัติทางยาสามารถป้องกันและรักษาโรคได้อีกด้วย ผู้ที่รับประทานเห็ดเป็นประจำจะทำให้กรดไขมันในเส้นเลือดไม่สูงหรือต่ำเกินไป ที่สำคัญต่อต้านมะเร็งได้
ลักษณะของเห็ดนางฟ้า ลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า เห็นนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 - 14 เซ็นติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 - 120 กรัม เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้
ขั้นตอนการเพาะ ขั้นตอนที่ 1 ผสมขี้เลื่อย(ไม้ยางพารา)ขี้เลื่อยไม้อื่น ๆ ก็ใช้ได้ แต่จากการผลิตกันทั่วๆไป สรุปว่าขี้เลื่อยไม้ยางพารา ดีที่สุด ขี้เลื่อยจะต้องไม่ใหม่สดๆ ควรกองทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน จึงนำมาใช้ได้ ผสมรวมกับอาหารเสริมได้แก่รำข้าว ปูนขาว EM ตามอัตราส่วน ขั้นตอนที่ 2 เติมน้ำลงไปประมาณ 70 เปอร์เซนต์ทดสอบโดยการกำขี้เลื่อยที่ผสมแล้ว แน่นๆ แล้วให้ สังเกต ดังนี้ 1.ถ้ามีน้ำไหลซึมตามง่ามนิ้วมือ แสดงว่าน้ำมากเกินไป 2.เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลตามง่ามนิ้วมือ ให้แบมือออก ถ้าขี้เลื่อยแตกออกเป็น 3 ก้อน ถือว่าพอดี แต่ถ้าแบมือออกแล้ว ขี้เลื่อยไม่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่า น้ำน้อยเกินไป
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อผสมเรียบร้อยแล้ว ให้กรอกขี้เลื่อยใส่ถุงสำหรับเพาะเห็ดโดยเฉพาะ ใส่ให้ได้น้ำหนัก 800 - 900 กรัม รวบปากถุง หลวมๆ กระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอสมควร แล้วใส่คอขวด จากนั้นนำไปนึงปิดฝาให้แน่น ใช้เวลานึ่งอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส 4 ชั่วโมงหลังจากนั้นเปิดประตู ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงจึงนำไปหยอดเชื้อเห็ด ขั้นตอนที่ 4 หลังจากที่เรานึ่งก้อนเชื้อด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 90 องศาเซลเซียส นานไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงแล้ว ก็ถึงเวลา หยอดเชื้อลงในก้อนเชื้อแล้ว แต่ใจเย็น ๆ 1.ต้องตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง นานไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง 2.เตรียมเชื้อที่จะหยอดให้พร้อม 3.เตรียมห้องให้พร้อม 4.เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เช่น แอลกอฮอล์ ยางวง กระดาษ 4 x 4 นิ้ว
การเตรียมเชื้อเห็ด 1.เป็นเชื้อที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ 2.เชื้อบรรจุอยู่ในขวดกลม หรือแบนก็ไม่มีข้อห้าม 3.ลักษณะเชื้อเป็นเมล็ดข้าวฟ่าง มีเชื้อราสีขาว ๆ เดินอยู่เต็ม 4.เตรียมจำนวนให้เพียงพอ 1 ขวด หยอดได้ประมาณ 25 ก้อน 5.อายุของเชื้อไม่ควรเกิน 2เดือน
ขั้นตอนที่ 5 การเปิดดอกหลังจากหยอดเชื้อเห็ดแล้วนำก้อนเชื้อนั้นไปบ่มไว้ประมาณ 20- 25 วัน เพียงแต่หาที่เก็บให้เป็นระเบียบ ไม่ถูกแดด ไม่ถูกฝน ลมไม่โกรกไม่มีแมลง ไม่มีหนู อากาศถ่ายเทได้สะดวกสำหรับโรงเรือนเห็ดนางฟ้าจะต้องยึดหลัก เย็น ชื้น สะอาด สะดวก เปิดจุก ดึงคอขวดพลาสติกออก แล้วจัดปากถุงให้อยู่สภาพเดิม ข้อควรระวัง 1. ในขณะที่เชื้อยังเจริญไม่เต็มก้อน ไม่ควรเคลื่อนย้ายก้อน การกระทบกระเทือนจะ มีผลต่อการเจริญของเส้นใย 2. ถ้ามีก้อนใดเกิดราสีดำ ให้รีบแยกออก และทำลายทันที เนื่องจากเชื้อราอื่นจะแพร่กระจายไปก้อนเชื้อในโรงบ่ม
การให้น้ำ น้ำที่ใช้รดเห็ดให้ได้ผลดีนั้น ควรเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีสารเคมีและสิ่งสกปรก เจือปนไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบ่อ หรือน้ำคลอง แต่ไม่ควรเป็นน้ำกร่อย เค็ม ไม่เป็นกรด หรือด่างถ้าเป็นน้ำประปา ควรจะกักไว้ในภาชนะปากกว้าง ทิ้งไว้ให้คลอรีนระเหยก่อนจึงจะนำไปรดได้ การรดน้ำในโรงเรือนควรรดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการ รักษาความชื้นในโรงเรือนให้ได้นานที่สุด สังเกตดูถ้าอากาศแห้ง ก็สามารถเพิ่มจำนวนครั้งในการรดได้อีก การรดน้ำนอกจาก จะเป็นการรักษาความชื้นแล้ว ยังเป็นการรักษาอุณหภูมิในโรงเรือน ให้อยู่ระหว่าง 20 - 30 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสม ที่สุดสำหรับเห็ดนางฟ้า