Teaching procedural skill ผศ.นพ. ทรงพล ศรีสุโข ภาควิชาศัลยศาสตร์ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2546
Principles Demonstration Practice Evaluation
ขั้นตอนย่อยในการฝึกปฏิบัติหัตถการ วัตถุประสงค์ของการฝึก ประโยชน์หรือข้อบ่งชี้ของหัตถการ แสดงวิธีและขั้นตอนในการปฏิบัติอย่างละเอียด ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติกับหุ่นจำลอง (anatomical model) หรือในสถานการณ์จำลอง เมื่อได้ให้นักศึกษาฝึกจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว มีการประเมินการปฏิบัติของนักศึกษา ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริงกับผู้ป่วย ประเมินการปฏิบัติจริงของนักศึกษา
Time balance in teaching a skill Explanation (hearing) 10 % Demonstration (seeing) 25 % Practice (doing) 65 %
การเตรียมสำหรับผู้สอน เตรียมตัวเอง - ทบทวนและฝึกปฏิบัติหัตถการทุกขั้นตอนอย่างละเอียด - เชี่ยวชาญและคุ้นเคยเป็นอย่างดีในทักษะที่จะสอน เตรียมอุปกรณ์ในการฝึกสำหรับนักศึกษา - เครื่องมือ - หุ่นจำลองสำหรับฝึก - สื่อการสอน เช่นเอกสาร VDO VCD ฯลฯ
วัตถุประสงค์ของการฝึก เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความสนใจที่จะทำหัตถการนี้ได้ มีความเข้าใจถึงความสำคัญ การนำหัตถการไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ทราบข้อบ่งชี้ของการทำหัตถการ ทราบข้อห้ามของการทำหัตถการ
Demonstration ปฏิบัติการสาธิตอย่างจริงจัง สมจริงทุกอย่างในสถานการณ์จำลอง จัดให้นักศึกษาทุกคนได้เห็นการสาธิตอย่างชัดเจน ขั้นตอนในการสาธิต แบ่งได้เป็น ๒ ครั้ง - ครั้งแรก ทำให้ดูโดยไม่มีการอธิบาย ตั้งแต่ต้นจนจบ (เพื่อให้นักศึกษาจดจำการทำหัตถการที่ถูกต้อง และนำไปประเมินหรือเปรียบเทียบกับตนเองเมื่อต้องทำหัตถการเอง) - ครั้งที่สอง ทำให้ดูโดยมีการอธิบายประกอบระหว่างการสาธิต โดยเฉพาะขั้นตอนที่ยากหรือสำคัญ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถาม
ทบทวนขั้นตอนของหัตถการ ให้นักศึกษาได้บรรยายถึงขั้นตอนของหัตถการ และรายละเอียด ตั้งแต่ขั้นตอนแรก ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย จะทำให้ครูแน่ใจได้ว่านักศึกษาเข้าใจและจำลำดับขั้นตอนของหัตถการได้อย่างถูกต้อง ทำให้ตัวนักศึกษาเอง จดจำลำดับขั้นตอนของหัตถการนี้ได้เมื่อต้องไปฝึกปฏิบัติ
การฝึกปฏิบัติของนักศึกษา เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการสาธิต ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติ โดยมีครูดูแลอย่างใกล้ชิด ให้คำแนะนำ และ feedback โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนที่เป็น critical point ในกรณีที่หัตถการใช้เวลานาน อาจจะแบ่งเป็นส่วนๆ ในการฝึก และเมื่อเข้าใจในการปฏิบัติในแต่ละส่วนแล้ว ให้ฝึกปฏิบัติตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนขั้นตอนสุดท้ายอีกครั้งหนึ่ง ให้นักศึกษามาเป็นผู้สาธิตและอธิบายขั้นตอนต่างๆให้กลุ่ม
บทบาทของครูผู้คุมการฝึกทักษะที่ดี เน้นที่การปฏิบัติ กระตุ้นให้กำลังใจนักศึกษา โดยเฉพาะ positive feedback พยายามและคอยลดความเครียดของนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติ ซักถามและตอบกับนักศึกษา เป็นผู้ช่วยเหลือการเรียนรู้ เพื่อให้นักศึกษาทำหัตถการนั้นได้อย่างมั่นใจ