เศรษฐกิจพอเพียงกับบริการสุขภาพ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ชี้แจงการสัมมนากลุ่มย่อย
Advertisements

การสังเคราะห์ประสบการณ์ กระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ
ยุ ทธศาสตร์ การพัฒนาสุขภาพ เศรษฐกิจพอเพียง กับ.
วิสัยทัศน์จังหวัดพะเยา “เมืองเกษตรปลอดภัย การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”
กุลภัทรา สิโรดม 20 กรกฎาคม 2554
เศรษฐกิจพอเพียง.
แนวคิด ในการดำเนินงาน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง

กรอบความคิดในการกำหนดยุทธศาสตร์ และแผนงาน ปีงบประมาณ 2550
การพัฒนาสังคม Social Development 5 : 16 ธ.ค. 54.
แผนปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
โครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2550
การนำ หลักการ เศรษฐกิจพอเพียง มาใช้แก้ไขปัญหาการเมืองไทย
เป้าหมายการให้บริการและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข
วิสัยทัศน์ สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร มีความเข้มแข็ง เป็นพลังในการพัฒนาประเทศ และสมาชิกอยู่ในสังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข.
วิสัยทัศน์กรมส่งเสริมสหกรณ์ (Vision) ปี
สรุปสาระสำคัญโดยสังเขปของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
การพัฒนานวัตกรรมแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริ
นโยบายด้านการบริการวิชาการ
การดำเนินงานสาธารณสุขจากอดีตถึงปัจจุบัน
เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
ด.ช.ณัฐนันท์ขาววิเศษ เลขที่1ป4/6
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
แบบฟอร์มที่ 2 ลักษณะสำคัญขององค์การโดยสรุป 1 หน้า
ยุทธศาสตร์การวิจัยฉบับที่ 8 ( ) vs ยุทธศาสตร์และแผนวิจัยระบบสาธารณสุข
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช รองเลขาธิการฯ 30 มิถุนายน 2549
แผนปฏิบัติราชการการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ. ศ
ผังจุดหมายปลายทางการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ภายในปี 2554 (ระยะ 4 ปี) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 ระดับประชาชน (มุมมองเชิงคุณค่า) ประชาชน.
ผังจุดหมายปลายทางการพัฒนางานสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค และ ภัยสุขภาพ ของจังหวัดในพื้นที่ สปสช.เขต 4 จังหวัดสระบุรี ภายในปี 2556 (ระยะ 4 ปี)
ภ ระดับประชาชน (มุมมองเชิงคุณค่า)
ผังจุดหมายปลายทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและ ควบคุมโรคติดต่อทั่วไป ภายในปี 2556 (ระยะ 4 ปี) สร้างเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 ระดับประชาชน (มุมมองเชิงคุณค่า)
ผังจุดหมายปลายทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและ ควบคุมโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็ก ภายในปี 2556 (ระยะ 4 ปี) สร้างเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 ระดับประชาชน.
กำหนดเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553
โดย สมภพ อมาตยกุล 21 กันยายน 2548
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา
แผนปฏิบัติราชการ พ.ศ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2549.
ความก้าวหน้าการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11
แผนหลัก สรุปทิศทาง. สสส. เปรียบเสมือน “น้ำมันหล่อลื่น” ที่ช่วยให้ ฟันเฟืองของกลไกสร้างเสริมสุขภาพทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด.
ความคาดหวังกับรพ.สต.มิติใหม่ของการพัฒนางานสาธารณสุข
กรอบคิด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แผนพัฒนาฯฉบับที่ ๑๐-๑๑
การป้องกันและควบคุมโรคในเขตบริการสุขภาพ
“ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”
การบรรยายเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา สำหรับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 13 มิถุนายน 2547.
การพัฒนาระบบวิจัยของประเทศ และการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์
กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
กรอบยุทธศาสตร์กระทรวงในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ พ. ศ ของ วท
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง หลวงในรักเรา เรารักในหลวง
บทที่ 3 ปรัชญาและแนวความคิดของการพัฒนาชุมชน
สังคมไทยที่พึงประสงค์ เข้มแข็งและมีดุลยภาพ 3 ด้าน
นโยบายกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2554
ยุทธศาสตร์จังหวัดชัยนาท
การจัดการองค์ความรู้ ระบบการผลิตที่ยั่งยืน ความพอเพียงในการดำรงชีพ
ผังจุดหมายปลายทางการจัดการสุขภาพ จังหวัดสุรินทร์ ภายในปี 2555
"วาริชภูมิน่าอยู่ ผู้คนสุขภาพดี ภาคี เข้มแข็ง"
แนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศ
ผู้สอน อ.ศรีวรรณ ปานสง่า
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
จัดทำโดย ด.ช. ดิเรกรัตน์ ด่านลัมจาก เลขที่3
จะสำเร็จได้ด้วย ความพอดีของตน
“ชีวิตมีคุณค่า พึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียง”
ผู้สอน อ.ศรีวรรณ ปานสง่า
“สังคมคุณภาพเพื่อผู้สูงอายุ”
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
แผนที่ยุทธศาสตร์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ
หน่วยที่ ๗ แนวโน้มสังคมไทย และแนวทางเลือก.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

เศรษฐกิจพอเพียงกับบริการสุขภาพ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจพอเพียงกับบริการสุขภาพ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554)

ประเด็นการนำเสนอ  กรอบแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับบริบทการพัฒนาประเทศ  แนวทางการพัฒนาด้านสุขภาพในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 10  เศรษฐกิจพอเพียง : การพัฒนาระบบสุขภาพ  กรอบแนวทางการดำเนินงานการสร้างสุขภาพที่ดีและพอเพียง

กระบวนทรรศน์ใหม่ในการพัฒนา แผนฯ 9 2545-49 แผนฯ 8 2540-44 แผนฯ 10 2550-54 ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง เน้นการปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างสมดุล เริ่มต้นนวัตกรรมทางความคิด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” สานต่อกระบวนทรรศน์ การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ปรับเปลี่ยนวิธีการมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม และเริ่มปรับเข้าสู่ความพอเพียง ยึดกระบวนทรรศน์การพัฒนาต่อเนื่อง จากแผนฯ 8 และ แผนฯ 9 เน้นสังคมเข้มแข็งมีดุลยภาพเป็นสังคมที่มีคุณภาพ มีภูมิปัญญาและการเรียนรู้ มีความสมานฉันท์ และเอื้ออาทร มุ่งให้คนมีความสุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข สิ่งแวดล้อมยั่งยืน มุ่งสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย วางรากฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน สร้าง/ขยายเครือข่ายการมีส่วนร่วม เครือข่ายภาคีทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลาง แนวคิด แนวทางการดำรงอยู่ การปฏิบัติตน ในทุกระดับ ครอบครัว ชุมชน รัฐ - ในการพัฒนา บริหารประเทศ พอประมาณ หลักการ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี ความรอบรู้ คุณธรรม ความเพียร เงื่อนไข ความรู้ในตัวคน ในหลักวิชา รอบคอบ ระมัดระวัง ซื่อสัตย์ สุจริต อดทน ขยันหมั่นเพียร มีสติ เชื่อมโยงวิถีชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม/การเมือง สร้างสมดุล/มั่นคง/เป็นธรรม/ยั่งยืน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เป้า ประสงค์

ค น กระบวนทรรศน์การพัฒนาที่ปรับเปลี่ยน...สู่ความพอเพียง ภูมิ- สังคม ยึดคนเป็นตัวตั้ง ประชาชนได้รับประโยชน์ มีความอยู่ดีมีสุข ปรับจาก มุ่งการรักษาและฟื้นฟู สู่ คนเป็นศูนย์กลาง ความอยู่ดีมีสุข ผล ประโยชน์ประชาชน ยึดหลัก “ภูมิสังคม” ตามความแตกต่างหลากหลายของ สภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ กับวิถีชีวิตชุมชน ภูมิ- ปรับวิธีคิดแบบแยกส่วนรายสาขา สู่ องค์รวมบูรณาการเชื่อมโยงทุกมิติ ค น สังคม การมีส่วนร่วมของประชาชน ปรับกระบวน การพัฒนาจากบนลงล่าง เริ่มพัฒนา “ตามลำดับขั้น” ด้วยการพึ่งพาตนเอง-รวมกลุ่ม- สร้างเครือข่าย-เชื่อมสู่ภายนอก “ระเบิดจากข้างใน” สู่ กระบวน การพัฒนาจากล่างขึ้นบน การอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุขระหว่างคนกับคน ระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับบริบทการพัฒนาประเทศ คนเป็นศูนย์กลาง บนพื้นฐานดุลยภาพเชิงพลวัตร พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ความรอบรู้ คุณธรรม ความเพียร คน สังคม การพัฒนาคุณภาพคน สังคมแห่งศีลธรรม ฐานความรู้ ดุลยภาพจิตใจ-วัตถุ พึ่งพาตนเอง ปรับตัวรู้เท่าทันโลก สร้างภูมิคุ้มกันแก่ครอบครัวชุมชน สังคม ประเทศ “สังคม อยู่เย็น เป็นสุขร่วมกัน” การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น พัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงสู่ภายนอก ชนบท-เมือง ชุมชน ดุลยภาพภายใน จัดการความเสี่ยง/ ภูมิคุ้มกัน การพัฒนาเศรษฐกิจไทยบนฐานการผลิตที่แข็งแกร่งด้วยองค์ความรู้ สร้างคุณค่าเพิ่ม เศรษฐกิจ ดุลยภาพภายใน- โลกาภิวัตน์ การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพ สวล. อนุรักษ์-ใช้ประโยชน์ ทรัพยากรฯ ดุลยภาพภายใน การเสริมสร้างระบบและวัฒนธรรมธรรมาภิบาล และประชาธิปไตย แข่งขัน-กระจายประโยชน์อย่างเป็นธรรม ธรรมาภิบาล กระจายอำนาจ อย่างเป็นธรรม

แนวทางการพัฒนาด้านสุขภาพในแผน ฯ ฉบับที่ 10 เสริมสร้างสุขภาวะคนไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกาย และใจให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ พัฒนาระบบสุขภาพอย่างครบวงจร พลิกฟื้นแหล่งอาหารตามธรรมชาติ ให้เพียงพอกับการดำรงชีวิต สนับสนุนให้คนไทยลด ละ เลิก พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงทางสุขภาพ พัฒนาการแพทย์ทางเลือกและแพทย์แผนไทย

แนวคิดของระบบสุขภาพ สุขภาพคน (สุขภาวะ) ดูแลคนไข้ สร้างสุขภาพ สุขภาพกาย สุขภาพคน (สุขภาวะ) ดูแลความเจ็บป่วย ดูแลคนไข้ ซ่อมสุขภาพ สร้างสุขภาพ เน้นแพทย์ รพ. ประชาชน ชุมชน

ปรัชญาของเศรษฐกิจกับ ทิศทางการพัฒนาของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนฯ 10 บูรณาการ องค์รวม คิดเป็นระบบ หลากหลาย สมดุล ยั่งยืน ดุลยภาพ สมดุล ยั่งยืน พึ่งตนเองและ ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ทางสายกลาง ประหยัด อดออม รู้จักตนเอง เรียบง่าย พอประมาณ ปรัชญาของเศรษฐกิจกับ สุขภาพพอเพียง ซื่อสัตย์ ขยัน มีวินัย การให้ประโยชน์ ส่วนรวม เป็นธรรม และสมานฉันท์ มีคุณธรรม จริยธรรม ใช้หลักวิชาการ คำนึงถึงผลกระทบ มีเหตุผล การพัฒนาระบบสุขภาพของไทยในช่วงแผน ฯ 10 โดยใช้ปรัชญา”เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นรากฐานในการดำเนินชีวิต การบริหารและการพัฒนาทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศ โดยยึดหลักสำคัญ 7 ประการ คือ ทางสายกลาง ความสมดุล รู้จักประมาณ มีเหตุมีผล มีระบบภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันโลก และมีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อชี้นำในการพัฒนา ดังนั้นแนวทางการพัฒนาสุขภาพควรให้ความสำคัญประเด็น ดังนี้ เน้นกลยุทธ์ในการสร้างความพอเพียงทางสุขภาพให้เกิดขึ้นในระดับพื้นที่แต่ละดับ โดยมีการใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมเพื่อให้การพัฒนาสุขภาพเกิดความมั่นคงและสามารถเป็นการสร้างความเจริญในระดับสูงขึ้นต่อไป การบริหารจัดการด้านการเงินการคลังด้านสุขภาพในทุกระดับจะต้องมีความรอบคอบและเหมาะสมตามอัตภาพ โดยต้องรู้จักความพอประมาณอย่างมีเหตุมีผล ดังนั้นการที่จะดำเนินโครงการหรือกิจกรรมก็ต้องนึกถึงความเหมาะสม อัตตภาพ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการดำเนินงานต้องมีความรอบคอบและคำนึงถึงปัจจัยผลกระทบทั้งแง่บวก/ลบ นอกจากนี้จะต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและประชาชน ระบบบริการสุขภาพต้องเน้นการเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีความเหมาะสมและจำเป็น รวมทั้งจะต้องมีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานจากภูมิปัญญาไทยเพื่อเป็นการสร้างความยั่งยืนและสามารถพึ่งตนเองได้ใน ระยะยาว สำหรับการยึด”ทางสายกลาง”และ”ความสมดุลพอดี”ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นอาจนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบสุขภาพที่จะต้องมีการบูรณาการด้านสุขภาพที่มีความสมดุลระหว่างการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูและการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ สร้างหลักประกันและการคุ้มครองด้านสุขภาพให้กับประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เช่น กระแสโลกาภิวัตน์ การค้าเสรี นโยบายการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและภาวการณ์เจ็บป่วย พร้อมทั้งมีการนำหลักวิชาการต่างๆ มาใช้อย่างรอบรู้และรอบคอบ 6. ระบบสุขภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องยึดหลักการมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญ เพราะ”ความพอเพียง คือหมายถึง การที่มีความพอและมีความโลภน้อย ดังนั้นเมื่อมีความโลภน้อยและเบียดเบียนคนอื่นน้อย ดังนั้นการพัฒนาประเทศถ้าทุกคนมีความคิดว่าการทำอะไรต้องมีความพอเพียง พอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภ ขยัน อดทน ความเพียร ก็จะทำให้สังคมและคนอาจจะมีความสูข” ดังนั้นรากฐานสำคัญของธรรมาภิบาลในการพัฒนาระบบสุขภาพไทย รอบรู้ เรียนรู้ ระบบเตือนภัย วัฒนธรรม ภูมิปัญญา กติการ่วม บริหารความเสี่ยง ภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันโลก

การบูรณาการระบบสุขภาพ ปัจเจก บุคคล ทุนเศรษฐกิจ สภาพ แวดล้อม ทางใจ ทางกาย สุขภาพ/ สุขภาวะ ทางปัญญา/ จิตวิญญาณ ทางสังคม ทุนทางสังคม ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบบบริการ สุขภาพ แนวคิดหลักของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10 โดยที่ยึดหลักว่า “ สุขภาพดีเป็นผลจากสังคมดี” โดยถือว่าประชาชนทุกคนจะต้องมีสุขภาพดีหรือสุขภาวะทางกาย ทางใจ ทางสังคม ทางจิตวิญญาณและปัญญา ซึ่งเป็นศีลธรรมขั้นพื้นฐานของสังคม ดังนั้นกระบวนทัศน์การพัฒนาสุขภาพสู่ความพอเพียง ที่เน้นการอยู่ร่วมกันด้วยสันติสุขระหว่างคนกับคน และระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การดำเนินงานด้านสุขภาพต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ดังนี้ 1.ปรับเปลี่ยนแนวคิดที่มุ่งการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่การพัฒนาที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางและการดำเนินงานจะต้องคำนึงถึงประชาชนเป็นหลักสำคัญของพัฒนาสุขภาพหรือสุขภาวะ รวมทั้งเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์และมีความอยู่ดีมีสุขในสังคมได้ 2.การพัฒนาระบบสุขภาพจะต้องเป็นลักษณะของการบูรณาการที่มีความเชื่อมโยงในทุกมิติทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะระบบบริการสุขภาพมีความเกี่ยวโยงกับตัวปัจเจกบุคคลและสภาพแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานด้านสุขภาพควรยึดหลัก”ภูมิสังคม” ตามความแตกที่หลากหลายของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ พื้นที่และวิถีชีวิตชุมชน 3.กลไกและกระบวนการพัฒนาจะต้องเป็นลักษณะจากล่างสู่บน โดยสร้างให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และกระบวนการพัฒนาจะต้องเริ่มพัฒนา”ตามลำดับขั้นตอน” ด้วยการพึ่งพาตนเองไปสู่การรวมกลุ่ม การสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงสู่ภายนอก บุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศ Health for All All for Health สถาบัน องค์กร ประชาสังคม บริหาร บริการ วิชาการ

ระบบสุขภาพพอเพียง : ภาพลักษณ์พึงประสงค์ ความเข้มแข็งทางสุขภาพ รอบคอบ พอประมาณ อย่างมีเหตุผล ด้านการเงิน/คลัง สุขภาพในทุกระดับ สร้างรากฐาน ความเข้มแข็งทางสุขภาพ ในระดับครอบครัว และชุมชน ใช้เทคโนโลยี อย่างรู้เท่าทัน และเหมาะสม บูรณาการ บริการสุขภาพ ให้มีความสมดุล มีคุณธรรม จริยธรรม มีระบบภูมิคุ้มกัน ที่เป็นการสร้าง หลักประกันและ คุ้มครองสุขภาพ แนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่มองการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมเชื่อมโยงทั้งมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและคุณธรรม ดังนั้นระบบสุขภาพภายใต้ปรั๙ญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นระบบสุขภาพพอเพียง ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ 1. มีรากฐานความเข้มแข็งทางสุขภาพในระดับครอบครัวและชุมชน 2.มีความรอบคอบและรู้จักประมาณอย่างมีเหตุผลในด้านการเงินการคลังสุขภาพในทุกระดับ เช่น การรู้จักระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายซื้อหาอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์ 3.มีการใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทันและเหมาะสม โดยเน้นภูมิปัญญาไทยและการพึ่งตนเอง 4. มีบูรณาการบริการสุขภาพให้มีความสมดุลทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพและคุ้มครองผู้บริโภค 5.มีระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นการสร้างหลักประกันและคุ้มครองสุขภาพ 6. มีคุณธรรม จริยธรรม คือ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และรู้จักพอ

เป้าหมาย : การพัฒนาระบบสุขภาพพอเพียง สร้างเอกภาพและธรรมภิบาลการจัดบริการระบบสุขภาพที่มีความสมดุลและยั่งยืน สร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกที่อยู่บนพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี สร้างวัฒนธรรมสุขภาพและวิถีชีวิตที่มีความสุขพอเพียงและเป็นองค์รวม มีระบบสุขภาพชุมชนและเครือข่ายบริการปฐมภูมิที่เข้มแข็ง เป้าหมายหลัก ในการพัฒนาระบบสุขภาพพอเพียง ประกอบด้วย 1. สร้างเอกภาพและธรรมภิบาลการจัดบริการระบบสุขภาพที่มีความสมดุลและยั่งยืน 2. สร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกที่อยู่บนพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี 3.สร้างวัฒนธรรมสุขภาพและวิถีชีวิตที่มีความสุขพอเพียงและเป็นองค์รวม 4. มีระบบสุขภาพชุมชนและเครือข่ายบริการปฐมภูมิที่เข้มแข็ง 5.มีระบบบริการสุขภาพและการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ มีการใช้เทคโนโลยีอย่างพอประมาณตามหลักวิชาการอย่างถูกต้องเหมาะสม มีระบบบริการสุขภาพและการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยีอย่างพอประมาณตามหลักวิชาการอย่างถูกต้อง

เป้าหมาย : การพัฒนาระบบสุขภาพพอเพียง สร้างหลักประกันสุขภาพที่เป็นธรรม ทั่วถึง มีคุณภาพมาตรฐาน สร้างระบบภูมิคุ้มกัน เตรียมพร้อมรับผลกระทบโรค และภัยคุกคามทางสุขภาพ สร้างทางเลือกสุขภาพที่มีความหลากหลาย มีระบบสุขภาพฐานความรู้ 6. สร้างหลักประกันสุขภาพที่เป็นธรรม ทั่วถึงและมีคุณภาพมาตรฐาน 7. สร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับผลกระทบโรคและภัยคุกคามทางสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8. สร้างทางเลือกสุขภาพที่มีความหลากหลาย โดยการผสมผสานภูมิปัญญาไทยและสากลอย่างรู้เท่าทันและพึ่งพาตนเอง 9.มีระบบสุขภาพฐานความรู้ ด้วยการจัดการความรู้อย่างมีเหตุผลรอบด้าน 10.สังคมไม่ทอดทิ้งคนทุกข์ยากเป็นสังคมที่ดูแลรักษาคนจน คนทุกข์ยาก และผู้ด้อยโอกาสอย่างเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นสังคมที่ดูแลรักษาคนจน คนทุกข์ยาก และผู้ด้อยโอกาสอย่างเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

แนวทางการพัฒนาสุขภาพที่พอเพียง ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สร้างเสริม สุขภาพ เชิงรุก สร้างหลักประกัน สุขภาพที่เป็นธรรม ทั่วถึง มีคุณภาพ ส่งเสริม ระบบ ภูมิคุ้มกัน กรอบแนวทางการดำเนินงานในการพัฒนาระบบสุขภาพ ควรให้ความสำคัญในประเด็นหลัก 4 ประเด็น คือ การสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก โดยให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นของการดำเนินงานด้านป้องกันและควบคุมโรค และอยู่ภายใต้การบูรณาการดำเนินงานที่เกิดจากทุกภาคส่วน 2. สร้างหลักประกันสุขภาพที่เป็นธรรม ทั่วถึง และมีคุณภาพ ที่นำไปสู่การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกคน 3.พัฒนาระบบสุขภาพชุมชนที่มีความหลากหลายและสอดรับกับความต้องการและวิถีชีวิตของชุมชนเป็นหลัก 4.ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันและความพร้อมเพื่อลดผลกระทบทางด้านสุขภาพได้ทันการณ์ พัฒนา ระบบสุขภาพ ชุมชน

อ กรอบแนวทางการดำเนินงาน การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีและพอเพียงของคนไทย Environment-Health Participation-Health สร้างสภาพแวดล้อมที่ ส่งเสริมการมีสุขภาพดี สร้างการมีส่วนร่วม ของภาคีต่างๆ อ Healthy Policy Healthy Community Healthy people Knowledge-Health Management-Health พัฒนาระบบบริหาร จัดการด้านสาธารณสุข สนับสนุนการ จัดการองค์ความรู้ Community needs & Feedback กลยุทธ์ในการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับคนไทย โดย เน้นคนเป็นศูนย์กลาง โดยกระบวนการทำงานเริ่มตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน ไปจนถึงระดับชาติ และแนวทางการดำเนินงานจะต้องเป็นลักษณะของ Active Players ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของคนในชุมชน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจะต้องรู้ว่าชุมชนมีความต้องการอะไรและมีการฟังเสียงที่สะท้อนที่กลับมาจากชุมชนด้วย โดยภาครัฐและเอกชนควรมีบทบาทในการสร้างเสริมและสนับสนุนด้านทรัพยากร ด้านวิชาการ และกิจกรรม นอกจากนี้ ต้องมีการสร้างแรงจูงใจต่างๆ เพื่อให้คนในชุมชนเข้ามาส่วนร่วมเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับด้านสุขภาพของชุมชนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานจะบรรลุเป้าหมาย ของการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีและเพียงพอของคนไทยได้นั้น แนวทางการดำเนินงานจะต้องประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนาต่างๆ ในการดูแลสุขภาพ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้และนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสุขภาพ การพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพที่มีความสมดุลและการสร้างภูมิคุ้มกันด้านสุขภาพ กิจกรรม ภาคเอกชน งบประมาณสนับสนุน ภาครัฐ

P:Health สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนาต่างๆ กลไกการดำเนินงาน เป้าหมาย คน ชุมชน เป็นเจ้าของและดำเนินการ จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ สมทบทุน พัฒนาระบบสุขภาพชุมชนที่สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของชุมชน กิจกรรม สุขภาพ เงินทุน สนับสนุนคน/ชุมชนด้านส่งเสริมสุขภาพ จัดสรรงบประมาณ จัดประกวดชุมชนสุขภาพดีเด่น ศูนย์สุขภาพ ชุมชน สนับสนุนเงินทุนและจัดกิจกรรม เงินทุน/ กิจกรรมสุขภาพ เงินทุน/ กิจกรรมสุขภาพ กลยุทธ์ที่ 1 สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนาต่างๆ ในการดูแลสุขภาพ โดยสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เกิดจากทุกภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การแก้ปัญหาไปจนถึงการพัฒนาด้านสุขภาพให้เกิดขึ้นภายในชุมชน โดยสนับสนุนให้ชุมชนมีการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับด้านสุขภาพตามความต้องการของคนในชุมชนและต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน เช่น การจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นต้น โดยมีหน่วยภาครัฐและภาคเอกชนเข้าไปมีบทบาทในการสนับสนุนด้านวิชาการ เงินทุน และสร้างแรงจูงใจเพื่อให้ภาคีการพัฒนาต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน อาทิ มาตรการด้านภาษี และมาตรการด้านสังคม เช่น การยกย่องเชิดชูเกียรติสถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การจัดประกวดสถานประกอบการที่มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพดีเด่น เป็นต้น แนวคิดการจัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชน เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนชุมชน การบริหารจัดการศูนย์สุขภาพชุมชน ประกอบด้วย 1) คน/ชุมชน/อปท. เป็นเจ้าของและผู้ดำเนินงานศูนย์สุขภาพชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นผู้ริเริ่มและคนในชุมชนมีการสมทบทุน เพื่อเป็นการสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของให้กับชุมชน และกระบวนการดำเนินงานจะต้องมีความเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อยู่ในชุมชน เช่น ชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน เป็นต้น 2) ภาคเอกชน ให้การสนับสนุนเงินทุนและกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน 3) ภาครัฐ เป็นผู้สนับสนุนคน/ชุมชนด้านการส่งเสริมสุขภาพ จัดสรรงบประมาณ สิทธิพิเศษและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานแก่ศูนย์สุขภาพชุมชน โดยสมทบให้เฉพาะกับชุมชนที่ไม่เข้มแข็งและการดำเนินงานจะต้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์“อยู่ดีมีสุข” ด้วย ภาคเอกชน ภาครัฐ มาตรการจูงใจ มาตรการสิทธิประโยชน์การลดหย่อนภาษีแก่ เอกชน

E:Health สร้างสภาพแวดล้อม Healthy environment everywhere , every time for everyone เป้าหมาย กลไก/มาตรการ Healthy society ผลักดันการบังคับใช้ กม. สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ลดปัจจัยเสี่ยง ต่อสุขภาพของ ประชากรอันเกิดจาก สภาพแวดล้อม ในการดำเนินชีวิต Healthy workplace/ Healthy school ผลักดันโครงการ ปรับปรุงและบังคับใช้ กม. ริเริ่มมาตรการสร้างแรงจูงใจ สร้างเครือข่าย กลยุทธ์ที่ 2 สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพที่ดี เพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่เกิดผลมาจากสภาพแวดล้อมและวิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งกระบวนการดำเนินงานควรเริ่มตั้งแต่ครอบครัวไปสู่สถานที่ทำงาน/โรงเรียน และชุมชน/สังคม โดยประกอบด้วยมาตรการ ดังนี้ รณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ เชน การแยกขยะและทิ้งขยะให้ถูกต้องและเหมาะสม การดูแลสุขภาพอนามัยของคนในครอบครัว การดูแลสภาพแวดล้อมรอบบ้านที่ถูกสุขอนามัย เป็นต้น รวมทั้งการสร้างรากฐานให้สถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง อบอุ่น โดยการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัวและคุณค่าของผู้สูงอายุเพื่อเป็นการสร้างสภาพจิตที่ดีให้กับคนในครอบครัว 2. ผลักดันโครงการสุขภาพในที่ทำงาน (Healthy Workplace) ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำงานให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ รวมทั้งปรับปรุงและบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายด้านความปลอดภัยในการประกอบอาชีพหรือในสถานประกอบการอย่างจริงจัง 3. การขับเคลื่อนและผลักดันให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพอย่างจริงจัง เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษ กฎหมายจราจรเป็นรวมทั้งการวางระบบผังเมืองที่เชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนเพื่อให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมด้านสุขภาพที่เหมาะสมของประชาชน โดยการกำหนดสัดส่วนพื้นที่ในการใช้ประโยชน์ให้มีเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ เช่น ศูนย์ออกกำลังกายของชุมชน สวนสาธารณะ โรงเรียน อาคารสถานที่ ระบบขนส่งมวลชน เป็นต้น Healthy Home สร้างจิตสำนึก สร้างความตระหนัก สร้างค่านิยม ให้ความรู้

K-Health Knowledge Innovation เป้าหมาย ใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรม ผลักดันการพัฒนา สุขภาพ Knowledge Innovation K-Health กลยุทธ์ที่ 3 การจัดการความรู้และนวัตกรรมเพื่อมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการดึงภูมิปัญญาที่มีอยู่ในตัวคนออกมาเป็นความรู้ที่สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ได้ โดยมีมาตรการดังนี้ 1. การจัดการองค์ความรู้ด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับด้านสาธารณสุขและสุขภาพได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง รวมทั้งการถอดภูมิปัญญาที่อยู่ในตัวคน เช่นจัดทำเป็นตำรา หรือสื่อที่ประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย ซึ่งทำให้องค์ความรู้/ภูมิปัญญาชาวบ้านสามารถมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นและเป็นที่ยอมรับของชุมชน/สังคมให้สามารถคงอยู่ไม่สูญหายโดยเฉพาะการแพทย์พื้นบ้าน เช่น การรักษาพิษงู การรักษาน้ำร้อนลวก เป็นต้น นอกจากนี้ ควรสร้างกระบวนการเรียนรู้และความรู้เกี่ยวกับสุขศึกษาทั้งในระบบและนอกโรงเรียน เช่น ปรับปรุงหลักสูตรสุขศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง นอกจากนี้ การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพให้ประชาชนทุกวัยโดยผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การสอดแทรกความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพลงในรายการที่เป็นที่นิยมของประชาชน อาทิ ละคร รายการข่าวต่างๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ เป็นต้น 2. การพัฒนาและสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพที่สามารถนำประโยชน์มาใช้ในการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยจัดตลาดนัดเทคโนโลยีการแพทย์ เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักวิจัยสามารถเผยแพร่ ผลงานวิจัยและพบปะกับภาคธุรกิจเอกชนในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และนำผลงานวิจัยต่างๆ ที่คิดค้นไปใช้ประโยชน์จริง รวมทั้งใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกเพื่อสร้างระบบการเฝ้าระวังด้านสุขภาพที่มีทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วม เช่น การจัดทำเว็บไซด์และฮอตไลน์ด้านสุขภาพที่ให้บริการประชาชนในทุกด้าน ทั้งการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ รับเรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ และการรับแจ้งการเตือนภัยสุขภาพจากประชาชน เป็นต้น ใช้สื่อเป็นเครื่องมือ ปรับปรุงหลักสูตร จัดตลาดนัดเทคโนโลยีการแพทย์ สร้างระบบเฝ้าระวังด้านสุขภาพ

M:Health พัฒนาระบบบริหารจัดการ เป้าหมาย Health Balance Demand Supply เพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการ ระบบสุขภาพ กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขภาพที่มีความสมดุลและสร้างภูมิคุ้มกันด้านสุขภาพ โดยการพัฒนาระบบบริการสุขภาพทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพและมีการใช้เทคโนโลยีอย่างพอประมาณที่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการ รวมทั้งโครงสร้างการบริหารจัดการให้มีความสมดุลระหว่างความต้องการบริการด้านสุขภาพของประชาชนและทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ เช่น งบประมาณ บุคลากรทางการแพทย์ เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น รวมทั้งการสร้างกลไกในและกระบวนการดำเนินงานเชิงรุกในการเฝ้าระวังปัญหาด้านสุขภาพที่มีทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมทาง เช่น การจัดตั้งสายตรวจสุขภาพให้สามารถเข้าถึงคนในชุมชนทุกกลุ่ม โดยคัดเลือกคนในชุมชนเป็นผู้ดำเนินงาน และมีการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของชุมชน สร้างเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เน้นบทบาทในการเฝ้าระวังและเตือนภัยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนเป็นหลัก จัดสรรงบประมาณและทรัพยากร สร้างกลไกและกระบวนการในการดูแลและเฝ้าระวัง