นโยบายคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) DLD นโยบายคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) กับการผลิตไก่ไข่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หัวข้อการสัมมนาเชิงวิชาการ ”คุณค่าในไข่ไก่ และการบริโภคอย่างไร ให้ปลอดภัยจากคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง” วันอังคารที่ 19 เมษายน 2548 เวลา 8.00 น.-13.00 น. หัวข้ออภิปรายของ อปส. “บริโภคไข่ไก่อย่างมั่นใจ เพราะผลิตจากฟาร์มมาตรฐาน” ข้อมูลนำเสนอแบ่งหัวข้อบรรยายเป็น 5 เรื่อง 1. คุณประโยชน์ของไข่ไก่ 2. ภาพการผลิตและการบริโภคของไทยเปรียบเทียบกับการประเทศที่สำคัญของโลก เพื่อบงชี้ภาวะการบริโภคไข่ไก่ต่ำค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนา แล้วและประเทศเพื่อบ้านด้วยกัน เพื่อกระตุ้นการบริโภค 3. ศักยภาพการผลิตและวงจรการผลิตไข่ไก่ของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพการผลิตและการเชื่อมโยงของสายพานการผลิตและแนวทางดำเนินการ จัดระบบการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิตในแต่ละขั้นตอน 4. สภาพการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานฟาร์ม 5. มาตรการแนวทางการพัฒนาการเลี้ยงไข่ไก่ และกระตุ้นการบริโภค เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค และความมั่นคงในอาชีพ นายศิริวัฒน์ อินทรมงคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ 10 มิถุนายน 2553
โครงสร้างการผลิตไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ DLD โครงสร้างการผลิตไข่ไก่และผลิตภัณฑ์ ปริมาณไก่ไข่แม่พันธุ์ P.S. 405,721 ตัว นำเข้าพันธุ์ไก่ไข่ G.P. - ตัว แม่ไก่ไข่ LAYER ยืนกรง 37 ล้านตัว บริโภค 99% 10,062 ล้านฟอง บริโภค 91% 10,458 ล้านฟอง ไข่ไก่สด 100% 10,808 ล้านฟอง ส่งออก 3% 350 ล้านฟอง 3. ศักยภาพการผลิตและวงจรการผลิตไข่ไก่ของประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพการผลิตและการเชื่อมโยงของสายพานการผลิตเพื่อเป็นแนวทางดำเนิน การจัดระบบการผลิต และควบคุมคุณภาพการผลิตในแต่ละขั้นตอนการผลิตเริ่มตั้งแต่ ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยกรมปศุสัตว์ได้กำหนดให้มีมาตรฐานต่างๆเพื่อเป็นเครื่องมือ ในการตรวจรับรองการผลิตไก่พันธุ์ถึงไข่ไก่ และเพื่อเป็นเกณฑ์กำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้ ประกอบและผู้เลี้ยงใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดการฟาร์มโรงเรือน เครื่องมือและอุปกรณ์ และการจัดการตัวสัตว์เกี่ยวกับการให้อาหาร การใช้เวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ในสัตว์ที่ เหมาะสม การควบคุม และป้องกันโรค รวมทั้งการขนส่ง การจัดการสิ่งแวดล้อม ให้ถูก สุขลักษณะ เป้าหมายสุดท้าย เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค มาตรฐานที่ใช้ในการควบคุม การผลิตไก่ไข่มีดังนี้ 3.1 มาตรฐานฟาร์มไก่พันธุ์ ใช้ควบคุมการเลี้ยงไก่พันธุ์(ปู่-ย่าพันธุ์ พ่อ-แม่พันธุ์ นำเข้า) 3.2 มาตรฐานสถานที่ฟักไข่ หรือโรงฟักไข่ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ปฏิบัติ และการตรวจรับรอง 3.3 มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ เพื่อควบคุมการเลี้ยงไข่ไก่ให้มีคุณภาพดี แปรรูป (ไข่เหลว) อุตสาหกรรมต่อเนื่อง แปรรูปขั้นปลาย (ไข่ขาวผง,ไข่แดงผง)
การผลิตไข่ไก่ไทยเทียบกับประเทศผู้นำการผลิตที่สำคัญของโลก DLD 2. ภาพการผลิตและการบริโภคของไทยเปรียบเทียบกับการประเทศผู้นำการผลิตที่สำคัญ ของโลกเพื่อบงชี้ภาวะการผลิตการบริโภคไข่ไก่ต่ำค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเพื่อบ้านด้วยกันเพื่อกระตุ้นการบริโภคให้เพิ่มขึ้น 2.1 ประเทศผู้นำการผลิตไข่ไก่ที่สำคัญของโลก ได้แก่ สาธารณรัฐมีปริมาณผลผลิตไข่ไก่มากที่สุดของโลก จำนวน 402,000 ล้านฟอง คิดเป็นร้อยละ 47 รองลงมาสหรัฐฯจำนวน 89,183 ล้านฟอง และ สหภาพยุโรป จำนวน 89,183 ล้านฟอง คิดเป็นร้อยละ 11 ส่วนประเทศญี่ปุ่น อินเดีย และเม็กซิกโก จำนวน 40,000 ล้านฟอง คิดเป็นร้อยละ 5 และประเทศรัสเซีย จำนวน 34,000 ล้านฟอง คิดเป็นร้อยละ 4 ของปริมาณการผลิตโลกตามลำดับ 2.2 การผลิต ประเทศไทยมีผลผลิตไข่ไก่ประมาณ 9,625 ล้านฟอง คิดเป็นร้อยละ 1 ของการผลิตโลก และส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศเกือบทั้งหมด การส่งออกมีเพียงเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 1 ของผลผลิต
แหล่งผลิตไก่ไข่ที่สำคัญของไทย ไก่ไข่ (ตัว) เกษตรกร(ราย) สัดส่วนการผลิต ภาคเหนือ 4,108,519 4,499 8.91 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7,910,657 9,559 17.15 ภาคกลาง 29,891,979 7,351 64.81 ภาคใต้ 4,211,249 5,575 9.13 รวมทั้งหมด 46,122,404 26,984 100
สถานการณ์การผลิตและการบริโภคไข่ไก่ในประเทศไทย DLD สถานการณ์การผลิตและการบริโภคไข่ไก่ในประเทศไทย ปริมาณการผลิต และการบริโภคไข่ไก่ของประเทศไทย ในช่วง 7 ปี ที่ผ่านมา ( 2542-2548) ปริมาณการผลิตไข่ไก่ของประเทศไทยเพิ่มจาก จำนวน 7,943 ล้านฟอง ในปี 2542 เพิ่มเป็นจำนวน 9,635 ล้านฟอง ในปี 2548 ปริมาณ ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 ขณะที่ปริมาณการบริโภคมีอัตราการบริโภคเพิ่มจาก 128 ฟอง/คน/ปี เป็น 145 ฟอง/คน/ปี อัตราการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 13 แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพการผลิตไข่ไก่ขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่การบริโภคเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย จึงต้องเพิ่มปริมาณการบริโภคไข่ไก่ของคนไทย ข้อมูล : กรมปศุสัตว์ 2542-2553
การบริหารจัดการไก่ไข่ทั้งระบบ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ 19 คน ภาครัฐ 11 คน ผู้แทน ผู้ประกอบการ 2 คน ผู้แทน องค์กรผู้เลี้ยง2คน ทรงคุณวุฒิ 4 คน คณะกรรมการที่ปรึกษา
ปริมาณไก่ไข่และประชากรผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นโยบายพัฒนาการผลิตไก่ไข่ ภูมิหลัง การผลิตของบริษัทผู้นำเข้าพันธุ์ไก่ไข่ในอดีต ความต้องการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS)เพศเมียในอดีต ที่มาของนโยบายการบริหารจัดการไก่ไข่ทั้งระบบ มาตรการด้านการผลิตและตลาดไก่ไข่ องค์กรบริหารจัดการไก่ไข่
นโยบายคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์กับการผลิตไก่ไข่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามสภาพแวดล้อม 1. สร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 2. พึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพางบประมาณภาครัฐ 3. สร้างหลักประกันความเสี่ยง ตามแผนยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ปี 2551-2555
ยุทธศาสตร์ไก่ไข่ 2551-2555 เป้าหมายภายในปี 2555 ๏ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มการบริโภคและขยายตลาดส่งออกไข่ไก่ เป้าหมายภายในปี 2555 1. เพิ่มอัตราการบริโภคเป็น 200 ฟอง/คน/ปี 2. เพิ่มการส่งออกไข่ไก่สด และขยายตลาดไข่ไก่แปรรูป เป้าหมายส่งออกไข่ไก่สด 500 ล้านฟอง และส่งออกไข่ไก่แปรรูป 1,000 ตัน
ยุทธศาสตร์ไก่ไข่ 2551-2555 (ต่อ) ๏ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ 1. มีองค์กรภาคเอกชนดูแลอุตสาหกรรมไข่ไก่ทั้งระบบ 2. สร้างกองทุน (สมาคมพัฒนาธุรกิจไก่ไข่) ประกันความเสี่ยงพัฒนาไก่ไข่ทั้งระบบ 100 ล้านบาท 3. ให้ระเบียบหรือกฎหมายที่มีอยู่กำกับดูแลการเลี้ยงไก่ไข่ทั้งระบบ 4. ให้มีการบริหารจัดการด้านการผลิตให้สอดคล้องกับการบริโภค 5. ผลักดันผู้ประกอบการลงทุนอุตสาหกรรมการแปรรูปไข่ไก่เพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์ไก่ไข่ 2551-2555 (ต่อ) ๏ ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคด้วยมาตรฐานการผลิตและมาตรฐานสินค้าไข่ไก่ เป้าหมายภายในปี 2555 1. ควบคุมคุณภาพการผลิต ให้มีฟาร์มมาตรฐานเพิ่มขึ้นเป็น 4,000 ฟาร์ม 2. ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ตรวจสอบสารตกค้าง ตรวจสอบรับรองคุณภาพอาหารสัตว์ และ ตรวจสอบเวชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในสัตว์ 3. การเฝ้าระวังและป้องกันให้มีความปลอดภัยโรคสัตว์ (ควบคุมโรคติดต่อ) 4. ให้มีการตรวจรับรองคุณภาพไข่ไก่เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค 5. วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่เพื่อเพิ่มความหลากหลายของชนิดสินค้าบริโภค