เทคนิคการเขียน งานวิเคราะห์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ส่วนประกอบตอนต้น ปก ชื่อเรื่องวิจัย ชื่อผู้วิจัย โรงเรียน ชื่อโครงการ เดือน ปี ที่วิจัยเสร็จ คำนำ ส่วนประกอบ ที่มาของรายงาน วัตถุประสงค์ของรายงาน วิจัย.
Advertisements

ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
การเขียนผลงานวิชาการ
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
สื่อการสอนโดยใช้โปรแกรม Power Point
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
เทคนิคการอ่านรายงานการวิจัย
รศ. ดร. สมศักดิ์ คงเที่ยง
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
KM Learning Power ครั้งที่ 1
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทดลองและการเขียนรายงานผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์
เทคนิคการเขียน คู่มือการปฏิบัติงานหลัก
Thesis รุ่น 1.
ข้อบกพร่องที่พบในรายงาน โดย รศ.ดร.สุชาดา บวรกิติวงศ์
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรรคุณค่าวิชาการ สู่สังคม
หลักการพัฒนา หลักสูตร
การเขียนขยายเค้าโครงเอกสารแต่ละบท ให้มีเนื้อหาสมบูรณ์
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
การวางแผนและการดำเนินงาน
จำนวนนับใดๆ ที่หารจำนวนนับที่กำหนดให้ได้ลงตัว เรียกว่า ตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวนนับ สามารถเรียกอีกอย่างว่า จำนวนเต็มบวก หรือจำนวนธรรมชาติ ซึ่งเราสามารถนำจำนวนนับเหล่านี้มา.
Management Information Systems
การบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA: Public Sector Management Quality Award)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย
การติดตาม และประเมินโครงการ.
งานเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดการสัมมนา
รศ. ดร. สุนีย์ เหมะประสิทธิ์
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
การจัดกระทำข้อมูล.
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนรายงานการใช้เอกสารประกอบการสอน
การวางแผนและ การจัดทำ IT Audit
Competency Phatthalung Provincial Center for Skill Development.
การจัดทำคู่มือ การปฏิบัติงาน Work Manual
การเขียนรายงานการวิจัย
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สิงหาคม.
การเลื่อนเงินเดือนในระบบใหม่
1 การอ่านตำรา การอ่านตำรา.
โครงการพัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการภาครัฐ (การส่งเสริมให้ส่วนราชการนำร่อง เข้าสู่การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ) เขียนลักษณะสำคัญขององค์กร :
การพัฒนาระบบการเรียนการสอน
การเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัย
นโยบายการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก
แนวคิดในการทำวิจัย.
หมวด5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
การเขียนข้อเสนอโครงการ
บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ
การเขียนรายงาน.
14. การเขียนโครงร่างการวิจัย (แบบ ว -๑) (Proposal)
การแบ่งหนังสือออกตามลักษณะการจัดทำและความเหมาะสมของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต
สรุปผลการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ก่อนและหลัง การประกาศสงครามขั้นแตกหักเพื่อเอาชนะยาเสพติด) พ.ศ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
รศ. ดร. นิตยา เจรียงประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การเขียนรายงานเพื่อนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์
การวิจัยการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ ดร. สุจิตรา ธนานันท์
สารานุกรมการศึกษา (The Encyclopedia of Education) ให้ความหมายไว้ว่า คือ “การจัดการสืบค้นอย่างมีระบบเกี่ยวกับการศึกษาและผลผลิตที่ได้รับจากการศึกษา”
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทที่ 4 งานเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดการสัมมนา
กราฟเบื้องต้น.
หลักการเขียนโครงการ.
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
การเขียนรายงานผลการวิจัย
กราฟเบื้องต้น.
การวัดและประเมินผล.
บทที่ 5 การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
แนวทางพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย
ตัวอย่าง การเขียนโครงการ
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เทคนิคการเขียน งานวิเคราะห์ เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 9 ประจำสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ◙ ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ◙ ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ◙ ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ◙ อดีตที่ปรึกษารองอธิการบดีฝ่ายวางแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ◙ ที่ปรึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เอกสารการอบรม เชิงปฏิบัติการให้แก่ข้าราชการ และพนักงานสายสนับสนุนระดับปฏิบัติงาน และระดับปฏิบัติการ เรื่อง การเขียนผลงานทางวิชาการจากงานประจำ : เทคนิคการเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน จัดโดย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วันที่ 27-28 กันยายน 2554

ความหมายของการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ หมายถึงการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อค้นหาว่ามาจากอะไรเชื่อมโยงกับอะไร สัมพันธ์กันอย่างไร การวิเคราะห์ เป็นกระบวนการคิดเชิงลึก ที่ผู้ศึกษาต้องใช้ความสามารถ และทักษะในการตั้งสมมติฐาน การสังเกต การสืบค้น และการหาความสัมพันธ์ ที่เชื่องโยงกันได้อย่างมีเหตุมีผล

สายสนับสนุนจะวิเคราะห์ อะไรได้บ้าง? การวิเคราะห์งาน job Analysis การวิเคราะห์เอกสาร Document Analysis 3

ความหมายของการวิเคราะห์งาน การวิเคราะห์งาน(Job analysis) หมายถึง กระบวนการ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบงาน ชนิดของบุคคลความรู้ ความสามารถ และทักษะที่ต้องการสำหรับงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นๆ ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย 4

ขั้นตอนการวิเคราะห์งาน 1) กำหนดความมุ่งหมายของการวิเคราะห์งาน 2) ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ 3) เลือกวิธีการเก็บข้อมูล 4) ตรวจสอบข้อมูล 5) วิเคราะห์ข้อมูล 5

การวิเคราะห์งานเพื่ออะไร? วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงงาน วิเคราะห์เพื่อพัฒนาผู้ปฏิบัติงาน วิเคราะห์เพื่อขจัดความสูญเสียในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์เพื่อการวางแผนกำลังคน วิเคราะห์เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์เพื่อประเมินค่างาน วิเคราะห์เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน

ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์งาน กิจกรรมของงาน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติงานจริง กิจกรรมจะชี้ให้เห็นว่าพนักงานจะปฏิบัติงานเหล่านั้นได้อย่างไร พฤติกรรมของบุคคล เป็นข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล เช่น ความรู้สึก การสื่อสาร การตัดสินใจ เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์และเครื่องช่วยสนับสนุนการทำงาน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์ กระบวนการจัดการวัสดุ การประยุกต์ใช้ การบริหาร มาตรฐานการปฏิบัติงาน เป็นข้อมูลที่รวบรวมจากการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน เช่น มาตรฐานด้านปริมาณ คุณภาพ หรือความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน เนื้อหาของงาน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เช่น สภาพการทำงานด้านกายภาพ ตารางการทำงาน สภาพของสังคมในองค์กรและแรงจูงใจในการทำงาน ความต้องการบุคลากร เป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นถึงความต้องการบุคลากรในการปฏิบัติงาน เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ หรือทักษะ ที่เกิดจากการศึกษา การฝึกอบรม ประสบการณ์ในการทำงาน และคุณลักษณะของบุคคล

การวิเคราะห์เอกสาร Documentary Analysis เอกสาร หมายถึง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข แบบฟอร์ม พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หนังสือเวียน มติที่ประชุม คำสั่ง ระบบไอที 8

เรื่องอะไรที่จะทำการวิเคราะห์ได้บ้าง?

งานอะไร? ที่จะทำการวิเคราะห์ เอกสารอะไร? ที่จะทำการวิเคราะห์

۞ เลือกงาน/เอกสารเฉพาะที่มีปัญหาหรือเป็นงาน/เอกสารที่ไม่สำเร็จตามตัวชี้วัดหรืองานที่จะพัฒนา มาตั้งเป็นชื่อเรื่องที่จะวิเคราะห์ ۞ จัดทำโครงร่างงานที่จะวิเคราะห์ โดยจัดทำ เป็นสารบัญ แบ่งออกเป็น 5 บท ทำในลักษณะเดียวกับทำงานวิจัย 11

กระบวนการวิเคราะห์ กระบวนการวิเคราะห์ แบ่งเป็นขั้นๆ ดังนี้... กระบวนการวิเคราะห์ แบ่งเป็นขั้นๆ ดังนี้... 1. พิจารณารูปแบบของเอกสารว่าเป็นรูปแบบใด เป็นตัวเลข เป็นสถิติ เป็นบทความ เป็นร้อยแก้ว- ร้อยกรอง เป็นเรื่องสั้น ฯลฯ 2. แยกเนื้อเรื่องออกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่า ใคร? ทำอะไร? ทำที่ไหน? ทำอย่างไร? 3. พิจารณารายละเอียดว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง 4. พิจารณาวิธีการนำเสนอเรื่องนั้นๆ

ขั้นตอนในการวิเคราะห์ ขั้นตอนในการวิเคราะห์ มี 5 ขั้นตอน ดังนี้... 1. กำหนดขอบเขตหรือนิยามสิ่งที่เราจะวิเคราะห์ ให้ชัดเจน 2. กำหนดจุดมุ่งหมายว่าจะวิเคราะห์เพื่ออะไร 3. พิจารณาหลักความรู้หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องว่าจะใช้ หลักใดในการวิเคราะห์ 4. ใช้หลักความรู้นั้นให้ตรงกับเรื่องที่จะวิเคราะห์เป็น กรณีๆไปและต้องรู้ว่าควรจะวิเคราะห์อย่างไร 5. สรุปและรายงานผลให้เป็นระเบียบ

องค์ประกอบของเอกสารการวิเคราะห์ เนื่องจากการวิเคราะห์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับวิจัย(ประชุม รอดประเสริฐ) ดังนั้น ในที่นี้จึงอยากจะให้ผู้ที่จะเขียนผลงานการวิเคราะห์ให้เขียนองค์ประกอบของงานวิเคราะห์ ให้ล้อตามองค์ประกอบของงานวิจัย ซึ่งมีดังนี้ • ความเป็นมาและความสำคัญ • วัตถุประสงค์ • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • ขอบเขต • คำจำกัดความ • ทฤษฎีและหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ • เอกสารอ้างอิง

โครงร่างของเอกสารการวิเคราะห์ จากการที่งานวิเคราะห์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับวิจัยดังนั้น ดังนั้นในการเขียนโครงร่างของงานวิเคราะห์จึงเขียนล้อตามโครงร่างของการเขียนงานวิจัย ซึ่งแบ่งเป็น 5 บท ดังนี้ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิเคราะห์/วิจัย ที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์ บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

เปรียบเทียบคู่มือฯ กับงานวิเคราะห์ คู่มือการปฏิบัติงาน งานวิเคราะห์ บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 โครงสร้าง บทบาท หน้าที่ความ รับผิดชอบ บทที่ 2 ทฤษฎี งานวิเคราะห์/วิจัย ที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 ประกาศ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เกณฑ์ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 หลักเกณฑ์วิธีการวิเคราะห์ บทที่ 4 เทคนิคการปฏิบัติงาน/กรณี ตัวอย่างศึกษา บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ บทที่ 5 ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

เทคนิคการเขียน รายงานการวิเคราะห์

หลักการเขียนรายงานการวิเคราะห์ 1) ยึดความถูกต้องตามหลักวิชาการสิ่งที่เขียนออกมาต้องมาจากการศึกษา ค้นคว้า การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และผลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาจริงๆ 2) เนื้อหาสาระในแต่ละส่วนต้องสอดคล้องเชื่อมโยงกัน โดยยึดวัตถุประสงค์ ของการศึกษาเป็นหลักในการเรียบเรียง 3) หัวข้อย่อยแต่ละส่วนมีความเป็นเอกภาพชัดเจน ไม่คลุมเครือ 4) เมื่อผู้อ่านได้อ่านรายงานจนจบแล้ว “เห็นภาพ” ตลอดแนวของการศึกษา และ “ได้คำตอบ” ต่อประเด็นปัญหา สามารถ “ติดต่อ” ในการนำผล การศึกษาไปใช้หรือศึกษาต่อได้ 5) ในการเขียนรายงานการวิเคราะห์ ต้องตระหนักอยู่เสมอว่ากำลังเขียน รายงานให้คนอื่นอ่าน ดังนั้นจึงต้องมีความชัดเจน สอดคล้องต่อเนื่องและ สร้างความเข้าใจต่อผู้อ่าน

ข้อควรคำนึงการเขียนรายงาน 1) มีความตรง กล่าวถึงปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีการและผลการศึกษาได้ถูกต้อง 2) มีความชัดเจน สื่อความหมายได้ถูกต้องชัดเจน 3) มีความสมบูรณ์ มีข้อมูลครบถ้วน 4) มีความน่าเชื่อถือ ข้อมูลถูกต้องตามความเป็นจริง

การเขียนรายงานแบบเชิงวิชาการ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ การเขียนรายงานแบบเชิงวิชาการ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1. ส่วนหน้า 2. ส่วนเนื้อหา 3. ส่วนเอกสารอ้างอิง

ส่วนหน้า ประกอบด้วย • ปกหน้า • ปกใน • บทคัดย่อ • คำนำ • สารบัญ

ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย • บทที่ 1 บทนำ • บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิเคราะห์/วิจัย ที่เกี่ยวข้อง • บทที่ 3 หลักเกณฑ์และการวิธีการเคราะห์ • บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ • บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

ส่วนเอกสารอ้างอิง ประกอบด้วย ส่วนเอกสารอ้างอิง ประกอบด้วย • บรรณานุกรม • ภาคผนวก

เทคนิคการเขียนบทที่ 1 บทนำ เทคนิคการเขียนบทที่ 1 บทนำ บทนำ เป็นบทที่ 1 เป็นเนื้อหาส่วนแรกหรือบทเริ่มต้นของงานที่เขียนจึงมีวามสำคัญและมีความจำเป็นในการนำเข้าสู่เนื้อเรื่องของงานที่เขียนบทอื่นๆ การเขียนบทนำจะต้องกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของงานที่ปฏิบัติให้ชัดเจน รวมถึงแนวคิด วัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการ วิเคราะห์

หลักการทั่วไปของการเขียนบทนำ • ควรเขียนนำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงปัญหา แนวคิด วัตถุประสงค์ ขอบเขต และประโยชน์ของเรื่องที่กำลังเขียน • ควรเขียนให้ผู้อ่านอยากอ่านเรื่องที่กำลังเขียนว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ มีความท้าทาย และน่าสนใจอย่างไร • ควรกล่าวนำให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญ เหตุผล ตลอดจนความจำเป็นที่ต้องมีการวิเคราะห์นี้ • ควรมีการใช้ภาษาที่เรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจง่าย สอดคล้อง กลมกลืน ไม่สับสน วกไปเวียนมา • การเขียนบทนำไม่ควรให้มีจำนวนหลายๆ หน้า ให้มีจำนวนหน้าพอประมาณ จำนวน 2-3 หน้า

ส่วนประกอบของบทนำ • ความเป็นมาและความสำคัญ • วัตถุประสงค์ • ความเป็นมาและความสำคัญ • วัตถุประสงค์ • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • ขอบเขต • ข้อตกลงเบื้องต้น • คำจำกัดความเบื้องต้น

ตัวอย่างการเขียน บทนำ ในบทที่ 1

เทคนิคการเขียน บทที่ 2 ทฤษฎี/งานวิเคราะห์/วิจัยที่เกี่ยวข้อง หลักในการเขียนแนวคิดทฤษฎี มีดังนี้ ۞ จัดหมวดหมู่ของแนวคิด-ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็น หมวดๆ เพื่อให้เห็นแนวทางในการ review literature อย่างชัดเจน ۞ จัดลำดับของหมวดหมู่ให้เหมาะสม ۞ เขียนเรียบเรียงความรู้ด้วยภาษาวิชาการให้เป็นความต่อ เนื่องเชื่อมโยงกัน

เทคนิคการเขียนงานวิเคราะห์/ วิจัยที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) เทคนิคการเขียนงานวิเคราะห์/ วิจัยที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) ۞ ถ้ามีผู้ให้ความเห็นในเรื่องเดียวกันเหมือนกันแล้วนำมาอ้าง อิง ไม่จำเป็นต้องอ้างทีละคน อาจอ้างพร้อมกันครั้งเดียวได้ เลย แต่ถ้าแนวคิดต่างกันจึงค่อยแยกกันอ้างคนละครั้ง ۞ เขียนเชื่อมโยงเนื้อความให้ต่อเนื่องกัน อย่าให้รู้สึกว่าเป็น ชิ้นๆ เป็นท่อนๆ แบบตัดแปะต่อๆกัน

ดร.บุญเสริม บุญเจริญผล(2552:1) กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเป็นเรื่องการคิดเชิงทฤษฎีของผู้เขียนที่จะนำไปเป็น แนวทางการวิเคราะห์ เป็นแนวคิดของเราเองเพียงแนวคิดเดียวสำหรับการวิเคราะห์เรื่องหนึ่งเท่านั้นก็พอแล้ว ถ้าวิเคราะห์สองเรื่อง ก็ใช้แนวคิดทฤษฎีสองอย่าง อย่าลอกเอาความคิดของใครต่อใครที่เขียนเป็นตำรา กลายมาเป็นแนวคิดร้อยแปดของใครต่อใครเอามาต่อๆกันยาวเหยียด การที่เราจะมีความคิดเชิงทฤษฎี เราต้องได้เรียนมาในเรื่องนั้นๆมาบ้างแล้ว ถ้ายังไม่ได้เรียน ก็ต้องอ่านหรือถามจากผู้รู้ที่ได้อ่านมามากมายนั้นมาผสมผสานเขียนเองให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยคำของเราเอง

ตัวอย่างการเขียน ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในบทที่ 2

การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Document) การทบทวนวรรณกรรม (literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิเคราะห์ โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิเคราะห์/วิจัยหรือในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต การทบทวนวรรณกรรมมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิเคราะห์/วิจัยที่เกี่ยวข้อง

การทบทวนเอกสารหรือวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ก็เพื่อตรวจดูว่าคนอื่นเขาได้ศึกษามาอย่างไรบ้าง จะได้เป็นพื้นความรู้ความเข้าใจของเรา แล้วเราก็นำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับงานของเรา เหมือนกับเราไปชมลักษณะของบ้านคนอื่นก่อน แล้วนำมาปรับปรุงบ้านของเราได้สวยงาม อยู่สบายกว่าบ้านที่เราได้เห็นมา

การเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้องนั้น ก่อนอื่นเราต้องย่อเอกสารเอาไว้ก่อนเล่มละ 1-4 หน้า ในการย่อนั้นจะต้องมีหัวข้อ ดังนี้ ۞ ชื่อผู้เขียน ۞ ชื่อเรื่องที่เราอ่านมา ۞ ชื่อสถาบันของเรื่อง ۞ ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ ۞ วัตถุประสงค์ของวรรณกรรมนั้น ۞ วิธีการที่เขาศึกษา(ทำอย่างไรเขาจึงได้ข้อสรุปออกมา) ۞ ผลการศึกษาของเขา ค้นพบความจริงอะไรบ้าง

ตัวอย่างการเขียน ทบทวนวรรณกรรม ในบทที่ 2

เทคนิคการเขียน บทที่ 3 หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์ เทคนิคการเขียน บทที่ 3 หลักเกณฑ์และวิธีการวิเคราะห์ ใช้วิธีการรูปแบบเดียวกับงานวิจัย ๏ ประชากรและจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ๏ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ๏ การเก็บรวบรวมข้อมูล ๏ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ๏ การวิเคราะห์ข้อมูล ๏ เทคนิคอะไรในการวิเคราะห์ข้อมูล 47

ในบทที่ 3 นี้จะต้องเขียนอธิบายชี้แจงให้ทราบถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในการวิเคราะห์ ว่าเกี่ยวข้องกับกฎ ระเบียบ มติที่ประชุม คำสั่ง ข้อบังคับ ประกาศ หนังสือเวียน ตลอดจนเกณฑ์มาตรฐาน สูตร และ วิธีการคำนวณ ที่ต้องใช้หรือเกี่ยวข้องในคู่มือการวิเคราะห์ กรณีที่ที่ต้องมี สูตร หรือ เกณฑ์มาตรฐาน และ วิธีการคำนวณ เช่น การวิเคราะห์อัตรากำลัง , การวิเคราะห์การใช้พื้นที่ , การวิเคราะห์หลักสูตร ฯลฯ ต้องเขียนสูตรและอธิบายวิธีการใช้สูตรในการคำนวณนั้นๆ ประกอบด้วย และใช้เทคนิควิธีใดในการวิเคราะห์ครั้งนี้

หลักเกณฑ์และ วิธีการวิเคราะห์ ตัวอย่างการเขียน หลักเกณฑ์และ วิธีการวิเคราะห์ ในบทที่ 3

หลักความรู้ ทฤษฎี เทคนิคต่างๆ ในการวิเคราะห์ ในการทำงานวิเคราะห์ มีหลักความรู้ ทฤษฎี หรือ เครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์งานหรือวิเคราะห์เอกสาร มีหลายหลักวิธีด้วยกัน คือ.... BRAIM STORMING/ระดมสมอง TREE DIAGRAM/ผังรากไม้ FISH BONE DIAGRAM/ผังก้างปลา

DELPHI TECHNIQUE/เดลฟาย DEMING CYCLE/วงจรเดมมิง PDCA BALANCED SCORECARD/BSC SWOT ANALYSIS/จุดอ่อน จุดแข็ง SIX SIGMA/ดีแมก BENCHMARKING/วัดรอยเท้าช้าง

BENCHMARKING คืออะไร? Benchmarking เป็นการค้นหาจุดเด่นจุดด้อยในองค์กรของเรา โดยใช้วิธีเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าหรือองค์กรที่เป็นผู้นำ จากนั้น นำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้มาปรับปรุงองค์กรของเราให้ดียิ่งขึ้น

ความสำคัญของการBENCHMARKING

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราไม่มีตัวเปรียบเทียบที่เห็นภาพชัด และไม่มีการวิเคราะห์อย่างจริงๆจังๆ เป้าหมายขององค์กรอาจถูกแปรออกมาเป็นวิธีเดิน โดยใช้การคาดการณ์ ซึ่งวิธีดังกล่าวอาจผิดหรือถูกก็ได้ทั้งสิ้น การทำ Benchmarking จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างตรงจุดและชัดเจน

ขั้นตอนในการทำBENCHMARKING 1. รู้จักองค์กรตนเอง ว่ามีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้างอย่าง ละเอียด 2. ค้นหาหน่วยงานหรือองค์กร ทั้งจากภายในและ ภายนอก ที่มีตำแหน่ง "ผู้นำ" กำหนดไว้เป็นแม่แบบ

3. รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ถึงรูปแบบการดำเนินงาน กระบวนการ และวิธีที่องค์กรแม่แบบใช้แล้วประสบ ความสำเร็จ จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับองค์กรของตน เพื่อให้เข้าใจถึงข้อแตกต่าง และแนวทางปฏิบัติ 4. นำมาปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงาน โดยกำหนดเป็น แบบแผนหรือมาตรฐานในการทำงาน องค์กรควรเปิด โอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมพัฒนาองค์กรและใช้การ ติดต่อสื่อสารภายในองค์กรอย่างทั่วถึง เพื่อให้การ เปลี่ยนแปลงเป็นไปในทิศทางที่ต้องการ

เทคนิคการเขียน บทที่ 4 ผลการศึกษาวิเคราะห์ เทคนิคการเขียน บทที่ 4 ผลการศึกษาวิเคราะห์ ในบทนี้จะเขียนถึงของของการศึกษาที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของการพรรณนาวิเคราะห์ การใช้ สถิติวิเคราะห์ การแปลความหมาย อาจนำเสนอในรูปแบบ ที่เป็นตาราง แผนภูมิ หรือ กราฟ ในการช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น การนำเสนอผลการศึกษา ควรนำเสนอตามลำดับเรื่อง ของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในบทที่ 1 ซึ่งผลของการศึกษาวิเคราะห์จะต้องตอบวัตถุประสงค์ได้ทุกข้อตามที่ตั้งไว้

เนื่องจากงานวิเคราะห์มีลักษณะคล้ายกับงานวิจัยเชิง ปฏิบัติการ(ประชุม รอดประเสริฐ) ดังนั้นหลักในการการเขียน ผลการวิเคราะห์ในบทนี้ จึงยึดรูปแบบการเขียนเช่นเดียวกับ การวิจัย ผลของการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นขั้นตอนในการที่จะ ตอบโจทย์หรือปัญหาของการวิเคราะห์ ที่เป็นขั้นตอนที่สำคัญ อีกขั้นตอนหนึ่ง ผลงานวิเคราะห์เรื่องนั้นๆจะมีคุณค่าหรือไม่ มีค่ามาก หรือ มีค่าน้อยขึ้นอยู่ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องนั้นตรงตาม วัตถุประสงค์หรือไม่ ดังนั้น ผู้ที่ทำการวิเคราะห์ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ในการแปลผลการวิเคราะห์ออกมาให้เป็นภาษา เขียน ให้ชัดเจนมากที่สุด

ทั้งนี้เพื่อให้คนอื่นที่ศึกษาหรืออ่านแล้วเข้าใจโดยง่าย ยิ่งถ้ามีการแปลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยแล้ว ผู้วิเคราะห์ ยิ่งต้องแปลผลให้ผู้อ่านหรือผู้ศึกษาอ่านแล้วเข้าใจได้อย่าง ง่ายๆ เช่นการชั่งน้ำหนักผู้ชายไทยเพื่อบอกว่าชายคนๆนั้นผอม หรืออ้วน โดยมี(การเทียบกับ)เกณฑ์ที่กำหนดว่า ถ้าน้ำหนัก น้อยกว่า 45 กิโลกรัมให้ถือว่ามีน้ำหนักน้อย เรียกได้ว่าเป็นคน ผอม ถ้ามีนำหนักระหว่าง 45-65 กิโลกรัม ให้ถือว่ามีน้ำหนัก ปานกลาง หรือเป็นคนหุ่นกำลังดี หากมีน้ำหนักมากกว่า 65 กิโลกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีน้ำหนักมากหรือเรียกว่าเป็นคนอ้วน หากชายไทยคนหนึ่งเมื่อชั่งน้ำหนักได้เป็น 82 กิโลกรัมก็จะ ตัดสินว่าเขาเป็น “คนอ้วน”

การที่จะตัดสินว่าชายไทยคนนั้นเป็น “คนผอม” หรือ “คนอ้วน” หรือหุ่นกำลังดี จะต้องมีเกณฑ์กำหนดไว้ ในทำนองเดียวกันหากจะตัดสินว่าใครคนใดคนหนึ่งจะเป็น “คนสวย” หรือ “คนหล่อ” จะต้องมีเกณฑ์การวัดว่าขนาดไหนถึงจะเรียกว่าเป็นคนสวย ขนาดไหนถึงจะเรียกว่าเป็นคนหล่อ และมีปัจจัยอะไรที่ทำให้บุคคลคนนั้นเป็นคนสวย หรือคนหล่อ คำถามเหล่านี้จะมีคำตอบได้โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล และมีการวิเคราะห์ข้อมูล ก่อนที่จะวิเคราะห์ข้อมูลควรมีการทบทวนประเด็นต่างๆ ของการวิเคราะห์ สิ่งเหล่านี้ได้แก่...

۞ โจทย์หรือปัญหาของการวิเคราะห์ ۞ วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ ۞ คำสำคัญ หรือนิยามปฏิบัติการ ۞ ความหมายของตัวแปร ฯลฯ

หลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิเคราะห์ต้องนำทฤษฎีหรือแนวคิดที่ได้กำหนดไว้ในกรอบการวิเคราะห์ในบทก่อนหน้านี้ มาเป็นแบบแผนในการวิเคราะห์ ภายใต้คำถามพื้นฐานง่ายๆ ในแต่ละประเด็นว่า คืออะไร? เมื่อไร? ที่ไหน ? อย่างไร? หรือหากผู้วิเคราะห์ต้องการวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งมากกว่านี้อีก ให้นำเงื่อนไขอื่นๆ มาวิเคราะห์ร่วมด้วยนอกเหนือไปจากกรอบที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งผู้วิเคราะห์จะต้องเก็บรวมรวมข้อมูลในเชิงลึก ที่อาจต้องใช้เวลานาน และงบประมาณมากขึ้น

กรอบเนื้อหาในการวิเคราะห์ จะขึ้นอยู่กับโจทย์(ปัญหา)ของการวิเคราะห์ ว่าจะต้องการให้ตอบโจทย์ในลักษณะใด หรืออาจตอบในหลายๆมิติก็ได้ ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หากมีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเมื่อได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลดิบมาแล้ว ก็ใช้โปรแกรม SPSS for Windows มาช่วยในการแปรข้อความหรือข้อมูลเชิงคุณภาพที่นับได้ยากหรือนับไม่ได้ มาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่สามารถนับได้ เช่น มากที่สุด กำหนดให้มีค่าเป็น 5 มาก กำหนดให้มีค่าเป็น 4 ปานกลาง กำหนดให้มีค่าเป็น 3 น้อย กำหนดให้มีค่าเป็น 2 น้อยที่สุด กำหนดให้มีค่าเป็น 1

แล้วนำข้อมูลแต่ละกรณี หรือหลายกรณีมาผ่านวิธีปฏิบัติการทางสถิติ แล้วแปลผลออกมาเป็น... - ค่าเฉลี่ย - ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ - ค่าอื่นๆ อีกหลายค่าตามต้องการ

การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ ในรายงานผลการวิเคราะห์ มีการแปลความหมายจากการวิเคราะห์ให้เป็นเนื้อหา ผู้วิเคราะห์ต้องใช้เทคนิคในการอธิบายความหมายให้เกิดความเข้าใจอย่างเป็นระบบ ดังนี้ - เขียนอธิบายตามลำดับก่อนหลัง - เขียนอธิบายจากเรื่องใหญ่สุดไปหาเล็กสุด - เขียนอธิบายจากเรื่องยากไปหาเรื่องง่าย - เขียนอธิบายจากเหตุไปหาผล - เขียนอธิบายไปตามขั้นตอน - เขียนอธิบายจากรูปธรรมไปหานามธรรม - เขียนอธิบายโดยใช้ภาษาที่เรียบง่ายและถูกต้อง

ตัวอย่างการเขียน ผลการวิเคราะห์ ในบทที่ 4

เทคนิคการเขียน บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ เทคนิคการเขียน บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ สรุปผลการศึกษา/วิเคราะห์ ข้อเสนอแนะ

สรุปผลการศึกษา/ผลการวิเคราะห์ การเขียนบทสรุปมีได้หลายแนวคิด หลายวิธี หลายแนวทาง หลายตัวแบบ หรือหลายรูปแบบ โดยอาจนำแนวคิดหรือแนวทางใดมาใช้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ทำรายงานแต่ละคน สำหรับแนวทางการเขียนบทสรุปนี้ แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ โดย 3 หัวข้อแรกเป็นการสรุปเนื้อหาสำคัญที่ผู้ทำรายงานนำเสนอมาทั้งหมด และที่เหลือ 2 หัวข้อหลังเป็นการวิเคราะห์

ทั้ง 5 ขั้นตอนประกอบด้วย หนึ่ง การสรุปความสำคัญของเรื่องที่ทำรายงานและขอบเขต การนำเสนอ สอง การสรุปแนวคิดทางวิชาการของนักวิชาการ สาม การนำเสนอข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงของเรื่องที่ทำ รายงานมาปรับปรุงกับแนวคิดที่ใช้ในการวิเคราะห์ หรือ การประยุกต์ สี่ การวิเคราะห์ด้วยกรอบแนวคิดทางวิชาการ ห้า การสรุปการวิเคราะห์ด้วยภาพหรือตาราง

ในบทนี้เป็นการสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์โดยย่อ มีการอภิปรายผลการศึกษาวิเคราะห์ ในสิ่งที่พบในบทที่ 4 เปรียบเทียบกับผลการศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันของใครที่พบเช่นเดียวกับเรา หรือขัด แย้งกับสิ่งที่เราพบ มีการให้ข้อเสนอแนะ ว่าจะนำผลการศึกษาวิเคราะห์นี้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานงาน หรือปรับปรุงงานได้อย่างไร? ต้องทำอะไร? เตรียมอะไร? มีข้อปฏิบัติอย่างไร? และถ้าจะศึกษาวิเคราะห์ในครั้งต่อไป ควรจะเป็นเรื่องใด? และทำในลักษณะใด?

การเขียนข้อเสนอแนะ หลังจากการตรวจสอบ หรือการวิจัย/วิเคราะห์เสร็จ ก็จะเจอกับปัญหาอุปสรรค ต่างๆ แล้วต้องมานั่ง สรุปปัญหาทั้งหมด เมื่อสรุปปัญหาทั้งหมดแล้วเราก็มาแยกว่าแต่ละปัญหา ถ้าเกิดแล้วจะส่งผลกระทบอย่างไร และมีผลกระทบมากในระดับไหน สุดท้ายก็เสนอแนะวิธีการแก้ไข หรือเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทางออกของปัญหานั้น ส่วนข้อดีไม่ต้องเอามาเสนอ การเสนอแนะจะทำก็ต่อเมือเจอข้อเสีย หรือต้องการให้เกิดสิ่งทีดีและเหมาะสมกว่า

รวมถึงหากได้ความคิดเห็นจากข้อเสนอแนะ จากการสอบถาม หรือคุยกับผู้เกี่ยวข้อแล้วเขาชี้แจงเหตุผลมาให้ทราบ เราก็เอามาลงในส่วนของความคิดเห็นของผู้้เกี่ยวข้องได้ การเขียนข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย/วิเคราะห์ในครั้งต่อไป เป็นการนำเสนอว่า ถ้าจะมีการวิจัย/วิเคราะห์ต่อไป ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง หรือควรทำเรื่องอะไรบ้าง หรือ ควรจะเพิ่มตัวแปรอะไรบ้าง ควรปรับปรุงวิธีดำเนินการอย่างไร เครื่องมือในการวิจัย/วิเคราะห์ควรใช้แบบไหน ให้เสนอแนะว่าใคร หน่วยงานใด ควรจะดำเนินการอะไรต่อไป ข้อเสนอแนะต้องเป็นข้อเสนอที่ได้จากการวิจัย/วิเคราะห์ ไม่ใช่ข้อเสนอแนะในเชิงทฤษฏี ที่ไม่ได้มาจากข้อค้นพบในการวิจัย/วิเคราะห์ และต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย/วิเคราะห์