ประเภทของข้อสอบ อาจารย์ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โดย พัชรี ยันตรีสิงห์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป.นครปฐม เขต 2
Advertisements

กระบวนการสร้างแบบทดสอบ
วิชาหัวข้อเรื่องที่ทันสมัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 6 มกราคม 2555
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
สื่อการสอนโดยใช้โปรแกรม Power Point
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
ER 2104 หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3(3-0)
กระบวนการสร้างแบบทดสอบ อาจารย์พิมพ์ทอง สังสุทธิพงศ์
โดย ดร.วรินทร์ สุวรรณวิสูตร อาจารย์ผู้ประสานงานวิชาโครงการ
ลักษณะของหลักสูตร หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาเป็นหลักสำคัญ
รศ. ดร. สมศักดิ์ คงเที่ยง
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
กรอบแนวคิด ในการทำวิจัย
การวิเคราะห์ข้อสอบ อาจารย์ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
การสังเกต อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อสอบ อาจารย์ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การทดลองและการเขียนรายงานผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์
ระดับขั้นจุดประสงค์การเรียนรู้ของ Bloom
หลักการพัฒนา หลักสูตร
การวางแผนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
การวางแผนและการดำเนินงาน
ระบบข้อสอบออนไลน์.
Management Information Systems
การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
การสอบถาม อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
บทที่ 6 สถิติที่ใช้ในการ วัดผลการศึกษา. การวิเคราะห์ข้อสอบ ก่อนนำไปใช้  จุดมุ่งหมาย เพื่อนำผลการวิเคราะห์ ไปเป็นข้อมูลในการ ปรับปรุงแก้ไขข้อสอบ ก่อนที่จะนำข้อสอบไปใช้
การเสริมประสิทธิภาพการวัด และประเมินผลในชั้นเรียน
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนรายงานการใช้เอกสารประกอบการสอน
การวิเคราะห์ข้อสอบ Item analysis.
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
การเขียนรายงานการวิจัย
1 การอ่านตำรา การอ่านตำรา.
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
การสร้างข้อสอบ ตามแนวการวัดใน PISA
หน่วยที่ 1 ความหมายและความสำคัญของเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอัตนัยตามแนวทางการทดสอบระดับนานาชาติ (PISA)
การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
หลักสูตรพัฒนาความสามารถในการสร้างเครื่องมือ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หน่วยที่ 5 การสร้างเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ขั้นตอนและหลักการวิเคราะห์
การเขียนแบบเสนอหัวข้อโครงงาน
บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาสอบไม่ผ่านเกณฑ์คะแนน 60% ในรายวิชาหลักการตลาด โดยใช้วิธีการสอน ( เพื่อนช่วยเพื่อน) ของนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1/3.
การเขียนรายงาน.
การประเมินนวัตกรรม Dr.Kulthida Nugultham.
การแบ่งหนังสือออกตามลักษณะการจัดทำและความเหมาะสมของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม
การประเมินตามสภาพจริง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี กระโหมวงศ์
เทคนิคการรวบรวมข้อมูล
การเขียนรายงานเพื่อนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์
หลักการเขียนโปรแกรม ( )
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
โรงเรียนสายธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย จิติวัฒน์ สืบเสนาะ วิทยาลัยเทคโนโลยีระยองบริหารธุรกิจ
แบบทดสอบ คือ... ชุดของข้อคำถามที่สร้าง ขึ้นเพื่อใช้วัดความรู้ สติปัญญา ความถนัด และ บุคลิกภาพของบุคคล โดย บุคคลนั้นจะตอบสนองโดย การแสดงพฤติกรรมใน รูปแบบต่างๆ.
แบบทดสอบก่อนเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ คะแนนเต็ม 10 คะแนน.
การนำเสนอผลงานวิจัย ประเภท : วิจัยการเรียนการสอน (ชั้นเรียน)
อบรมปฏิบัติการ จัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
นางสาวพิชญาภา อิ่มประไพ วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ (MBAC)
บทที่ 5 การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ประเภทของข้อสอบ อาจารย์ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์ สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คุณสมบัติของผู้เขียนข้อสอบที่ดี รู้จักลักษณะของข้อสอบที่ดี รู้จักวิธีเขียนคำถาม รู้จักชนิดของคำถาม รู้จักรูปแบบของคำถาม พยายามหัดเขียน หัดวิจารณ์ วิเคราะห์ และปรับปรุง

ลักษณะทั่วไปของข้อสอบที่ดี 1. มีความตรงตามเนื้อหา 2. มีความเที่ยง คงเส้นคงวา 3. มีความเป็นปรนัย 4. มีความยากง่ายพอเหมาะ 5. มีอำนาจจำแนก 6. มีความยุติธรรม 7. มีความจำเพาะเจาะจง 8. มีความพอดีในด้านเวลา 9. มีความเหมาะสมกับผู้สอบ

ขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบที่ครูสร้าง (Teacher-made Test) 1. ศึกษาจุดมุ่งหมายของรายวิชา เนื้อหาที่จะวัด 2. สร้างตารางการสร้างข้อสอบ (Test Blueprint) 3. กำหนดรูปแบบข้อสอบ จำนวนข้อสอบ และคะแนน 4. ลงมือสร้างข้อสอบตามเนื้อหาและพฤติกรรมที่จะวัดตามที่ระบุในข้อ 2. 5. ตรวจทาน แก้ไขปรับปรุงพร้อมทำเฉลย 6. รวบรวมข้อสอบเข้าเป็นฉบับ พร้อมทั้งเขียนคำชี้แจง เวลา คะแนนในแต่ละข้อ และออกแบบกระดาษคำถามและกระดาษคำตอบ 7. ดำเนินการพิมพ์ และจัดเตรียมแบบทดสอบ 8. ดำเนินการสอบและตรวจให้คะแนน 9. วิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบหลังสอบทั้งรายข้อ และทั้งฉบับ 10. นำมาแก้ไขปรับปรุง และเก็บไว้ในคลังข้อสอบ

ตารางการสร้างข้อสอบ (Test Blueprint) วิชา หลักภาษา จำนวนข้อสอบ พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย อันดับ ความ เนื้อหา 1.00 2.00 3.00 4.00 5.00 6.00 รวม สำคัญ 1. ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย 12 - - 4 - - 16 3 2. ประวัติอักษรไทย 6 - 1 3 - - 10 6 3. ลักษณะสำคัญของภาษาไทย 6 - - 6 - - 12 5 4. คำและความหมายของคำ 13 2 4 9 - - 28 1 5. หน้าที่ของคำเมื่อเข้าประโยค 3 6 5 5 - - 19 2 6. แบบแผนคำประพันธ์ประเภทกาพย์ 6 - 3 6 - - 15 4 รวม 46 8 13 33 - - 100 - อันดับความสำคัญ 1 4 3 2 - - - -

ประเภทของข้อสอบอัตนัย 1. แบบตอบสั้น (Short Answer) 2. แบบจำกัดคำตอบ (Restricted Response) 3. แบบขยายคำตอบ (Extended Response)

ข้อดีของข้อสอบอัตนัย เหมาะสมที่จะวัดความคิดขั้นสูง สร้างง่าย และรวดเร็ว ส่งเสริมทักษะการเขียน ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ วัดความสามารถ ในการบูรณาการความรู้ ให้เสรีภาพแก่ผู้ตอบ เดาไม่ได้ ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการทุจริตในการสอบ ข้อจำกัดของข้อสอบอัตนัย ถามได้ไม่คลุมเนื้อหา สุ่มเนื้อหาที่จะวัดได้จำกัด ถามได้น้อยข้อ มีความไม่ยุติธรรมในการตรวจ เสียเวลาในการตรวจ

ควรใช้ข้อสอบอัตนัยเมื่อไหร่จึงจะได้ผลดี จำนวนผู้เข้าสอบพอเหมาะ และไม่นำข้อสอบมาใช้อีก ผู้สอนต้องการพัฒนาทักษะด้านการเขียนของผู้เรียน ผู้สอนให้ความสำคัญกับทัศนคติ แนวคิด ข้อคิดเห็น และคำอธิบายของผู้เรียน ผู้สอนมีความมั่นใจในความสามารถของตนในการอ่าน และตรวจข้อสอบอย่างเป็นธรรม ผู้สอนมีเวลาเตรียมและออกข้อสอบไม่มากนัก

ข้อเสนอแนะในการเขียนข้อสอบอัตนัย ควรใช้วัดความคิดระดับสูง ควรกำหนดขอบเขตของปัญหา / สถานการณ์ ควรเป็นปัญหา / สถานการณ์ใหม่ และเป็นจริง ควรเขียนคำแนะนำในการตอบให้ชัดเจน ควรให้ทำทุกข้อ ไม่ควรให้เลือกตอบบางข้อ ควรเขียนคำเฉลยพร้อมกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละข้อ

ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 3.00 การนำไปใช้ - ให้วางแผนแก้ปัญหา , โจทย์แก้ปัญหา - ให้ประยุกต์หลักการ หรือทฤษฎีกับสถานการณ์ - ให้ยกตัวอย่าง หรือแสดงตัวอย่าง - ให้จัดรวบรวมความคิดใหม่ให้สมบูรณ์ - ให้พิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดและระบุเหตุผล

ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 4.00 การวิเคราะห์ - ให้เปรียบเทียบหรือระบุความแตกต่าง - ให้แสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล - ให้เหตุผลต่อเหตุการณ์ที่เป็นการตัดสินอย่างใดอย่างหนึ่ง - ให้ระบุสาเหตุที่สำคัญของเรื่อง - ให้บรรยายความผิดพลาดของงาน

- ให้เขียนเรียงความ เขียนโคลง - ให้ออกแบบโครงงาน โครงการ ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 5.00 การสังเคราะห์ - ให้เขียนเรียงความ เขียนโคลง - ให้ออกแบบโครงงาน โครงการ - ให้วางแผนการทดลอง - ให้สร้างข้อสอบ - ให้อภิปรายประเด็นใดประเด็นหนึ่ง - ให้ตั้งประเด็นใหม่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 6.00 การประเมินผล - ให้ตัดสินคุณค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเทียบกับเกณฑ์ - ให้ตรวจสอบความบกพร่องของกระบวนการ - ให้วิจารณ์ความถูกต้อง ความเหมาะสมของข้อมูล หรือสถานการณ์ - ให้ประเมินคุณค่าของผลงาน

ข้อเสนอแนะในการตรวจข้อสอบอัตนัย 1. ควรเฉลยคำตอบ พร้อมเกณฑ์การให้คะแนนไว้ก่อน 2. ควรอ่านคำตอบทุกคนคร่าว ๆ ก่อน อย่างน้อยหนึ่งรอบ 3. ปรับคำเฉลย และเกณฑ์การให้คะแนนให้รับกับคำตอบ 4. การตรวจคำตอบ - Rubric Scoring เป็นเกณฑ์การให้คะแนนที่มีคำอธิบายพฤติกรรม ในแต่ละระดับของผลสัมฤทธิ์ มี 2 ลักษณะ คือ 1) Holistic Scoring คือ การให้คะแนนในภาพรวม 2) Analytic Scoring คือ การให้คะแนนตามองค์ประกอบย่อย Benchmarks เป็นตัวอย่างคำตอบที่ใช้เสริม Rubric Scoring เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า ตอบอย่างไรจะได้คะแนนเท่าไร 5. ควรตรวจคำตอบทีละข้อไปจนครบทุกคน 6. เมื่อจะตรวจข้อต่อไป ควรสลับกระดาษคำตอบ 7. ควรมีการตรวจทานคะแนนอีกครั้ง โดยเฉพาะคนต้น ๆ และ คนท้าย ๆ 8. บันทึกข้อผิดพลาดของผู้ตอบ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุง การสอนต่อไป

การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบอัตนัย 1. คำถามตรงตามระดับพฤติกรรมที่ต้องการวัด 2. คำถามผู้ตอบต้องใช้ความคิด ไม่ใช่สิ่งที่บอกหรือ อภิปราย ในชั้น หรือในตำรา 3. คำถามชัดเจนมีรายละเอียด และเงื่อนไขพอเพียง 4. เป็นคำถามที่มีคำตอบถูกต้องสมเหตุสมผล 5. บอกคะแนนเต็มของแต่ละข้อ 6. มีคำเฉลย / แนวคำตอบ พร้อมระบุเกณฑ์การให้ คะแนน

ตัวอย่าง 1 คะแนน วิธีการ การทำให้อิ่มตัว การพิจารณาผล การชั่ง ผล กำหนดให้นักเรียนศึกษาว่ากระดาษทิชชู 3 ยี่ห้อ ยี่ห้อไหนจะซับน้ำได้ดีที่สุด โดยให้อุปกรณ์การทดลองประกอบด้วย หลอดแก้ว ถาด หลอดหยด และตาชั่ง เกณฑ์การให้คะแนนจะพิจารณา วิธีการ การทำให้อิ่มตัว การพิจารณาผล การชั่ง และการสรุปผล คะแนน วิธีการ การทำให้อิ่มตัว การพิจารณาผล การชั่ง ผล 4 ถูก ถูก ถูก ถูก ถูก 3 ถูก ถูก ถูก ผิด ถูก/ผิด 2 ถูก ถูก คลาดเคลื่อน ผิด ถูก/ผิด 1 ถูก ผิด คลาดเคลื่อน ผิด ถูก/ผิด 0 ไม่ได้ปฏิบัติเลย/ปฏิบัติผิดหมด

ตัวอย่าง 2 เกณฑ์การให้คะแนน กระดาษขนาด 8 x 12 นิ้ว ต้องการทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมไม่มีฝา โดยตัด มุมทั้ง 4 ออกให้เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่มีด้านเป็นจำนวนเต็มของนิ้ว ควรจะ ตัดออกด้านละกี่นิ้ว โดยให้กล่องมีปริมาตรมากที่สุด เกณฑ์การให้คะแนน 4 - คำตอบถูก แสดงเหตุผลถูกต้อง แนวคิดชัดเจน 3 - คำตอบถูก เหตุผลถูกต้อง อาจมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย 2 - เหตุผลหรือการคำนวณผิดพลาด แต่มีแนวทางที่จะนำไปสู่คำตอบ 1 - แสดงวิธีคิดเล็กน้อยแต่ยังไม่ได้คำตอบ 0 - ไม่ตอบหรือตอบไม่ถูกเลย

ข้อสอบแบบถูก-ผิด คำชี้แจง จงอ่านแต่ละประโยคต่อไปนี้ ถ้าประโยคใดถูกให้ทำเครื่องหมายถูก (/) ถ้าประโยคใดผิด ให้ทำเครื่องหมายผิด (X) หน้าข้อความนั้น ……… 1. ในสภาวะสงครามคนเกิดน้อยแต่คนตายมีมาก ……… 2. การวางแผนครอบครัวขัดกับหลักธรรมทางพุทธศาสนา

ข้อสอบแบบจับคู่ คำชี้แจง ให้นักเรียนนำอักษรหน้าข้อความหลักหลังที่มีความสัมพันธ์กัน มาใส่ไว้ในช่องว่างหน้าข้อความของหลักแรก ……… 1. นาม ก. ใน ……… 2. สรรพนาม ข. แต่ ……… 3. กริยา ค. สนุก ……… 4. วิเศษณ์ ง. เขา ……… 5. บุบพบท จ. ฮ้า ฉ. เขียน ช. มะลิ ซ. ใหญ่

ข้อสอบแบบเลือกตอบ คำชี้แจง ข้อสอบต่อไปนี้เป็นแบบเลือกตอบชนิด 5 ตัวเลือก มีจำนวน 7 ข้อ ให้นักเรียนเลือกตัวเลือกที่ถูกที่สุดเพียงตัวเลือกเดียว เราเรียกกระบวนการที่น้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ ผสมกัน เป็นแป้งและน้ำตาล ด้วยพลังงานแสงสว่างและคลอโรฟิล ว่าอะไร ก. ปฏิกิริยาเคมี ข. ปฏิกิริยาแสง ค. สังเคราะห์แสง ง. วิเคราะห์แสง จ. การปรุงแสง

ข้อสอบแบบเลือกตอบ 2) เมื่อแช่เทอร์มอมิเตอร์ไว้ในกาต้มน้ำนั้น เราจะเห็นระดับปรอท สูงขึ้นเรื่อยๆ จนหยุดนิ่งอยู่ที่ระดับหนึ่ง ตลอดเวลาที่น้ำยังเดือดอยู่ การที่ปรอทหยุดนิ่งนี้ แสดงว่าอะไร ก. น้ำหยุดดูดความร้อน ข. การระเหยต้องการความร้อน ค. ความร้อนถูกนำไปใช้ในการพา ง. เมื่อไอน้ำรวมตัวจะคายความร้อน จ. การเปลี่ยนแปลงของระดับปรอทต้องการความร้อน

ข้อสอบแบบเลือกตอบ 3) จันทรุปราคา จะปรากฎอยู่นาน และเห็นเป็นอาณาเขตกว้างกว่า สุริยุปราคา เพราะเหตุใด ก. ดวงจันทร์โคจรช้ากว่า ข. เงาของโลกใหญ่กว่าเงาของดวงจันทร์ ค. เราเห็นดวงจันทร์โตเท่าๆ กับดวงอาทิตย์ ง. ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก อาจอยู่เยื้องๆ กันได้ จ. แสงจากดวงจันทร์ถูกบัง ไม่ใช่จากแสงดวงอาทิตย์ถูกบัง

ข้อสอบแบบเลือกตอบ 4) ข้อความต่อไปนี้ กล่าวถึงอะไร " ความรู้ของมนุษย์เกิดได้หลายทาง ปัจจุบันนิยมหาความรู้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันได้แก่ วิธีทดลอง และวิธีทางสถิติ" ก. ความรู้ ข. มนุษย์ ค. กาลเวลา ง. วิธีทางสถิติ จ. วิธีทดลอง

ข้อสอบแบบเลือกตอบ 5) ในการทดลองหาสมบัติของก๊าซ X และก๊าซ Y ปรากฏว่า ถ้าปล่อยก๊าซที่แห้งทั้งสองชนิดนี้ เข้าในคนโทแก้ว ก็จะทำปฏิกิริยาเคมีผสมกันทันที แต่ถ้าเผาคนโทนั้นให้ร้อนจัดก่อนการทดลอง แล้วปล่อยก๊าซทั้งสองนี้เข้าไปใหม่เมื่อคนโทเย็น คราวนี้จะไม่ทำปฏิกิริยาเคมีกันเลย และโดย ทำนองเดียวกัน ถ้าใช้ภาชนะทองแดงแทนคนโทแก้ว ก๊าซนี้ก็ไม่ทำปฏิกิริยากันอีก หากตั้ง สมมุติฐานว่า "น้ำเป็นตัวประกอบที่สำคัญในปฏิกิริยาเคมี" จะทดสอบสมมุติฐานนี้อย่างไร ก. เป่าคนโทแก้วให้แห้งโดยไม่ต้องเผาแล้วปล่อยก๊าซเข้าไป ข. ปล่อยก๊าซเข้าในคนโทแก้วโดยไม่ต้องปิดจุก ค. ปล่อยก๊าซทั้งสองเข้าไปในภาชนะทองแดงที่ชื้น ง. เผาคนโทแก้วให้ร้อนจัด แล้วเปิดจุกทิ้งไว้ให้เย็นหลายๆวัน จึงค่อยปล่อยก๊าซ เข้าไปในคนโท จ. วิธีทดลองทั้งหมดยังไม่รัดกุม

ข้อสอบแบบเลือกตอบ 6) จากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ พิเภกเป็นบุคคลประเภทใด ก. วางแผนการสงคราม ข. เป็นขบถต่อทศกรรฐ์ ค. ให้ประโยชน์แก่พระราม ง. ใช้วิชาหมอดูในทางที่ผิด จ. ต้องการเป็นใหญ่ในลงกา 7) วิชาสถิติดีกว่าวิชาหมอดูตรงไหน ก. สถิติทายได้แม่นยำกว่า ข. สถิติทายได้กว้างขวางกว่า ค. สถิติมีวิธีการเป็นวิทยาศาสตร์กว่า ง. สถิติบอกเหตุผลของปรากฏการณ์ได้ดีกว่า จ. สถิติบอกขอบเขตความคลาดเคลื่อนได้แน่นอนกว่า