การมองทฤษฎีการพัฒนาอย่างวิเคราะห์ วิชาแนวความคิดว่าด้วยการพัฒนา สส.314
คุณสมบัติหลัก 3 ประการของทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนา ทฤษฎีมีลักษณะเปรียบเทียบ : ความหมายของการพัฒนาควรมีการเปรียบเทียบ ไม่ตายตัว มีเข็มมุ่ง : การพัฒนาต้องเชื่อมโยงจุดหมายปลายทางอันหนึ่ง ตย.เข็มมุ่งคือ แบบของการพัฒนาแล้ว มีค่านิยมสอดแทรกอยู่ : ความคิดการพัฒนาชุดหนึ่งกลายเป็นจุดศูนย์กลางหรือสิ่งที่ชอบธรรม
ข้อเสนอของเพนนอค : จุดหมายปลายทางของการพัฒนา ข้อเสนอของเพนนอค : จุดหมายปลายทางของการพัฒนา ค่านิยมแบ่งเป็น 2 ประเภท 1. ค่านิยมระดับสูง : การมีเสรีภาพ ศักดิ์ศรี 2. ค่านิยมระดับต่ำ : การกระจายรายได้ การบริโภค เป้าหมายการพัฒนาควรอยู่ที่ค่านิยมระดับสูง ค่านิยมระดับต่ำควรถูกนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายระดับสูง แต่ปัจจุบันพูดแต่ระดับต่ำทำให้ลืมจริยธรรมบางอย่างไป
การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาย่อมมีการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงไม่จำเป็นต้องเป็นการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยกับการพัฒนาไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกัน การพัฒนาแบบจารีตประเพณี กับการพัฒนาแบบทันสมัย เป็นคนละขั้ว?? และเป็นการพัฒนา ????
กรอบการพิจารณาทฤษฎี จุดมุ่งหมายของการพัฒนา ข้อวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหากล่าวไว้อย่างไร มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร มีเครื่องมืออะไรที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการพัฒนา ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์
1. จุดมุ่งหมายของการพัฒนา 1. คุณค่าของมนุษย์ในระดับสูง และระดับต่ำ 2. ค่านิยมในระดับต่ำที่เป็นรูปธรรมต้องแสดงให้ชัดเจนว่า สังคมรูปแบบใดเป็นสังคมที่ต้องการ 3. จุดมุ่งหมายทั้ง 2 ระดับสัมพันธ์กันหรือไม่ (เกื้อหนุนคุณค่าของมนุษย์อย่างไร)
2. ข้อวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหากล่าวไว้อย่างไร ทฤษฎีเห็นว่าสภาพการณ์เป็นอย่างไร ปัจจัยใดเป็นอุปสรรคต่อการได้มาซึ่งคุณค่าเหล่านั้น
3. มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ข้อเสนอต่อปัญหาในข้อ 2
4.มีเครื่องมืออะไรที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการพัฒนา ใช้ชี้วัดความเป็นจริงทางสังคมอย่างไร ผลกระทบต่อสังคมมีอย่างไรบ้าง
5. ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ - คนกลุ่มใดได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ หากมีการใช้ทฤษฎีข้างต้น
ตัวอย่างการวิพากษ์ทฤษฎีกระแสหลัก
1. จุดมุ่งหมายของการพัฒนา การหลุดพ้นจากความขาดแคลนทางวัตถุ การหลุดพ้นจากความกลัว มีความพึงใจในตนเองของมนุษย์ คุณค่าระดับต่ำ - สังคมที่ก้าวหน้าแบบตะวันตก ได้กลายเป็นแม่แบบของการพัฒนา เช่น มีเศรษฐกิจสูง บริโภคสูง มีการเติบโตของรายได้บุคคลสูง มีโครงสร้างเฉพาะกิจที่มีขนาดใหญ่และสลับซับซ้อน
2. ข้อวินิจฉัย ความขาดแคลนของทรัพยากรธรรมชาติ ทุน ความชำนาญทั่วไปของมนุษย์ ทำให้สังคมยังไม่พัฒนา สภาวะแวดล้อมเป็นอุปสรรค โครงสร้างสังคมมีขนาดเล็กและไม่มีโครงสร้างซึ่งทำหน้าที่เฉพาะ
2. ข้อวินิจฉัย - สังคมที่มีกากเดนของระบบศักดินาหลงเหลืออยู่ คนในสังคมมีทัศนคติและระบบความเชื่อที่งมงาย ยังหลงเชื่อในปาฏิหาริย์
3. แนวทางในการแก้ปัญหา ต้องมีการทุ่มทุนและความชำนาญอย่างมหาศาลจากภายนอกเข้าสู่สังคมที่ยังไม่พัฒนา โดยเฉพาะในรูปของความช่วยเหลือและการลงทุนที่มุ่งสู่อุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และเกษตรกรรมเพื่อการส่งออก มีการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญ
3. แนวทางในการแก้ปัญหา มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติโดยผ่านการศึกษา การกล่อมเกลาทางสังคม กระบวนการข้างต้นจะทำให้เกิดชนชั้นผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง มีเงินออมมากขึ้น รายได้ของประชากรในประเทศสูงขึ้น
4. การวัด รายได้จากการส่งออก การอุปโภคและการบริโภคสินค้าและบริการมากขึ้น จำนวนผู้มีงานทำในระบบเศรษฐกิจเงินตรา อัตราส่วนของผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม
5. ใครได้ใครเสีย คนงานในอุตสาหกรรม คนชนชั้นนำในสังคม
บรรณานุกรม พฤทธิสาณ ชุมพล(ผู้แปล). มองทฤษฎีการพัฒนาอย่างวิเคราะห์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.2530. Ritzer, George. Sociological theory. New York : McGraw-Hill, c1992