ประวัติพัฒนาการสหกรณ์ แนวคิด ปรัชญา อุดมการณ์ หลักการ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ตัวอย่างที่ดีของโครงการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาล
Advertisements

ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
หลักการจัดองค์การ เป้าหมาย.
ความสำคัญของการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี
โลกาภิวัตน์ การค้าเสรี และการจ้างงานหญิงชาย
ความหมาย ความสำคัญของจริยธรรม
ความหมาย ความสำคัญของจริยธรรม
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
ระบบเศรษฐกิจ.
ข้อควรคำนึงในการสร้างเครือข่าย
ประวัติพัฒนาการสหกรณ์ แนวคิด ปรัชญา อุดมการณ์ หลักการ
Business Economics for a Better World ถอดความโดย คุณประจวบ ตรีนิกร
เศรษฐกิจพอเพียง.
วิธีการดำเนินงานธุรกิจเครือข่าย
การค้ามนุษย์.
ระบบการตลาดและ หน้าที่ทางการตลาด
ความหมาย ปรัชญาและวัตถุประสงค์ ของงานส่งเสริมการประมง
33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 5
บริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็งจำกัด Allied Retail Trade Co.,ltd (ART)
Free Trade Area Bilateral Agreement
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสหกรณ์
การพัฒนาสังคม Social Development 5 : 16 ธ.ค. 54.
ธุรกิจในโลกาภิวัตน์ Globalizing Business.
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้
ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หน้าที่ของสมาชิกสหกรณ์
วิธีการสหกรณ์ อุดมการณ์ หลักการ นายบรรทูรย์ ราชิวงค์

บรรยายองค์ความรู้เรื่อง AEC สมาคมอาเซียน
Economic Institute เพื่อสนองความต้องการของตนเองทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ กระบวนการการแสวงหาอาหาร การผลิตอาหาร การบริโภคต่างๆ.
1. การพัฒนาประชาธิปไตย : สถาบัน
ขอบเขตความรับผิดชอบของรัฐบาลท้องถิ่น
บทบาทการบริหารงานสำนักงาน 1
๓ สถาบันทางสังคม (Social Institution)
ความรู้เบื้องต้นในการวินิจฉัยธุรกิจ
Good Corporate Governance
โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์การ (Organizational Structure and Culture)
บทที่ 12 การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาองค์การ.
ความขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง (Conflict and Negotiation)
ภารกิจและนโยบาย 6 ยุทธศาสตร์ 35 กลยุทธ์ ของ ส.อ.ศ. บัญญัติ สมสุพรรณ
หัวข้อวิชา การเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำ และการนำเสนอข้อมูล
ผลสรุปการแบ่งกลุ่มย่อยประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ
แนวทางการขับเคลื่อน การสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การแก้ไขปัญหาและการจัดการความขัดแย้ง
Participation : Road to Success
เด็กไทยรุ่นใหม่ใส่ใจการออม
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรับค่าแรง300 บาทมีผลกระทบ เศรษฐกิจประเทศไทยจริง?
การพัฒนาสังคม ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.
บทที่ 3 ปรัชญาและแนวความคิดของการพัฒนาชุมชน
ประสบการณ์การบริหาร มหาวิทยาลัย ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๐. เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ บริหารมหาวิทยาลัย โครงสร้าง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ รูปแบบการบริหารและขอบเขต อำนาจ.
ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทน ผลตอบแทนปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า, ดอกเบี้ย, ค้าจ้าง ,กำไร) ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน, ทุน, แรงงาน, ผู้ประกอบการ)
ทรัพยากรในทางเศรษฐศาสตร์
สรุปการฝึกอบรม วันแรก แรงบันดาลใจ ความ คาดหวัง วิเคราะห์สถานการณ์ แรงงานจากวิกฤติ เศรษฐกิจ กรณีศึกษาที่เกิดขึ้น จริง ประวัติศาสตร์แรงงาน ไทย วันที่สอง.
ทฤษฎี และหลักการพัฒนาชุมชน
รหัส หนังสือหมวดวิชาชีพพื้นฐาน หลักเศรษฐศาสตร์
ทิศทางใหม่ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ การเมือง
นายพนาสิน หอมจิตต์ ชั้น ปวช 1 เลขที่ 11 กลุ่ม 1 แผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
แหล่งที่มาและการใช้ไปของเงินทุนในสหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยน
พฤติกรรมผู้ซื้อองค์การ
การวัดการวิจัยในการตลาด
นิเวศวิทยาการเมือง : ความยั่งยืนทางนิเวศในสังคมไทย
บทที่1 การบริหารการผลิต
ปฏิบัติงานบริการคอมพิวเตอร์
หน่วยที่1 ข้อมูลทางการตลาด
วิชา หลักการตลาด บทที่ 5
บทที่ 1 บทนำ SIRIPONR SOMKHUMPA.
เศรษฐกิจพอเพียง นางสาวสุนิสา จันทร์ตะบูน ชั้น ปวช 1 เลขที่ 20 กลุ่ม 2
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ประวัติพัฒนาการสหกรณ์ แนวคิด ปรัชญา อุดมการณ์ หลักการ พื้นฐาน สำหรับ MCE 11 วันเสาร์ที่ 15 กันยายน 2555 09.00-12.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นุกูล กรยืนยงค์ ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นุกูล กรยืนยงค์ วท.บ.(เศรษฐศาสตร์สหกรณ์) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มก. วท.บ.(เศรษฐศาสตร์สหกรณ์) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มก. พบ.ม. (การบริหารการเงิน) เกียรตินิยมดีมาก NIDA Dip. in Agri. Coop. Management เกิดที่นนทบุรี ปัจจุบัน อายุ 57 ปี http://pirun.ku.ac.th/~fecongk

สหกรณ์ : สหกรณ์ คือ อะไร? สถานภาพของสหกรณ์ เป็นอะไร? การสหกรณ์ (Co-operation) เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ (Cooperative Economics) วิสาหกิจสหกรณ์ (Cooperative Enterprises) ทำไมต้องเรียนรู้และเข้าใจเรื่องสหกรณ์ ทำไมต้องมีหลักการสหกรณ์ บทบาทของสหกรณ์ในประชาคมโลก มีการนำเอาวิธีการสหกรณ์ไปใช้อย่างไรบ้าง รูปแบบองค์การทางธุรกิจของสหกรณ์ที่มีการพัฒนาไปแล้ว

ประวัติพัฒนาการสหกรณ์ แนวคิด ปรัชญา อุดมการณ์ หลักการ

เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่ 1 บทนำ ตอนที่ 2 มูลเหตุของการสหกรณ์ และปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ ตอนที่ 3 กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก ตอนที่ 4 กำเนิดสหกรณ์เครดิต และสหกรณ์แปรรูปทางการเกษตร ตอนที่ 5 หลักการสหกรณ์

ตอนที่ 1 บทนำ สถานการณ์ปัจจุบันของสหกรณ์ทั่วโลก ความหมาย คำนิยาม ตอนที่ 1 บทนำ สถานการณ์ปัจจุบันของสหกรณ์ทั่วโลก ความหมาย คำนิยาม สำนักความคิดทางสหกรณ์ ตัวแบบพื้นฐานของสหกรณ์ และตัวแบบใหม่ ๆ เหตุผลที่ต้องเรียนรู้ประวัติพัฒนาการของสหกรณ์

สถานการณ์ปัจจุบันของสหกรณ์ทั่วโลก สัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ The International Cooperative Alliance : ICA เป็นองค์การอิสระ ประเภท NGO ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1895 มีสหกรณ์ในระดับประเทศ และสหกรณ์ระหว่างประเทศ เป็นสมาชิก 274 แห่งใน 98 ประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก มีสมาชิกรายบุคคลรวมกันกว่า 1000 ล้านคน (จากจำนวน 194 ประเทศ ประชากร >7 พันล้านคน) Homepage www.ica.coop http://2012.coop/en/ica/co-operative-facts-figures

สถานการณ์ปัจจุบันของสหกรณ์ทั่วโลก สัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ The International Cooperative Alliance : ICA เป็นองค์การอิสระ ประเภท NGO ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1895 มีสหกรณ์ในระดับประเทศ และสหกรณ์ระหว่างประเทศ เป็นสมาชิก 274 แห่งใน 98 ประเทศ ทุกภูมิภาคทั่วโลก มีสมาชิกรายบุคคลรวมกันกว่า 1000 ล้านคน (จากจำนวน 194 ประเทศ ประชากร >7พันล้านคน) Homepage www.ica.coop http://2012.coop/en/ ในไทย มีองค์การที่เป็นสมาชิก ICA อยู่ 2 องค์การ คือ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (Co-operative League of Thailand : CLT) และ สหพันธ์เครดิตยูเนียนแห่งเอเชีย (Association of Asian Confederations of Credit Unions :ACCU)

ความหมาย คำนิยาม ได้มีการให้ความหมายของ สหกรณ์ อาจมีได้หลายแบบทั้งที่มีความหมายอย่างแคบจนถึงอย่างกว้าง ตัวอย่าง 2 นิยาม คือ สหกรณ์เป็นวิธีจัดการรูปหนึ่ง ซึ่งบุคคลหลายคนรวมกันเข้าโดยความสมัครใจของตนเอง ในฐานะที่เป็นมนุษย์เท่านั้น และโดยความมีสิทธิเสมอหน้ากันหมด เพื่อจะบำรุงตัวเองให้เกิดความจำเริญในทางทรัพย์ (น.ม.ส.) Cooperation is a form of organization where in persons voluntarily associate together as human beings, on the basis of equality, for the promotion of economic interests, of themselves.

ความหมาย คำนิยาม (ต่อ) สหกรณ์เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการ และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย A co-operative is an autonomous association of persons united voluntarily to meet their common economic, social, and cultural needs and aspirations through a jointly-owned and democratically-controlled enterprise. (ICA- Statement on the Co-operative Identity, September 1995)

ขยายความคำนิยาม (ICA) สหกรณ์มีความเป็นอิสระ ซึ่งหมายถึง เป็นอิสระจากรัฐ และองค์การธุรกิจอื่นเท่าที่ควรจะเป็นได้ เป็นการรวมกันของ บุคคล ซึ่งเปิดโอกาสให้สหกรณ์สามารถกำหนดความหมายของบุคคลได้อย่างเสรี ตามนัยแห่งกฎหมายที่รับรอง ทั้ง ปัจเจกบุคคล และ บุคคลตามกฎหมาย บุคคลเหล่านั้นมารวมกันด้วย ความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการและความมุ่งหมายร่วมกัน ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สหกรณ์เป็น “วิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย”

ตัวแบบวิสาหกิจทั่วไป

ตัวแบบวิสาหกิจสหกรณ์

ตัวแบบวิสาหกิจสหกรณ์

ตัวแบบวิสาหกิจสหกรณ์

สำนักความคิดทางสหกรณ์ สำนักจักรภพสหกรณ์ (The Cooperative Commonwealth School) สำนักวิสาหกิจสหกรณ์ (The Cooperative Enterprise School) สำนักภาคสหกรณ์ (The Cooperative Sector School) สำนักอื่น ๆ

สำนักจักรภพสหกรณ์ (The Cooperative Commonwealth School) เป็นแนวความคิดทางสหกรณ์ดั้งเดิมที่เป็นรากฐานแนวความคิดและปรัชญาทางสหกรณ์ที่ก่อตัวขึ้นท่ามกลางการเติบกล้าอย่างรวดเร็วของระบบทุนนิยม และต้องการปฏิรูป (Reformation) ระบบทุนนิยม ให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น โดยลดกระแสทุนนิยมแบบ ปัจเจกบุคคลนิยม (Individualism) ไปสู่ความเป็นสมาคมนิยม (Associationism) โดยเห็นว่า สมาคมสหกรณ์ควรมีลักษณะแบบเบ็ดเสร็จสมบูรณ์แบบ (Integral) ในตัวเอง กล่าวคือ มีทั้งการผลิต การจำแนกแจกจ่าย และการบริโภค ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยสมบูรณ์ และเข้าไปแทนที่หน่วยธุรกิจแบบทุนนิยมทั้งหมดในระบบเศรษฐกิจ นักสหกรณ์ที่เป็นต้นแบบในสำนักความคิดนี้คือ โรเบอร์ต โอเวน (Robert Owen)

สำนักวิสาหกิจสหกรณ์ (The Cooperative Enterprise School) เป็นแนวความคิดทางสหกรณ์ที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และอยู่ในโลกของความเป็นจริงมากกว่าสำนักจักรภพสหกรณ์ กล่าวคือ แนวความคิดของสำนักวิสาหกิจสหกรณ์นั้นเห็นว่า สหกรณ์สามารถดำเนินธุรกิจอยู่ร่วมกับองค์การธุรกิจอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจที่มีอยู่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปแทนที่หน่วยธุรกิจเหล่านั้นทั้งหมด ในส่วนใดที่หน่วยธุรกิจทั่วไปไม่สามารถเข้าไปประกอบการได้ สหกรณ์สามารถดำเนินการได้ ถ้าเป็นความต้องการของประชาชนที่จะเป็นสมาชิก หรืออีกนัยหนึ่งคือ สหกรณ์สามารถเลือกดำเนินธุรกิจเฉพาะเพียงบางเรื่องที่จำเป็นและเป็นที่ต้องการเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นองค์การที่สมบูรณ์แบบในตัวเอง

สำนักภาคสหกรณ์ (The Cooperative Sector School) จัดว่าเป็นสำนักความคิดที่ได้รับการยอมรับสูงในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าเป็นพัฒนาการทางความคิด ที่สืบเนื่องมาจากสำนักวิสาหกิจสหกรณ์ คือเป็น การพิจารณาถึงโครงสร้างหรือส่วนประกอบในระบบเศรษฐกิจ ที่แต่เดิมจะให้ความสำคัญแก่ส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ภาครัฐบาล (Public Sector) และภาคเอกชน (Private Sector) เท่านั้น โดยสหกรณ์จะได้รับการพิจารณาให้อยู่ในภาคเอกชนด้วย

สำนักภาคสหกรณ์ (ต่อ) (The Cooperative Sector School) ดร. โฟเกต์ ได้ให้แนวคิดที่สำคัญว่า ในระบบเศรษฐกิจใด ๆ นั้น ควรจะมีการจัดองค์ประกอบเป็น 3 ส่วน คือ ภาครัฐบาล (Public Sector) ภาคเอกชน (Private Sector) และ ภาคสหกรณ์ (Co-operative Sector) หรือ ภาคประชาชน People Sector (NGO’s)

ส่วนประกอบในโครงสร้างเศรษฐกิจ ภาคเอกชน Private Sector ภาครัฐ Public Sector ภาคสหกรณ์ Co-op Sector ภาคประชาชน People Sector

ค่านิยมทางสหกรณ์ (Cooperative Value) จาก แถลงการณ์ว่าด้วยเอกลักษณ์ของการสหกรณ์ (ICA- Statement on the Co-operative Identity, September 1995)ได้กำหนดค่านิยมทางสหกรณ์ไว้ดังนี้ สหกรณ์อยู่บนฐานค่านิยมของการพึ่งพาและรับผิดชอบตนเอง ประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความสามัคคี สมาชิกสหกรณ์ตั้งมั่นอยู่ในค่านิยมทางจริยธรรมแห่งความซื่อสัตย์ เปิดเผย รับผิดชอบต่อสังคม และเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ตามแบบแผนที่สืบทอดมาจากผู้ริเริ่มการสหกรณ์

ตัวแบบทางสหกรณ์ (Co-operative Models) รูปแบบองค์การทางธุรกิจของสหกรณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มี 5 ลักษณะ คือ ตัวแบบดั้งเดิม (Traditional co-operative) สหกรณ์แบบมีหุ้นสองแบบ (Participation share co-operative) สหกรณ์แบบมีกิจการในเครือ (Co-operative with subsidiary) สหกรณ์ที่มีหุ้นขายเปลี่ยนมือได้บางส่วน (Proportional tradable share co-op) or New Generation Co-op : NGCs สหกรณ์ในรูปกิจการมหาชน (PLC co-operative)

เหตุผลที่ต้องเรียนรู้ประวัติพัฒนาการของสหกรณ์ โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อิทธิพลจากปัจจัยภายนอกคุกคามความคิดพื้นฐานทางสหกรณ์ที่มีมานาน มีคำวิพากษ์วิจารณ์ขบวนการสหกรณ์จาก “คนนอก”หรือ “คนอื่น” ที่ไม่ได้ศึกษาสหกรณ์ หรือไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงอยู่เสมอ เช่น เป็นองค์การแบบโบราณไม่ทันสมัย ไม่มีเงินทุนมากพอ เป็นประชาธิปไตยมากไปไม่เหมาะกับการดำเนินธุรกิจ เป็นแค่เครื่องมือของรัฐ ฯลฯ แต่..... เหตุใดสหกรณ์จึงเป็นรูปแบบวิสาหกิจที่มีอายุยืนยาน สืบต่อกันกว่า 160 ปี และบทบาทของสหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ มีอยู่อย่างไร?

และปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ ตอนที่ 2 มูลเหตุของการสหกรณ์ และปฐมาจารย์ทางสหกรณ์

ตอนที่ 2 มูลเหตุของการสหกรณ์ และปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ ตอนที่ 2 มูลเหตุของการสหกรณ์ และปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ สหกรณ์แห่งแรกในโลกในสมัยปัจจุบัน ด้านสถานการณ์ เหตุการณ์สำคัญที่เป็นแรงผลักดัน ด้านตัวบุคคล ปฐมาจารย์ทางสหกรณ์

การสหกรณ์สมัยปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของขบวนการสหกรณ์สมัยปัจจุบัน ถือว่าเริ่มต้นจากการก่อกำเนิดของ สหกรณ์รอชเดล หรือสมาคมของผู้นำอันเที่ยงธรรมแห่งเมืองรอชเดล (The Rochdale Society of Equitable Pioneers) เมื่อ ค.ศ.1844 (พ.ศ.2387) ในประเทศอังกฤษ

การสหกรณ์สมัยปัจจุบัน (ต่อ) ดังนั้น การศึกษาเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกำเนิดการสหกรณ์นั้น จึงต้องศึกษาถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ก่อนปี ค.ศ.1844 ที่เป็นสาเหตุต่อเนื่องกันมา จนกระทั่งมีการก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกขึ้น มูลเหตุทางด้านเหตุการณ์/สถานการณ์แวดล้อมที่เป็นแรงผลักดัน กับทางด้านบุคคลและแนวความคิดทางสหกรณ์ในขณะนั้น

ด้านสถานการณ์ / เหตุการณ์สำคัญที่เป็นแรงผลักดัน กลางคริสต์ศตวรรษ ที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม (The Industrial Revolution) ซึ่งต่อเนื่องถึง การใช้เป็นเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการทอผ้าในอังกฤษ) การใช้เป็นเครื่องจักรไอน้ำสำหรับรถไฟ ในการคมนาคมทางบก การใช้เป็นเครื่องจักรสำหรับเรือกลไฟ ในการคมนาคมทางน้ำ เป็นที่มาของการประกอบการขนาดใหญ่ มีการลงทุนสูงกว่าอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือการประกอบการขนาดเล็ก ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ จึงเป็นกลุ่มนายทุน คหบดี เป็นรอยต่อระหว่าง ระบบทุนนิยม กับ ระบบพาณิชยนิยม

ด้านสถานการณ์ เหตุการณ์สำคัญที่เป็นแรงผลักดัน (ต่อ) มีผู้นำทางความคิดในการประกอบการอย่างเสรีหลายคน เช่น อดัม สมิธ (Adam Smith: 1723-1790) เขียนหนังสือชื่อ ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations) ในปี 1776 สนับสนุนการประกอบการอย่างเสรีโดยเอกชน การแบ่งงานกันทำตามความถนัดโดยที่รัฐบาลควรมีบทบาทแต่น้อย จัดว่าเป็นหนังสือที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

ด้านสถานการณ์ เหตุการณ์สำคัญที่เป็นแรงผลักดัน (ต่อ) เดวิด ริคาโด (David Ricardo : 1772-1823) กับแนวความคิดเกี่ยวกับค่าเช่า โรเบอร์ต มัลทัส (Thomas Robert Malthus :1766-1834) กับแนวคิดด้านประชากร บุคคลเหล่านี้ ทางเศรษฐศาสตร์จัดไว้เป็นนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค (The Classical School)

ด้านสถานการณ์ เหตุการณ์สำคัญที่เป็นแรงผลักดัน (ต่อ) ในปี ค.ศ.1789 ได้เริ่มมีการปฏิวัติทางการเมืองในประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนแปลงการปกครอง จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็น ระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกถึงเสรีภาพมากขึ้น การประกอบการโดยเสรีที่ปราศจากการแทรกแซงของรัฐกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและผลักดันให้เกิดความกระตือรือร้นในกลุ่มเอกชน แนวความคิดของระบบทุนนิยม (Capitalism) จึงเติบกล้าอย่างรวดเร็ว

สรุปปัจจัยด้านสถานการณ์ / เหตุการณ์สำคัญที่เป็นแรงผลักดัน แนวความคิดระบบทุนนิยม(Capitalism) จึงเติบกล้า อย่างรวดเร็ว ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นศตวรรษที่ 19 (~~~1770~~~1830) การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม การประกอบการอย่างเสรี การปฏิวัติฝรั่งเศส ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมที่หมักหมม และ ต้องแก้ไข ตามมา

สรุปปัจจัยด้านสถานการณ์ / เหตุการณ์สำคัญที่เป็นแรงผลักดัน ปัญหาการว่างงาน อันเนื่องมาจากการใช้ เครื่องจักรแทนแรงงานคน ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบของนายจ้างต่อลูกจ้าง เนื่องจากมีแรงงานส่วนเกิน จำนวนมาก ปัญหาความเสื่อมโทรมของสังคม อันเนื่องมาจากการว่างงาน เด็กอนาถา อาชญากรรม ปัญหาทางสังคมที่หมักหมม และ ต้องแก้ไข หาทางออก

ผลกระทบดังกล่าวมิใช่มีเฉพาะในกลุ่มคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น เพราะแม้แต่ชาวประมง และเกษตรกร ก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย สถานการณ์เช่นนี้มีอยู่ทั่วไปในยุโรป แต่รุนแรงมากที่สุดในประเทศอังกฤษ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น กลุ่มคนงานที่ได้รับผลกระทบได้มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เพื่อการแก้ไขปัญหาปากท้องของตน

มีผู้นำทางความคิดหลายคนเกิดขึ้น มีกลุ่มต่าง ๆ เกิดขึ้นมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ กัน เกิดความพยายามหลายด้าน หลายแบบ แต่กิจกรรมทั้งหมดดูเหมือนมุ่งที่จะดำเนินไปเพื่อต้านกระแสการเติบกล้าของระบบทุนนิยมทั้งสิ้น หากจะจัดกลุ่มใหญ่ ๆ ในแนวความคิดต้านกระแสทุนนิยมในขณะนั้นอาจจัดออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก – ปฏิวัติระบบทุนนิยม กลุ่มที่สอง -- ปฏิรูประบบทุนนิยม

กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่เห็นว่าทุนนิยมเป็นความชั่วร้ายของสังคม ที่ควรทำลายล้างให้หมดสิ้นไป เรียกว่าเป็นกลุ่มที่มี ความคิดในเชิงปฏิวัติ (Revolution) ซึ่งเป็นรากเหง้าของลัทธิสังคมนิยมแบบมาร์คซ์-เลนิน

กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่ยังมองเห็นส่วนดีของทุนนิยมว่าเป็นระบบที่เกื้อหนุน ต่อการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ แต่ควรปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสม จากความคิดที่เป็น ปัจเจกบุคคลนิยม (Individualism) ไปสู่ความคิดที่เป็น สมาคมนิยม (Associationism) กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่มีความคิดในเชิงปฏิรูป (Reformation) ซึ่งเป็นพื้นฐานของความคิดแบบสหกรณ์นิยม (Cooperativism)

ด้านตัวบุคคล ปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ กลุ่มบุคคลที่มีความคิดในเชิงปฏิรูประบบทุนนิยมให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์เป็นกลุ่มสายกลางระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม เรียกว่าพวกสมาคมนิยม นั้น มีความต้องการที่จะกำจัดปัญหาความขัดแย้งระหว่าง นายทุนกับคนงาน หรือ นายจ้างกับลูกจ้าง อันเนื่องมาจากผลประโยชน์ที่ขัดกัน ความคิดหลัก คือการรวมกลุ่มคนงานเพื่อเป็นผู้ประกอบการเอง เป็นเจ้าของกิจการ(นายจ้าง)พร้อม ๆ กับเป็นลูกจ้างของตนเองด้วย เพื่อให้นายทุน-คนงาน รวมอยู่ในคนเดียวกัน เมื่อนายจ้าง-ลูกจ้างเป็นคน ๆ เดียวกันแล้ว ปัญหาการเอารัดเอาเปรียบก็จะหมดไป

ตัวแบบวิสาหกิจสหกรณ์

ด้านตัวบุคคล ปฐมาจารย์ทางสหกรณ์ ในขณะนั้นมีหลายท่าน แต่จะกล่าวถึงเพียงบางท่านอย่างย่อ ๆ คือ โรเบอร์ต โอเวน (Robert Owen : 1771-1858) ชาร์ลส ฟูริเอ (Charles Marie Fourier : 1772-1837) นายแพทย์วิลเลียม คิง (Dr.William King : 1786-1865)

Robert Owen 1771-1858 เป็นชาวเวลส์ เกิดที่เมืองนิวทาวน์ บิดาเป็นช่างทำอานม้า -พ่อค้าเครื่องเหล็ก เป็นผู้ที่ต้องต่อสู้กับชีวิตมาตั้งแต่เด็ก โดยเป็นลูกจ้างในร้านค้าของเอกชน มาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ด้วยเหตุที่เป็นคนฉลาดและมีเพื่อนมากจึงมีความคิดก้าวหน้าในที่สุดได้เป็นหุ้นส่วนกิจการโรงงานปั่นฝ้ายที่แมนเชสเตอร์และเป็นผู้จัดการโรงงานทอผ้า ประสบการณ์ที่เขาได้รับที่เมืองแมนเชสเตอร์ มีอิทธิพลต่อโอเวนอย่างมาก ทั้งในเรื่องอุตสาหกรรมการทอผ้า และปัญหาในโรงงาน

ความคิดของโอเวน 1 โอเวนแต่งงานกับบุตรสาวเจ้าของโรงงานทอผ้าที่เมืองลานาร์คในสก็อตแลนด์ เมื่อปี 1799 และในปี 1800 ก็ได้ไปเป็นผู้จัดการโรงงานทอผ้าที่นิวลานาร์คและได้ใช้โรงงานของเขาเป็นที่ทดลองความคิดเกี่ยวกับ คนกับสภาพแวดล้อม โดยการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานและการความเป็นอยู่ของคนงานใหม่ โอเวนเชื่อว่า คนจะดีหรือเลวขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม การทดลองของเขาได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนโรงงานทอผ้าที่นิวลานาร์คมีชื่อเสียงและมีผู้สนใจมาศึกษาวิธีการทำงานอยู่เป็นประจำแต่ผลในทางปฏิบัติมีน้อยมาก โอเวนเห็นว่าการหาทางให้นายทุนช่วยเหลือคนงานนั้นเป็นเรื่องทำได้ยาก ควรให้คนงานช่วยตนเองจะเหมาะกว่าจึงเสนอโครงการตามความคิดดังกล่าว ต่อสภาจังหวัดลานาร์ค คือ โครงการก่อตั้งนิคมสหกรณ์ (Cooperative Communities)

เค้าโครงนิคมสหกรณ์ตามความคิดของโอเวน

ความคิดของโอเวน 1 โครงการนิคมสหกรณ์ของโอเวน คงเป็นเพียงโครงการในกระดาษอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1824 มีข่าวประกาศขายที่ดินในอเมริกา โอเวนจึงสนใจและซื้อไว้ด้วยเงินถึง 125,000 ดอลลาร์ท่ามกลางการคัดค้านของหุ้นส่วน นิคมสหกรณ์ที่นิวฮาร์โมนี (New Harmony : 1825-1827) รัฐอินเดียนา จึงได้ก่อตัวขึ้น โดยโอเวนลงทุนเอง แต่สุดท้ายก็ต้องล้มเลิกไปพร้อมกับการขาดทุนอย่างมาก จนโอเวนต้องถอนตัวจากหุ้นส่วนโรงงานทอผ้า เนื่องจากหุ้นส่วนของโอเวนไม่พอใจ ในเวลาไล่เลี่ยกันได้มีนิคมสหกรณ์ที่ก่อตั้งขึ้นตามแนวความคิด ของโอเวนอีกหลายแห่งแต่ก็มีอายุสั้น ๆ เช่น Orbiston 1825-1827, Ralahine 1831-1833 Queenwood 1839-1845 โดยกลุ่มที่เรียกว่า สานุศิษย์ของโอเวน (Owenite)

ความคิดของโอเวน 2 เมื่องานด้านนิคมสหกรณ์ไม่ได้ผลอย่างที่ตั้งใจ แต่ความเชื่อมั่นไม่ได้ลดลง โอเวนก็ได้เดินทางกลับมาลอนดอนและทำงานเป็นนักเขียน มีหนังสือพิมพ์ของตนเอง ชื่อ The Crisis เพื่อเผยแพร่ความคิดของตน โดยเฉพาะด้านแรงงาน ได้แสดงปาฐกถาใน ที่ต่าง ๆ และได้เสนอแนวความคิดในเรื่อง สำนักงานแลกเปลี่ยนแรงงานอันเที่ยงธรรม (The Equitable Labour Exchange) และ บัตรแรงงาน (Labour Notes) ขึ้น เพื่อการขจัดกำไรด้วยความคิดที่ว่า กำไร เป็นบ่อเกิดของความเลวร้ายทั้งปวง และที่มาของกำไรเกิดจากการใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

บัตรแรงงาน ใช้แทนเงินตราตามความคิดของโอเวน แม้จะมีการทดลองตั้งสถานแลกเปลี่ยนแรงงานขึ้น แต่การดำเนินงานตามแนวความคิดของโอเวนก็ไม่ประสบความสำเร็จในทางปฏิบัติ

ผลงานของโอเวน โอเวนมีงานเขียนที่สำคัญหลายเล่ม คือ โอเวนมีงานเขียนที่สำคัญหลายเล่ม คือ A New View of Society (four essays on the formation of the human character); London, 1816 Report to the County of Lanark Glasgow, 1821 The Book of the New Moral World London, 1844 The Life of Robert Owen, Written by himself London 1857;

แหล่งที่จะค้นคว้าเพิ่มเติม สามารถสืบค้นข้อมูลได้จาก http://robert-owen.midwales.com The Robert Owen Museum, The Cross, Broad Street, Newtown, Powys, SY16 2BB, U.K.

บันทึกเกี่ยวกับ Robert Owen The Museum tells the remarkable story of Robert Owen, born in Newtown (Powys) in 1771. A village boy who hobnobbed with royalty, A shop assistant who became a factory manager, An educator with little education, A rich man who fought for the poor, A capitalist who became the first "socialist", An individualist who inspired the Co-operative movement

ในช่วงท้ายของชีวิต โอเวนทุ่มเทชีวิตของเขาให้กับงานด้านแรงงาน จนได้รับการยกย่องนับถือจากกลุ่มผู้ใช้แรงงาน เป็นคนสำคัญคนหนึ่งกลุ่มผู้นำสหภาพแรงงาน (Trade Union) หลังจากโอเวนถึงแก่กรรมและมีการก่อตั้งสหภาพสหกรณ์ขึ้นแล้วสหภาพสหกรณ์ของประเทศอังกฤษ ได้จารึกข้อความ บนหลุมศพของ โอเวนว่า the Father of Co-operatives อันเป็นการยกย่องโอเวนในฐานะที่เป็นผู้ปลูกฝังความคิดทางสหกรณ์ประดุจเป็นเชื้อยีสต์ในขนมปัง

François Marie Charles Fourier Charles Fourier เป็นชาวฝรั่งเศส เกิดที่เมืองเบซัวซอง (Besançon) เป็นคนในตระกูลชนชั้นกลาง เมื่ออายุได้ 18 ปี มีการปฏิวัติในฝรั่งเศส ฟูริเอต้องหนีเอาชีวิตรอด สูญเสียทรัพย์สินไปมากมาย ต้องใช้ชีวิตในประเทศต่าง ๆ ในยุโรป และกลับมาเป็นทหารที่กรุงปารีส ฟูริเอ เป็นผู้มีประสบการณ์ชีวิตมาก เนื่องจากการเดินทางไปต่างประเทศ ได้รู้ได้เห็นสภาพบ้านเมืองขณะนั้น ได้รับรู้ถึงความเห็นแก่ตัวของพ่อค้า (เอาพืชอาหารไปทิ้งเพื่อให้ราคาสูงขึ้น) ผิดหวังกับการปฏิบัติฝรั่งเศสที่ไม่มีอะไรดีขึ้น จึงเกิดความเบื่อหน่ายและมีความปรารถนาที่จะได้เห็น สังคมแบบใหม่ คนแบบใหม่ ที่มีเสรีภาพ และ มีความเข้าใจกัน

François Marie Charles Fourier (1772-1837) ฟูริเอ ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับ ฟาลังก์สแตร์ (Phalanstere) ซึ่งมีลักษณะคล้ายนิคมสหกรณ์ของโอเวน แต่ต่างกันที่การยอมรับนับถือในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชน หรือความแตกต่างของบุคคล ฟูริเอมีระดับการยอมรับมากกว่าโอเวน

François Marie Charles Fourier ฟูริเอ มีความคิดที่จะให้คนงานและเจ้าของกิจการเป็นคนเดียวกัน เพื่อให้คนงานมีความพอใจที่จะไปทำงาน(เพื่อตนเอง) –ไม่ใช่ไปทำให้คนอื่น --- ให้รู้สึกว่าการไปทำงานเหมือนไปงานเลี้ยง เป็นแรงงานที่น่าพิสมัย (Attractive Labour) แนวความคิดของฟูริเอ จัดเป็นสังคมนิยมที่ต่างออกไปจาก Karl Marx และมีการกล่าวถึงความคิดของฟูริเอในข้อเขียนของ Karl Marx ด้วย Karl Marx also referred to Fourier in his writings, although he rejected Fourier's works as ideological without any method of action; Marx said Fourier was merely able to 'reject it [capitalism] as evil' without justifying why.

ความคิดของฟูริเอ ได้มีการนำไปทดลองปฏิบัติโดยตั้งฟาลังก์สแตร์ที่ บรูคฟาร์ม ในรัฐแมตซาซูเสต สหรัฐอเมริกาแม้จะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่ความคิดของฟูริเอก็มีอิทธิพลอย่างมากในการตั้งสหกรณ์คนงานในระยะต่อมา ซึ่งมีความก้าวหน้ามากในประเทศฝรั่งเศส

Dr.William King(1786-7865) นายแพทย์คิง เป็นแพทย์อยู่ที่เมืองไบรก์ตัน Brighton เป็นผู้ที่สนใจสถานการณ์บ้านเมือง และคลุกคลีอยู่กับคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมมาก เป็นผู้หนึ่งที่สนใจติดตามความคิดของ โอเวนมาตลอด และมีความเห็นว่า แม้ความคิดของ โอเวนในเรื่องนิคมสหกรณ์จะเป็นเรื่องดี แต่ยังไม่ถูกต้องตามวิธีปฏิบัติ

นายแพทย์คิง เห็นว่าโอเวนนั้นทำการใหญ่เกินไปในครั้งเดียว ไม่ชอบด้วยวิธีปฏิบัติ ควรจะค่อยเป็นค่อยไป นายแพทย์คิงเสนอว่า ควรก่อตั้งเป็น สมาคมจำหน่ายสินค้าเล็ก ๆ ที่มีการสะสมทุนขึ้นเองภายในก่อน (ซึ่งไม่มีอยู่ในความคิดของโอเวน) แล้วจึงค่อยขยายไปเป็นนิคมสหกรณ์ตามแบบของโอเวนในโอกาสต่อไป ในปี 1827 นายแพทย์คิงได้ร่วมมือกับคนงานที่เมืองไบรก์ตัน ก่อตั้ง The Brighton Cooperative Benevolent Association และ The Cooperative Trading Association

นอกจากนั้น ยังส่งถ่ายแนวคิดเป็นบทความลงในหนังสือพิมพ์ชื่อ นักสหกรณ์ (The Cooperator) ซึ่งถือว่า เป็นนิตยสารทางสหกรณ์เล่มแรก ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายมากในช่วงปี 1828-1830

ความคิดและการทดลองของนายแพทย์คิงในเรื่องการตั้งร้านจำหน่ายสินค้า จัดว่ามีความสำคัญ และมีอิทธิพลต่อการตั้งร้านสหกรณ์รอชเดลในระยะต่อมาเป็นอย่างมาก กล่าวกันว่าในวงการสหกรณ์ผู้บริโภค (ร้านสหกรณ์) ยกย่องนายแพทย์คิงมากกว่าโอเวนเสียอีก เมื่อก่อตั้งร้านสหกรณ์รอชเดลนั้น ผู้นำรอชเดลมีการนำเอาแนวคิดของโอเวน และนายแพทย์คิง มาเป็นแนวทางและแก้ไขจุดบกพร่อง จนสามารถดำเนินงานได้ผลดี

กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก ตอนที่ 3 กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก

ตอนที่ 3 กำเนิดสหกรณ์แห่งแรกของโลก สมาคมของผู้นำอันเที่ยงธรรมแห่งเมืองรอชเดล The Rochdale Society of Equitable Pioneers เมืองรอชเดล (Rochdale) อยู่ในมณฑลแลงคัชเชียร์ ทางเหนือของเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีอุตสาหกรรมการทอผ้า และได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ ชาวเมืองรอชเดลได้ดิ้นรนต่อสู้กับความยากลำบากมาตลอด ตั้งแต่ปลายคริสศตวรรษที่ 18 จนถึงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ปัญหาต่าง ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น และเข้าสู่จุดวิกฤตในช่วงเวลาของ ทศวรรษแห่งความอดอยาก หิวโหย (The Hungry Forties) คือ ทศวรรษ 1840s

ก่อนหน้าที่จะมีการก่อตั้งสมาคมสหกรณ์ที่รู้จักกันดีในชื่อ สหกรณ์รอชเดล ขึ้นมานั้น ชาวเมืองรอชเดลได้เข้าร่วมกิจกรรมหลายอย่าง เช่น สมาคมกรรมกร (Trade Union) สมาคมสงเคราะห์เพื่อน (Friendly Society) และ ขบวนการทางการเมืองอื่น ๆ เพื่อการแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ นอกจากนั้นยังมีประสบการณ์ในการตั้งร้านจำหน่ายสินค้า ตามแนวความคิดของนายแพทย์คิง ถึงสองครั้ง ในเมืองนี้ แม้ว่าจะไม่ประสบความสำเร็จแต่ก็เป็นประสบการณ์และรากฐานทางความคิดที่สำคัญ ในเวลาต่อมา

ที่สำคัญก็คือชาวเมืองรอชเดลยังมีความเชื่อมั่นในแนวความคิด เกี่ยวกับนิคมสหกรณ์ตามแนวของโอเวนอยู่ และมีการนำเอาเรื่องนี้มาปรึกษาหารือกันเสมอ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ทั้งนี้เพื่อให้พวกคนงานมีโรงงานทอผ้า ที่นา บ้านพัก และโรงเรียน เป็นของชุมชนเอง สามารถจัดหาสิ่งของที่สมาชิกต้องการมาเองโดยไม่ต้องตกอยู่ใต้อำนาจกดขี่ของคนอื่น หรือต้องไปทำงานเพื่อหากำไรให้แก่นายจ้างที่เป็นนายทุนหากแต่ได้ทำงานในโรงงานของตนเอง เป็นนายตนเอง คนงานเหล่านี้ทราบดีว่าพวกเขาไม่มีทุนพอที่จะดำเนินการ เช่นนั้นได้ทันที เพราะรายได้ต่ำจนไม่มีความสามารถในการออม การนัดหยุดงานเพื่อต่อรอง ค่าแรงกับนายจ้างก็ไม่ได้ผลเพราะมีคนว่างงานที่ต้องการทำงานอยู่มาก

ทางออกเฉพาะหน้าในเวลาที่คับขันเช่นนั้น ก็คือต้องหาทางที่จะใช้จ่ายเงินค่าจ้างที่ได้รับมาให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ท่ามกลางภาวะตลาดที่สินค้ามีราคาแพงเกินจริง คุณภาพเลว ซ้ำยังปลอมปน หรือการจำยอมซื้อสินค้าจากร้านค้าที่เจ้าของโรงงานตั้งขึ้นและขายเป็นเงินเชื่อ (ให้เชื่อนาน ๆ และดอกเบี้ยแพง หรือบังคับให้ซื้อจากเงินค่าจ้างที่ได้รับ) ทางที่เป็นไปได้คือการตั้งร้านขายของของตนเองขึ้นในเบื้องต้น และขยายงานไปตามแนวทางที่กำหนดเพื่อเป็นนิคมสหกรณ์ในที่สุด

ตัวแบบวิสาหกิจสหกรณ์

ผู้นำของรอชเดลในขณะนั้นมีอยู่หลายคน ที่มีบทบาทมากได้แก่ James Smithies และ Charles Howarth ซึ่งมีความมั่นคง ในแนวความคิดทางสหกรณ์มาก และมักพยายามใช้โอกาสที่มีในการชักจูงอธิบายคนงานให้เข้าใจ และเลื่อมใสวิธีการสหกรณ์ ทั้งยังได้ร่าง โครงการของรอชเดล (The Rochdale Programme) หรือ Law First ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานด้วย

โครงการของรอชเดล (The Rochdale Programme) หรือ Law First บอกถึงกิจกรรมที่จะทำเป็นลำดับไป เริ่มต้นจากการตั้งร้านจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นในการอุปโภคบริโภคก่อน จากนั้นจะดำเนินการจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้สมาชิก จัดหาที่ดินทำ การเกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้สมาชิกมีงานทำ สุดท้ายคือการจัดระบบการผลิต การแจกจ่าย การบริโภค หรือก็คือการเปลี่ยนวิธีการทางเศรษฐกิจที่มีอยู่เวลานั้นให้เป็นวิธีการสหกรณ์ในรูปของนิคมสหกรณ์ ตามแนวของนายแพทย์คิง และ โอเวนนั่นเอง นอกจากนั้นยังมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการงดเว้นการดื่มสุรายาเมาแก่สมาชิก โครงการนี้ได้มีการประกาศให้ทราบทั่วกัน ในวันเปิดร้านจำหน่ายสินค้าเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1844 ด้วย

(ลองเทียบกับเงินลงทุนในนิคมของโอเวน $125,000 ) เมื่อมีโครงการแน่นอนแล้ว ผู้นำรอชเดลก็เริ่มดำเนินการสะสมทุนเพื่อก่อตั้งร้านจำหน่ายสินค้า โดยเก็บสะสมจากสมาชิกคนละ 2 เพนนีต่อสัปดาห์ มีเป้าหมายว่าจะให้ได้เงินทุนเบื้องต้นจากสมาชิกคนละ 4 ปอนด์ แต่หลังจากเก็บสะสมอยู่ถึง 2 ปี ก็ปรากฏว่ามีสมาชิกที่ร่วมโครงการนี้เพียง 28 คน และสะสมทุนได้คนละ 1 ปอนด์ เป็นเงินทุนรวม 28 ปอนด์เท่านั้น (ลองเทียบกับเงินลงทุนในนิคมของโอเวน $125,000 )

การประชุมใหญ่สมาชิกมีขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 1844 จดทะเบียนเป็นสมาคม ได้ในเดือนตุลาคม 1844 ยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้เพราะมีปัญหาเรื่องที่ตั้งร้านค้าจนกระทั่งสามารถเช่าห้องชั้นล่างของตึกเก่า ๆ ในตรอกคางคก (Toad Lane) ได้ จึงสามารถเปิดร้านจำหน่ายสินค้าได้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 1844 ในครั้งนั้นมีสินค้าจำหน่าย 5 ชนิด คือ เนยอ่อน น้ำตาล แป้ง ข้าวโอ๊ต และเทียนไข

แม้การเปิดร้านจำหน่ายสินค้าของนักสหกรณ์รอชเดล จะนำมาซึ่งการเย้ยหยันจากผู้คนรอบข้าง แต่ด้วยความมุ่งมั่นและอดทนของผู้นำทั้ง 28 คน ร้านค้าแห่งนั้นจึงเป็นกำเนิดของสหกรณ์แห่งแรกของโลกในสมัยปัจจุบัน ที่ยังดำรงอยู่จนทุกวันนี้ ในระยะเวลา 3 เดือนแรกของการดำเนินงาน ร้านสหกรณ์แห่งนี้สามารถเฉลี่ยคืนตามยอดซื้อได้ถึง 3 เพนนีต่อยอดซื้อ 1 ปอนด์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นให้เห็นคุณค่าของการซื้อสินค้าจากร้านสหกรณ์ และอาจกล่าวได้ว่าสิ่งนี้เป็นกุญแจแห่งความสำเร็จของร้านสหกรณ์รอชเดล

หลักปฏิบัติของนักสหกรณ์รอชเดล ซึ่งต่อมามักเรียกว่า หลักสหกรณ์รอชเดล ได้แก่ 1. การควบคุมแบบประชาธิปไตย (หนึ่งคน หนึ่งเสียง) 2. การมีเสรีภาพในการเข้าเป็นสมาชิก (สมัครใจ) 3. การจ่ายดอกเบี้ยแก่เงินทุนในอัตราจำกัด 4. การเฉลี่ยคืนตามส่วนแห่งการซื้อ 5. การขายสินค้าเป็นเงินสด ไม่ปลอมปน ไม่โกงตาชั่ง 6. การส่งเสริมการศึกษาในหมู่สมาชิก 7. การเป็นกลางทางการเมืองและศาสนา หลักเหล่านี้เป็นต้นทางของการพัฒนาไปสู่หลักการสหกรณ์สากลในระยะต่อ ๆ ไป

ความก้าวหน้าของสหกรณ์รอชเดล เมื่อร้านสหกรณ์รอชเดลดำเนินงานอย่างได้ผลดี ในเวลาต่อมาก็มีร้านสหกรณ์ในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นจำนวนมาก และอิงกับสหกรณ์รอชเดลในฐานะที่เป็นต้นแบบ ในปี 1850 ร้านสหกรณ์รอชเดลจึงตั้งแผนกขายส่งขึ้น เพื่อทำหน้าที่ขายส่งให้สหกรณ์อื่น แต่การดำเนินงานไม่ได้ผลดีนักเพราะยังต้องซื้อสินค้าจากพ่อค้าส่งอยู่เช่นเดิม ทางที่จะได้ผลดีคือต้องมี สหกรณ์ขายส่ง เป็นสหพันธ์ของร้านสหกรณ์ แต่กว่าจะจัดให้มีสหกรณ์ขายส่งได้อย่างถูกต้องก็ถึง ปี 1863 เพราะก่อนนั้นกฎหมายไม่เปิดโอกาสให้ทำได้

ความก้าวหน้าของสหกรณ์รอชเดล จนถึงปี 1862 จึงมีการแก้ไขกฎหมายให้มีการตั้งสหพันธ์สหกรณ์ได้ สหกรณ์ขายส่งแห่งแรกที่ตั้งขึ้นมีชื่อว่า สหกรณ์ขายส่งแห่งภาคเหนือของอังกฤษ (The North of England Co-operative Wholesale Society Ltd.) เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 1864 และในปี 1872 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สหกรณ์ขายส่ง (The Co-operative Wholesale Society : C.W.S.) ในเวลาต่อมาไม่เพียงทำหน้าที่ขายส่งเท่านั้น แต่ยังผลิตสินค้าเองด้วยจัดว่าเป็นสหกรณ์ขายส่งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง

สหกรณ์ขายส่ง ถือว่าเป็นสหพันธ์สหกรณ์ คือเป็นองค์การ ขั้นสูงของสหกรณ์ผู้บริโภค (มีสมาชิกเป็นร้านสหกรณ์) ซึ่งทำหน้าที่ทางด้านธุรกิจเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นบรรดาร้าน สหกรณ์ต่าง ๆ จึงได้ร่วมกันจัดตั้ง สหภาพสหกรณ์ (Co-operative Union) ขึ้นในปี 1873 เป็นองค์การขั้นสูงที่ทำหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจการค้า ได้แก่ การเผยแพร่กิจการสหกรณ์ การปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของสหกรณ์การให้การศึกษาอบรม การกำหนดแนวนโยบายส่วนรวมสำหรับสหกรณ์สมาชิก

สหกรณ์รอชเดลในปัจจุบันอยู่ที่ไหน www.co-op.co.uk The Co-operative Group the Co-operative Group Customer Relations Freepost MR9473 Manchester M4 8BA www.co-operative.coop www.coop.co.uk United.coop United Co-operatives Limited Sandbrook Park Sandbrook Way Rochdale OL11 1RY

The Rochdale Pioneers Museum http://www.co-op.ac.uk http://museum.co-op.ac.uk The Rochdale Pioneers Museum was opened in April 1931 at 31 Toad Lane, Rochdale in the building where the Rochdale Equitable Pioneers Society opened their first store on 21st December 1844.

ภาพใน Museum

ตอนที่ 4 กำเนิดสหกรณ์เครดิต และสหกรณ์แปรรูปทางการเกษตร ตอนที่ 4 กำเนิดสหกรณ์เครดิต และสหกรณ์แปรรูปทางการเกษตร

ตอนที่ 4 กำเนิดสหกรณ์เครดิต และ สหกรณ์แปรรูปทางการเกษตร ตอนที่ 4 กำเนิดสหกรณ์เครดิต และ สหกรณ์แปรรูปทางการเกษตร กำเนิดสหกรณ์เครดิตในประเทศเยอรมัน กำเนิดสหกรณ์แปรรูปทางการเกษตรในประเทศเดนมาร์ค

กำเนิดสหกรณ์เครดิตในประเทศเยอรมัน ประเทศเยอรมันเป็นต้นกำเนิดของสหกรณ์เครดิต ซึ่งทำหน้าที่หลักในการบริการทางการเงินประเภทสินเชื่อให้แก่สมาชิกเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งต่อมาได้มีการขยายตัวไปในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์ (และเครดิต) เครดิตยูเนียน และสหกรณ์การเกษตร (สหกรณ์หาทุน) ที่มีแพร่หลายอยู่ทั่วโลก สำหรับสหกรณ์เครดิตที่เกิดขึ้นในประเทศเยอรมันนั้น มี 2 รูป คือ สหกรณ์เครดิตในเมือง (Urban Credit Society) สหกรณ์เครดิตในชนบท (Rural Credit Society)

เฮอร์มัน ชูลส์ เดลิทซ์ (Hermann Schulze Delitzsch) เป็นผู้ริเริ่มสหกรณ์เครดิตในเมืองหรือ ธนาคารประชาชน (People’s Bank) เฟรดริค วิลเฮม ไรฟไฟเซน (Friedrich Wilhelm Raiffeisen) เป็นผู้ริเริ่ม สหกรณ์เครดิตในชนบท และสหกรณ์รูปนี้ คือรูปแบบที่มีการนำมาใช้ในประเทศไทย เป็นครั้งแรกที่เรียกว่า สหกรณ์หาทุน และเป็นต้นทางของ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ รวมถึง เครดิตยูเนียน ในประเทศไทย

สหกรณ์เครดิตในเมือง (Urban Credit Society) สหกรณ์รูปนี้มีกำเนิดขึ้นในย่านธุรกิจด้านตะวันออกของประเทศเยอรมัน (ขณะนั้นเรียกว่า ปรัสเซีย) ใน ปี 1852 ที่เมืองเดลิทซ์ (Delitzsch) โดยการริเริ่มของชูลส์ เดลิทซ์ ซึ่งเป็นสมาชิกรัฐสภาปรัสเซีย Franz Hermann Schulze-Delitzsch (August 29, 1808 - April 29, 1883)

สหกรณ์เครดิตในเมือง (Urban Credit Society) ในปี 1848 ชูลส์ เดลิทซ์ ได้เป็นประธานกรรมาธิการสอบสวนภาวะของกรรมกรช่างฝีมือ และผู้ประกอบการค้าขนาดเล็กของตนเอง จากการทำงานในหน้าที่ดังกล่าว ทำให้เขารับทราบถึงต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามาจาก ภาวะหนี้สิน ความคิดที่จะตั้งสมาคมให้กู้ยืมแก่บุคคลเหล่านี้จึงเกิดขึ้น ในระยะแรกเริ่มต้นได้ก่อตั้งในลักษณะการสงเคราะห์ก่อน แต่การดำเนินการไม่ได้ผลดีจึงมีการปรับรูปแบบให้บรรดาช่างฝีมือ กรรมกร แลผู้ประกอบการ ขนาดเล็ก รวมตัวกันเป็นสมาคมของตนในลักษณะการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นต้นแบบของสหกรณ์เครดิตในเมือง

สหกรณ์เครดิตในเมือง (Urban Credit Society) ด้วยเหตุที่มีการจัดหาเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยพอควรจึงเท่ากับเป็นธนาคารของสมาชิก จึงเรียกกันว่าเป็น ธนาคารประชาชน (People’s Bank) สหกรณ์แบบนี้ จะรับสมาชิกไม่จำกัดแต่ต้องเป็นผู้มีความประพฤติดีเป็นที่เชื่อถือของสมาชิกอื่น ในระยะแรกใช้หลักความรับผิดไม่จำกัด ต่อมาเมื่อกฎหมายเปิดโอกาสให้จึงหันมาใช้หลักความรับผิดจำกัด และเป็นสหกรณ์ชนิดที่มีหุ้น การกู้ยืมส่วนมากเป็นระยะสั้น และต้องมีหลักประกันอาจเป็นบุคคลหรือหลักทรัพย์ก็ได้

สหกรณ์เครดิตในชนบท (Rural Credit Society) สหกรณ์รูปนี้มีกำเนิดในซีกตะวันตกของเยอรมันแถบแคว้นไรน์ ซึ่งเป็นด้านเกษตรกรรมในชนบท โดยไรฟไฟเซนซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเฮดเดรสดอฟ (Heddesdorf) (ปัจจุบันคือเมือง Neuwied ) Raiffeisen เป็นนายกเทศมนตรีอยู่หลายเมือง ในช่วงปี 1845-1865 Friedrich Wilhelm Raiffeisen (May 3, 1818 – May 11, 1888)

สหกรณ์เครดิตในชนบท (Rural Credit Society) เริ่มต้นได้สนับสนุนให้มีการตั้งสมาคมจำหน่ายมันฝรั่งและ ขนมปังแก่คนยากจนในราคาถูก คือ the “Verein für Selbstbeschaffung von Brod und Früchten” (Society for bread and grain supply). ขึ้นก่อน ในช่วงปี 1847-1848 เพื่อช่วยสงเคราะห์คนจน อันเป็นผลจากภาวะวิกฤติทางการเกษตร ในปี 1846-1847 (ทศวรรษแห่งความหิวโหย) แล้วจึงขยายผลแนวความคิดไปสู่การให้เงินกู้และจัดหาปัจจัยการผลิตมาจำหน่าย เนื่องจากพบพบว่าความต้องการที่แท้จริงของผู้คนขณะนั้น คือ สินเชื่อ (เงินทุน)

สหกรณ์เครดิตในชนบท (Rural Credit Society) อย่างไรก็ตามการดำเนินงานตามแนวนี้พบว่าไม่ได้ผลอย่างถาวร ไรฟไฟเซนจึงมีการปรับปรุงวิธีการเสียใหม่ ให้เกษตรกรมีการรวมตัวกันช่วยตนเองโดยใช้หลัก ความรับผิดไม่จำกัดเป็นประกันความเชื่อมั่นแก่เจ้าหนี้ สหกรณ์เครดิตในชนบทสมาคมแรกที่มีลักษณะเป็นสหกรณ์ ที่แท้จริงตั้งขึ้นที่ อันเฮาเซนซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในเขตเวสเตอร์วัล (Westerwald) เมื่อปี 1862 และเป็นต้นแบบของสหกรณ์รูปนี้ต่อมา

ผลงานของไรฟ์ไฟเซน หลังจากมีสหกรณ์เครดิตในระดับเมืองแล้ว ปี 1872 ก็ได้ตั้งธนาคารสหกรณ์ระดับภาค (regional cooperative bank) ปี 1876 ตั้งเป็นระดับชาติ ปี 1877 ก็รวมเข้าเป็นระบบเดียวกัน ซึ่งคือจุดเริ่มต้นของเครดิตยูเนียน (Credit Union) ที่มีการขยายตัวในเวลาต่อมาในประเทศต่าง ๆ ทั้งเยอรมัน และเนเธอร์แลนด์

กำเนิดสหกรณ์แปรรูปทางการเกษตร ในประเทศเดนมาร์ค สหกรณ์แปรรูปนมเนยในเดนมาร์กตั้งขึ้น ที่เมือง Hjedding ปี ค.ศ. 1882 ผลของทศวรรษแห่งความหิวโหย (The Hungry Forties) มีผลกระทบต่อการเกษตรของเดนมาร์คซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีของยุโรปอย่างมาก จนเป็นเหตุให้เดนมาร์คหันมาทำการปศุสัตว์แทน โดยพื้นฐานสำคัญมาจาก Folk High Schools ซึ่งก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี 1844 ที่เมือง Rødding โดย Kristen Kold ตามแนวคิดของ Bishop Grundtwig (Nikolaj Frederik Severin Grundtvig) Bishop Grundtwig 1783-1882

การทำปศุสัตว์ของเกษตรกร ได้ความรู้จากโรงเรียนดังกล่าว (ปัจจุบันมีอยู่กว่า 100 แห่ง มีหลักสูตรระยะสั้นต่างกันออกไป) ในระยะแรกยังมีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงโคนม เพื่อนำน้ำนมมาทำเนย ที่เป็นการทำแต่ละครัวเรือน ตามประวัติกล่าวว่า วันหนึ่ง ในปี 1881 มีชายคนหนึ่งเข้าไปในหมู่บ้านที่เมือง Hjedding พร้อมกับประกาศว่าให้ชาวบ้านมาชุมนุมกัน จะบอกวิธีทำเนยแข็งคุณภาพดีให้ เมื่อชาวบ้านมารวมตัวกันแล้วชายคนนั้นกลับบอกว่า การที่ต่างคนต่างทำที่บ้าน จะไม่ได้เนยที่มีคุณภาพดีพอ ทั้งยังมีความแตกต่างกัน ทำให้จำหน่ายได้ในราคาต่ำ ควรจะรวมกันแล้วจ้างผู้ชำนาญมาให้คำแนะนำจะได้ผลผลิตที่ดีกว่า

ผลจากคำแนะนำครั้งนั้น ทำให้เกษตรกรในเมือง Hjedding ซึ่งมีพื้นฐานที่ดีมาจาก the folk high school ไม่ได้รวมกันเพื่อจ้างผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ หากแต่ได้มีการรวมตัวกัน ตั้งโรงงานเพื่อแปรรูปผลผลิตนมเป็นเนยแข็ง ทำให้ได้เนยที่มีคุณภาพเดียวกัน และสามารถจำหน่ายได้ในราคาดี สหกรณ์แปรรูปทางการเกษตรแห่งแรก จึงถือกำเนิดขึ้นในประเทศเดนมาร์ค ในรูปสหกรณ์แปรรูปนมเนย ในปี 1882 (แต่ไม่ใช่สหกรณ์แรกของประเทศเดนมาร์ค เพราะก่อนหน้านี้มีสหกรณ์ร้านค้าเกิดขึ้นแล้ว ที่เมือง Thisted ในปี 1866)

หลักการสหกรณ์ Cooperative Principles ตอนที่ 5 หลักการสหกรณ์ Cooperative Principles

ตอนที่ 5 หลักการสหกรณ์ พัฒนาการของหลักการสหกรณ์ หลักสหกรณ์สากล

กำเนิดหลักการสหกรณ์ หลักการสหกรณ์ กำเนิดมาพร้อมกับกำเนิดของสหกรณ์แห่งแรก ของโลก คือ สมาคมของผู้นำอันเที่ยงธรรมแห่งเมืองรอชเดล เมื่อ ค.ศ.1844 หรือกว่า 160 ปีมาแล้ว ในวาระของกำเนิดสหกรณ์รอชเดลนั้น ผู้นำรอชเดลได้มีการกำหนดหลักปฏิบัติของนักสหกรณ์รอชเดลไว้หลายประการเพื่อเป็นแนวทางสำหรับสหกรณ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในระยะต่อมา หลักปฏิบัติของนักสหกรณ์รอชเดลเหล่านี้ ต่อมาได้มีการประมวลไว้เป็นหลักสำคัญรวม 7 ประการ ซึ่งเป็นที่มาของหลักสหกรณ์สากล

กำเนิดหลักการสหกรณ์ เมื่อมีหลักปฏิบัติของนักสหกรณ์รอชเดล 7 ประการ แล้วตั้งแต่ปี ค.ศ.1844 ก็ได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติของสหกรณ์ต่าง ๆ ที่กำเนิดขึ้นในระยะต่อมาเรื่อยมา ต่อมาเมื่อมีการก่อตั้ง สัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศ (International Cooperative Alliance : ICA) ขึ้นในปี ค.ศ.1895 ICA จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในการรับรองหลักการสหกรณ์สากล โดยใช้แนวปฏิบัติของสหกรณ์รอชเดลเป็นหลักในการพิจารณาความเป็น “สหกรณ์” ของประเทศต่าง ๆ ที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก ของ ICA

พัฒนาการของหลักการสหกรณ์สากล หลักสหกรณ์รอชเดล 1844 การปรับปรุงหลักสหกรณ์รอชเดลไปสู่หลักสหกรณ์สากล การปรับปรุงหลักสหกรณ์สากล ครั้งที่ 1 : ค.ศ. 1937 การปรับปรุงหลักสหกรณ์สากล ครั้งที่ 2 : ค.ศ. 1966 การปรับปรุงหลักสหกรณ์สากล ครั้งที่ 3 : ค.ศ. 1995 หลักสหกรณ์สากลในปัจจุบัน

หลักสหกรณ์รอชเดล 1844 1. การเปิดรับสมาชิกทั่วไป Open Membership 2. การควบคุมแบบประชาธิปไตย (หนึ่งคนหนึ่งเสียง) Democratic Control (One Man, One Vote) 3. การเฉลี่ยคืนส่วนเกินตามส่วนแห่งการซื้อ Distribution of Surplus in Proportion to Trade 4. การจ่ายดอกเบี้ยแก่เงินทุนในอัตราจำกัด Payment of Limited Interest on Capital 5. การเป็นกลางทางการเมืองและศาสนา Political and Religious Neutrality 6. การทำการค้าด้วยเงินสด Cash Trading 7. การส่งเสริมการศึกษา Promotion of Education

หลักสหกรณ์สากล 1937 หลักมูลฐาน Fundamental Principles 4 ประการ หลักประกอบ Subsidiary Principles 3 ประการ หลักมูลฐาน Fundamental Principles 1.การเปิดรับสมาชิกทั่วไป Open Membership 2.การควบคุมแบบประชาธิปไตย (หนึ่งคนหนึ่งเสียง) Democratic Control (One Man, One Vote) 3.การเฉลี่ยคืนส่วนเกินตามส่วนแห่งการซื้อ Distribution of Surplus in Proportion to Trade 4.การจ่ายดอกเบี้ยแก่เงินทุนในอัตราจำกัด Payment of Limited Interest on Capital

หลักมูลฐาน Fundamental Principles หลักประกอบ Subsidiary Principles หลักสหกรณ์สากล 1937 (ต่อ) หลักมูลฐาน Fundamental Principles หลักประกอบ Subsidiary Principles หลักประกอบ Subsidiary Principles 3 ประการ 5.การเป็นกลางทางการเมืองและศาสนา Political and Religious Neutrality 6.การทำการค้าด้วยเงินสด Cash Trading 7.การส่งเสริมการศึกษา Promotion of Education

หลักสหกรณ์สากล 1966 1.การเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ และไม่กีดกันการเข้าเป็นสมาชิก Voluntary Membership ; unrestricted membership wherever possible; 2.การควบคุมตามหลักประชาธิปไตย และการดำเนินงานเป็นอิสระ Democratic control (one member, one vote) ; autonomy; 3.การจำกัดดอกเบี้ยที่ให้แก่ทุนเรือนหุ้น Limited interest on share capital, if any return is involved; 4. 5. 6.

หลักสหกรณ์สากล 1966 (ต่อ) 4.การจัดสรรเงินส่วนเกินเพื่อการพัฒนาสหกรณ์ เพื่อจัดบริการเพื่อส่วนรวม และ เฉลี่ยคืนแก่สมาชิกตามส่วนแห่งธุรกิจที่ทำกับสหกรณ์ The economic results to be devoted to the development of the cooperative, to the provision of the common services, or to bedistributed to members in proportion to their transactions with the society; 5.การส่งเสริมการศึกษาอบรมทางสหกรณ์ Measures for the provision of education; 6.การร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์ทั้งปวง Cooperation among cooperatives at all levels;

หลักสหกรณ์ 1995 1.การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ Voluntary and Open Membership 2.การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย Democratic Member Control 3.การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก Member Economic Participation 4.การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ Autonomy and Independence 5.การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร Education, Training and Information 6.การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ Co-operation among Co-operatives 7.ความเอื้ออาทรต่อชุมชน Concern for Community

หลักสหกรณ์สากล ก่อนหน้าที่จะมีแถลงการณ์ปี ค.ศ.1995 นั้น สัมพันธภาพสหกรณ์ระหว่างประเทศได้ให้การรับรองหลักสหกรณ์สากล 6 ประการ ไว้เมื่อคราวประชุมสมัชชาครั้งที่ 23 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2509 (ค.ศ.1966) และถือใช้มาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี โดยได้นิยามหลักการสหกรณ์ไว้ว่า “วิธีปฏิบัติอันจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้โดยเด็ดขาด ต่อการบรรลุความมุ่งหมายของสหกรณ์”

หลักสหกรณ์สากล ผู้คนส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจว่า “หลักการสหกรณ์” เป็นเสมือน “กฎเหล็ก”ที่ต้องปฏิบัติตามแบบคำต่อคำ ในทัศนะหนึ่งอาจจะเป็นการถูกต้องเมื่อหลักการสหกรณ์ใช้เป็นเครื่องวัดมาตรฐาน(ของความเป็นสหกรณ์) แต่ในอีกทัศนะหนึ่งก็ต้องมีความจำกัด หรือยกเว้นการปฏิบัติตามนั้นบางอย่าง เมื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติอื่น ๆ (อย่างได้ผล)

หลักการสหกรณ์ กล่าวได้ว่าไม่ได้เป็นแต่เพียงข้อบัญญัติ แต่ยังเป็นแนวทางในการวินิจฉัยพฤติกรรมและการตัดสินใจ การให้ความสนใจเพียงว่าสหกรณ์นี้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของหลักการสหกรณ์หรือไม่ คงไม่เป็นการเพียงพอ หากแต่ควรสนใจถึงจิตวิญญาณของสหกรณ์ด้วย เช่นเดียวกับที่ต้องสนใจว่าหลักการสหกรณ์แต่ละข้อได้รับการปฏิบัติอยู่ตลอด เวลาทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและมวลสมาชิกโดยรวม ด้วยเหตุนี้หลักการสหกรณ์จึงไม่ใช่สิ่งที่เขียนไว้บนกระดาษเพื่อทบทวนเป็นระยะ ๆ เพียงเพื่อให้มีความเหมาะสมตามกาลสมัย แต่เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างข่ายในการรวมอำนาจ สร้างพลังให้แก่ ทุกส่วนที่สหกรณ์จะเกาะเกี่ยวไปได้ในอนาคต

หลักการสหกรณ์ ถือเป็นหัวใจของวิสาหกิจสหกรณ์ โดยที่แต่ละข้อจะเป็นอิสระจากข้ออื่น ๆ มิได้ ทุกข้อล้วนมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน หากหลักการข้อหนึ่งข้อใด ถูกละเลยจะเป็นผลให้หลักการข้ออื่น ๆ ลดความสำคัญลงด้วย “สหกรณ์” จึงไม่อาจได้รับการวินิจฉัย (ว่าเป็นสหกรณ์) โดยพิจารณาจากหลักการสหกรณ์ทีละข้อ ๆ ได้ หากแต่ต้องพิจารณาจากการผนึกแน่นกับหลักการสหกรณ์ทุกข้อโดยรวมพร้อมกัน

หลักการสหกรณ์ ตามที่ปรากฏในแถลงการณ์ว่าด้วยเอกลักษณ์ของการสหกรณ์ในปี 1995 มีด้วยกัน 7 ประการ ประกอบด้วย หลักการเปิดรับสมาชิกทั่วไปด้วยความสมัครใจ หลักการควบคุมแบบประชาธิปไตยโดยมวลสมาชิก หลักการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยมวลสมาชิก หลักการปกครองตนเองและความมีอิสระ หลักการให้การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร หลักการร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์ และหลักการเอื้ออาทรต่อชุมชน หลักสามประการแรก ถือว่าเป็นสภาพพลวัตภายในที่มีความสำคัญมากสำหรับแต่ละสหกรณ์ ส่วนหลักสี่ประการหลัง จะเกี่ยวข้องทั้งกับการดำเนินงานภายใน และความสัมพันธ์ที่สหกรณ์มีกับภายนอกด้วย

1.การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ Voluntary and Open Membership 2.การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย Democratic Member Control 3.การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก Member Economic Participation 4.การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ Autonomy and Independence 5.การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร Education, Training and Information 6.การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ Co-operation among Co-operatives 7.ความเอื้ออาทรต่อชุมชน Concern for Community

เหตุผลที่ต้องมีการทบทวนหลักการสหกรณ์ ในช่วงปี ค.ศ.1970 ถึง 1995 เศรษฐกิจแบบตลาดได้มีการขยายตัวอย่างสูงและมีผลกระทบไปทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด ข้อจำกัดหรือการกีดกันทางการค้าที่มีอยู่เดิมได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้น เช่น การกำหนดเขตการค้าเสรี การลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรกรรมของรัฐบาล การทบทวนกฎเกณฑ์ในอุตสาหกรรมการเงิน ล้วนแต่คุกคามโครงข่ายทางเศรษฐกิจที่เคยครอบคลุมกิจกรรมของสหกรณ์ต่าง ๆ ที่ดำเนินมานานติดต่อกันหลายทศวรรษ

เหตุผลที่ต้องมีการทบทวนหลักการสหกรณ์ สหกรณ์ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันที่รุนแรงและเข้มข้นขึ้น การใช้ข้อได้เปรียบจากระบบการสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้ “เงินทุน” มีอิทธิพลเหนือโลกได้ (โดยมีการรบกวนเพียงเล็กน้อย) เพื่อแสวงหาลู่ทางการลงทุนที่ดี เมื่อมองผลทางเศรษฐกิจย่อมหมายความว่า สหกรณ์ทั้งหลายกำลังพบว่าตนเองกำลังเผชิญหน้ากับธุรกิจข้ามชาติขนาดใหญ่ ที่มีความได้เปรียบทั้งในด้านเงินทุนและสิทธิทางกฎหมาย ซึ่ง สหกรณ์ทั้งหลายไม่มี

เหตุผลที่ต้องมีการทบทวนหลักการสหกรณ์ สหกรณ์ทั้งหลายก็กำลังเผชิญหน้ากับ “สื่อ” และ “สถาบันการศึกษา” นานาชาติ ที่ล้วนแต่เน้นย้ำถึงธุรกิจที่เป็นเจ้าของโดยนักลงทุน(เท่านั้น) ประเด็นนี้นำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณค่าของวิสาหกิจ ที่มีการควบคุมแบบประชาธิปไตย(อย่างเช่นสหกรณ์) ในเรื่องการจัดสรรผลประโยชน์แก่ประชาชน (ว่ามีอยู่อย่างไร?)

เหตุผลที่ต้องมีการทบทวนหลักการสหกรณ์ การเติบโตฮึกเหิมของวิสาหกิจทุนนิยม ได้สั่นคลอนความเชื่อมั่นที่มีอยู่ในระบบสหกรณ์อย่างรุนแรง โดยเฉพาะในประเทศแถบแอตแลนติคเหนือ การเผชิญหน้าเช่นนี้ จำเป็นที่จะต้องสร้างความชัดเจนว่า “สหกรณ์” มีคุณค่าและมีเอกลักษณ์อย่างไร ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก การผ่อนคลายของระบบเศรษฐกิจที่ควบคุมจากส่วนกลางทำให้ประเด็นเกี่ยวกับบทบาทของสหกรณ์ได้รับการกล่าวถึงมากขึ้น แต่จะอย่างไร ก็ตาม แม้โอกาสในการกำเนิดสหกรณ์ใหม่ ๆ จะเปิดกว้างรออยู่ แต่ก็จะไม่สามารถมีสหกรณ์เกิดขึ้นได้ หากไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร หรือจะได้รับการสนับสนุนอย่างไร

เหตุผลที่ต้องมีการทบทวนหลักการสหกรณ์ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย กลุ่มลาตินอเมริกาบางส่วน และอาฟริกา ได้ก่อให้เกิดความแตกต่างในโอกาสของการเติบโตของสหกรณ์ แท้จริงแล้วสหกรณ์ชั้นนำในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ได้ให้ภาพที่ชัดเจนและสดใสสำหรับการเคลื่อนตัวของขบวนการสหกรณ์ในอนาคต

เหตุผลที่ต้องมีการทบทวนหลักการสหกรณ์ การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขของบุคคลที่เกิดขึ้นทั่วโลก ได้แก่ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรโลก การเติบโตของสิ่งที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มการกระจุกตัวของผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจที่อยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยเมื่อเทียบกับประชากรโลก ความขัดแย้งในชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม วงจรของความยากจนที่ฝังรากลึกในทุกภูมิภาคของโลก ตลอดจนการกระทบกระทั่งกันในปัญหาระหว่างชนชาติ

บทบาทของสหกรณ์ สหกรณ์ นั้น แม้ว่าโดยตัวเองจะไม่สามารถใช้แก้ไขปัญหาที่กล่าวถึงข้างต้นได้ทั้งหมดแต่ก็สามารถช่วยในหาทางออกบางอย่างได้ สหกรณ์สามารถมีบทบาทในการผลิตอาหารคุณภาพดีจำหน่ายในราคายุติธรรม สามารถแสดงบทบาทในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือแสดงบทบาทในการกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจได้อย่างกว้างขวางและเป็นธรรม สามารถมีบทบาทในชุมชนที่สหกรณ์ตั้งอยู่ สามารถช่วยเหลือผู้คนให้รอดพ้นจากปัญหาความยากจน สามารถผนึกกำลังของผู้คนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายความเชื่อทางศาสนาและการเมือง ให้เข้าเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันได้ นักสหกรณ์ทั้งหลายนำเสนอความต้องการของมวลสมาชิกผ่านทางการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและเต็มไปด้วยสำนึกเหล่านั้น

หลักสหกรณ์สากล 1995 1.การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ Voluntary and Open Membership 2.การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย Democratic Member Control 3.การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก Member Economic Participation 4.การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ Autonomy and Independence 5.การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร Education, Training and Information 6.การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ Co-operation among Co-operatives 7.ความเอื้ออาทรต่อชุมชน Concern for Community

เนื้อหาของหลักการสหกรณ์สากลแต่ละข้อ (1995)

หลักการที่ 1 : การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ หลักการที่ 1 : การเปิดรับสมาชิกทั่วไปและด้วยความสมัครใจ สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจที่เปิดรับบุคคลทั้งหลายที่สามารถใช้บริการของสหกรณ์ และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิก โดยปราศจากการกีดกันทางเพศ สังคม เชื้อชาติ การเมือง หรือศาสนา

หลักการที่ 2 : การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย หลักการที่ 2 : การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่ควบคุมโดย มวลสมาชิก ผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีผู้ที่ได้รับ การเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อ มวลสมาชิก ในสหกรณ์ ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง) สำหรับ สหกรณ์ในระดับอื่นให้ดำเนินไปตามแนวทางประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน

หลักการที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก หลักการที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก สมาชิกสหกรณ์ พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนรวมของสหกรณ์ สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด(ถ้ามี) มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายประการใดประการหนึ่งหรือทั้งหมด จากดังต่อไปนี้ คือ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของทุนนี้ต้องไม่นำมาแบ่งปันกัน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วน ของปริมาณธุรกิจที่ทำกับสหกรณ์ และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ

หลักการที่ 4 : การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ หลักการที่ 4 : การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ สหกรณ์เป็นองค์การที่พึ่งพาและปกครองตนเอง โดยการควบคุมของสมาชิก ในกรณีที่สหกรณ์จำต้องมีข้อตกลงหรือผูกพันกับองค์การอื่น ๆ รวมถึงองค์การของรัฐ หรือต้องแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก สหกรณ์ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขอันเป็นที่มั่นใจได้ว่า มวลสมาชิกจะยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย และยังคงดำรงความเป็นอิสระของสหกรณ์

หลักการที่ 5 : การศึกษา การฝึกอบรม และ ข่าวสาร หลักการที่ 5 : การศึกษา การฝึกอบรม และ ข่าวสาร สหกรณ์พึงให้การให้การศึกษาและการฝึกอบรมแก่ มวลสมาชิก ผู้แทนจากการเลือกตั้ง ผู้จัดการ พนักงาน เพื่อบุคคลเหล่านั้นสามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถให้ข่าวสารแก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เยาวชนและบรรดาผู้นำทางความคิด ในเรื่องคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์ได้

หลักการที่ 6 : การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ หลักการที่ 6 : การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ สหกรณ์สามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้ โดยการประสานความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ

หลักการที่ 7 : ความเอื้ออาทรต่อชุมชน หลักการที่ 7 : ความเอื้ออาทรต่อชุมชน สหกรณ์พึงดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบ

ข้อสรุป หลักการสหกรณ์ นั้น หลักการสหกรณ์ นั้น เป็นเสมือนโลหิตที่หล่อเลี้ยงชีวิตของขบวนการสหกรณ์ เป็นพัฒนาการที่มีมาจากค่านิยมที่ได้ทำให้ขบวนการนี้แผ่ขยายมานับแต่การก่อกำเนิด เป็นส่วนช่วยในการขึ้นรูปโครงสร้าง และให้แนวคิดในการสร้างเป้าหมายของขบวนการที่แจ่มชัด เป็นเสมือนคำแนะนำสำหรับสหกรณ์ทั้งหลายในการพัฒนาองค์การของตน เป็นหลักในการปฏิบัติที่ได้รับการปรุงแต่ง จากประสบการณ์ที่สะสมมาเท่า ๆ กับจากปรัชญาความคิด มีความทันสมัย ยืดหยุ่น และสามารถปรับใช้ได้กับสหกรณ์หลากหลายประเภท ในหลากหลายสถานการณ์

ทั้งหมดนี้ต้องการการพิจารณาของนักสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอีก เช่น ในประเด็นว่าด้วย คุณลักษณะแบบประชาธิปไตยขององค์การ บทบาทของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ และ การจัดสรรส่วนเกินที่เกิดขึ้น เหล่านี้เป็น “คุณภาพ” ที่จำเป็นมาก ที่จะทำให้การสหกรณ์เกิดดอกออกผล และเอกลักษณ์เฉพาะของสหกรณ์ตลอดจนขบวนการสหกรณ์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าขึ้นมา.

การสืบค้นประวัติบุคคล และสหกรณ์รูปต่าง ๆ สามารถสืบค้นได้จากแหล่งทาง internet โดยการใช้ search engine ที่มีอยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอย่างมาก ที่จะได้ทั้งความรู้ทางสหกรณ์ และภาษาอังกฤษ ไปพร้อม ๆ กันด้วย นอกจากนั้นยังสามารถสืบค้นข้อมูลสหกรณ์ของประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบันได้ด้วย อย่าคิดแต่จะหาเอกสารที่เป็นภาษาไทย เพราะท่านจะอยู่แต่ในวงจำกัด หากมีคำแนะนำ หรือ ต้องการคำแนะนำ ติดต่อที่ E-mail : fecongk@ku.ac.th หรือที่ fecongk@yahoo.com ข้อมูลอื่น ๆ อาจสืบค้นได้ที่ http://pirun.ku.ac.th/~fecongk

Thank You