คำราชาศัพท์ จัดทำโดย นางสาวสมพร อ่อนละออ
ราชาศัพท์ หมายถึง คำเฉพาะที่ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายต่อมาหมายรวมถึงคำที่ใช้สำหรับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชน
เหตุผลในการใช้ราชาศัพท์ สังคมมนุษย์มีวิวัฒนาการอย่างหนึ่งซึ่งนับถือเป็นแบบอย่างกันมาช้านาน นั่นก็คือการยกย่องให้เกียรติบุคคลที่เป็นหัวหน้า หรือผู้ที่เป็นที่เคารพนับถือของชุมชน
จะเห็นได้ว่าทุกชาติจะมีคำสุภาพที่ใช้กันประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ จะมากหรือน้อยย่อมสุดแท้แต่ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละชาติและจิตใจของประชาชนในชาตินั้นเป็นสำคัญ
วิธีการใช้คำราชาศัพท์ หลักวิธีการใช้ราชาศัพท์นั้นต้องคำนึงถึงผู้ฟังเป็นสำคัญ กล่าวคือจะต้องใช้คำให้เหมาะสมกับฐานะของผู้ฟังไม่ว่าผู้พูดจะเป็นใครก็ตามเว้นพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น ที่ต้องใช้คำสุภาพสำหรับตนเองด้วย
ประโยชน์ของการศึกษาราชาศัพท์ ๑. ช่วยให้สามารถใช้ภาษาไทยได้กต้อง เหมาะสมกับชั้นของบุคคล ทำให้ไม่มีปัญหาในการสื่อสาร
๒.ได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของชาติ โดยที่ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมทางภาษา ที่มีความประณีตนุ่มนวล และน่าฟัง
ประโยชน์ของการศึกษาราชาศัพท์ ๓. ทำให้รู้คำศัพท์มากขึ้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ภาษาไทยที่ดี ผู้รู้มากย่อมทำให้เกิดความคล่องแคล่วชำนาญ
๔.ช่วยฝึกฝนอบรมจิตใจผู้ศึกษาให้ประณีตในการใช้ภาษาและผลทำให้เป็นคนมีนิสัยสุขุม รอบคอบ ละเอียดลออ
๕.ช่วยในการศึกษาวรรณคดีให้เข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ยิ่งขึ้น ประโยชน์ของการศึกษาราชาศัพท์ ๕.ช่วยในการศึกษาวรรณคดีให้เข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ยิ่งขึ้น เพราะวิชาวรรณคดีใช้ราชาศัพท์มาก
๖.ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้กับตนเอง สามารถเข้าสมาคมกับผู้อื่นได้โดยไม่เคอะเขิน ไม่เป็นที่เย้ยหยันของบุคคลอื่น เพราะได้ศึกษาถ้อยคำที่ควรใช้กับบุคคลตามฐานะมาแล้ว
จำแนกไว้ ๕ ชั้นด้วยกัน คือ ๑.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ๒.พระราชวงศ์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ๓.พระภิกษุ ๔.ข้าราชการ ๕.บุคคลสามัญทั่วไป
ชนิดของคำราชาศัพท์ 1. นามราชาศัพท์ โดยปกติจะขึ้นต้นด้วย พระบรม, พระราช, พระ, พระบรม, ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น เช่น พระบรมราโชวาท , พระบรมมหาราชวัง
พระราช ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, พระยุพราช, พระบรมราชกุมารี เช่น พระราชวัง พระราชประวัติ พระราชนิพนธ์ , พระ ใช้นำหน้าเรียกอวัยวะ เครื่องใช้ เช่น พระกรรณ พระที่นั่ง พระเขนย พระสหายเป็นต้น
2. สรรพนามราชาศัพท์ คือ คำพูดที่ใช้แทน ผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่ถูกกล่าวถึง
3. กริยาราชาศัพท์ คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ให้ใช้ได้ทันที่ เช่น ตรัส เสวย ประสูติ สวรรคต ถวายบังคมลา ประชวร ประทับใช้คำว่า ทรง นำหน้าคำกริยา เช่น ทรงวิ่ง ทรงยินดี ทรงสร้าง
ทรงสกีใช้คำว่า ทรง นำหน้า คำนาม เช่น ทรงฟุตบอล ทรงรถ ทรงดนตรีใช้คำว่า ทรง นำหน้า คำราชาศัพท์ เช่นทรงพระอักษร ทรงพระราชนิพนธ์