กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม(ประวัติศาสตร์ ม.4-6) การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม(ประวัติศาสตร์ ม.4-6) โดย นายสุนทร พุกสุข
มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด มาตรฐานการเรียนรู้ ส 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ตัวชี้วัด ตระหนักถึงความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre – Historic Period) เริ่มราว 500,000 B.C. ตั้งแต่สมัยที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้ แบ่งเป็นยุคหินกับยุคโลหะ สมัยประวัติศาสตร์ (Historic Period) เริ่มราว 3,500 B.C. ตั้งแต่มนุษย์รู้จักคิดประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้สำหรับบันทึกหลักฐานเรื่องราวต่างๆ ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคหินเก่า (Old Stone Age) 500,000-10,000 ปี มาแล้ว ยุคหินกลาง (Mesolithic Age) 10,000-6,000 ปี มาแล้ว ยุคหินใหม่ (New Stone Age) 6,000-4,000 ปี มาแล้ว
ยุคหินเก่า ยุคหินเก่า เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือหินกะเทาะที่ทำขึ้นหยาบๆ อาศัยตามถ้ำ เพิงผา ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ มีถิ่นฐานไม่แน่นอน รู้จักงานขีดเขียนภาพศิลปะไว้บนผนังถ้ำ
ยุคหินกลาง มนุษย์สมัยหินกลาง การดำรงชีวิตยังเหมือนกับยุคหินเก่า แต่เครื่องมือเครื่องใช้มีความประณีตมากขึ้น และรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาหยาบๆ
ยุคหินใหม่ มนุษย์สมัยหินใหม่ มนุษย์ยุคนี้ใช้เครื่องมือหินขัด รู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง และที่สำคัญคือรู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา
ยุคเหล็ก (Iron Age) 2,500-1,500 ปี มาแล้ว ยุคโลหะ ยุคโลหะ (Meltal Age) แบ่งออกเป็น 2 คือ ยุคสำริด (Bronze Age) 4,000-2,500 ปี มาแล้ว ยุคเหล็ก (Iron Age) 2,500-1,500 ปี มาแล้ว
ยุคโลหะ ยุคสำริด เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับด้วนสำริด ซึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก ดำรงชีวิตด้วยการเกษตร
ยุคเหล็ก เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักถลุงเหล็กมาทำ เครื่องมือเครื่องใช้ และยังดำรงชีพด้วยการเกษตร
มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากมนุษย์วานรในทวีปแอฟริการะหว่าง 2,000,000-500,000 ปี มาแล้ว มีบรรพบุรุษยืนตัวตรงได้ มีความสูงราว 3 ฟุตเศษ มีฟันคล้ายมนุษย์ปัจจุบัน มีสมองเล็ก รูจักทำเครื่องมือหินด้วยวิธีง่ายๆ เพื่อใช้คมในการตัด ฟัน
มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ “ลูซี่” หรือมนุษย์ดึกดำบรรพ์ของ Australopithecus มีอายุ 2-5 ล้านปี มาแล้ว
มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ โฮโมฮาบิลิส (Homo Habilis)
มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ นีแอลเดอร์ธัล (Neanderthal Man
มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ โครมันยอง (Cro Magnon Man
สมัยประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มราว 3,500 B.C. ตั้งแต่มนุษย์รู้จักคิดประดิษฐ์อักษรขึ้นสำหรับบันทึกหลักฐานเรื่องราวต่างๆไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
สมัยประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลา ดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มประมาณ 3,500 B.C.- ค.ศ. 476 2. ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มปี ค.ศ. 476 - 1453 3. ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่ม ค.ศ. 1453 - 1945 4. ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่ม ค.ศ. 1945 - ปัจจุบัน
ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์สมัยโบราณเริ่มตั้งแต่ชาว สุเมเรียนประดิษฐ์อักษรลิ่ม จนถึงการล่ม สลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ปี ค.ศ. 476
ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ สมัยโบราณมีอารยธรรมสำคัญของโลกดังนี้ 1. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย 2. อารยธรรมอียิปต์ 3. อารยธรรมจีน 4. อารยธรรมอินเดีย 5. อารยธรรมกรีก 6. อารยธรรมโรมัน
ประวัติศาสตร์สมัยกลาง สมัยกลางมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ ด้านสังคม : เกิดระบบลัทธิฟิวดัล (Feudalism) ด้านเศรษฐกิจ : ขึ้นอยู่กับเกษตรกรรม ให้ความสำคัญในที่ดินและแรงงาน ด้านการปกครอง : ขุนนางมีอำนาจบริหารการ ปกครอง ด้านศิลปกรรม : แสดงออกทางด้านศาสนา
ประวัติศาสตร์สมัยกลาง สมัยกลางมีลักษณะทางศิลปะ 3 แบบ ศิลปะแบบไบแซนไทน์ ศิลปะแบบโรมาเนสก์ ศิลปะแบบโกธิค
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ประวัติศาสตร์สมัยใหม่เริ่มตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากกรุง คอนสแตนติโนเปิลแตกจนถึงสิ้นสุด สงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1945
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ แบบบารอค แบบนีโอคลาสสิก แบบโรแมนติก แบบสัจนิยม
ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มภายหลังสิ้นสุดสงคราโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน
อ้างอิงภาพ (1) http://wonder7.4t.com/project/pyramid.html http://edtseng.com/2012/11/message-1651-the-thinker http://miolonggi.wordpress.com/category http://iamkaew.blogspot.com/2010/12/blog-post.html http://board.plungjai.com/index.php?action=printpage;topic=729.0 mrewert.pbworks.com http://writer.dek-d.com/Ayothaya_knight/story/viewlongc.php? id=298414&chapter=35 http://www.indepencil.com/ http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-4/no12-14-45/china/a(kornpawat)_p2.htm http://sky6315.blogspot.com/2010/05/blog-post_4805.html http://www.nationalmuseums.finearts.go.th/khonkaen/hilight.htm
อ้างอิงภาพ (2) http://www.sujitwongthes.com/suvarnabhumi/2011/04/ http://www.chanpradit.ac.th/~nattinee/yun116451/index%202.htm http://www.thetimes.co.uk/tto/science/biology/article2856227.ece http://www.dot-domesday.me.uk/migrate.htm www.huntfor.com www.rickdoble.net http://www.eyelid.co.uk/hiero1.htm rajivawijesinha.wordpress.com http://www.italian-renaissance-art.com/Mona-Lisa.html writer.dek-d.com http://202.143.144.83/~skb/computor/ganjana/west_modern_ww2.htm http://atcloud.com/groups/53/show_story?story_id=37592