ความหมายของสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
สื่อการสอน หมายถึงวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอน นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
คุณลักษณะได้ 4 ประเภทคือ สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติการฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์
ลักษณะของสื่อการสอนที่ดี สื่อการสอนที่ดีย่อมช่วยให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน มีความเหมาะสมกับรูปแบบของการเรียนการสอน มีความเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของการใช้สื่อ
สื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อาจอยู่ในลักษณะที่ถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ หรือเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้เกิดศักยภาพทางความคิด (Cognitive tools) ตลอดจนสิ่งที่กระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้และมีทักษะในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะของสื่อการเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมการสร้างความรู้ของผู้เรียน ช่วยส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มุ่งเน้นการพัฒนาการคิดของผู้เรียน เป็นสื่อที่หลากหลาย ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ ตลอดจนสิ่งที่มี ตามธรรมชาติ เป็นสื่อที่อยู่ตามแหล่งความรู้ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยพัฒนาการร่วมทำงานเป็นทีม
ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ 1 ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ 1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและสร้างความคิดรวบยอดใน เรื่องที่เรียนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น 2. ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นสิ่งที่กำลังเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม 3. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง 4. สร้างสภาพแวดล้อมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่แปลกใหม่ 5. ส่งเสริมการมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้เรียน 6. เกื้อหนุนผู้เรียนที่มีความสนใจและความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ให้สามารถเรียนรู้ได้ทัดเทียมกัน
7. ช่วยเชื่อมโยงสิ่งที่ไกลตัวผู้เรียนให้เข้ามาสู่การเรียนรู้ของผู้เรียน 8. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 9. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ในหลายมิติจากสื่อที่หลาหลาย 10. ช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเชิงเนื้อหา กระบวนการ และความรู้เชิงประจักษ์ ส่งเสริมให้เกิดทักษะ ได้แก่ ทักษะการคิด ทักษะการสื่อสาร
หลักในการผลิต ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลที่มีศักยภาพ ได้แก่ ครู เทคโนโลยี พ่อแม่ ภูมิปัญญาชาวบ้าน และบุคคลอื่น ๆ ตลอดจน สื่อต่างๆ เพื่อที่จะนำมาสู่การหยั่งรู้ในปัญหาและการแก้ปัญหา หรือการได้มาซึ่งความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้น
เมื่อมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การสอน มาสู่ การเรียนรู้ ดังนั้นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่นำมาเพิ่มประสิทธิภาพก็ต้องสอดรับกับแนวคิดดังกล่าว คือ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ลักษณะของการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม หรือสื่อมาใช้ที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้เป็น "Media + Methods" หรือ "สื่อ ร่วมกับ วิธีการ“
วิธีการ ( Methods) ที่สอดรับกับสภาพปัจจุบัน ได้แก่ การเรียนแบบค้นพบ ( Discovery) การเรียนแบบสืบเสาะ( Inquiry) การเรียนแบบแก้ปัญหา ( Problem Solving) การเรียนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning) การเรียนโดยการสร้างความรู้ ( Constructivism) สถานการณ์จำลอง ( Simulation) การสร้างโครงงาน
แนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ มีดังต่อไปนี้ 1. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ เนื้อหา 2. วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา 3. ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 4. วิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ 5. จัดเตรียม สื่อการเรียนรู้ 6. นำไปใช้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละสาระการเรียนรู้ กรมวิชาการ ( 2545) ได้จำแนกประเภทของสื่อการเรียนรู้ ไว้ดังนี้ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเทคโนโลยี สื่อที่เป็นกิจกรรม/กระบวนการ สื่อบุคคล รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น สื่อวัสดุอุปกรณ์