กรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยหลัก ความเป็นมา โครงการพัฒนาธุรกิจโคนม(กิจกรรมส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรายใหม่) โดยขอใช้เงินค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2545 กรมปศุสัตว์ เป็นหน่วยหลัก กรมส่งเสริมสหกรณ์ หน่วยงานสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้ เกษตรกรรายใหม่ยืมเพื่อการลงทุน (กพส.) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ติดตามประเมินผลโครงการ
เป้าหมาย เกษตรกรรายใหม่ 2,000 ราย วงเงิน 600 ล้านบาท (งบกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 45) ให้เกษตรกรรายใหม่ยืมเพื่อการลงทุนรายละ 300,000 บาท ค่าพันธุ์โคนม 5 ตัว ๆ ละ ไม่เกิน 35,000 บาท เป็นเงิน 175,000 บาท ค่าอุปกรณ์และโรงเรือน เป็นเงิน 85,000 บาท เงินทุนสำรองและค่าฝึกอบรม เป็นเงิน 40,000 บาท
โครงการพัฒนาธุรกิจโคนม (กิจกรรมส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรายใหม่) สรุปการประเมินผล โครงการพัฒนาธุรกิจโคนม (กิจกรรมส่งเสริมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรายใหม่)
วัตถุประสงค์การประเมินผล การประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ การติดตามผลการส่งชำระเงินกู้ กพส. สรุปปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานโครงการ และแนวทางการพัฒนาในระยะต่อไป
การประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ให้แก่สหกรณ์ 48 สหกรณ์(49 สัญญา) รวม 1,700 ราย คิดเป็นร้อยละ 85 ของโครงการ จำนวนเงินทั้งสิ้น 531.6 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.66 ของโครงการ ณ มกราคม 2551 สมาชิกคงเหลือ 1,249 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.47 สมาชิกเลิกเลี้ยง 451 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.53 แยกเป็น - ภาคเหนือ 66 ราย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 101 ราย - ภาคตะวันตกและใต้ 122 ราย - ภาคกลางและภาคตะวันออก 162 ราย รวมเลิกเลี้ยง 451 ราย
สาเหตุการเลิกเลี้ยง ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ได้แก่ อาหาร ค่าขนส่ง ราคาน้ำนมดิบคงเดิมไม่ได้ปรับราคาตามสภาวะเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรรายเล็กที่มีแม่โครีดนมน้อย รายได้ไม่พอคุ้มทุน
การติดตามผลการส่งชำระเงินกู้ กพส. จำนวน 48 สหกรณ์ (49 สัญญา) เป็นเงิน 531.6 ล้านบาท ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 สหกรณ์มีต้นเงินพึงชำระ 97,680,000 บาท มี ส.ชำระต้นเงินรวม 115,277,655.91 บาท มี ส.บางแห่งชำระล่วงหน้ารวม 17,281,643.31 บาท คิดเป็นร้อยละ 17 ของต้นเงินพึงชำระ มี ส.บางแห่งมีหนี้ค้างชำระรวม 2,264,085.99 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.32 ของต้นเงินพึงชำระ
สรุปปัญหา ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ได้แก่ อาหาร ค่าขนส่ง ราคาน้ำนมดิบคงเดิมไม่ได้ปรับราคาตามสภาวะเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรรายเล็กที่มีแม่โครีดนมน้อย รายได้ไม่พอคุ้มทุน
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา สมาชิกจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ลดต้นทุนการผลิตโดยใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพและมีอยู่ในท้องถิ่น การวางแผนธุรกิจสหกรณ์จะต้องให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ศึกษากลไกตลาดให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจของสหกรณ์ สหกรณ์อาจดำเนินการตลาดเอง จัดหาตัวแทนจำหน่ายหรือร่วมทุนกับเอกชน หรือสร้างเครือข่าย