การคลังและนโยบาย การคลัง บทที่ 5 การคลังและนโยบาย การคลัง
หน้าที่ของรัฐบาล การจัดสรรทรัพยากร (Resources allocation) การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม (Equity of income distribution) สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (Economic Growth) รักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ (External and internal stability)
ความหมายของนโยบายการคลัง นโยบายการคลัง (fiscal policy) คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้รายได้และ รายจ่ายของรัฐ ถือเป็นเครื่องมือ สำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
งบประมาณแผ่นดิน งบประมาณ (Budget) มาจากคำภาษาฝรั่งเศสว่า Bougette ตามพจนานุกรม หมายถึง บัญชี หรือจำนวนเงินรายรับ รายจ่าย เงินของรัฐบาล
งบประมาณแผ่นดิน แผนการใช้จ่ายและการหารายได้ของรัฐบาลในช่วงระยะเวลา หนึ่ง เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจบรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้น โดยปกติ มักจะกำหนดให้เป็น 1 ปี งบประมาณของไทยเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค.- 30 ก.ย. เช่น ถ้า ปีงบประมาณ 2550 คือ เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 2549 - 30 ก.ย. 2550 ดุลแห่งงบประมาณ (The Budget Balance) คือ ความสัมพันธ์ ระหว่างรายจ่ายและรายได้ของรัฐบาล
ลักษณะของดุลงบประมาณ วิธีการพิจารณาดุลงบประมาณให้เปรียบเทียบรายจ่าย ของรัฐบาลทั้งหมด และรายได้ของรัฐบาลทั้งหมด งบประมาณสมดุล คือการจัดหางบประมาณรายรับเข้ามามีจำนวนเท่ากับงบประมาณที่รัฐบาลใช้จ่ายออกไป งบประมาณขาดดุล คือการจัดทำงบประมาณรายรับเข้ามามีจำนวนน้อยกว่าการใช้จ่ายงบประมาณที่ออกไป งบประมาณเกินดุล การจัดหางบประมาณรายรับมีจำนวนมากกว่างบประมาณรายจ่ายที่จ่ายออกไป
เครื่องมือของนโยบายการคลัง การใช้จ่ายของรัฐบาล ทั้งรายจ่ายในการซื้อ สินค้าและบริการ (Goods and service Expenditures: G) และรายจ่ายเงินโอน (Transfer payment: R) การเก็บภาษี (Taxation) การก่อหนี้สาธารณะ (Public debt)
รายจ่ายของรัฐบาล (Government Expenditure) รายจ่ายของรัฐบาลเป็นองค์ประกอบหนึ่งของรายได้ (ผลิตภัณฑ์) ประชาชาติ สัดส่วนของรายจ่ายของรัฐบาลใน รายได้ประชาชาติเป็นเครื่องชี้ถึงบทบาทของรัฐบาลใน กิจกรรมทางเศรษฐกิจ รายจ่ายของรัฐจำแนกได้หลายประเภทตาม จุดมุ่งหมายและประโยชน์ ในทางเศรษฐศาสตร์จะจำแนก รายจ่ายของรัฐออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ 2. รายจ่ายเงินโอน
รายรับของรัฐบาล (Government Reception) รายได้ของรัฐบาล (Government Revenue) Tax Income ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล Non-tax Income รายได้จากรัฐพาณิชย์ ค่าธรรมเนียมต่างๆ (Public Debt) เงินกู้ของรัฐบาล กู้ภายในประเทศ ขายพันธบัตร กู้จากธนาคารกลาง กู้จากต่างประเทศ กู้จาก IMF (Treasury Cash Balance) เงินคงคลัง พิจารณาเงินคงคลังตอนต้นปี และเงินคงคลังปลายปี
ภาษีและฐานภาษี ภาษี คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากประชาชน และนำมาใช้ประโยชน์ของสังคมส่วนรวม โดยไม่มีสิ่ง ตอบแทนโดยเฉพาะเจาะจงแก่ผู้เสียภาษี ฐานภาษี (Tax base) คือ สิ่งที่ใช้เป็นฐานในการ คำนวณภาษี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีฐานภาษี คือเงินได้ ภาษีที่ดินจะมีราคาที่ดินเป็นฐานภาษี เป็นต้น
ประเภทของภาษี ภาษีทางตรง (direct tax) คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้แบกรับภาระภาษีนั้นทั้งหมด ไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่น ภาษีทางตรงมักเก็บจากฐานรายได้และทรัพย์สิน เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมรดก เป็นต้น (indirect tax) ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่ผู้เสียภาษีเป็นผู้รับภาระภาษีเพียงบางส่วน หรืออาจผลักภาระภาษีส่วนใหญ่หรือทั้งหมดไปยังผู้อื่นได้ ภาษีทางอ้อมมักเก็บจากฐานการใช้จ่ายหรือการซื้อขาย เช่น ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีการค้า เป็นต้น
โครงสร้างอัตราภาษี 1.อัตราภาษีแบบก้าวหน้า (progressive tax) หมายถึง ภาษีที่ จะต้องเสียในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อฐานของภาษีเพิ่มขึ้น หรือเป็น ลักษณะภาษีที่ลดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ 2. อัตราภาษีแบบคงที่หรือตามสัดส่วน (proportional tax) หมายถึง ภาษีที่มีอัตราคงที่ไม่ว่าฐานของภาษีจะเพิ่มขึ้นหรือ ลดลง 3. อัตราภาษีแบบถดถอย (regressive tax) หมายถึง ภาษีที่เสียใน อัตราที่ลดลงเมื่อฐานของภาษีเพิ่มขึ้น ลักษณะของภาษีแบบนี้จะ เป็นภาษีที่เพิ่มความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้
อัตราภาษีเฉลี่ย (Y/T) อัตราภาษีส่วนเพิ่ม (T/ Y) โครงสร้างอัตราภาษี ฐานภาษี (Y) อัตราภาษี จำนวนภาษี (T) อัตราภาษีเฉลี่ย (Y/T) อัตราภาษีส่วนเพิ่ม (T/ Y) อัตราภาษีแบบก้าวหน้า 1,000 2,000 3,000 7 10 15 70 200 450 0.07 0.10 0.15 - 0.13 0.25 อัตราภาษีแบบคงที่ 140 210 อัตราภาษีแบบถดถอย 150 0.05 0.01
นโยบายการคลังจำแนกตาม ลักษณะปัญหาเศรษฐกิจ 1. นโยบายการคลังแบบขยายตัวหรือใช้งบประมาณ ขาดดุล โดยมีรายจ่ายรัฐบาลมากกว่ารายรับใช้ใน กรณีเศรษฐกิจตกต่ำ(เพิ่ม G,R ลด T) 2. นโยบายการคลังแบบหดตัวหรือใช้งบประมาณ เกินดุล โดยมีรายรับมากกว่ารายจ่าย ใช้ในกรณี เศรษฐกิจฟองสบู่ เกิดภาวะเงินเฟ้อ(ลด G,R เพิ่ม T)
: การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ขจัด : การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ขจัด ช่วงห่างเงินเฟ้อ DAE Y Y = DAE DAEF E F A GNP Gap Inflationary Gap YF YE
: การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ขจัด : การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ขจัด ช่วงห่างเงินเฟ้อ DAE Y Y = DAE DAEF E F A GNP Gap Inflationary Gap YF YE
: การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ : การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ ขจัดช่วงห่างเงินฝืด DAE Y Y = DAE DAEF E F A GNP Gap เกิดการว่างงาน Deflationary Gap YF YE
: การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ : การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ ขจัดช่วงห่างเงินฝืด DAE Y Y = DAE DAEF E F A Deflationary Gap YF YE GNP Gap เกิดการว่างงาน