ลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี ละลายได้ดีในน้ำ บอแรกซ์ มีชื่อทางเคมีว่า โซเดียมบอเรต (Na2B4O7.10H2O) ลักษณะเป็นผลึก ไม่มีสี ละลายได้ดีในน้ำ ชื่อเรียกกันทั่วไป น้ำประสานทอง เพ่งแซ ผงกรอบ
ใช้ในอุตสาหกรรม กระดาษ ภาชนะเคลือบ เครื่องแก้ว เครื่องสำอาง ลูกเหม็น
คุณสมบัติ ในการทำให้เกิดลักษณะกรอบ หยุ่น จึงทำให้มีผู้ผลิตอาหารบางคน นำบอแรกซ์ไปผสมในอาหารชนิดต่างๆ เช่น ทับทิมกรอบ ลูกชิ้น หมูยอ ไส้กรอก ผลไม้ดอง ฯลฯ เพื่อให้อาหารนั้นมีลักษณะกรอบ น่ารับประทาน
เมื่อผู้บริโภครับประทานอาหาร ที่มีส่วนผสมของบอแรกซ์เข้าไป สะสมในร่างกายจนถึงปริมาณหนึ่ง เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดลง
ผู้ใหญ่ รับเข้าไป 15 กรัม ตายได้ อันตราย เป็นพิษต่อเซลล์ เพราะสามารถรวมตัวกับ สารชีวโมเลกุล โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต ไกลโคโปรตีน ไกลโคลิปิด ซึ่งอยู่บนผิวเซลล์ ทั่วไปได้ มักสะสมในเนื้อเยื่อของกรวยไต และทำให้เกิดไตอักเสบได้ เด็ก รับเข้าไป 5 กรัม ผู้ใหญ่ รับเข้าไป 15 กรัม ตายได้
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) กำหนดให้บอแรกซ์เป็นสารที่ห้ามใช้ในอาหาร พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 กำหนดให้บอแรกซ์เป็นสินค้าควบคุมฉลาก ต้องมีข้อความ “บอแรกซ์อันตรายห้ามใช้ในอาหาร”
จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้ ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ชุดทดสอบบอแรกซ์ จำนวนตัวอย่างที่ตรวจได้ 50 ตัวอย่าง ระดับต่ำสุดที่ตรวจได้ 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
หั่นตัวอย่างเป็นชิ้นเล็ก ๆ วิธีการทดสอบ หั่นตัวอย่างเป็นชิ้นเล็ก ๆ
ตักตัวอย่าง 1 ช้อนใส่ในถ้วยยา
เติมน้ำยาบอแรกซ์ 1 จนชุ่ม กวนให้เข้ากัน
จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียก
วางกระดาษขมิ้นบนแผ่นกระจกหรือจานกระเบื้อง ตากแดดนาน 10 นาที อ่านผล ไม่พบ พบ
น้ำยาทดสอบบอแรกซ์ 1 มีสภาพเป็นกรด ข้อควรระวัง น้ำยาทดสอบบอแรกซ์ 1 มีสภาพเป็นกรด หากหกเปื้อนมือหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย ให้ล้างด้วยน้ำและฟอกสบู่ให้สะอาด อย่าวางชุดทดสอบไว้ไกล้มือเด็ก
การเก็บรักษาชุดทดสอบ เก็บที่อุณหภูมิห้อง อายุการใช้งาน 2 ปี