การมอบนโยบายและบรรยายเรื่องทิศทางประเทศไทยในมิติวัฒนธรรมภายใต้แผนปรองดองแห่งชาติ โดย นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม วันจันทร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕ โรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพ
กระบวนการสร้างความปรองดองแห่งชาติ นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ สร้างความเป็นธรรมในสังคม สร้างความปรองดองสมานฉันท์บนพื้นฐานของความถูกต้องยุติธรรม สร้างสื่อที่มีประสิทธิภาพ ดูแลการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ ตั้งกรรมการอิสระ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและให้ความจริงกับสังคม พัฒนาระบบการเมืองและประชาธิปไตย ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรมกับทุกฝ่าย
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ) นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ)
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๑. การนำกระทรวงวัฒนธรรมสู่ความยิ่งใหญ่ ดำเนินการ ๓ เรื่อง คือ ๑.๑ สร้างความภาคภูมิใจเรื่องวัฒนธรรมในหัวใจโดยมุ่งหวังจะนำดวงใจของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ กระทรวงวัฒนธรรม ๔,๙๐๐ ดวง ให้มีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมชาติ ๑.๒ สร้างความคิดและภาพลักษณ์ที่ทันสมัย (Rebranding) โดยดำเนินการสร้างสัญลักษณ์ด้านวัฒนธรรม เปลี่ยนภาพลักษณ์ด้านการแต่งกายของข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรม และนำต้นทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๑.๓ สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ทำงานด้วยความสุข โดยไม่ให้มีความขัดแย้งในองค์กร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้คำปรึกษาระหว่างกัน
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๒. การสร้างความปรองดองด้วยมิติทางวัฒนธรรม ดำเนินการใน ๓ เรื่อง ๒.๑ ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยให้ข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรมทั้ง ๔,๙๐๐ คน เป็นผู้มีความจงรักภักดีและทำงานถวายสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยใจ ๒.๒ วัฒนธรรมประชาธิปไตย โดยการสร้างมาตรฐานประชาธิปไตยที่ถูกต้อง มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม และมีตัวชี้วัดด้านประชาธิปไตยในแต่ละภูมิภาค
นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ๒.๓ ปฏิรูปประเทศไทยด้วยมิติทางวัฒนธรรม ให้ประชาชนมีความสุขโดยใช้มิติทางวัฒนธรรม มุ่งหวังจะเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่เดินทางได้ทั่วประเทศโดยไม่มีการต่อต้าน
แนวทางการสร้างความปรองดองของส่วนราชการ และหน่วยงานต่างๆ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล โดย นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ฯเสนอตั้ง “คณะกรรมการอิสระเพื่อความปรองดองแห่งชาติ” กระทรวงมหาดไทย กำชับฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่ละพื้นที่ เร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนและมวลชนในพื้นที่ เรื่องการสร้างความปรองดองของคนในชาติ พร้อมทั้งจัดพิธีการถวายสัตย์ปฏิญาณแสดงเจตจำนงค์ร่วมกันสร้างความปรองดองในชาติที่จังหวัดนครราชสีมา(วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓)
แนวทางการสร้างความปรองดองของส่วนราชการ และหน่วยงานต่างๆ ๓. กระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงสภาพที่แท้จริงในประเทศไทย รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลให้มิตรประเทศและองค์กรระหว่างประเทศทราบ ปรากฏว่ามิตรประเทศและองค์กรในประเทศหลายแห่งได้แสดงท่าทีเข้าใจในสถานการณ์ สนับสนุนรัฐบาลไทย ในการดำเนินการเพื่อความปรองดองและความสงบเรียบร้อย โดยยึดหลักกฎหมายและไม่ใช้ความรุนแรง ๔. กระทรวงศึกษาธิการ ระดมสมองอุดมศึกษาร่วมแผนสร้างความปรองดองแห่งชาติ โดยจะระดมสมองจากภาคประชาชน ตั้งสมัชชานักศึกษา ระดมความคิดจากนักเรียน นักศึกษา ระดับอุดมศึกษาจากทั่วประเทศ และนำกลับมาประชุมร่วมกันอีกครั้ง จะใช้เวลาอีกประมาณ ๓ เดือน ตามกรอบเวลา
ดัชนีความสุขของประเทศไทย วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๓ สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ จัดทำดรรชนีความสงบสุขโลก (Global Peace Index : GPI) ๑. นิวซีแลนด์ ๓๘ เวียดนาม ๒. ไอซ์แลนด์ ๖๗ อินโดนิเซีย ๓. ญี่ปุ่น ๑๑๑ กัมพูชา ๒๒. มาเลเซีย ๑๒๔ ประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๒ อยู่ในอันดับที่ ๑๑๘) ๓๐. สิงคโปร์ ๑๓๐ ฟิลิปปินส์ ๓๔. ลาว ๑๓๒ เมียนมาร์